พิธีบำเพ็ญทาน
วิธีบำเพ็ญทานนั้น ในสมัยพุทธกาลมีไม่มากวิธีนักส่วนมากจะมีเฉพาะการบำเพ็ญทานเลี้ยงพระ การทอดผ้ากฐิน การถว่ายผ้าอาบน้ำฝน ผ้าป่า เป็นต้น แต่กาลต่อมาในภายหลังเกิดพิธีกรรมต่างๆขึ้นมากมายวิธีการทำทานก็วิวัฒนาการไปมากเช่นเดียวกัน เช่นตักบาตรซึ่งแต่เดิมจริงๆแล้วก็มีเพียงการเอาข้าวสุกใส่ในบาตรถวายพระเท่านั้น แต่ปัจจุบันการใส่บาตรมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก เช่นมีการตักบาตรด้วยข้าวสารอาหารแห้ง ตักบาตรเงิน ตักบาตรวันเกิด ตักบาตรน้ำมัน ตักบาตรน้ำผึ้งเป็นต้น
การบำเพ็ญทานนั้นตามหลักทางพระพุทธศาสนาถือว่า เจตนาถือว่าสำคัญ ซึ่งจะประกอบด้วยกาลทั้ง ๓ คือ ก่อนให้ทาน ขณะให้ทาน และหลังจากการให้ทาน จึงจะถูกต้องตามพุทธวิธี ดังพระพุทธภาษิตว่า “ ทายกก่อนแต่จะให้ทานเป็นผู้ใจดี กำลังให้ทานอยู่ก็ยังจิตให้ผ่องใส่ และครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มจิต”( อง.ฉกก. 22/308/347 ฉบับ )และกล่าวถึงไทยทานหรือวัตถุทานนั้นมีถึง ๑๐ อย่างคือ “ ทานวัตถุ ๑๐ เหล่านี้คือข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม ของลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องปทีป”(อัง. อฏฐก. 23/52/50)
ในวัตถุทานทั้ง ๑๐ อย่างนี้บางอย่างก็ไม่เหมาะต่อการถวายแก่พระสงฆ์ เช่นน้ำหอม ของลูบไล้ แต่เพราะแก่บุคคลสามัญมากกว่า การบำเพ็ญทานดังกล่าวได้กลายมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวพุทธศาสนิกชนไปแล้ว การบำเพ็ญทานตามที่ชาวพุทธยึดถือกันนั้น ยึดเอาเจตนาเป็นหลักและแบ่งออกได้ ๒ ลักษณะตามฐานะของบุคคล คือ
๑) ปาฏิบุคคลิกทาน คือการถวายทานที่เจาะจงพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
๒) สังฆทาน คือการถวายแบบไม่เจาะจงแก่ผู้รับทานจะเป็นภิกษุรูปใดๆก็ได้
การบำเพ็ญทานที่ถือเอาบุคคลเป็นหลักในการรับทานนี้เรียกว่า “ปุคคลิกทาน” ส่วนการทำทานที่ไม่เจาะจงผู้รับทานคือการบำเพ็ญทานเพื่อมุ่งหวังชำระจิตใจจริงๆ ผู้รับทานหรือปฏิคคหก (เรียกว่าเขตบุญ) ต้องเป็นบุญเขตหรือเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมจึงจะทำให้ผลทานหรือสักการบูชามีผลอานิสงส์มาก ในธัมมปทัฏฐกถามีพุทธดำรัสว่า “ เมื่อจิตประณีต ทานที่ถวายแก่พระอริยบุคคลมีพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมไม่ชื่อว่าเศร้าหมอง จิตตสมึ หิ ปณีเต พุทธาทีนํ ลูขํ นาม นตถิ(ธ.อ.5/10 )คือเมื่อตั้งใจให้ทานในผู้บริสุทธิ์ ทานย่อมให้ผลเต็มที่ในพระพุทธศาสนายกย่องการเลือกให้ทาน(วิจยทาน)ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ วิเจยฺย ทานํ ทาตพฺพํ ยตฺถ ทินฺนํ มหปฺผลํ วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ ทกฺขิเณยฺยา อิธ ชีวโลเก, เอเตสุ ทินฺนานิ มหปฺผลานิ พีชานิ วุตฺตานิ ยถา สุเขตฺเตฯ (ธ.อ. 6/87 พึงเลือกให้ทานในบุญเขตที่มีผลอานิสงส์มาก ที่พระสุคตตรัสสรรเสริญ การให้แก่พระทักขิไณยบุคคล เหมือนการหว่านพืชลงในนาดีฉะนั้น”
๕.๕) สอนลูกหลานให้รู้จักการให้ทานดังนี้
เฮียนลุกเช้านึ่งข้าวใส่บาตร บูชาอาจหาแก้วทั้งสาม
ในอาฮามสถานพระเจ้า ในเค้าไม้ต้นใหญ่โพศรี
ในเจดีย์พระธาตุแก้วกู่ ในบ่อนอยู่เทิงหัวโตนอน
ลางเทื่อหลอนพ้อคนทุกข์ไฮ้ เพิ่นขอได้เจ้าให้ทานไป
ตามนิสัยของโตมีน้อย บาดสุดส้อยแม่นสามเณร
มหาเถรเถราตนใหญ่ หมูกาไก่เป็นกาเป็นเค้า
ให้ทานเข้าประเสริฐหนักหนา100
วัตถุประสงค์ของการให้ทานมีอยู่ ๒ อย่าง คือ การให้ทานเพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์สะอาดและการให้ทานเพื่อแก่ผู้รับ คือผู้รับมีคุณมากก็จะเรียกว่าบูชาคุณ ผู้เสมอกันเรียกว่าสงเคราะห์ ส่วนผู้ที่รับอ่อนกว่าเรียกว่าอนุเคราะห์ ทั้งสองนี้เป็นบุญด้วยกัน ตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในทักขิณวิภังสูตรว่า “ดูก่อนอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น เรากล่าวว่ามีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่เราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่ามีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆเลย(ม.อุ.14/380/324-325ในกรณีที่การทำทานแล้วมีผลาอานิสงส์อย่างไรนั้นมีปรากฏดังมีมาในพระสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๔ ปฐมปัณณาสก์ คัมภีร์ปัญจกนิบาตอังคุตตรนิกาย พระนางสุมนาราชกุมารีไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงถวายบังคมแล้วประทับนั่งทูลถามเรื่องผลของทาน พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบแก่พระนางสุมนาว่า บุคคลควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญย่อมมีคุณแก่ผู้เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นบรรพชิต ครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสเป็นพระคาถา ซึ่งมีเนื้อความว่า
ดวงจันทร์อันปราศจากเมฆหมอก อยู่ในท้องฟ้า ย่อมรุ่งเรื่องกว่าดาวทั้งสิ้นฉันใด
บุคคลผู้มีศรัทธา มีศีล มีการบริจาค ก็รุ่งเรื่องกว่าผู้ตระหนี่ทั้งสิ้นในโลกฉันนั้น ฯ
เมฆที่ตั้งขึ้นทำให้ฝนตกลงมาใหญ่ ให้น้ำเต็มทั้งที่ดอนที่ลุ่มฉันใด สาวกของพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยความเห็น ผู้เป็นบัณฑิตก็ครอบงำผู้ตระหนี ๕
