วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คำผญาอีสานที่สะท้องภาพการเมืองการปกครอง::bandonradio

๒.๗  สะท้อนภาพการเมืองการปกครอง
บั้นพยากรณ์หรือกาลนับมื้อส่วย111  เป็นคำสอนที่มุ่งเตือนสติให้ตั้งมั่นอยู่ในหลักของศีลธรรม  ถ้ากาลเวลาล่วงผ่านไปจิตใจของมนุษย์นั้นย่อมเปลี่ยนแปลงไป  และท่านได้มุ่งสอนคล้ายกับปัญหาของพระเจ้าปัสเสนทิโกศลมาทูลถามกับพระพุทธเจ้า  แต่ของภาคอีสานท่านเรียกว่ากาละนับมื้อส่วย(เสื่อมถอย,หย่อนยาน)ทั้งคลองศีลธรรมและจารีตประเพณีต่างๆก็จะเสื่อมถอยไปด้วย  เพราะมนุษย์มองไม่เห็นคุณค่าของศีลธรรมแต่กลับไปเชิดชูวัตถุแทน  ดั่งนั้นท่านนักปราชญ์จึงได้แปลงสารเพื่อให้พี่น้องชาวพุทธได้หันกลับมาสู่หลักธรรมของพระพุทธเจ้า  ดังนี้คือ
๑)    บัดนี้กาละนับมื้อส่วยหลายปีเป็น    อันต่างมาแล้ว
    พระหากเทเทศน์ไว้        ภายสร้อยศาสนา
หมายถึงกาลเวลาผ่านไปหลายปีก็จะมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นก็จะมีการเสื่อมถอยหย่อนยานบั้นปลายศาสนา
๒)    ฝูงหมูหญิงชายส่วยสิบสาม    สิมีลูกลือแล้ว
    ชายและหญิงจำถูกกิเลสเข้าครอบงำแล้วจะมีลูกก่อนวัยอันควรอย่างดาดดื่น
๓)    นักปราชญ์ถมแม่น้ำนทีกว้าง    ขาดเขิน
หมายถึงนักปราชญ์ไม่กล่าวสอนธรรมหรือโลกจะขาดธรรมะหรือมีดร.เต็มบ้านเต็มเมืองแต่ประชาชนไม่ได้ความรู้จากเขาเลย
๔)    แม่นว่าสังฆะเจ้าทรงธรรม        ในสูตรก็ดี
    ยังเล่าแปลงจ่ายเชื้อเงินด้วง        คั่วขาย
    แม้ว่าพระสงฆ์ก็ยังมีการชื่อขายแลกเปลี่ยนเงินตราเหมือนชาวบ้าน(ชื่อหวย)
๕)    ลางเหล่ายังจำมั่นคำสอน        พุทธบาทก็มี
    สังฆะสมณ์สิ่งนั้นมีน้อย        บ่หลาย
    บางหมู่คณะก็ตั้งมั่นในคำสอนของพระพุทธจ้าแต่ว่ามีน้อย
๖)    โจราได้ทะวาวคำ        ม้าขี่ก็มี
    หมายถึงข้าราชการปล้นชาติจะมีรถยนต์นั่งฟรีน้ำมันฟรี
๗)    นักปราชญ์เป็นงาวง่วงถือกระเบื้อง    คั่วขอ
    คนหลักเป็นคนใบ้ใจเบา        คิดบ่ถืก
หมายถึงคนดีๆจะทำตัวเหมือนคนใบ้ไม่สนใจใคร  คนดีจะท้อใจเพราะสังคมไม่รับรองและคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรดี  มีแต่ความวางเฉยต่อเหตุการณ์บ้านเมือง
๘)    หินแฮ่ไหลล่องแก้งโฮฮ้อง        สนั่นเมือง
    หมายถึงคนไม่รู้หลักการบริหารแต่ได้ดีเพราะการประจบเจ้านาย
๙)    กบเขียดฮ้องประสงค์อ่าน        โคลงสาร
    ฝูงหมู่งูเพาพิษเงือกสิกลัว        เกรงย้าน
    ถึงเวลาแล้วประชาชนจะขับไล่ไปเอง(ประท้วง)
๑๐)    หินอยู่น้ำไหลล่อง        ตามกระแสร์
    เขาก็ไลสาครไปอยู่นอน        ในบ้าน
    หมายถึงผู้ที่เคยมีหลักหนักแน่นก็จะเป็นไม้หลักปักขี้ควาย
๑๑)    ปลาบึกขึ้นหนีสาคร        ค้างหาด
    คึดสิขึ้นอยู่ลี้ปลายไม้        สิ่งแลน
    ปูปลาฮู้เปิดน้ำหนีหน่าย        วังปลา
    คนดีๆมีศีลธรรมจะพากันหลีหนีไป
๑๒)    เขาก็แยงภูผาเถื่อนพนา    เนาค้าง
    สระบ่มีน้ำ        เอาไปทำไว้สู่แห่ง
    อุแอ่งหม้อหมางน้ำว่า    สิหนี
    หมายถึงผู้มีอำนาจฝ่ายปกครองจะโกงกินบ้านเมืองทำให้ประชาชนเดือนร้อน
๑๓)    เอี่ยนก็มาเปิดน้ำสิหนีจาก    วังตม
    เขาก็ไปแปงฮวงฮังอยู่เทิง    ปลายไม้
    หมายถึงประชาชนเบื่อละอาจริงๆ
๑๔)    งูเงือกพร้อมหนีเขื่อน    ชลธา
    เขาสิเนาภูผาบ่อนมัน    บ่มีน้ำ
    หมายถึงลูกหลานชาวบ้านขาดการเหลียวแลจากรัฐบาลจะหนีเข้ากรุง
๑๕)    มาลาฮ้างฮามสูญ    เสียกลิ่น
    หงษ์คำก้มกราบไหว้ประนมน้อม    หมู่กา
    หมายถึงคนดีจะทำลายศักดิ์ศรีตนเองไปหลงกราบไหว้งอนง้อคนชั่ว
๑๖)    หมากพร้าวมาเปิดต้นตกล่วง    ลงดิน
    มันบ่ยินดี        ดอมผู้เฮ็ดบุญเป็นการค้า
    หมายถึงผู้มีศีลจะลดตัวลงไปเป็นลูกน้องของคนชั่วที่วางตัวเป็น
๑๗)    ครกมองฮ้างหมางเมิน    ข้าวเปลือก
    ซ้าหลอดมาเปิดเบี้ยแถมซิ้น    ใส่ใน
    หมายถึงคนจะหันหลังให้วัฒนธรรมของตนเอง
๑๘)    จวงจันทร์หล้างของแพง    ทางเทศสเภาพุ้น
    มาคั่นหิ้วหูซ่า        เที่ยวขาย
    หมายถึงของปลอมจะเต็มบ้านเต็มเมือง
๑๙)    มณีนีลเศร้าเสียแสง    สรรพฮูปมีแล้ว
    หินแฮ่เป็นหน่วยแก้ว    พิลาเข็มค่าสิแพง
    ยูงยางต้น        ลำงามสิตายแดด
    ขอนดอกไหลล่องน้ำ    สั่งมาปิ้นป่องใบ
    หมายถึงคนดีจะไม่ได้ดีแต่คนชั่วกลับได้ดีเพราะนายมันชั่ว
๒๐)    ไก่น้อยให้        กินนมนำกา
    หมาน้อยไห้        กินนมนำเสือโคร่ง
หมายถึงชาวบ้านจะพากันขอกินผู้แทนๆ(ชื้อเสียง)ก็จะไปถอนทุนคืนเหมือนไก่ถูกกากิน  หมาน้อยถูกเสือกัน
๒๑)    หมากน้ำเต้าหน่วยแห้ง    สิจมลงทางลุ่ม
    หินอยู่ใต้น้ำ        สิฟูขึ้นดังสโน
    หมายถึงคนดีจะไม่มีคนเลือกแต่จะไปเลือกเอาคนชั่วมาปกครองบ้านเมือง
๒๒)    เขาสิฆ่ากันตาย        คือขอนไฮ่
    มีแต่โลภอยากได้    บ่มีเอื้ออ่าวศีล
    หมายถึงผู้ถูกเลือกจะฆ่ากันเองเพราะผลประโยชน์ไม่ลงรอยกัน
๒๓)    มณีนิลเศร้าเสียแสง    สลับเพศ
    หินแฮ่เกิดเป็นหน่วยแก้วพิลาเข้ม    ค่าแพง
    หมายถึงคนดีจะถูกเจ้านายชั่วเอาคนชั่วมารับความชอบแทน
๒๔)    บัวขี้แบ้บานเกิด        กลางหนอง
    บัวทองเกิดหัวสวน    บ้านเก่าเฮาบ่อนเคยยั้ง
    หมายถึงคนดีๆทนระบบไม่ไหวก็ลาออกไป
๒๕)    ฝนตกโฮ่งไหลลงโฮม    โคกโท้โล้
    ที่ลึกมาแล่นตื้นไปห่ง    แต่บ่อนเขิน
    หมายถึงคนได้ดียิ่งได้ดีหรือคนรวยยิ่งรวยคนจนยิ่งจน(ปลาใหญ่กินปลาเล็ก)
๒๖)    กาดำดั้นบินไป        ลี้ลอบ
    ภูใหญ่ผาแผ่นล้านตัวเต้า    ต่ำปู
    หมายถึงคนชั่วรอบรู้โวหารเก่งคนใหญ่คนโตยอมสยบให้
๒๗)    คนเล่าพากันสร้างตันป่อง    ชลธี
    ปลาก็บินบนแยงเมฆพะโยม    ยังฟ้า
    หมายถึงการโกงกินจะมีอยู่ทุกวงการ
๒๘)    หนูซิงตะบะให้แมวบักดำ    ก้มขาบ
    หมาจอกมาเห่าช้าง    เป็นน่าอยากหัว
    หมายถึงประชาชนเจ้าของประเทศจะถูกข้าราชการผู้เป็นลูกจ้างของตนข่มเหง
๒๙)    หมาจอกขึ้นวอทอง    คนหามแห่
    คันคากมันอยากได้ฉัตรกั้น    แข่งฝน
    หมายถึงคนชั่วจะได้รับการยกย่อง
๓๐)    ขี้กระเดือนฮู้บินบน    อากาศ
    หินก้อนล้านฟูน้ำ    ล่องไหลแท้นอ
หมายความว่าคนไม่มีความรู้ทั้งไม่มีศีลธรรมจะครองบ้านครองเมือง
๓๑)    พระสงฆ์เจ้าบ่มีสอน    ธรรมสวากข์
    มีแต่ความขี้คร้านฉันแล้ว    ก็เหล่านอน
    หมายความว่าพระสงฆ์ไม่เอาธุระในพระศาสนา
๓๒)    ฝูงคนเฒ่าศีลธรรม    บ่มีเชื่อ
    เชื่อแต่คนขี้เหล้า    มาเว้าแจกเงิน
    หมายถึงคนเฒ่าคนแก่จะไม่มีศีลธรรม
๓๓)    ความเดือนฮ้อน        คนก่อให้มันเป็น
    มีแต่อัปปรีย์เป็น    ให้หมั่นเห็นเลิงพ้อ
    หมายถึงคนจะเกิดเดือดร้อนเพราะบาปที่ตนก่อ
๓๔)    คนสิตายถ้อนเข้าเหลือสาม        ฮ่มโพธิ์ศรี
    เขาจึงมีใจคิด        เฮียกหาพระไตรแก้ว
หมายถึงเมื่อคนขาดศีลธรรมเข่นฆ่ากันเองตายมากขึ้นคนเหลือน้อยจนจะสูญพันธุ์ คนจึงใฝ่หาศีลธรรม
๓๕)    ต่อจากหั่น        พระยาธรรมสิมาซ่อย
    หินอยู่พื้นสิจมลง    คือเก่า
    บักน้ำเต้าหน่วยแห้ง    สิฟูขึ้นดั่งเดิม
หมายถึงเมื่อคนประพฤติแล้วธรรมก็คุ้มครอง  คนชั่วจะถูกเกลียดชัง  คนดีจะเป็นที่ยอมรับคือได้รับการยกย่อง  สรรเสริญ
๓๖)    ทุกสิ่งเชื้อที่เกิดอยู่    เมืองมนุษย์
เขาสิมีความสุข        ทุกข์บ่มีมาใกล้
หมายถึงว่าทุกชีวิตไม่ว่าคน,สัตว์ ต้นไม้  เขาจะไม่เบียดเบียนกันจะมีแต่ความสุขความเจริญตลอดไปเพราะการรักษาศีลธรรม
คำสอนของท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ 112 (สิริจันโท  จันทร์)  ผู้เป็นนักปราชญ์ชาวอีสานอีกรูปหนึ่ง  และเป็นนักเทศน์เอกในยุคนั้น  วรรณกรรมเรื่องนี้ได้สะท้อนถึงความเชื้อต่างๆที่ท่านเจ้าคุณได้นำเอาปัญหา  ๑๖  ข้อที่พระเจ้าปัสเสนทิโกศลนำมากราบทูลพระพุทธเจ้ามาแต่งเป็นคำสอนตามแบบของอีสานได้อย่างลึกซึ่งกินใจที่หมายถึงความเจริญและเสื่อมของจิตใจของคนเมื่อล่วงถึงสามพันปี  ดังนี้คือ
คำที่อาจารย์เจ้าโบราณเพิ่นชี้บอกมานั้น  คือว่าสังกาสล้ำเข้าเขตสามพันปี
จักเกิดมีโภยภัยพยาธิเดิมมาต้อง    แม่นว่าครองสมณ์สร้างในธรรมพุทธบาทก็ดี
ก็บ่ตั้งเที่ยงหมั่นในแห่งสิกขาบท   ศิษย์บ่ฟังคำครูซิเสื่อมทราบเพม้าง
แม่นว่าองค์กษัตริย์ไท้ทะรงเมืองตุ้มไพร่ก็ดี   ก็บ่ตั้งเที่ยงมั่นในฮีตคลองธรรมคนบ่ยำเกรงย้านครูบาพ่อแม่  จักเกิดเป็นเหตุฮ้ายขี่ยุคโพยภัย   จักเกิดเป็นกังวลเข้านาตายแล้ง
จักเกิดเป็นอุบาทว์ฮ้อนปูปลาน้ำเขินขาด  ความสุขหาบ่ได้ความฮ้อนแล่นจ่นมา
จักเป็นเศิกกันบ่มั้วโจรมารทุกประเทศ  ฝูงไพร่น้อยความฮ้อนยิ่งกว่าไฟว่านา
อันนี้เป็นคำเถ้าอาจารย์ตั้งแต่เก่า 
สอนถึงความเจริญในยุคนี้ว่า
ทางไกลเป็นทางใกล้ทางรถไฟรถยนต์แล่น  แม่นจักเดินทางน้ำเฮือยนต์จอดทุกท่า
เขาหากดาแต่งไว้คอยถ่าผู้ซิไปแท้แหล้ว  อันที่ในเมืองบ้านทางเดินดูสะอาด
มีแต่ไฟตามได้ชูแสงใสสว่าง  ตั้งหากดูสล้างไฟฟ้าเพิ่นต่อสายเจ้าเอย
คือว่ากลางคืนเป็นกลางวัน ตั้งฮุ่งเฮืองจนแจ้ง

bandonradio

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons