๓.๒.๔ พุทธศาสนสุภาษิตมีต่อเพลงลูกทุ่ง กวีมักจะนำมากล่าวให้สติมักจะแทรกอยู่ในคำสอนต่าง ๆ ตามแต่จะเหมาะสม เช่นในบทเพลงความรัก ความผิดหวัง ก็จะแทรกไว้แล้วแต่เนื้อความและสถานการณ์ เช่น บทเพลงเปรียบเทียบการคบคนต้องดูที่หน้าตาเสียก่อน เหมือนกับการซื้อผ้าต้องดูเนื้อ รวมไปถึงการที่จะคบกับสตรี คนไทยเรานิยมการดูที่ครอบครัวด้วย มักจะมีคำโบราณพูดเสมอว่า “ดูนางให้ดูแม่ ถ้าจะดูให้แน่ดูถึงแม่ยาย”
การจะเลือกคู่ครองนั้นต้องถือว่าสำคัญยิ่ง เพราะจะต้องหาเนื้อคู่ที่อยู่ในอุดมคติของตนคือเป็นคนดี เรียกว่าให้มีเรือนสามน้ำสี่(เรือน ๓) แม้ในทางพระพุทธศาสนาก็กล่าวไว้ในเรื่องของสตรีที่บุรุษชอบใจแท้ ดังที่พุทธพจน์ตรัสไว้ว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย สตรีที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมเป็นที่พอใจโดยส่วนเดียวของบุรุษ” ผู้หญิงที่เป็นแม่ศรีเรือน เป็นผู้งามด้วยจรรยามารยาทรู้หน้าที่การงานย่อมเป็นที่หมายปองของบุรุษ
สังคมไทยแม้จะยกย่องชายที่บวชแล้วเรียนแล้วว่าเป็นคนสุก สังคมไทยก็ไม่นิยมให้ชายบวชหลายครั้งจนถึงมีคำพังเพยเรื่องการบวชหลายครั้งว่า “ชายสามโบสถ์” เป็นสิ่งต้องห้าม(ลักขณา)
๓.๒ อิทธิพลของหลักคำสอนที่สะท้อนถึงการแต่งบทเพลงลูกทุ่งต่างๆ
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาคือจริยธรรมนั่นเอง จริยธรรมอิทธิพลเหนือจิตใจมนุษย์อย่างยิ่ง จริยธรรมเป็นทั้งข้อความปฏิบัติและข้อห้ามจริยธรรมมีอิทธิพบต่อกวีมากเช่นกัน(นิพนธ์) ในขณะเดียวกันผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาจึงแยกพระพุทธศาสนาในสังคมไทยเป็น ๒ แบบ คือ พระพุทธศาสนาตามหลักธรรมของพระศาสดา (Doctrinal Buddhism) อีกอย่างหนึ่ง คือ พระพุทธศาสนาแบบชาวบ้าน (Popular Buddhism)
ฉะนั้น ผู้ศึกษาจึงต้องพิจารณาความเชื่อทางด้านพระพุทธศาสนาแบบชาวบ้านมากกว่าพุทธศาสนาแบบทฤษฎีหลักธรรมของพระศาสดา(ธวัช) บทเพลงลูกทุ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นวัฒนธรรมทางคติธรรม เป็นบทเพลงที่มีจุดประสงค์ที่จะสอนประชาชนในด้านจริยธรรม ความประพฤติตลอดจนการดำรงชีวิตในสังคม ซึ่งเป็นลักษณะของการสะท้อนศีลธรรม และนักกวีเหล่านั้นเป็นผู้มีกุศโลบายอันดี จึงนำคำสอนเหล่านี้มาร้อยกรองให้กะทัดรัดสละสลวยและสะดวกต่อการจดจำ โดยสรุปรวมยอดแล้ว มีความหมายเป็นเหมือนคติธรรมโดยทั่วไป คือ
๑) มุ่งให้ละชั่วล
๒) มุ่งให้ทำความดี(สุวรรณ)
ด้วยเหตุนี้กวีจึงนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาสอดแทรกในบทเพลงลูกทุ่งไทยเท่าที่จะมีโอกาส จึงกลายเป็นภาษิตและคำสอนต่าง ๆ เช่น
๑) โลกธรรม
๒) มงคลสูตร
๓) ไตรลักษณ์
๔) อบายมุข
๕) ทิศหก
๓.๒.๑ โลกธรรม ๘
ธรรมดาของโลก หรือความเป็นไปตามคติธรรมดา ซึ่งหมุนเวียนมาหาชาวโลก และชาวโลกก็หมุนเวียนตามมัน
ไป บุคคลที่ไม่ประมาทมัวเมาจนตกเป็นทาสของโลกและชีวิตอย่างที่เรียกได้ว่า หลงโลกเมาชีวิตเพราะมีสติ รู้จักมองพิจารณา รู้จักวางตัววางใจต่อความจริงต่าง ๆ อันมีประจำอยู่กับโลกและชีวิตนั้นเป็นคติธรรม(พระเทพเวที) หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสอนให้รู้ทันโลกธรรมคือรู้จักพิจารณาเท่านั้นตั้งสติให้ถูกต้องต่อสภาวะอันหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในชีวิตที่อยู่ท่ามกลางโลก ซึ่งเรียกว่า “โลกธรรม”(ได้ลาภ)
เพลงลูกทุ่งหลาย ๆ เพลงมีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะเรื่องโลกธรรมทั้ง ๘ ประการที่สอดแทรกในเนื้อหาสาระของบทเพลง แม้ครูเพลงบางคนอาจจะไม่ตั้งใจที่จะเขียนบทเพลงในทำนองนี้ก็จริง แต่เนื้อหาเหล่านั้นกลับเชื่อมโยงเข้าหาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาโดยไม่ตั้งใจ เป็นเครื่องยืนยันในส่วนลึกของจิตใจของครูเพลงนั้น มีความรู้เกี่ยวกับหลักธรรมอยู่แล้ว ไม่มากก็น้อย เนื้อหาสาระจึงปรากฏออกมาเช่นนั้น จึงถือได้ว่าความละเอียดอ่อนนั้นได้ปรากฏมีอยู่ในเพลงลูกทุ่ง ทำให้ผู้ฟังนอกจากได้รับความเพลิดเพลินจากเสียงเพลงแล้วยังได้ประโยชน์ โดยเสียงเพลงซึมลึกและสื่อความหมายของหลักธรรมได้อย่างไม่รู้ตัว
ก. มีลาภ เป็นโลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ ที่เกิดมีแก่ใครแล้วย่อมเป็นที่พอใจ จนไม่อยากให้เสื่อมสลายไป ถ้าไม่รู้เท่าทันก็จะตกเป็นทาจนเกิดการแสวงหาไม่มีคำว่าพอดี ซึ่งถือว่าเป็นโลกธรรมที่มีอยู่คู่โลกมายาวนานเพลงลูกทุ่งถึงการเก็บเงินแต่งงานถือว่าเป็นการหาทรัพย์หาได้โดยสุจริตประเพณีในชนบทฝ่ายชายจะต้องเตรียมพร้อม
ค่านิยมของคนไทยสมัยปัจจุบันนี้วัดกันที่ฐานะ โดยจะแข่งขันกันรวย ไม่ยอมน้อยหน้าซึ่งกันและกัน การมีรถ
หรือเครื่องเทคโนโลยีต่าง ๆ อยู่ในบ้านอย่างเพียงพร้อมถือว่าเป็นคนมีฐานะ สิ่งเหล่านี้ถ้าจะคิดให้ดีก็ถือว่าตกอยู่ใต้อำนาจของโลกธรรมนั่นเอง เพราะคนทั่วไปมักยอมรับทรัพย์สินทั้งหมดนั่นคือลาภ ที่ได้มากอย่างภาคภูมิใจ
เมื่อมีรถมักจะโอ้อวด แสดงตนเป็นเศรษฐี ชอบขี่อวดสาว ๆ เพื่อหวังผลคือเป็นสื่อเรียกร้องความสนใจ เพื่อมุ่งหวังจะให้ผู้หญิงสนใจตนและสุดท้ายก็ขึ้นไปนั่งเป็นตุ๊กตาหน้ารถ
ข.ไม่มีลาภ เป็นโลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ไม่น่าปรารถนาของคนทั่วไป ผู้กำลังประสบอยู่เพลงลูกทุ่งหลายเพลงที่กล่าวถึงการสูญเสียหรือการขาดลาภซึ่งเป็นเรื่องของชาวโลกที่มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นเรื่องของโลกธรรม และถือว่าเป็นธรรมดาของชาวโลกที่มักประสบพบทุกคน ขึ้นอยู่ว่าใครจะอยู่เหนือโลกธรรมเหล่านี้ได้ ลีลาและอารมณ์เพลงเป็นไปในทางล้อเลียนสังคมกลายแต่ก็ทำให้เราเห็นคนอีกพวกหนึ่งที่ไม่ยอมใช้แรงงานของตนให้คุ้มค่า โดยการคอยรับการทำงานทำเป็นหลักแหล่ง(ลักขณา)
ค่านิยมในเรื่องเงินและทรัพย์สมบัตินี้เป็นสิ่งที่คู่กับสังคมไทยจนมีคำพังเพยที่กล่าวว่า “เรือล่มในหนองทองจะไปไหน” ซึ่งหมายความว่าชายหญิงที่มีฐานะและสมบัติทัดเทียมกันถ้าได้แต่งงานกันก็จะทำให้มั่นคงยิ่งขึ้นไป เพลงลูกทุ่งกล่าวถึงคำพังเพยข้างต้นไว้(จินตนา)
ค. ยศ เป็นสิ่งที่ทุก ๆ คนปรารถนาด้วยกันทั้งนั้น เพราะการมียศถาบรรดาศักดิ์นั้นทำศักดิ์ศรีของตนเองสูงขึ้น ชาวโลกทั้งหลายจึงติดอยู่ที่ยศถาบรรดาศักดิ์ ไม่สามารถที่จะนำให้ตนอยู่เหนือโลกธรรมก็ได้ ซึ่งต่างกับพระโสดาบันหรือบุคคลโสดาบันได้ก้าวหน้าแน่วดิ่งไปแล้วในทางแห่งการตรัสรู้เขาย่อมเข้าใจโลกและชีวิตมากพอที่จะไม่หลงตีราคาโลกธรรมต่าง ๆ ไปตามแรงปลุกปั่นของกิเลส(พระเทพเวที) บทเพลงลูกทุ่งกล่าวถึงเรื่องในของยศถาบรรดาศักดิ์ไว้อย่างมากมายแม้ตำแหน่งที่กล่าวนั้นเป็นตำแหน่งระดับชาวบ้านก็ตาม แต่นั่นหมายถึงการครองตำแหน่งที่สูงเกียติของชาวชนบทเหมือนกัน
ง. เสื่อมยศ เป็นฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่นานปรารถการเปลี่ยนแปลงของโลกธรรมนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่จะต้องเป็นเช่นนั้น ตราบเท่าที่โลกยังหมุนเปลี่ยนไปอยู่เมื่อชีวิตของมนุษย์มีความเกี่ยวข้องกับโลกธรรม แน่นอนที่สุดโลกธรมทั้ง ๘ ประการดังกล่าวจะต้องติดตาม หรือหมุนตามเราไปตลอดเช่นนั้น เพียงแต่ว่าโลกธรรมฝ่ายไหนจะมาก่อนหรือหลังเท่านั้นเอง และบทเพลงลูกทุ่งนั้น ครูเพลงได้เรียบเรียงไว้อย่างมากมาย ในทำนองของการเสื่อมจากยศที่มีอยู่ซึ่งอาจจะหมายเอาประเด็นธรรมะตรง ๆ แต่ก็พอจะอนุโลมได้บ้างในฐานะเป็นการสูญเสียเหมือนกัน อย่างน้อยผู้ที่ตกอยู่ในภาวะกำลังเสื่อมจากยศหรืออะไรก็ตามก็ล้วนแล้วแต่ประสบทุกข์ติดตามมาเช่นเดียวกัน
เพลิน พรหมแดน ได้ร้องเพลง “คนไม่มีดาว” ไว้เป็นบทเพลงที่เปรียบเทียบระหว่างคนจนกับคนรวย คนมีศักดิ์ศรีกับคนที่ไม่มีศักดิ์ศรี ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นและเข้าใจว่า การมีฐานะต่างกันนั้น มันหมายถึงการไม่คู่ควรกันโดยประการทั้งปวง เพลงประเภทนี้ก็คงสรุปลงในธรรมะข้อที่ว่าการเสื่อมลาภได้เช่นเดียวกัน เพราะคนไม่มีดาวก็หมายถึงคนไม่มียศนั้นเอง
ง. สรรเสริญ โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ เป็นธรรมที่ทุก ๆ ปรารถนา เป็นธรรมดาอยู่เองที่มนุษย์ทุกคนมักชอบพูดหวาน ๆ ด้วยกันทั้งนั้น ยิ่งในสังคมปัจจุบันบางคนบริจาคทรัพย์ทำบุญเพียงเพื่อหวังคำเยินยอสรรเสริญเท่านั้น จนมีคำพูดตามมาเสมอ ๆ ว่า “ทำบุญเอาหน้า” หรือแม้กระทั่งบางคนทำดีก็แค่หวังให้คนอื่นสรรเสริญเท่านั้นเอง หลักธรรมข้อนี้มีอยู่ประจำโลก
การบริจาคทรัพย์ของตนเพียงเพื่อหวังแค่คำสรรเสริญมีอยู่มากมายในสังคมทั่วไป ในกรณีเช่นนี้ย่อมผิดแผกไปจากพระโสดาบัน ซึ่งเมื่อทำการเสียสละบริจาคในการช่วยเหลือแก่ผู้อื่น (จาคะ) ก็ตาม เขาจะไม่หวังผลตอบแทน ไม่หวังได้ลาภ เกียติ ยศ สรรเสริญ สุข สวรรค์ อย่างโลกียปุถุชนทั้งหลาย(พระราชวรมุนี)
คำสรรเสริญ ถ้าใครได้ประสบก็มักจะฟูใจ แต่ในขณะเดียวกันถ้าใครผิดหวังก็เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาจึงให้ทุกคนมีสติรู้เท่าทันโลกธรรมที่มีอยู่ประจำโลก ทุก ๆ คนถ้าต้องการคำสรรเสริญเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงความเป็นจิง คนประเภทนี้จัดว่าเป็นคนพาล ดังปรากฏในพระไตรปิฎกว่า
“ภิกษุพาลปรารถนาคำสรรเสริญที่ไม่เป็นจริง ความ
เด่นออกหน้าในหมู่ภิกษุ ความเป็นใหญ่ในอาวาสทั้งหลาย
และการบูชาในตระกูลคนอื่น (เขาคิดว่า) ขอให้คนทั้งหลาย
ทั้งพวกคฤหัสถ์และบรรพชิตจงสำคัญว่าสิ่งที่ทำสำเร็จแล้ว
ก็เพราะอาศัยเราคนเดียว ขอให้ทั้งสองพวกนั้น จงอยู่ใน
อำนาจของเราเท่านั้น ในกิจน้อยใหญ่ไม่ว่าอย่างใด ๆ คน
พาลมีความดำริ ดังนี้ ความริษยามานะ (ความถือตัว) จึงมีพอกพูน”(ขุ.ธ.)
จากการค้นคว้าเพลงลูกทุ่งทั้งหลาย ส่วนมากมักจะเป็นบทเพลงที่เกี่ยวกับความรักแต่ในเนื้อหาเพลงเหล่านั้นมีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแฝงอยู่ ซึ่งถ้าคนไม่สนใจเพลงลูกทุ่งอย่างจริง ๆจัง ๆ แล้ว มักจะมองไม่เห็นและอาจมองข้ามไป
ดังนั้น คำสรรเสริญจึงมีปรากฏอยู่มากพอสมควร แม้นหลาย ๆ เพลงอาจจะกล่าวถึงเรื่องของหนุ่มสาวที่ต้องการความสนุกสนานรื่นเริงเท่านั้นก็ไม่ได้หมายความว่าสาระไม่มี แท้ที่จริงแล้วนั้นสาระและความหมายย่อมสอดแทรกอยู่ในบทเพลงนั้น ๆ
เพลงลูกทุ่งที่ใช้คำไพเราะมักเป็นเพลงที่แสดงถึงความรัก และชมธรรมชาติที่สวยงาม พร้อมทั้งความคิดฝันซึ่งเป็นบทเพลงสรรเสริญ
ฉ. นินทา คือโลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ที่เป็นธรรมประจำคู่โลกมาตลอด ซึ่งตรงกันข้ามกับคำว่าสรรเสริญ ผู้ถูกนินทามักไม่ชอบใจและอาจกลายเป็นความผูกโกรธพยาบาทได้ การนินทามิใช่ของใหม่เป็นเรื่องเก่าแก่มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์พร้อมกันกับโลก (โลกธรรม แปลว่า ธรรมประจำโลก) ส่วนนี้มิได้หมายความว่า โลกขาดจากการนินทาไม่ได้ แต่การนินทาต่างหากที่ไม่ขาดไปจากโลก เพราะเมื่อคนยังมีกิเลสอยู่ สิ่งที่ชอบใจก็มักจะถูกยกย่องสรรเสริญ สิ่งที่ไม่ชอบใจก็มักจะนินทา ก็เพราะไม่เป็นที่สบอารมณ์นั่นเอง กล่าวได้ว่าทุกคนย่อมจะหนีการนินทาไปไม่พ้น พังพุทธสุภาษิตว่า “นิตฺถิ โลเก อนินฺทิโต คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก”(ขุ.ธุ.)
ห้ามไฟไว้อย่าให้ มีควัน
ห้ามสุริยแสงจันทร์ ส่องไซร้
ห้ามอายุให้หัน คืนเล่า
ห้ามดั่งนี้ไว้ได้ จึ่งห้ามนินทา
(โคลงโลกนิมิต)
หรือ อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ
ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
แม้แต่องค์พระปฏิมายังราคิน
มนุษย์เดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา
(พระอภัยมณี)
ช. สุข ขึ้นชื่อว่าความสุขนั้นย่อมเป็นที่ปรารถนาของคนทุก ๆ คนและทุก ๆ คนย่อมเคยประสบความสุขมาแล้วด้วยกันทั้งนั้น ความสุขเป็นอย่างไรจึงเป็นที่รู้จักกันอยู่ในเวลาที่กายและจิตใจอิ่มเอิบสมบูรณ์สบายดีกล่าวกันว่าเป็นสุข ความสุขจึงเกิดขึ้นที่กายและจิตใจนี่เอง
อย่างไรก็ตาม ความสุขที่แท้จริงในทางพระพุทธศาสนาท่านหมายเอาความสุขคือพระนิพพาน แต่ในขณะเดียวกันความสุขสำหรับสังคมปัจจุบัน ท่านหมายเอาสุขที่เป็นไปตามโลกธรรม อันหมายการมีเงิน ทอง ยศ ชื่อ เสียง เป็นต้น อันเป็นอุปกรณ์แห่งความสุข แต่สำหรับพระพุทธศาสนาไม่ได้มองความสุขเช่นนี้เป็นความสุขที่แท้จริง เพราะปัจจัยภายนอกเป็นเหตุแห่งความสุข ผู้ที่มีสิ่งภายนอกบริบูรณ์เป็นสุขทุกคน แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น ผู้ที่บริบูรณ์ด้วยสิ่งภายนอกแต่เป็นทุกข์ถมไป เพราะเหตุนี้ สิ่งภายนอกจึงมิใช่เป็นตัวของความสุข เป็นเพียงเครื่องแวดล้อมอุดหนุนความสุขเท่านั้น (สมเด็จพระญาณสังวร)
ความสุขมีความสำคัญมากในการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนอาจกล่าวได้ว่า พุทธจริยธรรมไม่แยกต่างหากจากความสุข เริ่มแต่ขั้นในการทำความดีหรือกรรมดีทั่ว ๆ ไปที่เรียกว่าบุญ (พระราชวรมุนี) ก็มีพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า “บุญเป็นเรื่องของความสุข”(ขุ.อิติ.) เป็นความสุขที่ทุกคนปรารถนาและได้รับหลังจากการกระทำลงไป
อีกประการหนึ่ง ความสุขที่แท้จริงสำหรับผู้ครองเรือนนั้นอาจแบ่งได้ ๔ ประการ คือ
๑) อัตถิสุข สุขเกิดจากการมีทรัพย์
๒) โภคสุข สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์
๓) อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้
๔) อนวัชชสุข สุขเกิดจากการทำงานสุจริตไม่มีโทษ โดยไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น(องฺ.จตุกฺก.)
จากการศึกษาในบทเพลงลูกทุ่งส่วนมาก จะกล่าวถึงในแง่ของความเป็นจริงที่ประสบในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสุขของ
ตนเองและผู้อื่นแม้กระทั่งการปรารถนาให้คนอื่นเป็นสุขด้วย ในทางพระพุทธศาสนาอาจจะสงเคราะห์เข้ากับคำว่า “เมตตา” เมตตาเป็นข้อธรรมที่รู้จักกันทั่วไปแต่มีปัญหาเกี่ยวกับความเข้าใจถูกบ้าง คำแปลสามัญของเมตตา คือ ความรัก ความมีไมตรี ความปรารถนาความอยากให้ผู้อื่นเป็นสุขและประสบแต่สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์(พระราชวรมุนี)
ทุก ๆ คนย่อมไม่ปฏิบัติเลยว่าความสุขที่ได้รับนั้นจะมาในรูปแบบใดก็ตาม แต่ผลที่ได้รับความยินดีของผู้สัมผันนั้นเป็นสิ่งที่อธิบายไม่ได้สาระของเนื้อเพลงลูกทุ่งในยุคนี้มีทุกประเภทที่เกิดขึ้น ในชีวิตประจำวันของสังคมไทยทั้งเมืองหลวงและชนบท นับตั้งแต่การตัดพ้อของหนุ่มบ้านนา การ
ฌ. ทุกข์ เป็นธรรมะฝ่ายอนิฎฐารมณ์ที่มนุษย์ทุกคนไม่ปรารถนาแต่มนุษย์ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในชีวิตของตนส่วนหนึ่ง ต้องเผชิญกับความทุกข์ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่ชอบ แต่ก็หลีกไม่พ้น ในเพลงลูกทุ่งต่อไปนี้ ผู้วิจัยจะยกให้เห็นว่ามนุษย์นั้นแยกออกจากความทุกข์ไม่ได้ เพราะถือว่าธรรมชาติที่เป็นโลกธรรมทุกคนจะต้องประสบอย่างแน่นอน
ทุกข์นั้นแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่
๑) ทุกข์ทางกาย (กายิกทุกข์) หมายถึงความทุกข์ที่เกิดในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ เช่น เจ็บขา เจ็บมือ ปวดหัวเป็นต้น
๒) ทุกข์วางใจ (เจตสิกทุกข์) หมายถึงทุกข์ที่เกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์ เมื่อมีทุกข์ตรัสถึงสิ่งที่เป็นเหตุผลแก่กันคือผลย่อมมาจากเหตุ เมื่อมีผลก็ต้องมีเหตุทำให้เกิดผลนั้น ดังที่พระอัสสชิกล่าวถึงพระพุทธองค์ว่า
“ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุและความ
ดับของธรรมเหล่านั้นพระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้”(เย.ธมฺมา)
เมื่อพระองค์ตรัสเรื่องทุกข์ ก็ตรัสเรื่องสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ด้วยซึ่งพระองค์ทรงเรียกว่าทุกขสมุทัย ซึ่งเป็นความจริงอันประเสริฐอย่างหนึ่งดังปรากฎในปฐมเทศนาและสติปัฎฐานสูตรว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน ตัณหานี้ใดอันมีความเกิดอีกประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินเพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้นเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักเจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯลฯ รูปวิจาร สัทวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ
ในทัศนะทางพระพุทธศาสนานั้นได้ชี้ให้เห็นว่า จริง ๆ แล้วสุขไม่มี มีแต่ความทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ดังปรากฏในวชริสูตรว่า
“ความจริงทุกข์เท่านั้นเกิด ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ และทุกข์เท่านั้นเสื่อมสิ้นไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ”(ทุกฺขเมว)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น