อย่าง คืออายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ฉันนั้น ผู้ที่เพียบพร้อมด้วยทรัพย์นั้น
ย่อมได้ไปรื่นเริงในสวรรค์ดังนี้ ฯ ไตร/22/34
๑๓.๔) พระยาสันทะราชสอนให้รู้จักการให้ทาน
ไผมีเงินคำแก้วหวงแหนบ่ทานทอด บ่ให้ขาดแต่ละมื้อประสงค์ได้ทอดทาน
จักทุกข์จนในสงสารชาติซิมาหากหวังได้ เมื่อมรณังตายไปเกิดในวิมานแก้ว
ไผผู้มีของล้นเงินคำอนันเนกเจ้าเอย บ่ให้ทานพี่น้องคนนั้นบ่ห่อนดีแท้ดาย
อันว่าไผ้ผู้มีของล้นทานไปหลายสิ่งเจ้าเอย บาดว่าชาติหน้าพุ้นยังซิกว้างกว่าหลัง
ตายไปเกิดชั้นฟ้าทงแท่นวิมานคำพุ้นเอย ยูท่างนั่งเสวยความสุขอยู่เย็นหายฮ้อน
ไผผู้ทานไปแล้วบ่มีเสียจักสิ่งเจ้าเอย ชาตินี้บ่ได้อึดอยากไฮ้ไปหน้าก็ดั่งเดียว
ของเฮาทานไปแล้วบ่สูญเสียดายป่าว เจ้าอย่าได้ขี้คร้านในทานทอดกองบุญ
คันว่าตายไปภายลุนจักบ่กินแหนงโอ้ คำสอนพุทโธเจ้าหากเป็นจิงตั้งเที่ยง
ไผทำเพียรก่อสร้างบุญนั้นบ่ห่อนเสียเจ้าเอย 124
การถวายทานโดยเฉพาะการทอดกฐินจัดว่าเป็นการถวายทานเพื่อสงฆ์และเป็นกาลทาน คือถวายได้เฉพาะกาลหนึ่งเท่านั้น พ้นเขตแล้วไม่จัดเป็นบุญกฐิน ดังนั้นคำสอนที่สะท้อนถึงการทำบุญทอดกฐินชาวอีสานถือว่าเป็นงานบุญที่พากันยึดถือมาแต่ในอดีตซึ่งจะปรากฏในเรื่องฮีตสิบสองในงานบุญเดือนสิบเอ็ดได้กล่าวไว้ดังนี้คือ ถึงเดือนสิบเอ็ดแรม ให้ป่าวเดินทำบุญกฐินทอดตามวัดวาอารามต่างๆ ดังคำสอนนี้คือ
คลองสร้างประเพณีจาฮีต เหตุเบื้องต้นปางก้ำเก่าหลังเดิม
ให้พากันตกแต่งแปลงกฐินทอด เมือกาลกฐินมาฮอดแล้วอย่าลืม
ถวายผ้ากฐินถือว่าเป็นจารีตประเพณีที่ชาวอีสานทำมาแต่ดังเดิม และให้ช่วยกันจัดบุญกฐินเพื่อจะทอด เมื่อถึงกาลกฐินมาถึงแล้วในเดือนสิบเอ็ดออกพรรษา อย่าได้พากันหลงลืมพระศาสนาให้ทุกคนเอาใจใส่ช่วยทะนุบำรุ่งศาสนาให้เจริญเพื่อเป็นประโชนย์แก่มวลมนุษย์ทั้งหลายนี้ก็สะท้อนภาพให้เห็นว่าการทำบุญสุนทานของชาวอีสานนั้นได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา และคำสอนที่เป็นทำรู้ว่าการทำบุญให้ทานนั้นควรทำอย่างไรและไม่ควรทำอย่างไร การถือเอาเจตนาเวลาทำบุญนั้นก็สอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนาดังคำสอนอีสานที่พ่อแม่มักจะสั่งสอนลูกว่า
“อันหนึ่งเจ้าลุกแต่เช้าประสงค์แต่งจังหัน ยามเมื่อบายของทานให้ส่วยสีสรงล้าง
ซื่อว่ากินทานนี้ทำตัวให้ประณีต อันว่าผมเกศเกล้าเคียนไว้อย่าให้มาย
ให้ค่อยทำเพียรตุ้มเสมอยุงซุมเหยือ อย่าได้เฮ็ดตู้เตื้อตีนซิ่นไขว่พานั้นเนอ
บาดว่าบาปซอกดั้นใผบ่ห่อนหวนเห็นลูกเอย”
“อันหนึ่งยามเจ้าบายของไปแจกทานนั้น ใจอย่าคิดโลดเลี้ยวเห็นใกล้แก่สมณ์
อย่าได้อคติด้วยของทานเสมอภาคกันเนอ อย่าได้เห็นแก่สังฆะเจ้าคีงเลื่อมจึงค่อยทาน
อันหนึ่งอย่าได้เข้านั่งไกล้เคี้ยวหมากนานลุก ชาติที่แนวมหาเถรดั่งกุญชโรย้อย
เพิ่นหากลือซาช้างพลายสีดอตัวอาจ ใผอยู่ลอนนั่งใกล้งาช้างซิเสียบแทงแล้ว
อันหนึ่งอย่าได้ซำเซียแวมหาเถรยามค่ำ บ่แม่นแนวลูกช้างคุมคล้องบาปซิกิน”
ผลาอานิสงส์แห่งทานที่ตนเองทำมาย่อมผลส่งให้สมความปรารถนา สิ่งใดก็ได้สมดั่งความประสงค์) บุญก็ย่อมจะส่งผลให้ทุกอย่าง คือ สวย รวย เก่ง ล้วนแต่เกิดจากคนมีบุญทั้งสิ้น ดังนั้นคำสุภาษิตจึงสะท้อนภาพรวมให้เห็นว่าคนมีบุญนั้นจะสบายในลักษณะอย่างไรดังสุภาษิตนี้คือ
บุญมีได้ เป็นนายใช้เพิ่น
คันแม่นบุญบ่ให้ เขาสิใช้ตั้งแต่เฮาฯ
(บุญมีได้เป็นนายใช้คนอื่น ถ้าใช่บุญไม่ส่งให้เขาจะใช้แต่เรา) หมายถึงความดีที่เราทำด้วยกาย วาจา และใจ ถ้าพร้อมพลั่งแล้วจะเป็นอำนาจบารมีให้คนอื่นช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้ชีวิตเรามีความสุข จะทำพูดคิดสิ่งใดก็มีคนมาค่อยให้ความช่วยเหลือ เรียกว่าคนที่เคยทำบุญมาร่วมกัน เช่น เพื่อน ญาติ แม้ทั้งคนอื่นที่ไม่ใช่ญาติก็ช่วยเหลือถ้าบุญบารมีเรามีแล้ว เช่น พระสงฆ์ พระมหากษัตริย์ ราชการชั้นผู้ใหญ่จะไปทางใดก็มีข้าทาสบริวารคอยรับใช้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เองที่อานิสงส์บุญจะแผ่รัศมีออกมาในรูปแบบของความดีหลายๆทาง ดังนั้นการทำความดีจึงให้ลงมีทำด้วยตัวเอง อย่ารอคอยโชควาสนาคนอื่นมาส่งเสริมให้เราดังสุภาษิตว่า
คอยแต่บุญมาค้ำ บ่ทำการมันบ่แม่น
คอยแต่บุญส่งให้ มันสิได้ฮ่อมใดฯ
(คอยแต่บุญมาช่วย ไม่ทำบุญมันก็ไม่ถูก คอยแต่บุญส่งให้มันจะได้อย่างไร) การกระทำอะไรทุกอย่างต้องทำด้วยตัวเอง บุญก็ดี บาปก็ดีย่อมเป็นของคนนั้นเองดังสุภาษิตว่า
คือจั่งเฮามีเข้า บ่เอากินมันบ่อิ่ม
มีลาบคันบ่เอาข้าวคุ้ย ทางท้องก็บ่เต็มฯ
(คือกับเรามีข้าวแต่ไม่เอากินมันก็ไม่อิ่มท้อง เหมือนมีลาบถ้าไม่ตักข้าวเข้าปากท้องก็ไม่เต็ม) การทำบุญให้กระทำด้วยตัวเองเพราะบุญและบาปนั้นจะส่งผลให้ใช้ชีวิตดีหรือชั่วเพราะอำนาจของบุญหรือบาปนี้เอง ดังสุภาษิตว่า
อันว่านานาเชื้อ คนเฮาแฮมโลก หลานเอย
บุญบาปตกแต่งตั้ง มาให้ต่างกัน
ใผผ้ทำการฮ้าย ปาปังทางโทษ
มีแต่สาโหดฮ้าย สิมาไหม้เมื่อล่นฯ
(อันว่านานาเชื้อคนเราอยู่ทั่วโลกหลานเอย บุญบาปเป็นปัจจัยปรุงแต่งมาให้ต่างกัน ใครผู้ทำบาปชั่วร้าย เป็นบาปมีโทษมีแต่ทุกข์จะมาไหม้เมื่อหลัง) สะท้อนให้เห็นว่าบาปหรือบุญเป็นสิ่งที่ติดตามมนุษย์ไปทุกภพทุกชาติ เป็นกรรมติดตัวไปตลอดจนเข้าสู่ความดับทุกข์ได้ และบาปกรรมเป็นผู้กีดกั้นหรือทำให้มนุษย์ประสบกับการพลัดพรากจากกัน หรือได้มาพบกัน ดังสุภาษิตนี้
อันว่ากุญชรช้าง พลายสารเกิดอยู่ป่า
ยังได้มาอยู่บ้าน เมืองกว้างกล่อมขุนฯ
(อันว่าช้างเผือกเกิดอยู่ในป่า ยังได้มาอยู่บ้านเมืองร่วมกับพระยา) หมายถึงบุญบารมีส่งให้สิ่งที่อยู่ไกล้อย่างไรเมื่ออำนาจบุญส่งมาถึงแล้วย่อมพบกันเปรียบเหมือนช้างสารตัวงามที่เกิดในป่าย่อมเป็นเพราะบารมีของพระมหากษัตริย์จึงทำให้ได้พบช้างคู่บ้านคู่เมือง แต่ถ้ากรรมเวรมาถึงแล้วก็ไม่มีสิ่งใดมาบังคับไม่กรรมส่งผลให้ ดังสุภาษิตนี้ว่า
ตั้งแต่พระเวสเจ้า กับนวลนาถนางมัทรี
ยังได้หนีพารา จากนครยาวเยิ้น
ไปอยู่ดงแดนด้าว ไพรสนฑ์แถวเถื่อน
มีแต่ทุกยากเยื้อน บ่เคยพ้อพบเห็นฯ
คันแม่นเป็นจั่งซี้ เฮาสิว่าฉันใด
สิว่ากรรมมาตัด หรือว่าเวรมาต้อง
ใผผู้ทำดีไว้ ความดีกระดึงจ่อง
ใผผู้สร้างบาปไว้ กรรมสิใช้เมื่อลุนฯ
(ตั้งแต่พระเวสสันดรกับพระนางมัทรียังได้หนีจากนครไปอาศัยอยู่ราวป่าแดนเถือน มีความทุกข์ลำบากมาเยื้อนไม่เคยพบเห็น คือว่ากรรมมาตัดรอนหรือว่ากรรมเวรมาส่งผลให้เป็นไปอย่างนั้น ใครผู้ทำความดีไว้ ความดีก็ตามสนอง ใครผู้ทำบาปไว้กรรมนั้นก็ตามสนอง
ตามปกติแล้วการทำทานทุกชนิดย่อมมีอานิสงส์ของทานนั้นเสมอ ถ้าผู้ให้ทานกระทำได้ด้วยใจบริสุทธิ์ ไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝงอยู่ การทำทานนั้นพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญถึงอานิสงส์ของการถวายทานว่า
“ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัปบุรุษ
สัปบุรุษผู้สงบ ผู้สำรวมอินทรีย์ ประกอบพรหมจรรย์ ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ
สัปบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบชัด
แล้วย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ ปรินิพพานในโลกนี้ (อัง ปัญจก. 22/35/35-36
วรรณกรรมคำสอนอีสานเป็นเสมือนผู้ถ่ายทอดคำสอนของพระพุทธศาสนาให้แก่พุทธศาสนิกชนได้รู้จักบำเพ็ญบุญกุศลด้วยการบริจาคสร้างถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา หรือสร้างศาสนสถานอันเป็นสัญญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา ในกรณีอย่างนี้คำสอนอีสานเน้นหนักในการบริจาคทานตามกำลังศรัทธา ในชนบทนั้นวัดเป็นศูนย์รวมดังนั้นเมื่อวัดมีกิจกรรมอันใดชาวบ้านจึงพร้อมใจสามัคคีพากันไปช่วยกัน ดังคำสอนอีสานว่า
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น