วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การศึกษาเปรียบเทียบ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

๒. จักรพรรดิ์ธรรม

คือ ปฏิบัติหน้าที่ของนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่ ที่เรียกว่า จักรวรรดิวัตร คือธรรมเนียมของพระเจ้าจักรพรรดิ์ 5 ประการ คือ

๑) ธรรมาธิปไตย คือถือธรรมเป็นใหญ่ มีความเคารพธรรม เชิดชูธรรม นิยมธรรมและตั้งตนอยู่ในธรรม ประพฤติธรรมด้วยตนเอง

๒) ธรรมิการักขา ให้ความคุ้มครองโดยธรรม คือจัดอำนวยการรักษาคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรมแก่ทุกคนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน คือ คนภายใน ข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายปกครอง ข้าราชการพลเรือน นักวิชาการและคนต่างอาชีพ พ่อค้า เกษตรกร ชาวนิคมชนบท พระสงฆ์และบรรพชิตผู้ทรงศีลทรงธรรม ตลอดจนสัตว์สี่เท้าเป็นต้นฯลฯ

๓) อธรรมการ ห้ามกั้นการอันอาธรรม์ คือจัดการป้องกัน แก้ไข มิให้มีการกระทำที่ไม่เป็นธรรม การเบียดเบียนข่มเหงและความผิดความชั่วร้ายเดือดร้อนเกิดขึ้นในบ้านเมือง ชักนำประชาชนให้ตั้งมั่นในสุจริตและนิยมธรรม

๔) ธนานุประทาน ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แกชนผู้ไร้ทรัพย์ มิให้เดือดร้อนขัดสนในแผ่นดินเช่น จัดให้ราษฎร์ทั้งปวงมีทางทำมาหาเลี้ยงชีพได้โดยสุจริต

๕) ปริปุจฉา สอบถามปรึกษากับพระสงฆ์และนักปราชญ์ มีที่ปรึกษาที่ทรงวิชาการและทรงคุณธรรม ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ผู้ไม่ประมาทมัวเมา ที่จะช่วยให้เจริญปัญญาและกุศลธรรม หมั่นพบไถ่ถามหาความรู้หาความจริงและถกข้อปัญหาต่างๆอยู่โดยสม่ำเสมอตามกาลอันควร เพื่อชักซ้อมตรวจสอบตนให้เจริญก้าวหน้า และดำเนินกิจการในทางที่ถูกที่ชอบธรรมดีงามและเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนและตัวเอง192 จักรวรรดิวัตร ๑๐ ประการ คือ

๑) อันโตชน สังเคราะห์คนภายใน

๒) พลกาย บำรุงกองทัพให้เจริญรุ่งเรือง

๓) ขัตติย สงเคราะห์ชนชั้นปกครองและนักรบ

๔) อนุยันต สงเคราะห์ข้าราชการและเอื้อเฟื้อดูแลข้าราชบริพาร

๕) พราหมณคหปติก สงเคราะห์คฤหบดี

๖) เนคมชานปท สงเคราะห์ชาวนิคม

๗) สมณพราหมณ์ อุปถัมภ์สมณชีพราหมณ์คือนักบวช

๘) มิคปักขี สงเคราะห์สัตว์

๙) มา อธมฺมกาโร ปวตฺติตฺถ ไม่ทำทุจริตผิดธรรมนองคลองธรรม

๑๐) ธนํ อนุปฺปทชฺเชยฺยาสิ จ่ายทรัพย์สงเคราะห์คนอยากจน193

๓. ราชสังคหวัตถุธรรม ๔ ประการ คือ

คือ การทำนุบำรุงประชาราษฎร์ ด้วยหลักธรรมที่เรียกว่าราชสังคหวัตถุ คือหลักการสงเคราะห์ประชาชนของพระราชา 4 ประการคือ

๑) สัสสเมธะ คือการฉลาดบำรุงธัญญาหาร คือ มีพระปรีชาสามารถในนโยบายที่บำรุงพืชพันธ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์

๒) ปุริสเมธะ คือฉลาดบำรุงข้าราชการ คือมีพระปรีชาสามารถในนโยบายที่จะบำรุงข้าราชการด้วยการพระราชทานรางวัลแก่ผู้มีคุณต่อบ้านเมืองและส่งเสริมคนดีมีความสามารถเป็นต้น

๓) สัมมาปาสะ ผูกประสานปวงประชา คือผดุงผสานประชาชนไว้ด้วยนโยบายส่งเสริมสัมมาอาชีพให้แก่ทุกคนให้มีชีวิตที่สุขสบาย

๔) วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ คือรู้จักพูด รู้จักชี้แจง แนะนำ รู้จักทักทายถามไถ่ทุกข์สุขของประชาราษฎร์ทุกระดับชั้น แม้ปราศรัยก็ไพเราะน่าฟัง ทั้งประกอบด้วยเหตุผล เป็นหลักฐานมีประโยชน์ เป็นทางแห่งการสร้างสรรค์แก้ไขปัญหาเสริมความสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือของพสกนิกร194

๔. สัปปุริสธรรม ๗ ประการ คือ

๑) ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุแห่งสุขหรือเหตุแห่งทุกข์

๒) อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผลแห่งความสุข รู้ผลของความทุกข์ว่ามีสาเหตุมาจากสิ่งนี้

๓) อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน คือรู้บริวาร ยศ สมบัติ ความรู้ คุณธรรมของตน

๔) มัญตัญญุตา เป็นผู้รู้ประมาณตนเองในการหาและใช้สองทรัพย์

๕) กาลัญญุตา เป็นผู้รู้กาลเวลาที่จะลงมือทำงานนั้นๆ

๖) ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักชุมชนที่ตนอยู่อาศัย

๗) ปุคคลปโรปรัญญุตา เป็นผู้รู้จักเลือกคบคน(อัง. สัตต. 23/113

จริยธรรมในด้านความสามัคคี

คือหัวใจของการที่จะเป็นผู้นำของคนได้ พระพุทธศาสนาได้แสดงหลักการไว้ใน สาราณียธรรม 6 ดังนี้คือ

๑) เมตตากายกรรม ทำต่อกันด้วยเมตตา คือมีไมตรีต่อกันกับเพื่อนร่วมงาน ร่วมกิจการ ร่วมชุมชนด้วยการช่วยเหลือกิจธุระต่างๆด้วยความเต็มใจ นับถือกันทั้งต่อหน้าและลับหลังหรือนับถือกันตามระดับวัยวุฒิ คุณวุฒิ

๒) เมตตาวจีกรรม พูดต่อกันด้วยเมตตาธรรม คือช่วยตักเตือนกันด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพแสดงความเคารพนับถือกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๓) เมตตามโนกรรม คิดต่อกันด้วยเมตตาธรรม คือการปรารถนาดีและคิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดีทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๔) สาธารณโภคี ได้มาแบ่งปันกันกินแบ่งกันใช้ คือแบ่งปันลาภผลที่ได้มาโดยชอบธรรมแม้เป็นของเล็กน้อยก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนในการใช้สอยบริโภคทั่วกัน

๕) สีลสามัญญตา ประพฤติให้ดีเหมือนเขา คือมีความประพฤติสุจริตดีงาม รักษาระเบียบวินัยของหมู่คณะ ไม่ทำตนเป็นที่น่ารังเกียจหรือเสื่อมเสียแก่ส่วนรวม

๖) ทิฏฐิสามัญญตา ปรับความเห็นให้ตรงกัน คือเคารพในความคิดเห็นของคนอื่นยอมรับฟังความคิดของผู้อื่น ตกลงกันได้และยึดถืออุดมคติร่วมกันเป็นจุดหมายสูงสุด201

จริยธรรมในด้านความเจริญของบ้านเมือง ๗ ประการคือ หลักความมั่นคง หลักสำหรับความเจริญของบุคคลและสังคม อปริหานิยธรรม212 มีดังนี้คือ

๑) หมั่นประชุมกันอยู่เสมอ

๒) พร้อมเพียงกันประชุมและพร้อมกันเลิกประชุม

๓) ไม่บัญญัติหรือยกเลิกบทบัญญัติที่ถือปฏิบัติมั่นอยู่ในกฎธรรมนูญ

๔) ให้ความเคารพท่านผู้ใหญ่และรับฟังความคิดของท่าน

๕) ให้เกียรติและคุ้มครองกุลสตรีมิให้มีการข่มเหงรังแก

๖) เคารพบูชาสักการะปูชนียสถาน อนุสาวรีย์ประจำชาติ

๗) ให้ความอุปถัมภ์แก่สมณะและท่านผู้ทรงศีลธรรม

จริยธรรมในการช่วยเหลือกันหรือ สังคหวัตถุธรรม

คือ หลักธรรมที่บำเพ็ญการสังเคราะห์หรือธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน และประสานประโยชน์ของหมู่ชนให้สามัคคีกัน 4 อย่าง ดังต่อไปนี้

๑) ทาน การให้ปัน คือการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละแบ่งปันช่วยเหลือสงเคราะห์กันด้วยปัจจัยสี่ จะเป็นทั้งทรัพย์หรือความรู้ตลอดถึงศิลปวิทยา

๒) ปิยวาจา พูดให้คนรักกัน คือการกล่าวคำสุภาพ ไพเราะน่าฟัง ชี้แจ้งแนะนำประโยชน์มีเหตุมีผลประกอบหรือคำแสดงความเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจ พูดสมานสามัคคีเกิดไมตรีทำให้รักใคร่นับถือและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

๓) อัตถจริยา ทำประโยชน์แก่เขา คือช่วยเหลือด้วยแรงกายหรือการบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาและช่วยปรับปรุงส่งเสริมในด้านจริยธรรม

๔) สมานัตตตา เอาตัวเข้าสมาน คือทำตัวให้เข้ากับเขาได้วางตนเสมอต้นเสมอปลายและเสมอในสุขทุกข์คือ ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ร่วมแก้ไขปัญหาเพื่อประโยชน์สุขร่วมกันกล่าวคือ ช่วยด้วยทุนทรัพย์ ช่วยด้วยถ้อยคำ ช่วยด้วยกำลังกาย200

ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นการบริหารในแนวพุทธศาสนา ในแต่ละประเทศย่อมมีการปกครองที่ต่างกันไปบ้าง หรือบางประเทศก็มีประชาชนเป็นฝ่ายบริหาร( ระบอบประชาธิปไตย) ที่มีประธานาธิบดีเป็นฝ่ายบริหารบ้าง หรือมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารบ้าง โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์พระประมุขบ้างในการปกครองบ้านเมือง นั้นเป็นการปกครองในระบอบสมบูรณาสิทธิราชการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้นหลักธรรมที่กล่าวมานั้นนอกจากทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรม และหลักอคติแล้วยังมีหลักพรหมวิหารธรรมเป็นต้น

จริยธรรมของผู้บริหารทำแนวคำสอนพุทธภาษิต

๑. จริยธรรมของผู้บริหาร

ธรรมประจำใจของผู้ใหญ่หรือผู้มีจิตใจกว้างขวางดุจพระพรหม 4 อย่าง

๑) เมตตา ความรัก คือความปรารถนาดีมีไมตรีจิต ต้องการช่วยเหลือให้ทุกคนให้มีความสุขและประโยชน์ของตน

๒) กรุณา ความสงสาร คืออยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ ใฝ่ใจที่จะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์และความเดือดร้อนของคนและสัตว์ทั้งปวง

๓) มุทิตา ความพลอยยินดี เมื่อเห็นคนอื่นอยู่มีสุขก็มีใจแช่มชื่นเบิกบานกับเขา เมื่อเห็นเขาประสบความสำเร็จก็พลอยยินดีกับเขาด้วย

๔) อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง คือมองความเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนอื่นทั้งที่ดีและเลวก็มีใจมั่นคงดุจตราชั่ง คือการวางตนให้เฉย198

จริยธรรมผู้บริหารควรเว้นอคติ 4

๑) ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ

๒) โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง

๓) โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลงหรือเขลา

๔) ภยาคติ ลำเอียงเพราะขลาดกลัว196


192 ที. ปา. ๑๑ / ๓๕ /๖๕.

193 ที. ปา. ๑๑/ ๘๐/๖๐

194 สํ. ส. ๑๕ / ๓๕๑ /๑๑๐.

201 อํ. ฉกก. ๓๖/ ๒๘๒/๕๓๕

212 องฺ สตฺต. ๒๓/๒๒/๒๕

200.ที. ปา. ๑๑ / ๑๔๐ /๑๖๗

198.ที. ม. ๑๐ / ๑๘๔ /๒๒๕

196 ที.ปา. ๑๑ /๑๗๖ /๑๙๖

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons