วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

::ใช้เชิงอุปลักณ์[Metaphor]ในคำผญ๋าอีสาน::บ่าวริมโขงbandonradio

๒.  ใช้เป็นเชิงอุปลักษณ์ [Metaphor]  คือใช้เป็นการเปรียบเทียบของสองสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องนำมาเปรียบเทียบกันว่าเป็นสิ่งเดียวกันหรือเท่ากันทุกอย่าง  เป็นการเปรียบเทียบโดยนัย  โดยใช้คำว่า อดสาห์  คือ  ในการเปรียบเทียบหรืออาจจะไม่มีคำเหล่านี้เลยก็ได้  ดังคำผญาว่า 
    “อดสาห์  เลี้ยงช้างเฒ่าขายงาได้กินค่า      เลี้ยงช้างน้อยตายจ้อยค่าบ่มี (อดทนเลี้ยงช้างแก่ๆไว้ขายงาได้ราคาดี  หากว่าเลี้ยงช้างน้อยถ้าตายแล้วไม่มีประโยชน์อะไร)  เปรียเทียบให้เห็นว่าถ้ารักกับคนที่มีอายุมากกว่าจะดีกว่ารักกับคนที่มีอายุน้อย  จุดประสงค์ต้องการให้เลือกสรรเอาคนที่มีประสบการณ์มากกว่าคนหนุ่มที่ยังไม่มีประสบการณ์  ไม่มีความอดทนพอที่จะต่อสู้กับอุปสรรค์ของชีวิตในอนคตได้เท่ากับคนแก่ หรือตรงกับภาษิตว่า  วัวแก่ชอบกินหญ้าอ่อน  เรื่องบุพเพสันนิวาสนี้เป็นสิ่งที่ใครๆก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ถ้าคนเราเคยสร้างกุศลมาร่วมกันย่อมได้พบกันอีก  แต่ถ้าความรักไม่สมหวังก็มักจะพูดว่า    “ เหลือแฮ็งสร้างกฐินบ่ได้แห่    บาดผู้เพิ่นบ่สร้าง  สังมาให้แห่มา”  (เสียแรงสร้างกองกฐินใหญ่โตแต่ไม่ได้แห่  ทีคนที่ไม่ได้สร้างทำไมได้มาแห่ ) คำผญาบทนี้สะท้อนถึงอารมณ์ของผู้ที่อกหักได้ดี หมายถึงคนอื่นได้ไปครอบครอง กวีมักจะนำเอาสิ่งสองอย่างมาเปรียบเทียบให้เห็นว่า  สิ่งต่างๆในโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน  เป็นมนุษย์ควรที่จะรักษาคำสัตย์ต่อกัน  ดังคำผญาว่า
    “ สัจจาแม่หญิงนี้    คือกวยกะต่าห่าง
    ถิ้มใส่น้ำ          ไหลเข้าสู่ตา
    “สัจจาผู้ชายนี้    คือหินนักหมื่น
    เซือกผูกทื้น    พันเส้นบ่ติ่ง
    (วาจาของสตรีเปรียบเหมือนตะกร้าที่ตาห่าง  ทิ้งลงในน้ำย่อมไหลเข้าทุกแห่ง และวาจาของบุรุษเปรียบเหมือนหินที่หนัก ๑๒ กิโลกรัม เอาเชือกผูกพันเส้นมาดึงก็ไม่ขยับเขยื้อน ) เปรียบให้เห็นว่าคำพูดของสตรีเชื้อถือได้อยาก  ส่วนคำพูดของผู้ชายมีความนักแน่นควรเชื้อถือได้  นี้เป็นคำที่คู่สนทนาระหว่างสตรีกับบุรุษที่ต่างกันก็ยกเหตุผลมาอ้างว่าฝ่ายตนเองนั้นมีสัจจะ  แต่มนุษย์ชายหญิงในโลกนี้ย่อมมีทั้งที่ยึดหมั่นในคำสัตว์  แต่ก็มีมากที่ไม่มีคำพูดที่เป็นคำสัตย์ต่อกัน  คือมีดีและเสียเท่าๆกัน  ถ้ามีดีตลอดก็จะไม่มีใครผิดหวังเพราะความรัก  ในเมื่อโลกมนุษย์ยังตกอยู่ในโลกธรรมแปด
    ๓.  ผญาเชิงอุปมา [Simile] คือคำผญาที่ใช้ในเชิงเปรียบเทียบที่ทำให้เข้าใจง่ายแบบตรงไปตรงมา  การเปรียบเทียบด้วยวิธีนี้เป็นการนำของสองอย่างมาเปรียบเทียบกันว่าเหมือนกันคือมีลักษญะคล้ายกัน  มักจะมีคำว่า ปาน เป็นดั่ง  เสมอ เปรียบ เปรียบดั่ง  ปุนปานดังคำผญานี้คือ
    ปาน  :     เจ็บปานไฟไหม้     เจ็บใจปานฟ้าฝ่า
        เจ็บแสบฮ้อน         ปานปิ้งปิ่นปลา
    (เจ็บอกดั่งไฟไหม้  เจ็บใจดั่งฟ้าฝ่า  เจ็บปวดร้าวดั่งปิ้งปลาในไฟ)
    ปุนปาน :    น้องอยากได้หน่วยแก้วลูกประเสริฐมหาเพชร
        พออยากแทงคอตาย  หน่วยพระจันทร์เป็นต้น
        ปุนปานแป้งเสนหาฮักห่อ  อุ่นอกมาอุ่นฮ้อนปานน้ำอาบเย็น
    (น้องอยากได้ลูกแก้วอันมีค่าเทียมมหาเพชรมาไว้ในครอบครอง  ถ้าไม่ได้น้องจะแทงคอตายเพราะพี่เป็นต้นเหตุ  เปรียบความเสน่หาความรักมีมากมาย  ร้อนอกร้อนใจก็เปรียบได้อาบน้ำเย็นสบาย )
    เป็นดั่ง :  อ้ายนี้    เป็นดั่งลิงโทนเฒ่า  กลางไพรเต้นไต่
        แสนสิไห้ยั่งมื้อ  บ่มีซู้อยู่ดอม
    (พี่นี้  เป็นดั่งลิงโทนแก่ๆ  ในป่าเต้นไต่ไปมาไม่มีคู่เคียงกาย)
    เสมอดั่ง : น้องนี้  ปลอดอ้อยซ้อย  เสมอดั่งตองตัด
        ผัดแต่เป็นสาวมา  กะบ่มีชายซ้อน
    ( น้องนี้ยังโสดบริสุทธิ์เหมือนดั่งใบตองตัด  ตั้งแต่เป็นสาวมายังไม่มีคู่ครอง)
    เปรียบ, เปรียบดั่ง :  เชื้อชาติแฮ้ง    บ่มีเปรียบหงส์คำ
              แนวกาดำ       เปรียบหงส์คำบ่มีได้
    (เชื้อชาติแร้ง กา คงเปรียบเทียบกับหงษ์คำไม่ได้)
        พี่นี้  เปรียบดั่งไซ   ใส่หลังหล้าบ่หมาน
                ถืกกะใส่ๆไว้   บ่ถืกกะใส่ๆไว้
               แล้วแต่ใจปลา  น้องบู่กูณาผาย  ดั่งใด๋เดน้อง
    ( พี่นี้  เปรียบเทียบดั่งไช่ใส่ไว้หลังสุดท้ายไม่ค่อยได้ปลา  ถึงไม่ถูกปลาก็ใส่ไว้ แล้วแต่ใจของปลา  น้องไม่กรุณาก็คงไม่ได้)
    ทั้งห้าบทที่นำมานี้มีจุดที่น่าสังเกตว่าเป็นคำพูดที่ตัดพ้อต่อว่าบุคคลอื่นที่ตนหลงรักแต่ไม่สมหวังบ้าง  หรือเป็นคำอุปมาให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจ  ว่าตัวผู้พูดมีความในใจว่าอย่างไร  นี้ก็เป็นภูมิปัญญาของหนุ่มสาวภาคอีสานในอดีตใช้พูดจากัน  เพื่อแสดงถึงการเกี้ยวพาราสีกันและยังแฝงไปด้วยคติพจน์ที่ให้ข้อคิดแก่ผู้อื่นด้วย  นี้เป็นความงดงามทางภาษาอีกอย่างหนึ่งเพื่อสื่อสารให้อีกฝ่ายเข้าใจได้โดยไม่มีความคิดริษยา หรือความโกธรต่อกัน
    ๔.  การใช้สัญลักษณ์ [ Symbol]   คือการสรรหาสิ่งต่างๆที่มีความหลายถึงสิ่งอื่นที่มีคุณสมบัติร่วมกัน  เกี่ยวข้องกัน  เช่น  พระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธศาสนา ในคำผญาอีสานใช้สัญลักษณ์คือ  คำที่ใช้แทนสภาพสิ่งต่างๆ ทั้งรูปธรรม  และนามธรรม  อันมีความหมายนอกเหนือไปจากความหมายที่กำหนดไว้ในพจนานุกรม  ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปของไทยและของสากล เช่น(วิภา  กงกะนันทน์  วรรณคดีศึกษา  นครปฐม  มหาวิทยาลัยศิลปากร 2523, หน้า 158
    แสงสว่าง    : เป็นสัญลักษณ์ของ ปัญญา
    ความมืด    :  เป็นสัญลักษณ์ของ กิเลส ,ตัณหา ,อวิชชา
    แก้ว    :  เป็นสัญลักษณ์ของ ความดีงาม,สิ่งมีคุณค่ามาก
    กา    :  เป็นสัญลักษณ์ของ  คนชั้นต่ำ, คนจน
    หงส์    : เป็นสัญลักษณ์ของ   คนชั้นสูง, คนมีฐานะ
    แมลง    : เป็นสัญลักษณ์ของ  บุรุษ
    ดอกไม้    : เป็นสัญลักษณ์ของ  สตรี
    การใช้สัญลักษณ์ที่ปรากฏในคำผญา  เป็นการแนะให้คิด  ไม่กล่าวตรงๆผู้ฟังต้องตีความว่าสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความคิดในเรื่องใด  ส่วนใหญ่สิ่งตอบแทนเหล่านี้มักเป็นเรื่องที่รู้จักกันดีในสังคม  สัญลักษณ์อื่นๆอีกที่ปรากฏในผญาอีสาน เช่น (จารุวรรณ  ธรรมวัตร ลักษณะวรรณกรรมอีสาน กาฬสินธุ์  โรงพิมพ์จิตตภัณฑ์การพิมพ์ 2526 ,หน้า 239
    “ผักอีตู่เตี้ยต้นต่ำใบดก    กกบ่ทันฝังแน่นสังมาจีจูมดอก
    ฮากบ่ทันหยั่งพื้น    สังมาปี้นป่งใบ”   ผักอีตู่  เป็นสัญลักษณ์ของเด็กหญิงกำลังพ้นวัยเด็กเข้าสู่วัยรุ่นซึ่งในผญาบทนี้กล่าวว่า  เด็กสาวปฏิบัติตนไม่เหมาะสมกับวัยของตน  สัญลักษณ์เหล่านี้เป็นคำใช้เปรียบเทียบจากสิ่งแวดที่อยู่ใกล้ตัวที่ชาวบ้านรู้จักดี  กวีมักจะนำมากล่าวสอนเตือนให้สตรีรู้ว่าสิ่งใดเหมาะแก่ตนเองและจะปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะเป็นคนมีมารยาทงาม 
    “ผักหมเหี้ยนกลางทาง    เจ้าอย่าฟ้าวเหยียบย่ำ
    บาดเทื่อถอดยอดขาวทาวยอดดั้ว  ยังสิได้ก่ายกิน”  ผักหมเหี้ยน  เป็นสัญลักษณ์ของคนที่อยู่ในฐานะต่ำต้อย  ได้รับความลำบากแต่ก็มีโอกาสที่จะสร้างฐานะของตนได้  ตรงกับสำนวนภาคกลางว่า  ไม้ล้มข้ามได้  แต่คนล้มอย่าข้าม  ในคำผญาอีสานที่ปรากฏนั้นยังได้นำเอาสัตว์ต่างๆมาเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบบุคคลในสังคมได้อย่างเหมาสม  เช่น  ช้าง  ใช้แทนคนที่มีอำนาจหรือมียศฐานบันดาศักดิ์สูง  หรือหงส์คำ  ใช้แทนสตรีผู้มีความงดงามและมีฐานะดี  แต่สำหรับ  กาดำ  ใช้แทนคนชั้นต่ำ หรือเป็ดใช้แทนคนมีวาสนาน้อย หรือพืชบางชนิดก็ถูกนำมาเปรียบเทียบเช่น ดอกว่าน ดอกกระเจียวดังบทผญาว่า
    “ อย่าได้เก็บดอกว่าน    บ้านเพิ่นมาบาน
    ให้เจ้างอยซานเก็บ    ดอกกระเจียวกลางบ้าน”  ดอกว่าใช้แทนสตรีที่อยู่ต่างบ้าน  ส่วนดอกกระเจียวให้แทนหญิงสาวบ้านเดียวกัน พูดเป็นนัยให้หนุ่มรู้จักมองหาสาวๆในบ้านตนเองดีกว่าจะไปผูกสมัครรักใคร่กับหญิงสาวบ้านอื่น 
๒.๑.๓  ประเภทของผญาอีสาน 
    ภาษิตอีสานแต่ละภาษิตมีความหมายลึกบ้าง  ตื้นบ้าง หยาบก็มี ละเอียด ก็มี ถ้าท่านได้พบภาษิตที่หยาบๆโปรดได้เข้าใจว่า  คนโบราณชอบสอนแบบตาเห็น  ภาษิตประจำชาติใด ก็เป็นคำไพเราะเหมาะสมแก่คนชาตินั้น  คนในชาตินั้นนิยมชมชอบว่าเป้นของดี  ส่วนคนในชาติอื่นหรือถิ่นอื่นอาจเห็นว่าเป็นคำไม่ไพเราะเหมาะสมก็ได้  ความจริง”ภาษิต”คือรูปภาพที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมทางภาษาของชาตินั้นๆหรือของท้องถิ่นต่างๆนั้นเอง
    ชาวอีสานมักจะมีสำนวนในการพูดที่เป็นเอกลักษณ์อยู่แบบหนึ่ง  เรียกกันทั่วไปว่า “ผะหยา” มีลักษณะที่เด่นอยู่สามประการ  คือ  ประการแรกเป็นคำพูดหลักแหลมได้สาระแสดงให้เห็นถึงสติปัญญาของผู้พูด  ประการที่สองเป็นคำพูดที่ฟังแล้วได้รับความไพเราะ  ด้วยเสียงสัมผัสโดยอาจจะเป็นสัมผัสสระ  สัมผัสพยัญชนะหรือเล่นวรรณยุกต์มีคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์  และลักษณะเด่นของผะหยาในเชิงวรรณศิลป์อีกอย่างคือ  การได้คำอุปมาอุปไมย  มีการใช้ความเปรียบเทียบทำให้ผู้ฟังเกิดจินตนาการเห็นภาพพจน์  และทำให้เข้าใจความหมายของผะหยาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  ด้วยลักษณะของความเปรียบเทียบที่ยกมาประกอบ  นอกจากนี้ผะหยา  ยังสามารถสะท้อนภาพความเป็นอยู่ของชาวอีสานได้ด้วย  สำหรับโอกาสในการพูดผะหยา  นั้นมีหลายโอกาส  ได้แก่การพูดคุยทั่วไป  อาจใช้ผะหยาภาษิต  ผะหยาเกี้ยวจะใช้ในโอกาสที่หนุ่มสาวพบกันในเวลาปั่นฝ้าย  หรือในงานประจำหมู่บ้านและใช้ผะหยาอวยพรในงานมงคลสมรสเป็นต้น
การจัดแบ่งประเภทเชิงเนื้อหาของคำผญาอีสานนั้นมี ท่านผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้แบ่งเนื้อหาของผญาออกเป็นลักษณะต่างๆ  หลายประเภทแต่ส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน  ตามที่ท่านผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายได้จัดแบ่งประเภทผญาตามลักษณะของเนื้อหาไว้นั้นมีความใกล้เคียงกันมาก
คำผญาที่เป็นคำภาษิตคือเป็นข้อความสั้นๆ  แต่เน้นความลึกซึ้ง  และเป็นคำสอนไปในตัว  หรือให้คติธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง  ที่แสดงถึงความเป็นไปของโลกหรือชี้ให้เห็นสัจจะแห่งชีวิต  ผญาอีสานนั้นเป็นทั้งภูมิปรัชญาท้องถิ่นและปัญญาธรรม  ซึ่งเป็นคำสอนของนักปราชญ์  อันแฝงไปด้วยคติ  แง่คิด  เป็นคำกล่าวที่เป็นหลักจริยธรรม  อันแสดงถึงความรอบรู้ความสามารถของผู้พูด  ผญาที่เป็นภาษิต  ใช้พูดสั่งสอนหรือเตือนใจใช้ในโอกาสเหมือนภาษิตภาคกลาง  เช่น  ต้องการสั่งสอนบุตรธิดา  ท่านก็เล่านิทานเป็นเชิงอุทาหรณ์แทรกคติธรรม  และภาษิตที่เป็นผญาเตือนใจทำให้ผู้ฟังเกิดความซาบซึ้งประทับใจและจดจำไว้เป็นแบบอย่างของการครองชีวิตต่อไป
ผญานี้มักไม่กล่าวสอนอย่างตรงๆ  ทั้งนี้เพราะคนอีสานนิยมสอนบุตรธิดาของตนโดยทางอ้อมไม่ได้สอนโดยทางตรงเมื่อท่านจะสอนในเรื่องใดท่านมักจะผูกเป็นคำอุปมาอุปไมย  โดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงคือความเป็นอยู่และกิริยาอาการหรือความประพฤติของคนหรือสัตว์  ไม่ว่าในทางดีหรือทางชั่วอันเป็นไปในทางรูปธรรม  เพื่อให้เกิดแง่คิดในทางนามธรรมเป็นข้อเปรียบเทียบกับรูปธรรม  คำผญาเมื่อนำมาจัดแบ่งตามลักษณะของเนื้อหาแล้ว ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้แบ่งเนื้อหาของผญาออกเป็นประเภทต่างๆ  หลายประเภทแต่ส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน  คือ
จารุบุตร  เรืองสุวรรณ  ได้กล่าวถึงคำผญาว่ามี  ๒  ประเภท  คือผญาย่อย  เป็นคำพูดเปรียบเปรย  เย้าแหย่  ขำขัน  สนุกสนาน  แต่ก็แฝงคำคมเป็นคติและอีกประเภทหนึ่งคือ  ผญาภาษิต  เป้นถ้อยคำแบบฉันทลักษณ์  ที่มีความไพเราะเป็นคติเตือนใจ  ลึกซึ่ง  แฝงคติธรรม๑๑ 
สาร  สาระทัศนานันท์  ได้กล่าวถึงลักษณ์ทางเนื้อหาของคำผญาว่าเป็นคำกลอนสดที่คิดได้หรือจำมาก็มี และส่วนใหญ่ไม่ได้พรรณาอย่างตรงไปตรงมา  คือมักเป็นคำพูดที่เป็นเชิงเปรียบเทียบให้ตีความเอาเอง  และได้แบ่งเนื้อหาผญาออกเป็น  ๔  ประการ คือ (๑)  ภาษิตหรือคติเตือนใจ (๒)  คำพังเพยหรือคำคม (๓)  คำอวยพร (๔)  คำที่หนุ่มสาวใช้พูดจากัน๑๒
บุปผา  ทวีสุข  กล่าวว่า  แต่เดิมนั้นคำผญามักจะเป็นคำภาษิต  เป็นคำนักปราชญ์  ต่อมามีผู้คิดผูกคำผญาเป็นทำนองเกี้ยวพาราสีเพื่อหลีกเลี่ยงการพูกฝากรักโดยตรง  ให้ผู้ฟังสังเกตเอาจากนัยแห่งคำพูดเอง  แล้วพูดโต้ตอบกันด้วยคำในลักษณะเดียวกัน  ดังนั้นคำผญาจึงแบ่งเป็นลักษณะได้  ๒  ประการ  คือผญาที่เป็นคำคม  สุภาษิต คำสอน  และผญาที่เป็นทำนองเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว  นอกจากนี้  บุปผา  ทวีสุข  ยังได้แบ่งผญาออกเป็น  ๓  ประเภท  คือ  ผญาภาษิต  ผญาย่อย  และโตงโตยหรือยาบสร้อย ๑๓
จารุวรรณ  ธรรมวัตร  ได้กล่าวถึงลักษณะของผญาไว้ว่า  ผญาเป็นคำพูดที่มีองค์คุณอยู่  ๕  ประการ  คือ  คำพูดที่มีประโยชน์หนึ่ง  เป็นคำพูดที่เหมาะสมแก่กาลหนึ่ง  พูดคำสัจจะหนึ่ง  พูดคำอ่อนหวานหนึ่ง  พูดด้วยเมตตาจิตหนึ่ง  และยังแบ่งประเภทของผญาได้  ๕  ประการ คือ (๑)  ผญาเกี้ยวพาราสี (๒)  ผญาภาษิต (๓)  ผญาอวยพร (๔)  ผญาเกี้ยวแบบตลก (๕)  ผญาเกี้ยวแบบสาส์น์รัก๑๔
ประเทือง  คล้ายสุบรรณ์  ได้แบ่งประเภทของผญาตามลักษณะของเนื้อหาและโอกาสที่ใช้ไว้อย่างละเอียดและสอดคล้างกันที่พรชัย  ศรีสารคาม  ได้แบ่งได้ดังนี้(๑)  ผญาภาษิต (๒)  โตงโตยหรือยาบสร้าย (๓)  ผญาย่อยหรือคำคม (๔)  ผญาคือหรือผญาเกี้ยว (๕)  ผญาอวยพร๑๕ ตามที่ท่านผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายได้จัดแบ่งประเภทผญาตามลักษณะของเนื้อหาไว้นั้นมีความใกล้เคียงกันมาก  โดยสรุปแล้วมีเนื้อหาของคำผญาได้เป็น  ๔  ประเภท คือ

bandonradio

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons