วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

33.วรรณอีสานเรื่องท้าวฮุ่งท้าวเฮือง

35846064 วรรณกรรมอีสาน
       ๒.๖  คำสั่งสอนของท้าวฮุ่งแก่อ้ายคว่างกับผู้อื่นที่เมืองปะกัน  ๒๙  ประการ195คือ
    ๑)   อย่าทะเลาะกันเองจงให้อ้ายคว่างเป็นคนคิด แล้วจงช่วยกันสร้างเมืองแทนเขา
    ๒)  ประเพณีอันใดไม่ดี  อันไหนดี ให้ดูให้ถี่ถ้วน
    ๓)  อย่าพูดจาแข็งกระด้างเสียดสีกัน
๔)  จงช่วยเหลือพี่น้องผู้ทุกข์ยาก  จงจดจำผู้เป็นลุงเป็นอาไว้ให้ดี  จงถนอมรักคนยากไรเพราะเขานั้นเปรียบเสมือนรั้วเมือง อีกอย่างหนึ่งจงพูดตามกฎประเพณี
    ๕)  อย่าเห็นแก่เงินทอง  โลภมาก ตามใจตัวเอง
    ๖)  ไม่ควรทำโทษเกินกว่าที่พูดเอาไว้  เว้นแต่ถ้าผู้นั้นโทษไม่มากจึงลดหย่อนให้
    ๗)  อย่าพูดจาข่มเหงเสมอเมืองของเรา  จงคอยจับตาดูอย่างใกล้ชิด
    ๘)  ใครมีความรู้ให้ชวนเขามาอยู่ด้วย
    ๙)  ผู้ใดพูดจาถูกต้องมีเหตุผล  รู้กฎประเพณีของบ้านเมือง  จงเชิญเขาทำงานต่างหูต่างตา
๑๐)  เวลามีใครทำผิด  เขาจะเป็นคนสอบสวน  ไม่ควรฟังความข้างเดียว  เพราะถ้าทำเช่นนั้นคนทั้งหลายจะหัวเราะเยาะ  เอาไปนินทาว่าไม่ดีได้
    ๑๑)  จงพากันทำเหมืองฝายไว้ให้ชาวเมืองใช้  พวกเจ้าที่เป็นขุนเป็นนายจงฟังไว้ทั่วทุกคน
๑๒)  ให้เอาไม้กระดานพาดทำสะพานถมดินทุกแห่ง  หนทางที่ใดที่ไม่ดต้องซ่อมแซม  ถึงยามเกิดเหตุวุ่นวายต้องชี้แจงรายละเอียด  กองทัพใหญ่ที่มีช้างถ้าเดินผ่านไปตกหล่มจะอับอายผู้คน  ชาวเมืองจะตกใจกลัวเหมือนที่เล่าลือกันมาแต่ก่อน
๑๓)  ขอเพิ่มเติมอีกพวกเจ้าผู้ชายทุกคน  ต้องเอาใจใส่ดูแลรั้วบ้านเมือง  สร้างเวียงวังและกำแพงเมือง  ดูแลประตูทางเข้าออกให้แข็งแรง  อย่าประมาทว่ามันดีอยู่แล้ว
๑๔)  ใครไม่ใส่ใจนับถือประเพณีโบราณ  คัดค้านประเพณีโบราณนั้นไม่ดีหรอก  นี่เรายกเอาแต่คำสอนดีๆมาสอนเจ้า  ทั้งหมดนี้เป็นคำเก่าที่มีมาแต่ดั้งเดิมแล้ว
๑๕)  อย่าเป็นคนใจแคบมักได้แต่ตัวคนเดียว  ต้องดูแลช่วยเหลือพี่น้องผู้ขาดแคลน  ทุกคน
๑๖)  จงอย่าเบียดเบียนผู้อื่น  ชังกันนั้นไม่ดี  ควรถนอมรักกันดุจพี่น้อง  คว่างเอยใต้ลุ่มฟ้านี้เราเป็นใหญ่  พระยาจอมได้ปลูกมิ่งไว้และผลิดอกบานแล้ว  พวกเจ้าผู้ครองเมืองจงคิดให้กว้างๆ
    ๑๗)  อย่าเลี้ยงโจรและคนโฉดชั่ว  พวกนี้จะพาให้เสียหน้า
๑๘)  จงตรวจดูว่าไพร่พลคนใดตายเพราะถูกช้างเอางาแทงในการป้องกันโจรมารรักษาบ้านเมือง  คนพวกนี้ตายแล้วย่อมได้ขึ้นสวรรค์  ถ้าเขามีเชื้อสายเดียวกัน  ควรดูแลครอบครัวของเขา
    ๑๙)  อย่าปล่อยให้คนพวกนั้นต้องสูญพันธุ์ไป  พวกมหาดเล็กจงฟังไว้ให้ดี
๒๐)  ไม่ควรเชื่อใจเมีย  ไม่ควรบอกความลับแก่เมีย  เพราะว่าเขาสามารถยุให้เราทำผิดหรือเสียศักดิ์ศรีได้
    ๒๑)  นักปราชญ์ควรหลีกหนีสังสารวัฏ  เหมือนดังพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนไว้
    ๒๒)  เวลามีงานเลี้ยงจงให้พวกไพร่ฟ้าได้กินกันจนอิ่ม
๒๓)  อย่าข่มขู่ไพร่ฟ้าคนใต้ปกครอง  ของที่อยู่ในพระคลัง  เช่น  เงิน  ทอง เกลือ จงแบ่งปันให้เขา  จะไปตีเมืองใดจงถามผู้เฒ่าดูก่อน  อย่าพูดจาข่มเหงใส่ร้ายผู้อื่น
๒๔)  จงอย่าเห็นแก่เงินคำ  เราเสียคนดีก็เพราะเห็นแก่อามิสสินจ้าง  ของแพงนั้นควรถนอมไว้ในยุ้งฉางก่อน  มันไม่ได้ไปชนช้างทำศึกช่วยเราหรอก
๒๕)  จงอย่าข่มเหงขุนนาง  จงถนอมรักพวกเขาดังเดียวกับที่เราทำตามคำพ่อเรา  พวกเราต้องเข้าใจกันจึงจะจำเริญด้วยกัน
๒๖)  อย่าบังคับเอาประชาชนมาเป็นทาส  เวลาเกิดศึกก็พวกนี้แหละที่จับอาวุธออกรบ  ต้องรู้บุญคุณและสงสารเขา  มิฉะนั้น  เขาจะพากันหลีกหนี  หมดโทษจงเลี้ยงดูเขาไว้  ผู้คนทั้งหลายจะยกย่อง
๒๗)  ถ้ามีคนยากไร้มาของพึ่ง จงเลือกเอาไว้เป็นกำลัง  บรรดาสรรพสิ่งและช้างม้าก็เช่นกัน  เขาเหล่านี้แหละจะอาสาช่วยในสงคราม
๒๘)  คนใดปากหวาน  ต่อหน้าดี  แต่ลับหลังร้าย  จงปล่อยให้คนเหล่านั้นลำบากอยู่สัก  ๓  ปี  ต่อเมื่อเขาสำนึกแล้วจึงเอาเลี้ยง
๒๙)  อันหนึ่ง  จงอย่าหลงไหลเมียสาว  การหลงไหลในเมียสาวนั้นมันก็เหมือนกับกินยาเบื่อนั้นแหละ

๒.๗  เว้นอคติ  4  ประการคือ
๑)  ฉันทาคติ        ลำเอียงเพราะชอบ
๒)  โทสาคติ        ลำเอียงเพราะชัง
๓)  โมหาคติ        ลำเอียงเพราะหลงหรือเขลา
๔)  ภยาคติ        ลำเอียงเพราะขลาดกลัว196
๒.๘  วรรณกรรมอีสาน
อันว่าจอมราชาเหมือนพ่อคิงเขาแท้    จิ่งให้ไลเสียถิ้มอะคะติทั้งสี่ พญาเอย
    โทสาทำโทษฮ้ายโกธากริ้วโกรธแท้เนอ    จงให้อินดูฝูงไพร่น้อยชาวบ้านทั่วเมือง
    ชาติที่เป็นพญานี้อย่ามีใจฮักเบี่ยงพญาเอย    อย่าได้คึดอยากได้ของข้าไพร่เมืองเจ้าเอย
    ละอะคะติสี่นี้ได้จึงควรสืบเสวยเมือง    ทงสมบัติครองเมืองชอบธรรมควรแท้
    อันหนึ่งจิตอ่อนน้อมคำฮ้ายแม่นบ่มี    ปากกล่าวต้านคำอ่อนหวานหูแลนา
    บ่เหล้นชู้เมียซ้อนเพิ่นแพง        บ่คึดโลภเลี้ยวลักสิ่งเอาของเพิ่นนั้น
    บ่ตั้วะบ่พางไผเพื่อนสหายกันแท้        บ่ฆ่าสัตว์ประสงค์เว้นอินดูสัตว์มากยิ่ง
    บ่คึดโลภเลี้ยวจาต้านให้เบี่ยงความ        บ่ลามกหยาบซ้าเกินฮีตครองธรรมแลนา
    บ่กินสุราเหล้าเอาต้นเว้นขาด        กรรมแปดจำพวกนี้ไผเว้นประเสริฐดี 197

๒.๙  พรหมวิหาร  คือ
        ธรรมประจำใจของผู้ใหญ่หรือผู้มีจิตใจกว้างขวางดุจพระพรหม  4 อย่าง
๑)  เมตตา  ความรัก  คือความปรารถนาดีมีไมตรีจิต  ต้องการช่วยเหลือให้ทุกคนให้มีความสุขและประโยชน์ของตน
๒)  กรุณา  ความสงสาร  คืออยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ ใฝ่ใจที่จะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์และความเดือดร้อนของคนและสัตว์ทั้งปวง
๓)  มุทิตา  ความพลอยยินดี  เมื่อเห็นคนอื่นอยู่มีสุขก็มีใจแช่มชื่นเบิกบานกับเขา  เมื่อเห็นเขาประสบความสำเร็จก็พลอยยินดีกับเขาด้วย
๔)  อุเบกขา  ความมีใจเป็นกลาง  คือมองความเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนอื่นทั้งที่ดีและเลวก็มีใจมั่นคงดุจตราชั่ง  คือการวางตนให้เฉย198

๒.๑๐  วรรณกรรมอีสาน
       สอนขุน  เจ้าพระยาให้ยึดมั่นในครรลองแห่งธรรมะโดยยึดหลักพุทธปรัชญานั้นเองดังนี้คือ
    ดูราร้อยเอ็ดตนพระยาใหญ่ฟังเน้อ        เรานี้เป็นย่อนท้าวเทวดาคำซูซอย แท้ดาย
    อันจักเป็นเหตุให้จิบหายจมจุ่ม แท้ดาย    โลภคติสี่นี้เป็นเค้าแก่เฮา
    ใผผู้โลภาพ้นผิเอาของท่าน        โทโสทำโทษให้เสียแล้วจึงเอา
    โมหาทำตัวร้ายผิเอาของท่านศรัทธา    เห็นแก่ได้บ่มีฮู้บาปบุญ
    เห็นแก่สินท่านจ้างเข้ามาสับส่อ        มะนะทิฐิก็เข้าคำร้ายเกิดมี
    ก็บ่ฟังคำผู้มีผญาต้านกล่าว        มักลื่นได้ของแท้ก็บ่มี  แท้แล้ว
    เมตตากรุณาอย่าได้วางจักเมื่อ        มุทิตาอุเบกขาจือไว้จำมั่นอย่าไล แท้ดาย
    อันหนึ่งโกรธาร้ายอย่าได้ทำตามคำเคียด    ให้พิจารณาถี่ถ้วนเสียแล้วจึงทำ
    อันหนึ่งฟังหมู่ขุนเฒ่าพิจารณาคุณโทษก็ดี  ให้เอาตามฮีตบ้านเมืองแท้แห่งโต นั่นเน้อ
    ในโลกนี้มีฮีตห่อนเสมอกันแท้ดาย    ฝูงใดเอาคองเพื่อนมาหลงเค้า
    เป็นขุนให้จาความให้มั่นแน่ จริงเทิน    อย่าเห็นแก่ใกล้ฝ่ายไส้โครตวงศ์แท้ดาย
    โตหากเทียวทางไกลปักตูเรือนซิฮ้อน    อย่าได้ปบแล่นปลิ้นคืนแท้อยู่หลังเพิ่นดาย
    ครั้นว่าความให้ตัดไปด้วยซื่อ        ทางงูอย่าให้เคียดทางเขียดอย่าให้ตาย
    ก็จึงมิ่งมังคละเข้าขุนพิจารณ์โสภาพ จริงแล้ว 199

bandonradio

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons