๑.๓) ผญาตามลักษณะของเนื้อหา
ลักษณะเนื้อหาของผญา ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้แบ่งเนื้อหาของผญาออกเป็นประเภทต่างๆ หลายประเภทแต่ส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน คือ
จารุบุตร เรืองสุวรรณ ได้กล่าวถึงคำผญาว่ามี ๒ ประเภท คือผญาย่อย เป็นคำพูดเปรียบเปรย เย้าแหย่ ขำขัน สนุกสนาน แต่ก็แฝงคำคมเป็นคติและอีกประเภทหนึ่งคือ ผญาภาษิต เป้นถ้อยคำแบบฉันทลักษณ์ ที่มีความไพเราะเป็นคติเตือนใจ ลึกซึ่ง แฝงคติธรรม( จารบุตร เรืองสุวรรณ ๒๕๒๐ หน้า ๑๗๙
สาร สาระทัศนานันท์ ได้กล่าวถึงลักษณ์ทางเนื้อหาของคำผญาว่าเป็นคำกลอนสดที่คิดได้หรือจำมาก็มี และส่วนใหญ่ไม่ได้พรรณาอย่างตรงไปตรงมา คือมักเป็นคำพูดที่เป็นเชิงเปรียบเทียบให้ตีความเอาเอง และได้แบ่งเนื้อหาผญาออกเป็น ๔ ประการ คือ (สาร สาระทัศนานันท์ ๒๕๒๔ หน้า ๔(๑) ภาษิตหรือคติเตือนใจ (๒) คำพังเพยหรือคำคม (๓) คำอวยพร (๔) คำที่หนุ่มสาวใช้พูดจากัน
บุปผา ทวีสุข กล่าวว่า แต่เดิมนั้นคำผญามักจะเป็นคำภาษิต เป็นคำนักปราชญ์ ต่อมามีผู้คิดผูกคำผญาเป็นทำนองเกี้ยวพาราสีเพื่อหลีกเลี่ยงการพูกฝากรักโดยตรง ให้ผู้ฟังสังเกตเอาจากนัยแห่งคำพูดเอง แล้วพูดโต้ตอบกันด้วยคำในลักษณะเดียวกัน ดังนั้นคำผญาจึงแบ่งเป็นลักษณะได้ ๒ ประการ คือผญาที่เป็นคำคม สุภาษิต คำสอน และผญาที่เป็นทำนองเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว นอกจากนี้ บุปผา ทวีสุข ยังได้แบ่งผญาออกเป็น ๓ ประเภท คือ ผญาภาษิต ผญาย่อย และโตงโตยหรือยาบสร้อย (บุปผา ทวีสุข ๒๕๒๐ ๙๗–๙๙
จารุวรรณ ธรรมวัตร ได้กล่าวถึงลักษณะของผญาไว้ว่า ผญาเป็นคำพูดที่มีองค์คุณอยู่ ๕ ประการ คือ คำพูดที่มีประโยชน์หนึ่ง เป็นคำพูดที่เหมาะสมแก่กาลหนึ่ง พูดคำสัจจะหนึ่ง พูดคำอ่อนหวานหนึ่ง พูดด้วยเมตตาจิตหนึ่ง และยังแบ่งประเภทของผญาได้ ๕ ประการ คือ (จารุวรรณ ธรรมวัตร) ๒๕๒๖ ๑๑๒ (๑) ผญาเกี้ยวพาราสี (๒) ผญาภาษิต (๓) ผญาอวยพร (๔) ผญาเกี้ยวแบบตลก (๕) ผญาเกี้ยวแบบสาส์น์รัก
ประเทือง คล้ายสุบรรณ์ ได้แบ่งประเภทของผญาตามลักษณะของเนื้อหาและโอกาสที่ใช้ไว้อย่างละเอียดและสอดคล้างกันที่พรชัย ศรีสารคามได้แบ่งได้ดังนี้ (ประเทือง คล้ายสุบรรณ์ ๒๕๒๘ หน้า๗๖–๘๓ (๑) ผญาภาษิต (๒) โตงโตยหรือยาบสร้าย (๓) ผญาย่อยหรือคำคม (๔) ผญาคือหรือผญาเกี้ยว (๕) ผญาอวยพร
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น