บุญพิธี
พิธีทำบุญที่พุทธศาสนิชนปฏิบัติกัน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็นความพยายามของชาวพุทธที่จะปฏิบัติตามคำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในโอวาทปาฎิโมกข์ คือให้ทำความดีหรือทำบุญ เพื่อพื้นฐานแห่งคุณธรรมเบื้องสูงขึ้นไป (สุเมธ)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๔ ให้คำนิยามของคำว่า “บุญ” ว่า “เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กุศล, ความสุข” ในบางแห่งกล่าวว่าได้แก่ ความภูมิใจ,การล้าง ความแจ่มใส, ชำระ
บุญ แปลว่า เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กุศล, ความสุข, ความประพฤติชอบทางกาย วาจาและใจ กุศลกรรม(พระมหาเอกนรินทร์ เอกนโร)
อย่างไรก็ดี บุญนี้ เมื่อว่าโดยความเป็นสาเหตุหรือเป็นชื่อของเหตุ ก็คือปฏิบัติ อันบุคคลจะต้องปฏิบัติ, ต้องทำ, ต้องบำเพ็ญ, ต้องเจริญ, ต้องประพฤติเมื่อกล่าวโดยความเป็นผลหรือเป็นของผล ได้แก่ความสุขอันเกิดแต่บุญ เช่น มีทรัพย์ มียศ เป็นต้น สมด้วยพุทธนิพนธ์ภาษิตว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย อย่าได้กลัวบุญเลย เพราะคำว่าบุญเป็นชื่อแห่งความสุข
บางที “บุญ” ก็ใช้คู่กันกับคำว่า “บุญกุศล” ก็มี “บุญกิริยา” ก็มี และใช้เป็นกรณียกิจ คือกิจอันพึงกระทำก็มี แม้จะใช้คู่กันกับคำอื่นดังกล่าวมา แต่ความหมายก็คงไม่ผิดแผกแตกต่างออกไปเท่าไรนัก ความหมายถึงความดีอันเป็นเครื่องยังจิตใจตลอดถึงกาย วาจาของผู้ประพฤติปฏิบัติให้สะอาดหมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง
บทเพลงลูกทุ่ง กล่าวถึงวิธีการทำบุญไว้อย่างมากมาย และสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชาวชนบทที่ยังมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เนื้อเพลงลูกทุ่งได้สะท้อนถึงความเชื่อของคนไทย ในเรื่องพระพุทธศาสนาและเรื่องสวรรค์นรกไว้อย่างมากมาย สำหรับในเรื่องของพระพุทธศาสนามักจะกล่าวเน้นถึงพิธีอันเป็นประเพณีของไทย(วินัย) คือ การบวช หรือ อุปสมบท ทำบุญตักบาตรในเทศกาลต่าง ๆ เช่น ขึ้นปีใหม่ ทอดผ้าป่า กฐิน สงกรานต์ ลอยกระทง เป็นต้น
ชาวพุทธโดยทั่วไปมีประเพณีประจำครอบครัวอย่างหนึ่ง คือ การทำบุญภายในครอบครัว เรียกว่าบุญพิธี เพื่อการเฉลิมฉลอง เป็นต้น วิธีการปฏิบัติพิธีทำบุญก็คือ การสมาทานศีล, สวดมนต์, เลี้ยงพระ, ตักบาตรวิธีการปฏิบัติพิธีทำบุญก็คือ การสมาทานศีล, สวดมนต์, เลี้ยงพระ, ตักบาตรและถวายทาน เป็นต้น พิธีทำบุญนี้อาจจะแยกประเภทได้เป็น ๒ ประเภท คือ พิธีทำบุญงานมงคล และพิธีทำบุญงานอวมงคล (สุเมธ)
ก. พิธีทำบุญงานมงคล
พิธีการทำบุญงานที่เป็นมงคลนั้น ส่วนมากชาวพุทธจะรู้จักและเข้าใจพิธีกรรมอยู่แล้ว เพราะโดยทั่ว ๆ ไปก็มีการอาราธนาพระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ นิยมกำหนดจำนวนอย่างต่ำเป็นเกณฑ์ คือไม่ต่ำกว่า ๕,๗ หรือ ๙ รูป จำนวนพระที่จะเข้าพิธีเจริญพระพุทธมนต์ นิยมพระจำนวนคี่ เพื่อรวมกับพระพุทธรูปอีก ๑ องค์ เนื่องจากคติโบราณครั้งพุทธกาลถือการทำบุญพิธีนั้น มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานหมู่สงฆ์(สุเมธ) ตามที่ปรากฎในพระบาลีว่า “พุทธธปฺปมุโข ภิกฺขุ สงฺโฆ”(พระราชวรมุนี) แปลว่า พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แต่ในงานมงคลสมรส นิยมนิมนต์พระจำนวนคู่ เพื่อให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาวนิมนต์พระฝ่ายละเท่า ๆ กัน
พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญไม่ว่าปรารถเหตุใด ๆ ก็ให้เข้ากับหลักบุญกิริยาวัตถุ คือ
ทานมัย ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ
สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีล
ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจและทำในกรณีต่าง ๆ กันตามเหตุที่ปราร
ภจึงเกิดพิธีกรรมขึ้นหลายประการเมื่อพิธีกรรมใด เป็นที่นิยมและรับรองปฏิบัติสืบ ๆ มาจนเป็นพิธี พิธีกรรมนั้นก็กลายเป็นศาสนพิธีขึ้น(ชำเลือง)
บทเพลงกล่าวถึงพิธีทำบุญงานมงคลอยู่หลายเพลง ส่วนมากจะปรากฎเนื้อหาบทเพลง เนื่องในเทศกาลต่าง ๆ ที่เป็นประเพณีวัฒนธรรมของคนไทย
เพลงลูกทุ่งที่กล่าวถึงการทำบุญขึ้นปีใหม่ ซึ่งคนไทยเรามีธรรมเนียมประเพณีการอวยพรกันและกัน กล่าวคำว่า “สวัสดีปีใหม่” พร้อมทั้งให้ของขวัญด้วย ในเพลงนี้แสดงให้เห็นว่าคนไทยมักจะมีน้ำใจและมีศรัทธามั่นในพระพุทธศาสนา เมื่อถึงเทศกาลปีใหม่มาถึงต่างก็ร่วมใจสามัคคีกันทำบุญ ไม่ว่าอยู่ในที่ไหน ๆ ก็ปรุนาบุญ เพื่อที่จะส่งผลให้โชคดีนั้น ดังเพลงว่า
“รักกันชอบกัน มาผูกพันวันปีใหม่
ทำบุญแล้วใจสว่าง ทำบุญกันบ้างทั่วถิ่นเมืองไทย
บ้านโน้นก็มี บ้านนี้ก็ทำ พี่น้องชักนำไปทำบ้านใคร
ทราบไหมใครจัดที่วัดมีงาน พี่น้องชาวบ้านช่วยกันร่วมใจ ปีใหม่โชคดี
พวกพ้องน้องพี่ ขอให้มีโชคชัย อยู่ห่างไกลที่ไหนก็มา
มีจิตศรัทธาทั้งเหนือทั้งใต้ นั่งรถมานานอีสานก็มา
ต่างยิ้มเริงร่าเมื่อมาร่วมใจ ไหว้พระวิงวอน เดือดร้อนเต็มที่
สิ่งไหนไม่ดี ให้มันพ้นไป ปีใหม่โชคดี พวกพ้องน้องพี่ ขอให้มีโชคชัย”
(ทำบุญปีใหม่ : ขับร้องโดย พิมพา พรศิริป
เนื่องจากชีวิตในสมณเพศนั้นเป็นรูปแบบของการดำรงชีวิตแบบหนี่งที่จะต้องเสียสละความสะดวกสบายในทางโลกทุกประการ เพื่อขจัดกิเลส มุ่งบำเพ็ญคุณธรรมชั้นสูงขึ้นไปและในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนนั้นก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้านอื่นด้วย คือสงเคราะห์คฤหัสถ์ด้วยความเมตตาและเสียสละ
ดังนั้นการพักอาศัยอยู่ จึงมิใช่วัตถุประสงค์หลักของพระสงฆ์วัตถุประสงค์หลักก็คือ การอยู่เพื่อทั้งหน้าที่ตนพึ่งปฏิบัติต่อตนเองว่า เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ตน ควรแท้ทีเดียวที่จะยังประโยชน์ให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาท เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ผู้อื่น ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จ ด้วยความไม่ประมาท หรือเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็ควรแท้ทีเดียว ที่จะให้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายนั้น สำเร็จด้วยความไม่ประมาท”(อง.สตฺตก.) เมื่อว่างจากการทำงานก็ไปฟังเทศน์ประกอบการกุศล(อานนท์) ชาวชนบทหยุดงานวันพระเพื่อทำบุญ ซึ่งเป็นการสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนถึงปัจจุบัน
ความนิยมในการทำบุญตักบาตร ชาวชนบทส่วนใหญ่จะตักบาตรทุกวัน ถึงวันพระก็ไปทำบุญที่วัด หนุ่มชาวบ้านก็นำเอาศรัทธาในการทำบุญตักบาตรมาเกี้ยวสาวด้วย เช่น
“....แม้ถึงพระหน้า พี่จะพาน้องไปทำบุญ น้องจงเกื้อหนุนสร้างผลบุญเราตักบาตรร่วมขัน น้องจับมือพี่ต่างสองร่วมถือสารภีเดียวกัน อธิษฐานเสียก่อนเจ้า ๆ ว่าขอให้สองเรารักชั่วชีวัน
แม้นเหมือนเป็นบุญพี่ที่คนดีจะตอบว่า แสนซื่อยิ่งนักโอ้ยอดรักรักจนสุดประมาณ แม้แต่ยามจะนอนหลับโอ้ยยอดรักจนสุดประมาณ แม้แต่ยามจะนอนหลับแล้วกลับย้อนไปถึงน้องที่ฝัน ฝันว่าน้องหนุนตัก ๆ ที่ได้ร่มเงารัก อีตอนเมฆบังจันทร์” (บ้านนาสัญญารัก : นิยม มารยาท)
“....ยามมีงานสมภารวัดท่านประกาศ ช่วยกันทำบุญ
ตักบาตรรักษาศาสนาเอาไว้ ช่วยคนละนิดช่วยอุทิศด้วย
สินน้ำใจ ผลบุญนำมาแจ่มใสชื่นหัวใจบ้านนาเรานี้....”
(บ้านนา : มนต์ เมืองเหนือ)
ในสังคมชนบท วันธรรมสวนะเป็นเสมือนตารางเรียนพุทธศาสนิกชนโดยทัวไปเพราะเป็นการกำหนดตามตัวแน่นอนว่า เมื่อถึงวันธรรมสวนะ พุทธศาสนิกชนจะต้องหยุดงานประจำวันแล้วพากันไปวัด เพื่อใจ ให้สงบ และขัดเกลากิเลสให้เบาบางลง บางคนก็ได้รับการพัฒนาจิตใจสูงจนเกิดศรัทธาอาจหาญ สามารถละโลกียสุขเสียได้(สุเมธ)
คำว่า “วันพระ” ไม่มีปรากฎในคัมภีร์ดั้งเดิม คือ พระไตรปิฎกและอรรถกถา ในเรื่องนี้ ร.ท.บรรจบ บรรณรุจิ ให้ทัศนะว่า “วันธรรมสวนะ” ต่อมา เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่มาถึงเมืองสุโขทัยชาวเมืองสุโขทัยเลยเปลี่ยนใหม่ว่า “วันพระ”(บรรจบ)
เพลงลูกทุ่ง สะท้อนให้เห็นความเป็นไทยที่ยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนา มีศรัทธาจึงทำบุญบาตรทุกวัน เมื่อถังวันพระก็ไปตักบาตรในวัด หนุ่มสาวก็มีโอกาสได้ไปทำบุญและอธิษฐานรักด้วยกัน ดังเพลงว่า
“เกิดมาเป็นคนไทย น้องเอยจำไว้หมั่นทำบุญตักบาตร
วันโกนวันพระอย่าให้ขาด ทำบุญในใส่บาตรให้ทุก ๆ วัน
นี่ก็จวนวันพระ น้องจ๊ะแจงเนื้อมัสมั่น หูฉลาดนั่นสำคัญ
สาเกต้มน้ำตาลอย่าลืมเอาไป
เกิดชาติหน้าจะได้สวย ผลบุญคงช่วยให้เจอะกันทุกชาติ
อธิฐานทำใจให้สะอาด เวลาใส่บาตร เจ้าอย่าไปนึงถึงใคร
ตั้งใจมั่นให้ดี น้องถือทัพพีพี่จะถือขันให้ อย่าให้มองดูพระ
เดี่ยวพระจะอาย มองหน้าพี่ไว้คนเดียวก็พอ”
(วันพระอย่าเว้น : สุรพล สมบัติเจริญ)
พิธีทำบุญบ้านนี้ นิยมทำกัน เพราะถือว่าเป็นการได้พบพระสงฆ์และทำบุญถวายทาน ความประสงค์ในการทำบุญนี้ ก็เพื่อขอให้เกิดความสุขสวัสดีจำเริญวัฒนา ป้องกันสรรพพิบัติอุปัทวันตรายให้เว้นหนี เป็นกุศลพิธีนิยมมาตั้งแต่พุทธกาล
ผู้ประสงค์จะทำบุญขึ้นบ้านใหม่ พึงกำนหดการตามหลักพิธีทางศาสนา คือ
1. นิมนต์พระสวดมนต์ รับอาหารบิณฑบาตรเช้า หรือถวายเพล
2. เตรียมด้วยสายสิญ3. น์ บาตรน้ำมนต์
4. เตรียมการต่าง5. ๆ เช่น จัดสถานที่ที่บูชา เหมือนกับการทำบุญ6. โดยทั่วไป
7. ถ้ายกศาลพระภูมิในวันเดียวกัน ก็ไปบอกเชิญ8. โหรและเตรียมการต่าง9. ๆ
เมื่อถึงวันกำหนด พระสงฆ์ก็มาเจริญพระพุทธมนต์ รุ่งขึ้นถวายอาหารบิณฑบาตรแก่สงฆ์ แต่ในปัจจุบั
นมักจะนิยมทำเสร็จภายในวันเดียวกันก็ไม่ถือว่าผิดพิธี นอกจากนั้นก็จะมีการถวายเครื่องไทยธรรมรับพรและกรวดน้ำ และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ อาราธนาพระสงฆ์ให้ท่านโปรยทรายรอบบ้านทั่วทิศและประพรมน้ำพระพุทธมนต์เพื่อเป็นมงคลแก่บ้าน
เมื่อมีการทำบุญก็จะได้มีการบูชาเคารพพระรัตนตรัย พระรัตนตรัยนั้นเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวที่ลึกซึ้งที่สุดในทางจิตเมื่อ เราเข้าถึงพระรัตนตรัยการทำบุญบ้านคนไทยถือว่าเป็นการสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัว
บทเพลงลูกทุ่งถึงการทำบุญบ้านตามหลักศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา โดยนิมนต์พระมาสวดมนต์หลังจากนั้นเมื่อถวายภัตตาหารเรียบร้อยแล้วก็มีการกรวดน้ำรับพรตามพิธีของชาวพุทธ ดังบทเพลงว่า
“วันเอ๋ยวันนี้ เป็นวันฤกษ์ดี ศรีสุขถวัลย์ มงคลนำ
ทำบุญบ้านเถิดเลิศล้ำสำราญวิญญาณ์ เหมือนวิมานสถานเทวา
เทพบุตรธิดาต่างโปรยมาลาให้พร
เพราะกุศลบนประสาน ทำบุญบ้านอนุสรณ์
ความสั่งสมสิ่งสังวร มีที่นอน มีที่กิน มีชายคาบังฟ้าฝน
ไร้กังวลสมถวิลดุจมัจฉามีวาริน ดั่งนาคินมีบาดาล มี
วิมานของเทพบุตร เรามนุษย์ต้องมีบ้าน โดยหยาด
เหงื่อและแรงงาน อันไพศาลพฤตินัย
ฟังเสียงโห่ โกลาลั่น ฆ้องสนั่นสั่นไปไกล เสียงดนตรี
ที่เร้าใจ ชื่นอยู่ในประเพณี พระสวดมนต์เจริญพร ให้
ถาวรตามวิถี จบยถามาสัพพีตรวจวารีตามเวลากรวดน้ำ
หลั่งตั้งสติยังกิญจิ บ้างอิมินา แผ่กุศลคนศรัทธา โมทนา
โดยสมภาร”
(ทำบุญบ้าน : ไวพจน์ เพชรสุนทร)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น