วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

24. บทเพลงลูกทุ่งสัมพันธ์กันกับทานพิธี

ทานพิธี
    วิธีบำเพ็ญทานนั้น  ในสมัยพุทธกาลมีไม่มากวิธีนัก  เช่น  การตักบาตรเลี้ยงพระ  ทอดกฐิน  ทอดผ้าป่า  บังสุกุล  เป็นต้น  แต่ต่อมาภายหลังวิธีทำบุญได้วิวัฒนาการไปมากเช่นการตักบาตรซึ่งเดิมจริง ๆ  ก็มีเพียงการเอาข้าวสุกใส่บาตรให้พระนำไปฉันที่วัดเท่านั้น  แต่ปัจจุบันการใส่บาตรก็มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบถวายไป  เป็นตักบาตรน้ำผึ้งตักบาตรน้ำมัน  ตักบาตรเงิน  เป็นต้น(พระมหาเอกนรินทร์)
    อย่างไรก็ตาม  ในการทำบุญให้ทานนั้น  เจตนาถือว่าสำคัญ  จะต้องมีเจตนาทั้ง  ๓   กาล  คือ  ก่อนให้ทาน ขณะให้ทาน  และหลังจากให้ทานแล้ว  ผลบุญจึงจะได้สมบูรณ์ดังพระคาถาว่า
    “ทายกก่อนแต่จะให้เป็นผู้ใจดี  กำลังให้ทานอยู่ก็ยังจิตให้ผ่องใส
    ครั้นให้ทานแล้ว  ย่อมปลื้มจิต  นี้เป็นยัญสมบัติ  (ความสมบูรณ์ของทายก)”(องฺ ฉกฺก)
ส่วนวัตถุที่พึงให้ทานนั้น  ท่านกล่าวไว้มี  ๑๐  อย่าง  คือ  อย่างนี้บางอย่างก็ไม่เหมาะต่อการถวายแก่พระสงห์  ในประเด็นนี้ผู้ศึกษาพึงแยกแยะให้ถูกว่าสิ่งไหนควรไม่ควร   การบำเพ็ญทานดังกล่าวได้กลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวพะทธศาสนิกชนไปแล้ว   ดังที่ปรากฎในหลักของศาสนพิธีต่าง ๆ  ซึ่งกล่าวถึงแบบอย่างของพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องเพื่อความเป็นระเบียบและครบถ้วนตามหลักศาสนพิธีที่ชาวพุทธยึดถือกัน
    การบำเพ็ยทานนั้น  เมื่อถือหลักเจตนาของผู้บริจาคเป็นที่ตั้งแล้ว  แบ่งออกเป็น  ๒  อย่าง  คือ
1.    ปาฏิบุคลิกทาน  ถวายเจาะจง2.    พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง3.   
4.    สัง5.    ฆทาน  ถวายไม่เจาะจง6.    แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง7.    (พ.อ.)
ผู้รับทานหรือปฏิคคาหก  (เรียกว่า  บุญเขต)  ต้องเป็นบุญเขตหรือเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมจึงจะทำให้ผลทานหรือสักการบูชามีผลานิสงส์มากในธัมมปทัฎกถามีพุทธดำรัสว่า  “เมื่อจิตประณีต  ทานที่ถวายแก่พระอริยบุคคลมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น  ย่อมไม่ชื่อว่าเศร้าหมอง”(จิตฺตสฺมึ)   คือเมื่อตั้งใจให้ทานในผู้รับที่บริสุทธิ์   ทานย่อมให้ผลเต็มที่ในพระพุทธศาสนายกย่องการเลือกให้ (วิจยทาน)  ดังที่พระพุทธเจ้าว่า  “พึงเลือกให้ทานในบุญเขตที่มีผลานิสงส์มาก  ที่พระสุคตตรัสสรรเสริญ   การให้แก่พระทักขิไณยบุคคล   เหมือนการหว่านพืชลงในนาดีฉะนั้น”(วิเจยฺย)
จากการศึกษาพบว่า  บทเพลงลูกทุ่งหลายเพลงที่กล่าวถึงการให้ทาน  เช่น  การให้ทานทำบุญในเทศกาลทอดกฐิน  ผ้าป่า 
ให้ทานปล่อยชีวิตสัตว์  แม้กระทั่งการทำบุญตักบาตรโดยทั่วไปก็ถือว่า  เป็นการให้ทานเหมือนกัน
    จากความเชื่อที่ว่า  “ทำบุญต้องอธิษฐาน  ให้ทานต้องปรารถนา”  ซึ่งเป็นคติชาวบ้านทั่วไปมักจะเชื่อว่าการตักบาตรทำบุญให้ทานนั้นผลอานิสงฆ์ต้องสะท้อนกลับอย่างแน่นอน  อย่างเพลงลูกทุ่งที่กล่าวถึงความสวยของสตรีเชื่อว่าได้มาจากแรงปรารถนาที่เคยได้ทำบุญให้ทานไป  จึงประสบผลด้วยพรสี่ประการ  คือ  อายุ  วรรณะ  สุขะ  พละ  ดังบทเพลงว่า
    “ผู้หญิงที่สวยอย่างคุณ   ทำบุญไว้ด้วยอะไร  จึงสวย
    น่าพิศมัยน่ารักน่าใคร่พริ้งพราว  คงถวายมะลิไหว้พระ
    วรรณะจึงได้นวลขาว  เนตรน้องดั่งสอยจากดาว กะพริบ
    พร่างพราวหนาวใจ
    ตักบาตรคงใส่ด้วยข้าวหอม   จึงสวยละม่อมละไม  บุญทาน
    ที่ทำด้วยเต็มใจ  เธอจึงได้พรสี่ประการ  อายุ  วรรณะ  สสุขุ
    พละและปฏิภาณ   เพียงพบเจ้านั้นไม่นานพี่ซมพี่ซานลุ่มหลง”
        (ทำบุญด้วยอะไร :พยงค์  มุกดา)
    การจัดถวายผ้ากฐินจัดเป็นสังฆทาน  คือถวายโดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง  ถวายในท่ามกลางสงฆ์  ภิกษุรูปใดจะได้ผ้านั้นเป็นสิทธิ์หรือเรียกองค์ครองนั้นเป็นหน้าที่ของสงวห์ในวัดนั้นจะพึงปรึกาหารือและตกลงกับมอบให้ภิกษุรูปที่สงห์เห็นสมควรสามารถทำกฐินถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในทักขิณาวิภังคสูตรว่า  “ดูก่อนอานนท์ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น  เรากล่าวว่ามีผลนับไม่ได้  แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฎิปุคคลิกทานว่ามีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไร ๆ  เลย”(ม.อุ)  การทอดกฐินจัดว่าเป็นการถวายเพื่อสงฆ์โดยเฉพาะและการถวายกฐินนี้จัดว่าเป็นกาลทาน  คือถวายได้เฉพาะกาลหนึ่งเท่านั้น  จะถวายตามใจชอบไม่ได้
    บทเพลงลูกทุ่งกล่าวถึงการถวายทานที่ยิ่งใหญ่เรื่องการทอดกฐินไว้อย่างมากมายเพราะชาวไทยถือว่าเป็นงานบุญประเพณีด้วย  เพราะฉะนั้นเรื่องกฐินจึงเป็นเรื่องที่ชาวพุทธให้ความสำคัญ  เมื่อถึงเทศกาลก็ชักชวนกันทำบุญ  โดยยึดหลักศาสนพิธีทางศาสนกระทำกันอย่างถูกต้อง  ดังบทเพลงว่า
    “ว่าโอ้วันนี้  นะพี่น้องเอ๋ย  จงอย่าละเลยพี่น้องทั่วถิ่น
    เสียงเครื่องขยายที่ท่านได้ยิน  เป็นงานกฐินของวัดบ้านเรา
    ถึงกาลแล้วหนอ  พอออกพรรษากฐินกาลทานมาเหมือนเก่า
    บุญประเพณีมีนานเนา  สมัยพระพุทธเจ้าของเรามีรวมกัน
    ทอดผ้าโมทนากฐินเชิญท่านทุกถิ่นเพิ่มบุญราศี  เป็นกุศล
    พิเศษเจตนาดี  บุญยิ่งใหญ่นี้ทำยากยิ่งนา
    จะต้องอาศัยซึ่งกำลังทรัพย์  และตามอันดับคือกำลัง
    ปัญญา  เข้ามาประกอบกำลังศรัทธา  จึงจะเป็นบุญญากฐิน
    ทาน...”
        (อานิสงส์ทอดกฐิน  :  ไวพจน์  เพชรสุวรรณ)
    ในการสร้างวัดนั้นถือเป็นงานใหญ่  แม้ว่าจะไม่สามารถช่วยเหลือในทางทรัพย์สินได้ก็อาจจะช่วยในทางกำลังความคิด   กำลังกาย  หรือกำลังใจ  คือให้การสนับสนุนโดยไม่ขัดขวางก็ย่อมเป็นการให้ทานและเป็นการสร้างสมบูญบารมีให้เกิดขึ้น   เพราะมีแรงศรัทธาในศาสนาเช่นกัน   ถือว่าท่านกำจัดมลทินคือความตระหนี่อย่างสิ้นเชิง  อันใคร ๆ  ไม่ติเตียนได้จะได้เข้าถึงโลกสวรรค์(ขุ.วิ)   ตามปกติแล้วการทำทานทุกชนิดย่อมมีอานิสงส์ของทานนั้นเสมอ  ถ้าผู้ให้ทานกระทำไปด้วยใจบริสุทธิ์  ไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝงอยู่(วันดี)   พระพุทธเจ้าก็ได้แสดงถึงอานิสงส์ของการถวายทานว่า
    “ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก  ชื่อว่าดำเนิน
    ตามธรรมของสัปบุรุษ   สัปบุราผู้สงบ  ผู้สำรวมอินทรีย์  ประกอบ
    พรหมจรรย์  ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ   สัปบุรุษเหล่านั้นย่อม
    แสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา   เขาได้ทราบชัด
    แล้วย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้   ปรินิพพานในโลกนี้”(องฺ ปญฺจก)
    เพลงลูกทุ่งได้เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ให้พุทธศาสนิกชนร่วมบำเพ็ญกุศลด้วยการบริจาคทรัพย์สร้างวัด  หรือศาสนสถานซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา  ในการนี้พระพุทธศาสนาเน้นหนักการบริจาคทรัพย์ตามกำลังศรัทธา   ในชนบทนั้นวัดเป็นศูนย์รวม  เมื่อมีกิจกรรมเกี่ยวกับทางวัด  ชาวบ้านจึงพร้อมใจสามัคคีพากันไปช่วยกันหาทุนสร้างชีวิตดังบทเพลงว่า
    “สิบนิ้ววันทาและมาบอกบุญ  เชิญนะคุณ ๆ  มาร่วมใจทำบุญสร้างวัด
    สละกันไปไม่ใช่เรี่ยไร  แต่มาบอกบุญเสนาสนะมันผุพัง  คอยความหวังจากคุณ ๆ  ทำบุญกันเถิดจะ
    เกิดบุญรวบรวมเป็นทุนให้วัดไป
    โอ้โบสถ์วิหารกระดานกุฎีทรุดโทรมเสื่อมศรีน่าเศร้าใจ
    พระสงฆ์องค์เจ้าเข้าอาศัย  ท่านจะสุขใจอย่างไรดี  เราคน
    ไทยชาวพุทธเชื้อศากยะพระมุนีเรื่องบุญกุศลทุกคนยินดี
    สุดที่พลีบริจาคทานตามกำลังศรัทธา  แต่ทำเอาหนังหน้าต้องการ
    การ   คนละบาทสลึงได้ถึงนิพพาน  รวมกันให้หมดยังได้หลายโอ่ง
    ร่วมกันช่วยว่าจรรโลง  สิ่งประสงค์ดังใจปอง...”
    (เชิญทำบุญสร้างวัด  :  ไวพจน์  เพชรสุวรรณ)
    การปล่อยนกปล่อยปลาในเทศกาลสงกรานต์นั้น  คนไทยถือว่าเป็นการให้ทานแก่ชีวิตเหมือนกัน  สงกรานต์บ้านนา  นอกจากจะเป็นเทศกาลที่นำมาซึ่งความสนุกสนานหรรษาของชาวไทยอย่างแท้จริง  การทำบุญช่วยชีวิตเขาให้พ้นความตาย  ถือว่าได้ต่ออายุของเขา  บางครั้งผู้ปล่อยยังอธิฐานขอให้เคราะห์กรรมต่าง ๆ  หายไปพร้อมกับนกและปลา
    การปล่อยนกปล่อยเลานี้ถือเป็นกุศลอย่างหนึ่งของคนไทยและคนไทยส่วนมากมักจะมีจิตใจเมตตากรุณาต่อสัตว์(แปลก)  คนไทยจึงนิยมทำกันมาก  เพราะเชื่อว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์ให้เบาบางลง
    เนื้อหาสาระของเพลงลูกทุ่งยังคงไว้ซึ่งประเพณีที่ดีงามของเมืองไทย  เช่น  การเล่นรำวงชาวบ้าน  การเล่นช่วง  เล่นสะบ้า  ตลอดจนปล่อยนกปล่อยปลา  สงกราน์บ้านนาจึงเป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์   ดัวเพลงว่า
    “สงกรานต์บ้านนา  วันนี้กานดาสุขกันชุ่มฉ่ำ
    เล่นช่วงสนุกหนักหนา  พร้อมเล่นสะบ้า  เริงร่าเหลือล้ำ  ใคร
    แพ้แน่นอนถูกตี  ถ้าแพ้คน  พี่ไม่ว่าสักคำ
    นานทีปีหน  วันเวียนวนให้มาดื่มด่ำ  ปล่อยนกปล่อยปลา
    ปะแป้ง    คนใส่เสื้อแดงแต่งตัวงามล้ำ  กลางคืนรื่นรมย์รำวง
    ขอเชิญโฉมยงมาเป็นคู่รำ
    สงกรานต์บ้านเรา  ประเพณีเก่า ช่วยกันจุนค้ำ สนุก
    ทุกข์แบบไทย ๆ  อย่าไปหลงใหลของใหม่เต้นบั้มพ์
    อย่าปล่อยให้เสื่อมสูญไป  เราคนไทยต้องใส่ใจจำ..”
        (สงกรานต์บ้านนา :   ข้อร้องโดย ยอดรัก  สลักใจ)
    สมัยหนึ่ง  เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้วเสด็จไปจำพรรษา  ณ  บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ในดาวดึงส์เทวโลก  เพื่อจะตรัสพระสัทธรรมเทศนาสัตตปกรณาภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา  ครั้นถึงวันปวารณาสมเด็จพระบรมศาสดาทรงปวารณาพระวัสสาแล้วเสด็จจากดาวดึงส์พิภพมาสู่มนุษย์โลก  โดยบันไพทิพย์ทั้ง  ๓  คือ   บันไดทอง อยู่ ณ  เบื้องขวา  บันไดเงิน  อยู่  ณเบื้องซ้าย  บันไดแก้วประดิษฐานอยู่ในท่ามกลาง  และเชิงบันไดทั้ง  ๓  นั้นจดพื้นภูมิภาคปฐพี  ณ ที่ใกล้เมืองสังกัสสนคร  และศีรษะบันไดเบื้องบนยอดเขาพระสิเนรุราชอันเป็นที่ตั้งแห่งดาวดึงส์พิภพ  บันไดทองเป็นที่แห่งหมู่เทวดาอันตามส่งเสด็จ  บันไดเงินเป็นที่ลงแห่งหมู่พรหมบันไดแก้วในท่ามกลางเป็นทางเสด็จของพระบรมครูสัพพัญญูเจ้า
    การทำบุญตักบาตรเทโว  ก็เท่ากับทำบุญตักบาตรต้อนรับพระพุทธองค์  ในคราวเสด็จลงจากเทวโลกนั่นของทำบุญที่นิยมกันเป็นพิเศษในกาลทานนี้  คือข้าวต้มลูกโยน  ซึ่งเอาข้าวเหนียวมาห่อด้วยใบมะพร้าวไว้หางยาง
    การที่ทำบุญให้ทานด้วยข้าวต้มลูกโยนนั้น  กล่าวกันว่าในครั้งนั้นสมเด็จพระบรมศาสดาถูกห้อมล้อมด้วยเทวดาและมนุษย์ผู้ที่เข้าถึงพระองค์ก็มีผู้ที่เข้าไม่ถึงก็มี  ดังนั้น  ผู้ที่เข้าไม่ถึงก็โยนเข้าไป  เมื่อถึงวันกำหนดการตักบาตรเทโว  พุทธศาสานิกชนทั่วไปก็จะตั้งแถวเรียงรายคอยใส่บาตร  สรุปลงได้ว่า  ทำให้ใกล้กับความจริง  เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชาวพุทธก็ได้มีโอกาสบำเพ็ญทานพิธี  ซึ่งชาวพุทธเรียกวันนี้ว่า “เทโวโรหณแปลว่าพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก”
    บทเพลงลูกทุ่งกล่าวถึงการเตรียมตัวไปตักบาตรทำบุญในวันนี้สิ่งที่ตระเตรียมก็คืออาหารกระป๋อง  นมข้ม  น้ำตาล  และข้าวสุก  เป็นต้น ชาวพุทธมักจะถือวันนี้เป็นวันสำคัญได้พบเพื่อนและญาติพี่น้องที่มาร่วมทำบุญที่วัด  ดังบทเพลงว่า
    “เดินไปยิ้มไป วัดเหนือวัดใต้มีงานใหญ่โต  วัดเล็ก
    วัดน้อยวัดใหญ่ทำบุญกันให้จิตใจสุโข  ไม่ว่าชาวบ้าน
    ห้างร้านตลาด  วันนี้ชวนญาติมาตักบาตรเทโว   ตั้งใจเอาไว้
    แน่นอน  ฉันตื่นมาก่อนเมื่อตอนไก่โห่  ซื้อของมาจากตลาด
    จัดแจงใส่ถาดไปตักบาตรเทโวมีทั้งข้าวสุกและข้าวสารนมข้น
    น้ำตาลกาแฟโกโก้  ปลากระป๋องผัดผักดองผักกาด  จัดแจง
    ใส่บาตรไปตักบาตรเทโว  ทำใจเราให้เยือกเย็น  แต่งตัวให้
    เด่นฉันเป็นคนโก้  ใส่ทองหนักตั้งสิบบาทแต่งไปอวดญาติวัน
    ตักบาตรเทโว  ไปยืนคู่เคียงเรียงแถวพระมากันแล้วอย่ามัว
    คุยโว  ชาวไทยน้ำใจสะอาด  วันนี้รวมญาติ  มาตักบาตรเทโว”
    (ตักบาตรเทโว  :  ขับร้องโดย  พิมพา  พรศิริ)
    ในสังคมไทย  ซึ่งมีพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจย่อมมีการยึดถือในเรื่องการทำบุญให้ทานกันมากจึงกล่าวได้ว่า  คนไทยนั้นเป็นผู้ที่มีน้ำใจประกอบด้วยเมตตากรุณาเป็นที่ตั้งและสิ่งที่สำคัญก็คือคนไทยนั้นเชื่อในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า  “การบำเพ็ญทาน  เพื่อกำจัดกิเลสในใจของผู้ให้”   ให้เรื่องของทานไม่เฉพาะเจาะจงเป็นคนขอทานหรือให้แก่พระสงฆ์ก็ใช้คำว่าทานเหมือนกัน
    บทเพลงลูกทุ่ง  หรือวงดนตรีลูกทุ่งนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการให้ทานไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม  จะเห็นได้ว่าวงดนตรีลูกทุ่งนั้นเวลาเปิดทำการแสดง  ส่วนมากก็ไปในงานบุญกุศลบุญให้ทานทั้งนั้น  แม้กระทั่งผู้ร้องเพลงลูกทุ่งก็บริจาคทานเองก็มี  เช่น  การทำบุญทอดผ้าป่า   ทอดกฐินเป็นต้นส่วนบทร้องของเพลงลูกทุ่งนั้น  จากการศึกษาและค้นคว้ามีอยู่มากมายส่วนมากจะปรากฎอยู่ในเพลงเกี่ยวกับ  งานบวช  งานผ้าป่า  กฐิน  และงานประเพณีอื่น ๆ อีกซึ่งมักจะเป็นเนื้อร้องในทำนองเชิญชวนพุทธศาสนิกชนได้ร่วมทำบุญบริจาคทานสร้างวัดถวายไว้ในพระพุทธศาสนาจะเห็นได้ว่าวัดในประเทศไทยนั้นมีอยู่มากมาย  ก็เนื่องมาจากความเชื่อในเรื่องทานนั่นเอง 

bandonradio

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons