วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

26,เพลงลูกทุ่งกับกลุ่มสังฆสถาน

ประเภทสังฆสถาน
    สังฆสถาน  คือ  สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นสถานที่สำหรับอยู่ของพระภิกษุและเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์โดยตรง   จึงเป็นอาคารสถานที่แยกต่างหากออกไปจากสิ่งก่อสร้างประเภทพุทธสถาน  สิ่งก่อสร้างประเภทนี้ เช่น  กุฎิ  หอฉัน  หอกลอง  เป็นต้น(วันดี)
    แต่เมื่อเรียกโดยภาพรวมแล้วเป็นที่ทราบกันดีว่า  “วัด”  วัดเป็นสถานที่อำนวยประโยชน์ทั้งทางรูปธรรมและนามธรรมแก่สังคมอย่างมากเพราะเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมประเพณีและศูนย์กลางอื่น ๆ
    วัดเป็นสถานบันที่สำคัญในทางพระพุทธศาสนา  เพราะการดำเนินชีวิตของคนไทยนั้นผูกพันอยู่วัดมาตลอดตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย  แม้ในทางวัฒนธรรมประเพณีวัดก็มีส่วนสำคัญ   ด้วยเหตุที่วัดเป็นที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ซึ่งเป็นเนื้อนาบุญของโลกและถือว่าเป็นผู้สืบทอดศาสนาและเป็นศูนย์รวมจิตของชาวพุทธ  ในขณะเดียวกับพระสงฆ์ก็เป็นที่รวมศรัทธาของชุมชนด้วย
    ดังนั้น   วัดจึงกลายเป็นศาสนสถานที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนกิจกรรมต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้น  เช่น  พุทธศาสนิกชนต้องไปปฏิบัติกิจที่วัด  หรือวัดก็เอื้อโอกาสแก่สังคมในการประกอบกิจที่เป็นประโยชน์ซึ่งนับว่าวัดเป็นสถานบันที่เป็นประโยชน์แก่สังคมเป็นอย่างมาก  แม้ในปัจจุบันนี้สังคมเปลี่ยนไป  จึงทำให้บทบาทของทางวัดเปลี่ยนไปด้วย  อย่างไรก็ตามวัดก็ยังเป็นที่รวมศรัทธาของท่านพุทธศาสนิกชนในชนบทอยู่เพราะเป็นที่พึ่งทางใจของชาวพุทธ
    บทเพลงลูกทุ่งมีกล่าวถึงวัดมากมาย  จากการวิจัยพบว่า  วัดเป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับเพลงลูกทุ่งทั้งเนื้อหาสาระ  ทั้งตัวผู้ร้อง   เพราะในการแสดงของวงดนตรีลูกทุ่ง  ส่วนมากก็อาศัยสถานที่วัดทำการแสดง  ไม่ว่าจะเป็นงานประจำปี  งานปิดทอง,  งานฝังลูกลิมิต,  งานบุญกุศลทั่วไป  เป็นต้น ฉะนั้นเนื้อหาสาระจึงเกี่ยวพันอยู่กับศาสนสถาน  รวมถึงการแสดงออกของครูเพลงลูกทุ่งก็แสดงให้เห็นถึงความเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาอย่างชัดเจน
    ในสมัยพุทธกาลระยะเริ่มแรกนั้น  พระสงฆ์ยังไม่มีที่อยู่อาศัยประจำ  ได้จาริกไปเพื่อเผยแผ่หลักธรรมทางศาสนาให้กว้างขวางออกไปเพื่อเป็นการยังประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มากตามที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้  ดังปรากฎในพระไตรปิฎกว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย  เธอทั้งหลายจงจาริกไป  เพื่อประโยชน์และความสุขของชนหมู่มาก  เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก  เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย”(วินย.)
    จะเห็นได้ว่า  พระพุทธศาสนาเน้นหนักในการที่จะให้พระภิกษุออกประกาศสัจธรรมเพื่อประโยชน์สุขของชาวโลก   แต่การสัญจรหรือจาริกของพระภิกษุนั้นจำเป็นจะต้องมีที่อยู่อาศัยเพื่อจะได้จำพรรษา  เพื่อเป้าหมายคือการอยู่เพื่อปฏิบัติธรรม  เพื่อบรรลุคุณธรรมชั้นสูง  ซึ่งเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้รับประโยชน์ตามความเหมาะสม  คือนำหลักธรรมที่ตนได้เรียนรู้และปฏิบัติมาเผยแผ่  เพื่อให้หมู่ชนได้นำปรับใช้ตามความต้องการ  ดังนั้นการอยู่อาศัยในวัดของพระสงฆ์จึงเป็นเพียงความหมายรอง  ความหมายหลักของวัดจึงหมายถึงสถานที่ที่พระสงฆ์พักอาศัย  เพื่อจะทำหน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์และเหมาะสม(พระราชวรมุนี) 
    ไอ้หนุ่มบ้านนา  เช้ามาก็ไถนา  อยู่ท้องนาจะขาย
    ข้าวปลา  วิวาห์กับสาวไพร  ไม่ได้ข้าวปลา  ขายนาจะเป็นไร
    มั่นในทรวงใน  เจ้าทรามวัย  ขวัญใจบ้านนา”
        (ไอ้หนุ่มบ้านนา :  ไพโรจน์  แก้วมงคล)
    ในคราวที่มีงานประเพณี  ชาวพุทะจะมารวมตัวกันที่วัด  และรำลึกถึงกันอยู่เสมอ  ดังบทเพลงว่า
    “งานวัดปีกลาย มีแฟนเคียงกายเดินเที่ยว  นิ้วก้อย
    เรียว ๆ  มีเธอคล้องเกี่ยวก้อยเดิน  แต่ปีนี้มันดูเขิน ๆ  ไม่มีคู่
    เดิน  เชิญชมเที่ยวงาน....
    เคยเคล้าคลอกัน  ชิงช้าสวรรค์ก็มี  โถค่ำคืนนี้ไม่มี
    เธอนั่งเคียงกาย  ปิดทองพระดูใจหาย ๆ  ไม่มีเพื่อนชาย
    เหมือนปีกลาย  มาร่วมปิดทอง”
        (คืนนี้เมื่อปีกลาย  :  ขับร้องโดย พุ่มพวง  ดวงจันทร์)
    “...งานวัดเรามีทุกปี  ปิดทองพระร่วมกับพี่
    แล้วปีนี้ต้อง...จาบัลย์  เสียงเพลงเครื่องไฟ  บาดหัวใจ
    เหลือรำพัน  เห็นใครเขาต่างมีสุขกัน  แต่เรานั้นต้องหมองไหม้
    เสียงรถเสียงเรือแล่นผ่านบ้านน้อง  จับตาจ้องมอง
    ว่าพี่ของน้องมาหรือไม่  แต่แล้วใจหายไม่มีพี่ดั่งตั้งใจ
    หลงเมืองหลวงไม่เคยห่วงใย  พี่รู้บ้างไหมน้องคิดถึงพี่...”
    ในบางท้องที่  มีการจัดงานประจำปี  เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบนมัสการองค์พระที่ชาวบ้านนับถือและจัดให้มีงานฉลอง  อย่างเช่นบทเพลงว่า
    “...เทศกาลวันฉลองใหญ่โต  แห่งวัดบางนมโค
    ฉลองใหญ่โตโชว์การแสดง  จะพาโฉมฉายพ่อตาแม่ยาย
    เที่ยวไปทุกแห่ง  แต่พี่ยังหวาดระแวงหนุ่มใกล้จะแย่ง
    แซงรักพี่ไป...”
    (มนต์รักเสนา : ขับร้องโดย  ยอดรัก  สลักใจ)
    ลักษณะของวัดที่ดีและเหมาะสมนั้น  ปรากฎอยู่ในพระราชดำรำของพระเจ้าพิมพิสารซึ่งทรงหาสถานที่ต่าง ๆ ที่เหมาะสมที่จะให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์นั้น  โดยได้แสดงถึงลักษณะของวัดที่ดี  ดังปรากฎในพระไตรปิฎก  ดังนี้
    “พระผู้พระภาคพึงประทับอยู่  ณ  ที่ไหนหนอ ซึ่งจะ
    เป็นสถานที่ไม่ไกลไม่ใกล้จากบ้านนักสะดวกด้วยการคมนาคม
    ควรที่ประชาชนผู้ต้องประสงค์จะเข้าไปเฝ้าได้  กลางวัน
    ไม่พลุกพล่าน  กลางคืนเงียบสงัดเสียงไม่กึกก้อง  ปราศจาก
    ลมแต่ชนที่เดินเข้าออก  ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้อง
    การที่สงัด  และควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย”(วินย.)
    บทเพลงลูกทุ่งกล่าวถึงศาสนาสถานที่เกี่ยวกับวัดไว้ก็มี  แต่เป็นรูปแบบของการชักชวนคนให้มาทำบุญสร้างวัด  เพราะถือว่าวัดนั้นคือศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ  ทุกหมู่บ้านจะต้องมีวัดไว้สำหรับชาวพุทธได้มีโอกาสได้ทำบุญ  และเมื่อถึงคราวัดวาอารามทรุดโทรมชาวพุทธที่ช่วยกันทำนุบำรุงดังบทเพลงว่า
    “...มิ่งขวัญอันที่ตรึงจิตใจ  ว่าเป็นหลักชัย
    องปวงประชา  ทุกย่านหมู่บ้านทุกบางเมืองไทย  ต้องมีวัดไว้
    เป็นศรีสง่า  ทุกผู้รูกันว่าวัดดีนักเป็นสัญลักษณ์ของศาสนา
    แต่น้องพี่เอ่ยจงเงยหน้าเบิ่ง  วัดเราเปิดเปิงโย้เย้ไปมา  จะพัง
    มิพังแหล่ข่อยแลแล้วเศร้า  เป็นเพราะพวกเราไม่ช่วยรักษา
    บัดนี้ฤกษ์ดีวัดนี้จะซ่อม  หมู่เฮาจงพร้อมช่วยซ่อม
    วัดวา  ผู้ใดรวยเงินขอเชิญบริจาค  ทำน้อยทำมากบ่ขัดศรัทธา
    หรือจะถวายไม้กระดานหน้าต่างสักบานก็เชิญท่านมา.....”
        (บริจาคเงินซ่อมวัด  :   ไวพจน์  เพชรสุวรรณ)
    ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีผู้สนใจบวชในพระพุทธศาสนาและศึกษาพระธรรมวินัยนั้นมากขึ้น  เมื่อบวชแล้วผู้ที่มีความเลื่อมใสก็จะบวชเรียนต่อไป  ส่วนผู้ที่ไม่ประสงค์จะบวชอีกต่อไป  เมื่อลาสิกขาคือสึกออกมาที่สามารถเข้ารับราชการได้  จะเห็นได้จากในตอนปลายกรุงศรีอยุธยา  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงกวดขันการศึกษาทางพระพุทธศาสนา  บุตรหลานข้าราชการคนใดที่จะถวายตัวทำราชการ  ถ้ายังไม่ได้อุปสมบทก็ไม่ทรงแต่งตั้งให้เป็นราชการ
    ดังนั้นเหตุผลที่สำคัญข้อหนึ่งในการอุปสมบทก็คือ”บวชเพื่อเรียน”  หรือพูดกันติดปากว่า  “บวชเรียน”  นั่นเอง(วิลาสวงศ์)   ฉะนั้น  จะเห็นได้ว่าวัดนั้นก็เป็นที่ศึกษาเหมือนกัน  ตามปกติพุทธศาสนิกชนชาวไทยแต่โบราณได้ให้ความสำคัญแก่วัดและพระสงฆ์ว่า  เป็นแหล่งการศึกษาที่ดี  ดังจะเห็นได้ว่าสมัยก่อน  พระสงฆ์เป็นผู้มีความรู้แตกฉานในหลาย ๆ ด้าน  ทั้งทางโลกและทางธรรม (พระมหาสำเนียง)
    กุลบุตรไทยส่วนมากที่จะบวชมักจะเป็นชายโสด   และอยู่ในวัยหนุ่ม   ก่อนบวชก็มักจะมีคู่รักที่ชาวชนบทรักเรียกว่าเป็นแฟนกัน   หมายถึงยังไม่ได้แต่งงานกัน  พอจะเข้าบวชในพระพุทธศาสนาก็ต้องมีการร่ำลา  เพื่อที่จะเช้าบวชเรียนในพุทธศาสนา  สิ่งหนึ่งที่หนุ่มจะย้ำอยู่เสมอก็คือการบวชเรียน  เพื่อฝึกตนให้เป็นคนดี  พอสึกออกมาจะได้เป็นคนดี  เพื่อชีวิตคู่จึงต้องขอร้องให้แฟนสาวรอคอย  ดังบทเพลงว่า
    “ขอลาเจ้าไปบวชเรียน  น้องจงช่วยอุ้มเทียนแห่ไปวัดที
    น้องพี่โปรดจงเห็นใจ  ฝันใฝ่อยู่ไม่เว้นวัน  รักกันมาแรมปี
    อย่างนี้มีใจตรงกัน   นึกถึงวันร่วมทางสร้างกุศล ขอหน้ามน
    เมตตามาช่วยงาน  มองตั้งนานไม่เห็นมีน้องเอยน้องพี่ไม่มา
    ขอลาเจ้าไปบวชเรียน  หรือใจวนเวียนเจ้าถึงลืมสัญญา
    เห็นหน้าเจ้าสักนิดยังดี  น้องพี่ถ้าจะหลงลืมกัน  บวชแทน
    พระคุณมารดาไม่ช้ารอคืนรอวันเห็นใจกันฝากคำจำได้ไหม
    ขอลาไปสร้างบุญเกื้อหนุนที่เรานั้นมีสัมพันธ์กันมา  หวังใจ
    ไว้ว่าคงคอย....”
    “...หอมหนึ่งครั้งเพื่อตั้งใจบวชไปให้กับแม่ขอหอมเบา ๆ
    เอิง  เอิ้ง  เอย  แก้มศรีแพรขอจูบฝากไว้ด้วยใจแน่  พี่รักแท้
    มั่นคง  บวชเป็นสงฆ์จงรอคอย   บวชเรียนสึกแล้ว  จะมาวิวาห์
    กับน้องคนดี  ไม่ถึงปีโปรดคอยหน่อย...”
        (จูบก่อนบวช : ขับร้องโดย  คัมภีร์  แสงทอง)
    สมัยก่อนนั้น  ไม่มีโรงพยาบาล  เมื่อชาวบ้านเจ็บไข้ก็จะพามาให้พระรักษาพยาบาล  พระก็จะรักษาพยาบาลไปตามภูมิความรู้ของตนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาด้วยยาสมุนไพร   แม้บางครั้งคนที่มาหาจะมีความทุกข์ใจ   แต่พอจะปรึกษาธรรมะหรือพูดคุยกับพระในวัดแล้วก็สามารถบรรเทาลงได้   ฉะนั้น  เปรียบเหมือนวัดเป็นสถานพยาบาล ดังเพลงลูกทุ่งว่า
    “..วัดนี้หรือคือถิ่นทรัพย์  สร้างคนดิบเป็นคนดี  คนเกิดมา
    โรคามีต้องหาหมอเพื่อขอยา  เปรียบว่าวัดเป็นสถานพยาบาล
    สุขศาลาคนทุกข์ใจให้เข้ามา   เอาศาสนารักษาใจ....”
        (เชิญทำบุญสร้างวัด : ไวพจน์  เพชรสุวรรณ)
    เมืองไทยเป็นเมืองพระพุทธศาสนา  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย  พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงเป็นเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก  ความจริงดังกล่าวนี้ย่อมปรากฎทั้งในประวัติศาสตร์พระราชพงศาวดาร  ทั้งจากหลักฐานทางโบราณคดี  โดยมิต้องสงสัย  พระราชภารกิจส่วนใหญ่ของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล   ต่างก็ทรงมุ่งมั่นต่อความ  ดำรงสถิตมั่นแห่งพระบวรพุทธศาสนา  สมดังพระราชอธิษฐานสัจจปฏิญาณในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชว่า  “ตั้งใจจะอุปถัมภก  ยกยกพระพุทธศาสนา”  ไปพร้อม ๆ  กับพระราชกิจที่จะ “ป้องกันขอบขัณฑสีมารักษาประชาชนและมนตรี”  ซึ่งความจริงข้อนี้  แม้ชาวตะวันตกก็ยอมรับ  ให้สมญานามประเทศไทยว่า  “ดินแดนแห่งกาสาวพัสตร์(Land  of  the  Yellow  Robes)”(ประสิทธิ์)
    ความภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย  มีรสนิยมแบบไทย  ไม่ว่าจะเป็นของกินของใช้  เสื้อผ้าอาภรณ์รวมไปถึงหลักธรรมทางพุทธศาสนาที่พ่อแม่เชื่อถือมาก็ปฏิบัติตาม  เรียกว่าเป็นคนชาตินิยม  ดังบทเพลงว่า
    “..น้องเกิดเมืองไทย  น้องก็รักเมืองไทย  ของกินของใช้
    ก็ชอบไทยไทยทั้งนั้น  เสื้อผ้าสวมใส่ก็ชอบไทย ๆ  เหมือนกัน
    ของหวานของมันฉันก็ชอบไทย ๆ
    น้องเกิดเมืองไทย  พ่อแม่ก็ไทยเช่นกัน  จะให้น้องนั้น
    นิยมชาติอื่นยังไง  จะชั่วจะดีน้องนี้จะรักเมืองไทย  ทำบุญวัด
    ไทยเมืองไทยจะได้ไม่เงียบเงา...”
        (ฉันรักเมืองไทย  :  ขับร้องโดย  พิมพา  พรศิริ)
    บทเพลงลูกทุ่งมีการกล่าวถึงคนที่ไม่รักชาติ  ศาสนาไว้เหมือนกันในทำนองตือนสติแก่คนที่รับเอาวัฒนธรรมของชาวตะวันตกมาใช้  จนลืมวัฒนธรรมเดิมของตนที่มีดีอยู่แล้ว  เช่น  วัดวาอาราม  เป็นต้น  ดังบทเพลงว่า
    “..สเน็ก ๆ  ฟิช ๆ งู ๆ ปลา ๆ  ฟังเพลงไทยแล้วส่ายหน้า
    ฉันฟังเพลงไทย  ทีเพลงฝรั่งฟังได้เป็นวรรคเป็นเวร
    นิยมว่าดีว่าเด่น  อวดเป็นลืมของไทย
    สังคมชนบทนั้น เป็นสังคมที่ไม่ค่อยมีการแบ่งชั้นวรรณะมากเท่ากับสังคมในเมือง  การสนุกสนานรื่นเริงแต่ละครั้งก็มักจะใช้สถานที่วัดเป็นศูนย์รวม  เพราะทุกคนคิดว่า  วัดนั้นคือวัดของเราทุกคน  ทำให้บ้านกับวัดมีความแนบแน่นกันมากอย่างยาวนาน  จากภาพพจน์นี้สะท้อนให้เห็นว่าวัดนอกจากจะเป็นที่ฟังธรรมแล้ว  ก็ยังใช้เป็นที่แสดงพลังสามัคคีด้วย   ดังบทเพลงว่า
    วัดเป็นที่อยู่ของพรสงฆ์ก็จริง  แต่วัดนั้นไม่ได้จำกัดว่าผู้ชายหรือผู้หญิงจะเข้าก็ได้  ในคราวคนมีทุกข์วัดเป็นสถานที่จะรองรับหรือให้คำปรึกษาได้  โดยเฉพาะพระสงฆ์จะต้องเป็นที่พึ่งทางใจแก่พุทธศาสนิกชนได้ในครั้งพุทธกาล   สตรีหลายคนที่พบปัญหาชีวิต  ต่อมาพอได้พบธรรมของพุทธองค์เกิดความเลื่อมใสแล้วบวชในพระพุทธศาสนาก็หลายรูป  จะเห็นได้ว่าการที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาติให้ผู้หญิงบวชนั้นก็เป็นการเปิดทางให้กับผู้หญิงผู้ที่ต้องการแสวงหาความพ้นทุกข์   ดังมีผู้หญิงบางพวกที่มาบวชเพราะต้องการหนีความทุกข์ยากตรากตรำในกิจการงานภายในบ้าน   ดังกรณีนางกีสาโคตมี(ขุ.เถรี)  เป็นต้น
    ทุกครั้งที่มีทุกข์  คนแรกของชาวบ้านที่คิดถึงก็คือพระสงฆ์ที่อยู่ในวัด  เพราะสังคมชนบทนั้นมคความเคารถต่อพระสงฆ์ในวัดมาก  เมื่อมีเรื่องเดือดร้อนหัวใจ   ก็จะรีบไปปรึกษาพระสงฆ์ในวัดทันที   บางคนถึงกับขนาดเข้าวัดตักบาตรทำบุญทุกวัน   ที่สุดถึงกับบวชมอบกายถวายอกในพระพุทธศาสนาเลยก็มี  ดังบทเพลงว่า
    เสนาสนะต่าง ๆ  ที่ก่อสร้างภายในเขตวัด  เช่น  กุฎิ  วิหาร โบสถ์ ฯลฯ  ล้วนเป็นสิ่งที่ได้มากผู้ที่มีใจศรัทธาโดยการบริจาคหรือการเรี่ยไรเพื่อสร้างให้เป็นสมบัติพระศาสนาทั้งสิ้น   แสดงว่าวัดมิได้เป็นกรรมสิทธิ์ของใครโดยเฉพาะ   แม้แต่เจ้าของผู้สร้างถวายก็ไม่ควรยึดถือในกรรมสิทธิ์   เพราะการถวายให้เป็นของสงฆ์ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นของกลางเนื่องจากคำว่า  “สงฆ์นั้นหมายถึงหมู่หรือชุมชน(พระราชวรมุนี)  วัดจึงเป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน  ที่จะต้องรักษาร่วมกัน  เพราะวัดนั้นเป็นสมบัติส่วนรวม   แม้แต่พระสงฆ์ก็หาใช่เป็นเจ้าของไม่
    สังคมไทยชนบทนั้นเชื่อว่า “วัดช่วยบ้าน  บ้านช่วยวัด”  จึงจะสัมพันธ์กันและทำให้คนดีได้  เพราะต่างช่วยกัน  ในวัดหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยศาลา  กุฎิ  โบสถ์  วิหาร  กำแพงแก้ว  ห้องน้ำ  และสิ่งสำคัญก็คือต้องมีพระอธิการ  หรือเจ้าอาวาสคอยปลูกศรัทธาญาติโยม  พร้อมทั้งคอยอบรมพระเณรภายในวัด  ข้อสำคัญเจ้าอาวาสจะต้องมีคุณธรรม   ๕  ประการ  คือ
ไม่ลำเอียงเพราะรัก
ไม่ลำเอียงเพราะโกรธ
ไม่ลำเอียงเพราหลง
ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
ไม่สอยของสงฆ์ดุจของส่วนตัว(วิ.นย)
คนไทยมักจะสร้างความคิดเสมอ ๆ  ว่าบ้านจะดี  เป็นเพราะมีวัดคอยอบรมสั่งสอน  ส่วนวัดนั้นเป็นหน้าที่ของพุทธศาสนาสนิกชนต้องร่วมใจกันทำนุบำรุง  เพราะถือว่าเป็นสมบัติของส่วนรวม  แม้กระทั่งศาสนสมบัติทุกอย่างภายในวัด  และพร้อมกันนี้ก็มักจะฝากความหวังไว้กับเจ้าอาวาสด้วยอันหมายถึงถ้าเจ้าอาวาสมีความสามารถปฏิบัติไม่ขัดครรลอง  ไม่เพียงแต่ลูกวัดเชื่อถือ   ญาติโยมก็คงจะศรัทธาขึ้นเรื่อย ๆ ดังบทเพลงว่า
    จากการศึกษาบทเพลงลูกทุ่งนั้น  มีการกล่าวถึงสถานอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ  จะสังเกตเห็นได้จากเนื้อหาสาระของบทเพลงเหล่านั้นแม้ว่าจะกล่าวถึงเรื่องของความรักของหนุ่มสาวก็จริงแต่ผลสุดท้ายก็นำเรื่องของศาสนวัตถุเข้ามาอ้างอิง  นั่นแสดงให้เห็นว่าแรงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่ลึกอยู่ในจิตใจของครูเพลงอยู่แล้ว  จึงได้กลั่นกรองออกมาเป็นร้อยกลองที่ผสมผสานสอดคล้องกับถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาอย่างจงใจ
    อีกประการหนึ่ง  คนไทยในชนบทนั้นมักใช้เป็นวัดเป็นศูนย์กลางของการพบกัน  หรือจัดงานทั่วไป   เพราะสะดวกทั้งสถานที่เป็นประหยัดค่าใช้จ่ายไปมาก   และเป็นการความรู้ทางศาสนาและบันเทิงควบคู่กันไปด้วย ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณเป็นการทำบุญที่ควบคู่ไปกับความสนุกสนานซึ่งสามารถฝึกคนให้เป็นคนใจบุญคุณค่าของความสามัคคี  จิตใจร่าเริง  ไม่คับแคบเพราะการจัดงานต่าง ๆ ที่วัดทำให้ชาวบ้านได้พบปะชุมนุมกันที่วัด  ก่อให้เกิดความสามัคคีและเกิดความรู้สึกเป็นชุมชนเดียวกัน  และการจัดงานขึ้นอยู่ที่วัดย่อไม่ทำอะไรที่เกินขอบเขตของความดีงาม  เนื่องจากถือกันว่าเป็นวัดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จึงเกิดความเกรงกลัวต่อบาปกรรม
    ฉะนั้น  คำสอนของกวีอีสานหลาย ๆ  บทเนื้อหาสาระจึงมักกล่าวศาสนวัตถุไว้อย่างชัดเจนและคงเป็นบทกวีอมตะที่กินใจผู้ฟังไปยาวนานตราบที่พระพุทธศาสนายังเจริญรุ่งเรืองในดินแดนแห่งนี้ต่อไป

bandonradio

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons