วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คำสอนสามีภรรยาตามนัยของผญาอีสาน ::ฺบ้านดอนเรดิโอออนไลน์

สามีและภรรยา
ภรรยาคือชื่อว่าเป็นช้างท้าวหลังธรรมเนียมชาวอีสานเรียกว่าธรรมเนียมของภรรย169  เป็นการสอนในการครองเรือนให้มีความสุขที่เป็นข้อปฏิบัติสำหรับสามีภรรยาที่ต้องมีความรักใคร่ต่อกัน  การประพฤติหลักของอีตผัวคองเมียนี้นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะธรรมดาทัศนะคติของคนสองคนที่มาเป็นคู่ครองกันนั้นย่อมแตกต่างกันไปตามอุปนิสัยบางคนแข็งกระด้างบ้างคนอ่อนน้อม  ดังนั้นปราชญ์อีสานจึงสอนว่าการเป็นสามีภรรยากันนั้นมันง่ายแต่จะครองรักอย่างไรจึงจะมีความสุขได้  ตามความเชื่อของคนไทยโบราณสอนว่าสามีเป็นช้างเท้าหน้าภรรยาเป็นช้างเท้าหลัง  เพราะสมัยโบราณนั้นผู้หญิงก็มีความเชื่อเช่นนั้นเป็นทุนอยู่เดิมเหมือนกันดังจะเห็นได้จากวรรณกรรมของอีสานทุกเรื่องจะอบรมสั่งสอนลูกหญิงให้เชื่อฟังผู้เป็นสามีแต่ฝ่ายเดียว  อาจเป็นด้วยเหตุก็ได้ที่ทำให้หญิงไทยชาวอีสานเป็นช้างเท้าหลังตลอดมา  แต่ในภาวะทุกวันนี้ทัศนะให้เรื่องเหล่านี้เริ่มเสื่อมลงไปตามภาวะเศรษฐกิจและบ้านเมืองที่เจริญมากขึ้นสิทธิสตรีก็เสมอกับชายทุกประการ  แต่ถึงกระนั้นก็ตามหญิงก็คือหญิง  สุภาษิตอีสานจะสอนให้ผัวเมียได้รู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับสถานภาพของตน  คือเมื่อเป็นสามีภรรยากันจะต้องรู้จักให้เกียรติกัน  เคารพญาติทั้งสองฝ่าย  ให้มีความขยันมั่นเพียรในการทำมาหากิน  ให้รักเดียวใจเดียวชื่อสัตย์ต่อกัน  ดังคำกลอนสุภาษิตโบราณอีสานสอนในเรื่องหน้าที่ของภรรยาไว้  ๕ ประการว่า
    ๑)  กิจการบ้านให้ทางเมียเป็นใหญ่ให้เมียเป็นแม่บ้านการสร้างซ่อยผัว
    ๒)  ให้มีจาจาเว้าแถลงนัวเว้าม่วนอย่าได้ซึมซากฮ่ายคำเข้มเสียดสี
    ๓)ให้เมียเคารพชาติเชื้อสกุลฝ่ายทางผัวอันว่าญาติกาวงศ์วานทางฝ่ายผัวให้ค่อยยำเกรงย้าน
    ๔)  ให้ฮู้จักทำการเกื้อบริวารเว้าม้วนสงเคราะห์ญาติพี่น้องเสมอก้ำเกิ่งกัน
    ๕)  สินสมสร้างศฤงคารทรัพย์สิ่งผัวมอบให้เมียฮู้ฮ่อมสงวน
แม่ศรีเรือนตามที่ปรากฏในคำสอนชาวอีสานนั้นยังมีอีกนัยหนึ่งคือการใช้จ่ายทรัพย์ที่สามีหามาได้นั้นจะต้องคิดถึงความคุ่มค่าของสิ่งที่จะชื่อให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัวมากที่สุด  ดังคำสอนที่ว่า
    ควรที่จับจ่ายซื่อของจำเป็นสมค่าอย่าได้จับจ่ายใช้หลายล้นสิ่งบ่ควร
    คันแม่นทำถึกต้องคองผัวเมียโบราณแต่งจักลุลาภได้ชยะโชคเจริญศรี
        สถาพรพูนผลซู่อันโฮมเฮ้าจักงอกงามเงยขึ้นอุดมผลสูงส่งเงินคำไหลหลั่งเข้า 
        เจริญขึ้นมั่งมีบริบูรณ์ศรีสุขทุกข์บ่เวินมาใก้ล  
    นอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำสำหรับผู้เป็นศรีภรรยาที่พึ่งยึดถือปฏิบัติตนในการครองเรือน การจะครองเรือนให้มีความผาสุขได้นั้นจะต้องมีทั้งจรรยามารยาทอันดีงามต่างๆเข้ามาประกอบด้วยคือประกอบพร้อมทั้งทางกาย  วาจา  และน้ำใจของภรรยา ซึ่งจะพบมากในคำกลอนโบราณของอีสานที่มักจะสั่งสอนลูกสาวของตนที่จะแยกครอบครัวออกไปจากพ่อแม่  ซึ่งชาวอีสานเรียกว่าข้อวัตรปฏิบัติสำหรับผู้เป็นภรรยา ดังคำสอนนี้ คือ
แนวแม่หญิงนี้บ่มีผัวซ้อนนอนนำก็บ่อุ่นแม่หญิงซิตั้งอยู่ได้เป็นใหญ่ใสสกุลก็เพราะคุณของผัวคว่ามาแปลงสร้างแม่หญิงนี้ซิมีคนย้านนบนอบยำเกรงก็เพราะบุญของผัว  แม่หญิงซิมีคนล้อมบริวารแหนแห่  ก็ย้อนผัวแท้ๆอย่าจาอ้างว่าโต  ผัวหากโมโหฮ้ายใจไวเคียดง่าย  ให้นางเอาดีเข้าใจเว้าอย่างแข็ง  อย่าได้แปลงความส้มขมในให้ผัวขื่น  ให้เอาดีขื่นไว้ใจเจ้าให้อ่อนหวาน    อุปมาเปรียบได้ดั่งอ้อมันหากอ่อนตามลม  ธรรมดาว่าอ้อลมมาบ่ห่อนโค่น    เพราะว่ามันบ่ตั้งขันสู่ต่อลม  คือดังสมเสลานัอยสอยวอยงามยิ่ง  ก่อผัวซิฮักกล่อมกลิ้งแฝงผั้นบ่มาย  เพราะนางเป็นคนดีได้ใจบุญสอนง่าย บ่เป็นคนบาปฮ้ายใจบ้าด่าผัว มีแต่ทำโตน้อมถนอมผัวโอนอ่อน  บ่แสนงอนดีดดิ้นศีลห้าหมั่นถนอม  หาแต่แนวมาล้อมศีลธรรมคำขอบ  เว้านอบน้อมต่อผัวนั้นซู่วัน   
    นี้คือคุณสมบัติของสตรีชาวอีสานที่ปฏิบัติต่อสามีและบุคคลๆ  ตลอดถึงมีความขยันและเอาใจใส่ในพระพุทธศาสนา และให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลและธรรมพร้อมทั้งเป็นผู้มีจิตใจอันเป็นบุญเป็นกุศล  นี้คือกุลสตรีตามทรรศนะของคำสอนอีสาน  จะพบว่าเป็นยอดหญิงอย่างแท้จริง ถ้าทำได้อย่างนี้
๑.สามี
    ๑)  ให้ผัวพาเมียสร้างนาสวนปลูกหว่านพาเมียเป็นแม่บ้านครองเย้าให้อยู่ดี
    ๒)  ให้วาจาเว้าแถลงนัวเว้าม่วนอย่าได้ซึกซากฮ่ายคำเข้มเสียดสี
    ๓)  ให้เคารพชาติเชื้อสกุลฝ่ายทางเมีย 
    ๔)  การละเล่นหวยโปเบี้ยถั่วทางนักเลงสุราพร่ำพร้อมอย่าวอนเว้าอ่าวหา
    ๕)  สินสมสร้างศฤงคารทรัพย์สินมอบให้เมียเมี้ยน(เก็บรักษา)ไว้ในย้าวจั่งแม่นคอง
(ให้สามีพาภรรยาทำไร่ทำนาปลูกผักและนำพาเมียเป็นแม่บ้านที่  ให้พูดจากันด้วยความไพเราะอย่าได้พูดจาเสียดสีกันเอง  ให้เคารพตระกุลหรือญาติฝ่ายทางภรรยา  และให้หลีกหนีทางฉิบหายคือการเล่นหวย  ไฮ่โล โปถั่วกระทั้งนักเลงสุราอย่าได้เข้าใกล้มันเลย  อีกทั้งทรัพย์สมบัติทั้งปวงที่หามาให้มอบให้ภรรยาเป็นผู้ดูแล)  ดังนั้นวัตรปฏิบัติที่สามีหรือลูกผู้ชายคือทำนั้น  คนโบราณอีสานมักสอนไว้ดังนี้คือ
    ขอให้เจ้าตื่นเดิกไปไฮ่ก่อนกา    ขอให้เจ้าตื่นเดิกไปนาก่อนไก่
    ให้เจ้าไปจับฮั่วอ้อมบ่อนควายเลียม    บ่าแบกเสียมทั้งไปยามส้อน
    เลยเบิ่งต้อนเบิ่งหลี่เบิ่งไซ        เห็นน้ำไหลคันนาให้ฮีบอัดเอาไว้
    ปีใดแล้งย่อมได้กินข้าวปลา    ให้เจ้ามีปัญญาคึดหาเครื่องปลูก
    ทั้งส้มสูกกล้วยอ้อยของเจ้าซู่ยาม  ตามดอนนาปลูกพริกหมากเขือน้ำเต้า
    ทั้งหมากพร้าวมี้ม่วงตาล    ส้มและหวานหมากพลูอย่าคร้าน
(ขอให้เจ้าตื่นแต่เช้าไปไร่ก่อนกา  ขอให้เจ้าตื่นดึกไปนาก่อนไก่  ให้เจ้าไปทำรั่วล้อมไม่ให้ควายเข้าได้ทั้งบ่าเจ้าให้ถือเอาเสียมและไปกู้ต้อน(ที่ดักปลา) พร้อมทั้งดูต้อนและดูหลี่ ดูไซ  เห็นน้ำไหลเข้าคันนาให้รีบปิดเอาไว้  ปีใดน้ำแล้งย่อมได้กินข้าวและปลา  ให้เจ้ามีปัญญาคิดหาเครื่องปลูก  ทั้งส้ม  กล้วย อ้อยของเจ้าทุกเวลา  ตามที่ตอนในนาให้ปลูกพริกและมะเขือและน้ำเต้า  อีกทั้งมะพร้าว  ขนุน  มะม่วง  และต้นตาล  ทั้งเปรี้ยวและหวาน หมากพลูกอย่าเกลียดคร้าน)  คำสอนนี้มุ่งเน้นให้ผู้ชายควรรู้จักขยันทำมาหากินเพื่อความมั่งคั่งของครอบครัว  และยังสอนให้สามีควรรู้จักแสวงหาเครื่องมือในการประกอบอาชีพต่างๆ  เช่น แห่  สุ่ม  และเครื่องมือในการทำนา  ดังคำสอนนี้คือ
    คันเจ้าอยู่บ้านให้เบิ่งเฮือนซาน    เบิ่งสถานปักตูป่องเอี้ยม
    ให้เจ้าเยี่ยมเบิ่งข้อง แห มอง ทั้งสุ่ม  ของซุมนี้แพงไว้เฮ็ดกิน
    ฝนตกรินฮำย้อยอย่าถอนกลัวย่าน   เถิงซิตกสาดพังฮองเข้าใส่โองไห
    คาดไถแอกให้หลาไนมีทุกสิ่ง    ทั้งสวิงกำพ้นฟืมพร้อมใส่กระส่วย
    ของหมู่นี้ซิซ่อยให้มีอยู่มีกิน    ผัวให้ยินดีหาอย่าไลลาค้าน
    อันหนึ่งให้เจ้าค้าซื้อถึกขายแพง    คึดล่ำแยงหาเงินใช้จ่าย
    ขายหมากไม้แม่วัวโตควาย    ทางใดซิรวยให้เจ้าคึดฮำดูเลิงถ้อนฯ
(ถ้าเจ้าอยู่บ้านให้ดูแลบ้านเรือนดูทุกอย่างทั้งประตูหน้าต่าง  ให้เจ้าดูแลข้อง แห  มอง ทั้งสุ่ม  ของพวกนี้รักษาไว้ทำกิน  เมื่อฝนตกรินอย่าเกรงกลัว  ถ้าฝนตกมากให้รีบรองเอาไว้ใส่ตุ่ม  ทั้งคาดไถแอก  หลา  ไน  มีทุกอย่าง ทั้งสวิง  กำพัน  ฟืม  กระส่วย (เครื่องอุปกรณ์ในการกอด้ายนำมาทอเป็นผ้า) สิ่งของเหล่านี้จะช่วยให้มีสิ่งของใช้  สามีให้ยินดีหามาอย่าได้ขี้เกลียด  อีกอย่างหนึ่งให้เจ้าค้าขายด้วยการซื้อถูกขายแพง  คิดให้ดีทางหาเงินมาใช้จ่าย  มีขายผลไม้  วัว  ควาย  ทางไหนจะร่ำรวยให้เจ้าคิดพิจารณาให้รอบคอบ)
วัตรปฏิบัติสำหรับผู้เป็นสามี  คือ
    ขอให้เจ้าตื่นเดิกไปไฮ่ก่อนกา    ขอให้เจ้าตื่นเดิกไปนาก่อนไก่
    ให้เจ้าไปจับฮั่วอ้อมบ่อนควายเลียม    บ่าแบกเสียมทั้งไปยามส้อน
    เลยเบิ่งต้อนเบิ่งหลี่เบิ่งไซ    เห็นน้ำไหลคันนาให้ฮีบอัดเอาไว้
    ปีใดแล้งย่อมได้กินข้าวปลา    ให้เจ้ามีปัญญคึดหาเครื่องปลูก
    ทั้งส้มสูกกล้วยอ้อยของเจ้าซู่ยาม   ตามดอนนาปลูกพริกหมากเขือน้ำเต้า
    ทั้งหมากพร้าวมี้ม่วงตาวตาล    ส้มและหวานหมากพลูอย่าคร้าน

ฺบ้านดอนเรดิโอออนไลน์

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons