๒.๑.๓ สำนวนเปรียบเทียบ โวหาร และสัญญลักษณ์ที่ปรากฏในผญาอีสาน
การใช้เป็นความเปรียบเทียบสภาพสิ่งต่างๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรมอย่างน้อยที่สุดสองอย่าง เพื่อช่วยให้ผู้อ่านผู้ฟังเข้าใจสิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ สำนวนเปรียบเทียบในผญาอีสานมีลักษณะพอสรุปได้ดังนี้
๑. ใช้เป็นบุคลาธิษฐาน [ personification] เป็นการใช้ภาษาในลักษณะที่ทำให้ดูเหมือนว่าสรรพสิ่งทั้งหลายที่ไม่คนเป็นคน โดยให้สรรพสิ่งเหล่านั้นแสดงอากัปกิริยาต่างๆ ราวกับเป็นคน คือพูดได้ ร้องให้ได้ มีความรู้สึก เป็นการพูดเพื่อให้เกิดคติพจน์และสเทือนอารมณ์ หรือทำให้เกิดสิ่งที่มีคุณค่า ดังคำผญานี้ว่า
“ เจ้าผู้นาไฮ่ล่งประสงค์ดำแต่กล้าแก่ กล้าอ่อนมีบ่แพ้ดำได้กะบ่งาม” ( เจ้าผู้นาผืนลุ่มประสงค์ดำแต่กล้าแก่ กล้าอ่อนมีมากมาย ปลักดำได้ก็ไม่งาม)
นาไฮ่ล่ง เป็นนาที่ลุ่มที่สมบูรณ์มีน้ำมาก ใช้เปรียบเทียบกับสตรีที่มีความงดงามและมีฐานะดี เพราะนาอย่างนี้เป็นที่สมบูรณ์มากกว่านาดอนที่ไม่มีน้ำท่วมถึงย่อมขาดแคลน เปรียบเทียบให้เห็นว่า ชีวิตมนุษย์ย่อมแสวงสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตนเอง เหมือนบุรุษย่อมแสวงหาสาวที่งดงามและมีฐานะมั่นคงจึงจะทำให้ชีวิตคู่ราบรื่น
คำผญาอีสานที่มักจะเปรียบเทียบให้เห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวมากกว่าเช่น “ บัว, แก้ว,นิล ,ช้าง และหงส์” กวีมักจะนำมาใช้แทนสัญญลักษณ์ถึงสิ่งที่มีคุณค่าแก่ผู้สนใจ ดังคำผญานี้ว่า
“ เจ้าผู้แนวนามแก้วมหานิลอันประเสริฐ สังบ่ไปเกิดก้ำทางบ้านบ่อนนาง สังบ่เดินมาผ้ายคาเมบ้านน้องอยู่ ครั้นพี่มาอยู่พี้บ่มีได้อยู่นาน” ( เจ้าผู้เชื้อชาติแก้วมหานิลอันประเสริฐ ทำไมไม่ไปเกิดที่ทางบ้านน้อง ทำไมไม่เดินผ่านไปทางบ้านน้อง ถ้าพี่ไปอยู่ทางนั้นคงได้แต่งงานนานแล้ว)
แก้วและนิล ถือเป็นอัญมณีที่มีค่าสูงส่ง ใครก็ต้องการเก็บไว้ครอบครอง การที่เรียกคนที่ตนรักเช่นนี้เป็นการยกย่องว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญควรแก่การจะแต่งงานด้วย นักปราชญ์อีสานก็มักจะนำเอาสิ่งที่ตรงกันข้ามนำเปรียบเทียบสั่งสอนให้คนได้รู้จักไตรตรองพิจารณาให้รอบครอบ การครองคู่ชีวิตจะต้องอาศัยความอดทนต่อความลำบากต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังคำผญาสอนว่า
“โอ้ย ครั้นเจ้ามักข้อย แกงหอยให้มันเปื่อย แกงปลาให้เปื่อยก้าง แกงช้างให้เปื่อยงา” (โอ ถ้าคุณรักฉันจงแกงหอย แกงกระดูกปลา แกงงาช้างให้ยุ้ย) จะเห็นว่าทั้ง หอย ก้างและงาช้าง นั้นเป็นของแข็งที่ต้มแล้วไม่เปื่อยยุ่ย เป็นไปได้ยากมากที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้ละลายได้จะต้องใช้ทั้งเวลาและความอดทนมาก ทั้งหมดนี้อาจกล่าวได้ว่าผญาอีสานมักจะแนะนำให้รู้จักกระรักษาสิ่งที่ดีแล้วให้อยู่ตลอด หรือให้มีความอดกลั้นต่ออุปสรรคต่างๆจึงจะพบกำความสำเร็จได้
๒. ใช้เป็นเชิงอุปลักษณ์ [Metaphor] คือใช้เป็นการเปรียบเทียบของสองสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องนำมาเปรียบเทียบกันว่าเป็นสิ่งเดียวกันหรือเท่ากันทุกอย่าง เป็นการเปรียบเทียบโดยนัย โดยใช้คำว่า อดสาห์ คือ ในการเปรียบเทียบหรืออาจจะไม่มีคำเหล่านี้เลยก็ได้ ดังคำผญาว่า
“อดสาห์ เลี้ยงช้างเฒ่าขายงาได้กินค่า เลี้ยงช้างน้อยตายจ้อยค่าบ่มี (อดทนเลี้ยงช้างแก่ๆไว้ขายงาได้ราคาดี หากว่าเลี้ยงช้างน้อยถ้าตายแล้วไม่มีประโยชน์อะไร) เปรียเทียบให้เห็นว่าถ้ารักกับคนที่มีอายุมากกว่าจะดีกว่ารักกับคนที่มีอายุน้อย จุดประสงค์ต้องการให้เลือกสรรเอาคนที่มีประสบการณ์มากกว่าคนหนุ่มที่ยังไม่มีประสบการณ์ ไม่มีความอดทนพอที่จะต่อสู้กับอุปสรรค์ของชีวิตในอนคตได้เท่ากับคนแก่ หรือตรงกับภาษิตว่า วัวแก่ชอบกินหญ้าอ่อน เรื่องบุพเพสันนิวาสนี้เป็นสิ่งที่ใครๆก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ถ้าคนเราเคยสร้างกุศลมาร่วมกันย่อมได้พบกันอีก แต่ถ้าความรักไม่สมหวังก็มักจะพูดว่า “ เหลือแฮ็งสร้างกฐินบ่ได้แห่ บาดผู้เพิ่นบ่สร้าง สังมาให้แห่มา” (เสียแรงสร้างกองกฐินใหญ่โตแต่ไม่ได้แห่ ทีคนที่ไม่ได้สร้างทำไมได้มาแห่ ) คำผญาบทนี้สะท้อนถึงอารมณ์ของผู้ที่อกหักได้ดี หมายถึงคนอื่นได้ไปครอบครอง กวีมักจะนำเอาสิ่งสองอย่างมาเปรียบเทียบให้เห็นว่า สิ่งต่างๆในโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน เป็นมนุษย์ควรที่จะรักษาคำสัตย์ต่อกัน ดังคำผญาว่า
“ สัจจาแม่หญิงนี้ คือกวยกะต่าห่าง
ถิ้มใส่น้ำ ไหลเข้าสู่ตา
“สัจจาผู้ชายนี้ คือหินนักหมื่น
เซือกผูกทื้น พันเส้นบ่ติ่ง
(วาจาของสตรีเปรียบเหมือนตะกร้าที่ตาห่าง ทิ้งลงในน้ำย่อมไหลเข้าทุกแห่ง และวาจาของบุรุษเปรียบเหมือนหินที่หนัก ๑๒ กิโลกรัม เอาเชือกผูกพันเส้นมาดึงก็ไม่ขยับเขยื้อน ) เปรียบให้เห็นว่าคำพูดของสตรีเชื้อถือได้อยาก ส่วนคำพูดของผู้ชายมีความนักแน่นควรเชื้อถือได้ นี้เป็นคำที่คู่สนทนาระหว่างสตรีกับบุรุษที่ต่างกันก็ยกเหตุผลมาอ้างว่าฝ่ายตนเองนั้นมีสัจจะ แต่มนุษย์ชายหญิงในโลกนี้ย่อมมีทั้งที่ยึดหมั่นในคำสัตว์ แต่ก็มีมากที่ไม่มีคำพูดที่เป็นคำสัตย์ต่อกัน คือมีดีและเสียเท่าๆกัน ถ้ามีดีตลอดก็จะไม่มีใครผิดหวังเพราะความรัก ในเมื่อโลกมนุษย์ยังตกอยู่ในโลกธรรมแปด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น