วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

::วรรณกรรมเรื่องสิริจันโท ยอคำสอน:bandonradio

๑๑.  วรรณกรรมเรื่องสิริจันโทยอดคำสอน112
       วรรณกรรมคำสอนของท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท  จันทร์)  ผู้เป็นนักปราชญ์ชาวอีสานอีกรูปหนึ่ง  และเป็นนักเทศน์เอกในยุคนั้น  วรรณกรรมเรื่องนี้ได้สะท้อนถึงความเชื้อต่างๆที่ท่านเจ้าคุณได้นำเอาปัญหา  ๑๖  ข้อที่พระเจ้าปัสเสนทิโกศลนำมากราบทูลพระพุทธเจ้ามาแต่งเป็นคำสอนตามแบบของอีสานได้อย่างลึกซึ่งกินใจ   กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้คือ
    ๑๑.๑)  สั่งสอนถึงความเจริญและเสื่อมของศีลเมื่อถึงสามพันปีดังนี้คือ
    คำที่อาจารย์เจ้าโบราณเพิ่นชี้บอกมานั้น
    คือว่าสังกาสล้ำเข้าเขตสามพันปี
    จักเกิดมีโภยภัยพยาธิเดิมมาต้อง
    แม่นว่าครองสมณ์สร้างในธรรมพุทธบาทก็ดี
    ก็บ่ตั้งเที่ยงหมั่นในแห่งสิกขาบท
    ศิษย์บ่ฟังคำครูซิเสื่อมทราบเพม้าง
    แม่นว่าองค์กษัตริย์ไท้ทะรงเมืองตุ้มไพร่ก็ดี
ก็บ่ตั้งเที่ยงมั่นในฮีตคลองธรรม
คนบ่ยำเกรงย้านครูบาพ่อแม่   
จักเกิดเป็นเหตุฮ้ายขี่ยุคโพยภัย
จักเกิดเป็นกังวลเข้านาตายแล้ง
จักเกิดเป็นอุบาทว์ฮ้อนปูปลาน้ำเขินขาด
ความสุขหาบ่ได้ความฮ้อนแล่นจ่นมา
จักเป็นเศิกกันบ่มั้วโจรมารทุกประเทศ
ฝูงไพร่น้อยความฮ้อนยิ่งกว่าไฟว่านา
อันนี้เป็นคำเถ้าอาจารย์ตั้งแต่เก่า
    ๑๑.๒)  สอนถึงความเจริญในยุคนี้ว่า
            ทางไกลเป็นทางใกล้ทางรถไฟรถยนต์แล่น
            แม่นจักเดินทางน้ำเฮือยนต์จอดทุกท่า
            เขาหากดาแต่งไว้คอยถ่าผู้ซิไปแท้แหล้ว
            อันที่ในเมืองบ้านทางเดินดูสะอาด
            มีแต่ไฟตามได้ชูแสงใสสว่าง
            ตั้งหากดูสล้างไฟฟ้าเพิ่นต่อสายเจ้าเอย
            คือว่ากลางคืนเป็นกลางวัน ตั้งฮุ่งเฮืองจนแจ้ง
    ๑๑.๓)  สอนถึงจริยธรรมดังนี้คือ
            ใผผู้จำศีลสร้างกินทานตักบาตรก็ดี
            เพลจังหันบ่ขาดเว้นประสงค์ตั้งต่อบุญดั่งนั้น
            คนก็โมทนาย้องเทวาก็ชมชื่น
            บ่ห่อนตกต่ำต้อยเป็นข้อยคอบให้ทานเจ้าเอย
            เถิงแม่นพากันสร้างทำบุญเป็นการใหญ่
            ให้ฮีบพากันสร้างศีลทานอย่าได้ขาด
            ตักบาตรแล้วหยาดน้ำหมายฝากธรณี
            หากจักมีบุญค้ำนำทางให้ถืกช่อง
            คึดสิ่งใดหากจักได้ชูเจ้าให้มั่งมีแท้แหล้ว
            ใผผู้ทำบาปฮ้ายหาฮ้อนเข้าใสโต
            คือว่าโลโภพ้นความผิดบ่ฮู้เมื่อมันนั้น
            หากจักทนทุกข์ไหม้แสนเวทนหนัก
            เถิงเป็นคนยังบ่ตายโทษซิเวียนมาต้อง
            คนมีบุญเพิ่นโฮมเฮ้าเอาบุญทานสนุกใหญ่
            คนบาปไปบ่ได้โฮมฮ้อนถืกแต่เวรแท้แล้ว113
    ๑๑.๔)  สอนให้มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งดังคำสอนนี้
            เหตุว่าคุพระแก้วอันประเสริฐทั้งสาม
            หากเป็นของมุงคุลช่วยให้คนฟูเฟื้อง
            ใผผู้เกิดพบแก้วอันประเสริฐทั้งสาม
            ก็หากเป็นแต่กุศลสร้างทำมาแต่ชาติก่อน
            อย่าได้ประมาทแท้คุณแก้วยกใส่หัว เจ้าเอย
        ให้มีใจอ่อนน้อมก้มกราบวันทา
    ให้มีวาจาหมั่นสัจจังจริงเทียง
ให้มีใจอ่อนน้อมเป็นข้าชั่วชีวังหั้นถ้อน
๑๑.๕)  สอนให้รู้คุณพ่อแม่ดังคำกลอนดังนี้คือ
            พ่อแม่เลี้ยงแต่น้อยจนเจ้าแล่นหันนั้นนา
            ยามเมื่อเจ้ายังน้อยสำออยเอิ้นหาแม่
            หนาวมาให้แม่ตุ้มคลุมผ้าแล้วกอดนอน
            ยามเมื่อตนโตฮ้อนก็วิงวอนให้แม่ช่วย
            ยามเมื่ออยากกินข้าวหวานเปรี้ยวให้แม่หาฯ
            ครั้นเมื่อลูกป่วยไข้คิ่งฮ้อนแลปวดหัว
            ตนตัวฮ้อนเสียงครางเอิ้นพ่อแม่
            สองแจ่มเจ้าใจเศร้าหน้าบ่บาน
            ครั้นลูกหากเจ็บไข้โรคาที่บังเบียดมานั้น
            พ่อแม่หายทุกข์ฮ้อนปานขึ้นสู่สวรรค์เจ้าเอย
            อันบุญคุณพ่อแม่เลี้ยงแต่น้อยเพียรเจ้าให้ใหญ่สูงนั้นนา
            ครั้นเจ้าใหญ่สูงเมื่อหน้ามีเฮือนชานสืบพ่อแม่
            คุณเพิ่นเลี้ยงมาแต่น้อยคะนิงไว้อย่าให้ลืมฯลฯ114
    ๑๑.๖)  สั่งสอนถึงสัจธรรมว่า
            อันว่าสงสารบ่เที่ยงหมั่นเลยปิ่นแปรไป
            เทียมดั่งกงจักรพัดดั่งเดียวเสมอเพี้ยง
            สงสารบ่เที่ยงหมั่นเหมือนดั่งนีรพาน ภายพุ้น
            เป็นคนเทียวสงสารบ่เทียงคงคือน้ำ
            ลางเล่าบางบกแห้งเสียเลยมีมาก
            ลางเล่าเขินขุ่นเขี้ยวลางแล้วเหล่าใส115
    ๑๑.๗)  สั่งสอนถึงลูกที่ดีมีลักษณะ๔  อย่างคือ
            พระสัตถาบอกทางลูกเลิศลูกประเสริฐมีสี่คน
            พระเจ้าพลบอกไปภายหน้าชั้นหนึ่งกล้าเข้าบวชเข้าเฮียน
            ใจพากเพียรศีลธรรมพระเจ้าบ่ให้เศร้าเสียฮีตครองสงฆ์
            ใจมั่นคงบวชไปจนแก่ตั้งใจแผ่แบ่งส่วนกุศล
            ให้เป็นผลค้ำชู้พ่อแม่ยามเฒ่าแก่แตกม้างจากขันธ์
            กรรมมาทันได้ไปที่ฮ้ายบุญลูกย้านนำขึ้นวิมาน
            เป็นสะพานขึ้นเมือเมืองฟ้าบ่ถ่อนช้าตกต่ำเป็นผี
            ลูกชายดีบุญไผจึงพ้อ
            ยังมีต่อลูกชั้นที่สองมันผิปองเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่
            จนเฒ่าแก่การย่าวการเฮือนมันบ่ให้สองเฒ่ารำคาญ
            ของให้ทานทำบุญตักบาตรบ่ให้ขาดหาไว้แก่เขือ
    ให้ล้นเหลือพอกินพอใช้พ่อแม่ได้นั่งกินนั่งทาน
    มันทำการครกเช้าหาบน้ำมันช่วยค้ำการสร้างการแปลง
    การแลงงายขวนขวายบ่ขาดเป็นพยาธิ์เจ็บป่วยหายา
    หาหมอมารักษาสองเฒ่าบ่ให้เว้าลำบากลำคราญ
ให้สมการพ่อแม่เลี้ยงยากอุปฐากจนเฒ่าจนตาย
ลูกชั้นที่สามคือลูกคนงามหาดีภายนอก
    ดีบ่หยอกการไฮ่การนาการรักษาฮั้วสวนของปลูก
    มีลูกแล้วหาบเอามาทั้งข้าวปลาหามาส่งให้
บ่ให้ไฮ้สักสิ่งสักอันลูกขยันเลี้ยงดูพ่อแม่
จนเฒ่าแก่เข้าวัดฟังธรรมมันจำนำการเจ็บการไข้
บ่ละให้สองเฒ่าอยู่พลอยมันหมั่นคอยไปมาถามข่าว
มันฮีบฟ่าวการสร้างการแปลงการแสวงหามาซักไซ้
จึงกล่าวไว้เป็นลูกมุงคลไผมีบุญสร้างมาจึงได้
ลูกชั้นที่สี่คือหาเงินเที่ยวค้าบ่ให้ช้ามีเข้ามีของ
มีเงินทองหามากองไว้พ่อแม่ได้นั่งกินนั่งทาน
ลูกทำการขุนหลวงเจ้าฟ้าบ่ให้ช้าเป็นท้าวเป็นขุน
เกิดมีบุญเงินคำบ่ไฮ้เอามาไว้ปลูกสร้างเฮือนซาน
เป็นสถานบำรุงพ่อแม่ยามเฒ่าแก่ยู่ถ่างทำบุญ
ลูกมุงคลมีหลายจำพวกเอามาบวกสมส่วนทางดี
ลูกมีศรีเชิดชูพ่อแม่ลูกดีแท้พ่อแม่มีสุข
ลูกดับทุกข์พ่อแม่ใจบานบุญสมภารไผมีจึงได้
พระกล่าวไว้เป็นข้อควรฟ้งควรเอวังจบลงเพียงนี้116

bandonradio

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons