วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

๓.๔.๑. พุทธภาษิตกับจุดมุ่งหมายของชีวิต

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

.๔.๑. พุทธภาษิตกับจุดมุ่งหมายของชีวิต

ความเพียร แปลว่า ความเป็นผู้กล้า ได้แก่กล้าแข็งในการทำงาน ไม่กลัวต่อหนาวร้อนลมแดดหรือความยากลำบากต่างๆ มีความบากบั่นก้าวหน้า ไม่หยุดนิ่งหรือถอยหลัง มีน้ำใจเข็มแข็งในการทำงาน ไม่ย่อท้อต่อการกระทำ ไม่ท้อแท้ต่ออุปสรรค มีจิตใจเด็ดเดี่ยวกล้าหาญในการทำงานทุกอย่าง ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากเพื่อทำงานให้สำเร็จ นี้เป็นองค์คุณของความเพียร ความเพียรนี้มีคุณต่อทุกคน เมื่อคนมีความเพียรอยู่ย่อมจะสำเร็จได้ทุกอย่าง และความเพียรนี้เป็นเหตุปัจจัยส่งไปถึงการดับทุกข์ได้ด้วย คือทุกข์ลำบากทุกอย่างที่มีอยู่จะล้วงพ้นไปได้ด้วยดีเมื่อคนนั้นมีความเพียร เมื่องานทุกอย่างสำเร็จลงคนก็พ้นทุกข์ ความเพียรช่วยคนได้อย่างนี้เอง

ความเพียรคือคุณค่าชีวิตของมนุษย์ อันมีทั้งคุณค่าทางวัตถุทั้งทางวิญญาณและคุณค่าทางสังคม คุณค่าดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเพราะการปฏิบัติในชีวิตประจำวันด้วยความพรากเพียรบากบั่นของมนุษย์เอง พระพุทธเจ้าเป็นนักสัจจนิยมและเป็นนักเหตุผลนิยมชั้นยอดเยี่ยมได้ทรงประกาศความจริงตามที่มันเป็นจริง และทรงมองดดูสิ่งทั้งหลายด้วยสายพระเนตรผู้รู้แจ้งโลก พระพุทธองค์ทรงตรัสยืนยันว่า เราตถาคตกล่าวว่า กลางคืนเป็นกลางคืน และกล่าวว่ากลางวันเป็นกลางวัน ข้อนี้หมายความว่า พูดความจริงตามที่มันเป็นจริง มิได้พลิกแพลงให้เป้นอย่างอื่น พระองค์ทรงายอมรับความสามารถของมนุษญ์อย่างสูงและไม่มีอะนอกเหนือความสมารถและความพากเพียรของมนุษย์ในลักษณะนี้ พระองค์ทรงยอมรับถึคุณค่าของมนุษย์ทุกๆลักษณะทั้งทางวัตถุและทางจิตวิญญาณ สาระสำคัญในเรื่องนี้ก็คือลักษณะพิเศษแห่ง ความตั้งใจของมนุษย์ ความพยายามพากเพียรของมนุษย์ และความเข็มแข็งของมนุษย์ ดังนั้น พระองค์จึงตรัสรับรองว่า “วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร” “ คนขยันย่อมไม่พร่าประโยชน์ซึ่งถึงตามกาล” “ผู้ใด เกียจคร้าน มีความเพียรต่ำ พึ่งเป็นอยู่ตั้งร้อยปี แต่ผู้ปรารภความเพียรมั่นคงมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้นั้น”

ข้อนี้หมายถึงความพากเพียรของมนุษย์ด้วยตนเอง การพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นตามหลักพุทธศาสนานั้น ต้องลงมือทำทันที โดยไม่ต้องรอคอยอำนาจเบื้องบนช่วยเหลือ ต้องพยายามพึ่งตนเองและรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง ไม่ให้โยนความผิดและความถูกไปให้เทพเจ้าบนสรวงสวรรค์ พระพุทธองค์ทรงตรัสพุทธภาษิตรับรองว่า

“ ตนเป็นที่พึ่งของตน คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งของเราได้”

“ผู้มีตนอันฝึกดีแล้ว ย่อมได้ที่พึงที่หาได้โดยยากยิ่ง”

“ตนทำบาปเองย่อมเศร้าหมองเอง ไม่ทำบาปเอง ย่อมบริสุทธิ์

ผุดผ่องเอง ความบริสุทธิ์และความเศร้าหมองเป็นของตนเอง

ไม่มีใครมาทำให้เราเศร้าหมองและบริสุทธิ์ได้เลย”

“พวกเธอจงพยายามทำความเพียรบากบั่นเองเถิด เราตถาคตเป็น

แต่ผู้บอกแนวทางให้เท่านั้น”

จากพุทธพจน์ที่นำมานี้ ล้วนแต่สอนให้คนเรารู้จักพึงตนเอง ด้วยความพยายามพากเพียรของตนเอง ให้เชื่อมั่นในตัวเอง หรือพูดอย่าง่ายๆก็คือ ให้เป็นตัวของตัวเอง จึงจะประสบสิ่งที่เราต้องการในชีวิตของเราอย่างสมบูรณ์ เมื่อกล่าวถึงคุณค่าของชีวิตมนุษย์ คุณค่าคือสิ่งที่มีประโยชน์ เป็นความนิยมของสังคม ที่จัดเป็นจริยธรรมส่วนบุคคลและส่วนรวม ตลอดถึงคุณค่าทางจิตวิญญาณ คุณค่าทั้งสองอย่างนี้แตกก็สำคัญด้วยกัน ทั้งทางโลกคือความร่ำรวยทางด้านวัตถุ ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ชื่อเสียง ยศ สรรเสริญ สุข ทั้งหมดนี้จะมีขึ้นมาได้ต้องอาศัยความเพียรเป็นพื้นฐานนั้นเอง

พุทธธรรมที่เป็นคุณค่าทางจิตวิญญาณได้แก่ คุณธรรมที่ช่วยให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางจิตใจ ธรรมะทั้งกล่าวคือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทรรศนะ ดังนั้นธรรมะจึงเป็นคุณค่าทั้งทางคดีโลกและทางจิต มนุษย์ถ้าไม่มีธรรมะประจำใจแล้วยากที่จะร่ำรวย อยากมียศศักดิ์และชื่อเสียงลือชาปรากฏในสังคม ตลอดถึงการยอมรับนับถือจากบุคคลต่างๆในสังคมได้ ถึงแม้ว่าอาจจะได้รับมรดกจากบรรพบุรุษก็ยากที่จะรักษาเอาไว้ได้นานๆ สุดท้ายก็จะถึงความพินาศฉิบหาย แต่ถ้ามีคุณธรรมประจำใจแล้ว สิ่งดังกล่าว ถ้ายังไม่มีก็จะเกิดขึ้น ถ้ามีอยู่แล้วก็จะเจริญยิงขึ้น ดังนักนักปราชญ์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า ธรรมะเป็นคุณค่าสำคัญแห่งชีวิตของคนทั้งทางวัตถุและจิตใจ การตีความหมายของหลักธรรมในแง่คิดเรื่องการรักษาทั้งทางกายและใจในความสุขทางกายและทางจิต

๓.๒.๒ หลักการพัฒนาชีวิต

คำว่า “มงคล” ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ พระเทพเวที หมายถึงสิ่งที่ทำให้มีโชคดีธรรมอันนำมาซึ่งความสุขความเจริญ(พระเทพเวที) ในมังคลัตถทีปนีหมายถึงสาเหตุที่ทำให้ถึงความเจริญด้วยมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ และนิพพานสมบัติเป็นมงคล(ชัยวัฒน์)

สาเหตุที่พระพุทธองค์ตรัสมงคล ๓๘ ข้อ ท่านเล่าไว้ว่า ชาวชมพูทวีปถกเถียงกันว่าอะไรคือมงคลแห่งชีวิต บางพวกเสนอว่า การได้เห็นแต่สิ่งที่ดี ๆ เป็นมงคล บางพวกว่าการได้ยินแต่เสียงที่ไพเราะเป็นมงคล แต่ถูกพวกอื่นคัดค้านหาเหตุผลมาหักล้างจนตกลงกันไม่ได้ว่าความคิดเห็นของฝ่ายใดถูกต้อง

จากกรณีดังกล่าวนั้นไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้นที่ถกเถียงกัน แม้แต่เทวดาทั้งหลายก็ถกเถียงกันด้วย แต่ก็ตกลงกันไม่ได้ จนกาลเวลาล่วงไป ๑๒ ปี ท้าวสักกเทวราช(พระอินทร์) จึงส่งเทวดามาทูลถามพระพุทธเจ้าที่พระเชตวัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า มงคลที่คนทั้งหลายเข้าใจนั้นเป็นมงคลภายนอก เป็นมงคลของ “นักคิด” คือคิดเอาว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้แต่มงคลของพระองค์เป็นมงคลของ “นักทำ” คือต้องลงมือปฏิบัติจึงจะเกิดมงคล (เสฐียรพงษ์) จากนั้นพระองค์ก็ทรงแสดงมงคล ๓๘ ประการ

เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้าในชีวิต หรือมงคล ๓๘ ประการนี้มีปรากฏในมงคลสูตรหรือบทสวดมนต์ ในเวลาชาวบ้านทำบุญต่าง ๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน เป็นต้น พระสงฆ์จะสวดพระสูตรนี้เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ผู้ทำบุญ มงคลสูตรคือสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขความเจริญแก่ชีวิต มี ๓๘ ประการ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ตั้งชื่อสูตรนี้ว่า “สูตรสำเร็จแห่งชีวิต” ให้เหตุผลว่าชีวิตจะประสบความสำเร็จไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรมจะต้องเดินตาม “สูตร” ที่พระพุทธเจ้าวางไว้ แม้กระทั่งพระสิริมังคลาจารย์นักปราชญ์ชาวล้านนาไทย ได้แต่งหนังสืออธิบายพระสูตรนี้โดยพิสดารชื่ออ้างในแง่วิชาการครบถ้วน(เสฐียรพงษ์) และเป็นสูตรในการเรียนของนักปริยัติอย่างสมบูรณ์ จนกลายเป็นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนกระทั่งชั้นสูง

๑ การไม่คบคนพาล

คำว่า มงคล แปลว่า เหตุเป็นเครื่องเจริญแห่งสมบัติทั้งปวง หมายถึงสิ่งที่นำมาซึ่งความสุข ความเจริญ เพราะเหตุนี้คนทุกคนจงปรารถนามงคล ต้องการให้มีมงคลอยู่กับตัว พระพุทธเจ้าตรัสว่า การไม่คบคนพาลเป็นมงคลสูงสุด คือเป็นมงคลอย่างยิ่ง โดยนัยตรงกันข้ามการคบคนพาลไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง

คำว่า พาล แปลว่า ผู้ประทำลายประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย หมายความว่า ทำลายความสุข ความเจริญทั้งฝ่ายตนและผู้อื่น ยึดถือเอาแต่สิ่งทีไม่เป็นประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ทำความพินาศให้เกิดขึ้นแก่ตนและคนอื่น เพราะใจไม่ยืดธรรมเป็นหลัก นี้เป็นลักษณะของคนพาล เพราะคนพาลมีลักษณะทำลายประโยชน์และทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์อย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าการไม่คบคนพาล เป็นมงคลสูงสุดดังนี้

๒ การคบบัณฑิต

คำว่า บัณฑิต แปลว่า ผู้ประกอบกิจที่เป็นประโยชน์ด้วยปัญญา คำว่า ปัญญา หมายถึงปรีชาที่รอบรู้ในเหตุผล รู้จักความเจริญและความเสื่อม รู้จักอุบายที่จะทำตน และผู้ที่อยู่ในโอวาทของตนให้พ้นจากความเสื่อม และให้ถึงความเจริญได้ ผู้ที่ประกอบปัญญาเช่นนี้เรียกว่า บัณฑิต การคบหมายถึง การไปมาหาสู่ ทำความสนิทสนมด้วยความเป็นมิตร ไต่ถามอรรถและธรรมและประพฤติตามโอวาท ดังนั้น การคบบัณฑิตเป็นเหตุให้ความสุข ความเจริญ คือทำตนให้มีความรู้ความสามารถรักษามารยาทให้ดีงาม ทำใจให้สงบระงับ ล่วงพ้นอุปสรรคต่างๆได้ ได้รับแต่ความสวัสดีเพราะเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า การคบบัณฑิตเป็นมงคลสูงสุดดังนี้

๓ การบูชาผู้ที่ควรบูชา

คำว่า บูชา หมายถึงให้ด้วยความนับถือ ได้แก่ให้ปัจจัยสี่ และดอกไม้เป็นต้น และหมายถึงการสักการะ เคารพนบนอบและกราบไหว้ตลอดจนปฏิบัติตามคำสั่งสอน คำว่า ผู้ที่ควรบูชา หมายถึงผู้ที่เจริญกว่า โดยคุณสมบัติ ในฝ่ายพรรพชิต อุปัชฌาย์อาจารย์เป็นผู้ควรบูชาของศิษย์ ผู้แก่อาวุโสเป็นผู้ควรบูชาของผู้อ่อนอาวุโส บรรพชิตทั้งหมดเป็นผู้ควรบูชาของพวกคฤหัสถ์ ฝ่ายคฤหัสถ์ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ควรบูชาของประชาราษฎร์ บิดามารดาเป็นผู้ตรวจบูชาของบุตรธิดา พี่เป็นผู้ควรบูชาของน้อง สามีและพ่อตาแม่ยายควรเป็นที่บูชาของภรรยา โดยกำหนดบุคคลอย่างสูงสุด ผู้ที่ควรบูชาหมายถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอริยสาวกทั่วไป ที่ว่าเป็นมงคล เพราะการบูชาท่านเหล่านั้น เป็นเหตุให้ได้รับความสุขและเจริญด้วยอายุ วรรณ เป็นต้น ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าการบูชาผู้ที่ควรบูชา เป็นมงคลสูงสุด

๔ การอยู่ในปฏิรูปเทศ

คำว่า ปฏิรูปเทศ แปลว่า ประเทศที่สมควร หรือประเทศที่เหมาะสม หมายถึงถิ่นที่เหมาะแก่งานที่จะทำหรือมีคนดีอยู่มาก ในมงคลทีปนีท่านอธิบายไว้หลายนัย เป็นต้นว่าถิ่นที่คนอยู่อาศัย เช่นคามนิคม นคร และชนบทเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าปฏิรูปประเทศ ประเทศที่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ประเทศที่มีการบำเพ็ญกุศล เช่นให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น และประเทศที่เจริญรุ่งเรืองด้วยศีลธรรมชื่อว่า ปฏิรูปเทศ การอยู่ในประเทศที่ดีย่อมเป็นเหตุให้ได้สมาคมกับคนดี และได้อบรมตนให้มีความรู้ดี มีความประพฤติชอบเป็นโอกาสให้ได้ประกอบความดี ซึ่งเป็นทางแห่งความสุข และความเจริญก้าวหน้า ฉะนั้นพุทธปรัชญาจึงกล่าวว่าการอยู่ในปฏิรูปเทศจึงเป็นมงคล

๕ ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้แล้วในปางก่อน

คำว่า บุญ ได้แก่กุศลกรรมเครื่องชำระสันดานให้บริสุทธิ์หมายถึงความประพฤติชอบ ทางกายวาจาและใจ เช่น การให้ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา กล่าวโดยสรุปแล้วหมายถึงความสุข ส่วนคำว่า ปางก่อน หมายถึงชาติก่อน คือชาติที่ล่วงมาแล้ว และหมายเอาในปัจจุบันชาติด้วยในส่วนที่เป็นอดีต พุทธปรัชญาถือว่าบุญเป็นเหตุให้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติและนิพพานสมบัติรวมความว่า เมื่อก่อนทำความดีเอาไว้จึงได้ความสุข เป็นเครื่องเตือนใจได้เป็นอย่างดีว่าเมื่อบุคคลได้ทำบุญเอาไว้ย่อมมีความสุข

๖ การตั้งตนไว้ชอบ

คำว่า ตน ได้แก่อัตภาพร่างกายพร้อมทั้งจิตใจ คือ ร่างกายทั้งสิ้นที่มีวิญญาณ อีกนัยหนึ่ง สภาพที่เสวยความสุขความทุกข์คือรับสุขรับทุกข์ได้ ชื่อว่า ตนกล่าวให้เข้าใจง่าย ตนคือตัวเรานี้เอง ตนในความหมายอีกนัยคือ กายและใจ การตั้งตนไว้ชอบ หมายถึงทำตนให้มีศีล คือมีกาย วาจาเรียบร้อย ทำตนให้มีศรัทธา คือเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อในสิ่งที่มีเหตุมีผล และทำตนให้มี จาคะ คือการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ตระหนี่ เมื่อทำได้อย่างนี้ ชื่อว่าตั้งตนไว้ชอบจะมีแต่ความสุขความเจริญ ปราศจากภัยอันตรายทุกอย่าง ฉะนั้น พุทธปรัชญาจึงถือว่าเป็นทางแห่งความก้าวหน้า

๗ ความเป็นพหูสูต

คำว่า พหูสูต แปล่า ผู้สดับมาก ผู้เรียนมาก ผู้ได้ยินได้ฟังมากคือ เป็นผู้คงแก่เรียนนั่นเองคำว่า ความเป็นพระหูสูตรคือ ความเป็นผู้คงแก่เรียน หมายถึงความเป็นผู้ศึกษามาก ได้ยินได้ฟังมาก ซึ่งเป็นเหตุให้เกิด ความฉลาดสามารถรู้จักผิด ชอบชั่วดี ได้ถูกต้องตามเป็นจริง ส่วนในกรณีที่เป็นมงคลนั้นคือเป็นเหตุให้สง่างามในชุมชน หรือได้รับอิฐผลมีความสรรเสริญเป็นผลตลอดถึงความเป็นเหตุให้ละความชั่ว หันกลับมาประพฤติความดีแล้วก็ทำตนให้บริสุทธิ์ได้ ดังนั้นพุทธปรัชญาจึงกล่าวว่าเป็นพหูสูตร

๘ การมีศิลปะ

คำว่า ศิลปะ มีความหมายหลายอย่าง เช่นการฝีมือ การช่าง การแสดงออกมาให้ปรากฏได้อย่างงดงาม น่าดูน่าชมและให้เกิดความซาบซึ้งดูดดื่ม สะเทือนใจ ตลอดจนความชำนิชำนาญในการต่างๆ สรุปก็คือมีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม ศิลปะเป็นเหตุให้ได้รับความสรรเสริญ และตั้งตัวได้ในปัจจุบันคือได้ทรัพย์ ยศ ไมตรี ด้วยปัจจัยเหล่านี้พุทธปรัชญาถือว่าเป็นทางเจริญของชีวิต

๙ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว

คำว่า วินัย หมายเอาวินัยทั้งสองฝ่ายคือ วินัยของบรรพชิต กล่าวคือการไม่ต้องอาบัติ ๗ กองคือ ปาราชิก สังฆาทิเสส นิสสัคคียปาจิตตีย์ ปาจิตตีย์ ปาฏิเสนียะ ทุกกฏ ทุพภาษิต ส่วนในวินัยอีกประการคือ วินัยของฝ่ายคฤหัสถ์ได้แก่ การเว้นจากอกุศลกรรม ๑๐ ประการ คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภอยากได้ของเขาพยาบาท ปองร้ายเขา และเห็นผิดจากคลองธรรม

ส่วนคำว่า การศึกษาแล้ว หมายถึง สำรวมตนไม่ต้องโทษเครื่องเศร้าหมอง คือไม่ประพฤติผิดวินัยและดำรงให้ตั้งอยู่ในคุณคือมารยาท พุทธปรัชญาจึงมองว่าเป็นทางแห่งความเจริญเพราะเป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์เกื้อกูลและความสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต

๑๐ การกล่าววาจาที่เป็นสุภาษิต

คำว่า วาจา ได้แก่คำที่แปลงออกไปคำที่กล่าวออกไป คำที่เจรจากัน หมายถึงคำพูดนั่นเองที่ว่าเป็นสุภาษิตได้แก่ เป็นคำที่กล่าวดีคือประกอบด้วยองค์ ๕ ประการคือกล่าวถูกกาลเทศะ ๑ กล่าวจริง ๑ กล่าวอ่อนหวาน ๑ กล่าวมีประโยชน์ ๑ กล่าวด้วยจิตมีเมตตา ๑ คำพูดที่ประกอบด้วยองค์๕นี้เรียกว่า เป็นคำสุภาษิต ลักษณะที่ว่าเป็นมงคลนั้นคือ เป็นเหตุให้ได้รับความเกษมสำราญ มีเกียรติ ความรัก และความเคารพทั้งในปัจจุบันและอนาคต

๑๑ การบำรุงมารดาบิดา

มารดาบิดาเป็นผู้มีพระคุณต่อบุตรธิดาอย่างยิ่ง เพราะท่านเป็นพระพรหมของบุตรธิดา คือมีเมตตากรุณา มุทิตา อุเบกขา ต่อบุตรธิดา เป็นบุรพเทพของบุตรธิดา คือคอยพิทักษ์รักษาบุตรธิดาก่อนคนอื่นเป็นบุรพาจารย์ ของบุตรธิดา คือบรมสั่งสอนบุตรธิดาก่อนครูอาจารย์อื่นๆ ฉะนั้น บุตรธิดาจึงต้องบำรุงท่านด้วยสถาน ๕ คือ

๑ ) เลี้ยงดูท่านให้ได้รับความสุข

๒ ) ดำรงวงศ์ตระกูลของท่าน

๓ ) ช่วยทำกิจการงานของท่าน

๔ ) ทำตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก

๕ ) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน

การบำรุงมารดาบิดาด้วยสถานะ ๕ อย่างนี้ย่อมได้รับยกย่องสรรเสริญจากคนทุกชั้น แม้ได้รับภัยอันตรายก็ปลอดภัย เช่น ถูกอาวุธที่อาบยาพิษก็ไม่ตาย ตกอยู่ในหมู่คนที่ดุร้ายก็พ้นมาได้แม้ถูกคุมขังถูกจองจำก็พ้นได้ เพราะเหตุที่นี้แหละ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า การบำรุงมารดาบิดา เป็นมงคลสูงสุด

๑๒ การสงเคราะห์บุตรธิดา

ลักษณะที่พุทธปรัชญาได้กล่าวถึงการที่บิดามารดาควรกระทำต่อบุตรธิดาของตนเองเอาไว้๕วิธีด้วยกันคือ

๑ ) ห้ามบุตรไม่ให้กระทำความชั่ว

๒ ) ให้บุตรกระทำแต่ความดี

๓ ) ให้บุตรได้ศึกษาวิชาความรู้

๔ ) หาสามีหรือภรรยาที่สมควรให้

๕ ) มอบทรัพย์สมบัติให้ในเวลาที่สมควร

ในพุทธศาสนาได้กล่าวถึงบุตรไว้ ๓ ลักษณะคือ (๑) อภิชาตบุตร ได้แก่บุตรที่ดีกว่าบิดามารดา เช่นบิดามารดาเป็นคนไม่มีศีล แต่บุตรเป็นคนมีศีล บิดามารดาชอบดื่มสุราเล่นการพนันแต่บุตรไม่มีพฤติกรรมอย่างนั้นเป็นต้น (๒) อนุชาตบุตร ได้แก่บุตรที่ทำตามบิดามารดา เช่น บิดามารดาเป็นคนมีศีลบุตรก็เป็นคนมีศีล เข้าลักษณะว่าบิดามารดาเป็นคนอย่างไรบุตรก็เป็นอย่างนั้นด้วย และ (๓) อวชาตบุตร ได้แก่บุตรที่ต่ำกว่าบิดามารดา เช่น บิดามารดาเป็นคนมีศีล แต่บุตรไม่มีศีล มารดาบิดาเป็นคนกระทำแต่กรรมดีส่วนบุตรธิดาเป็นคนชอบกระทำแต่กรรมชั่วเป็นต้น พุทธศาสนาเน้นว่าการที่สังคมครอบครัวมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันอย่างนี้ย่อมนำมาแต่ความเจริญก้าวหน้า วงศ์ตระกูลก็จะมั่นคงเป็นปึกแผ่น มีแต่ความสุขตลอดไป

๑๓ การสงเคราะห์ภรรยา

พุทธศาสนาเน้นกล่าวสอนถึงการที่จะเลือกคู่ชีวิตได้ ๗ ประการคือ

๑) วธกาภริยา คือภรรยาที่เป็นดังเพชฌฆาตคือคิดทำลายล้างสามีอยู่ตลอดเวลา

๒) โจรีภริยา คือภรรยาดังโจร คือคอยลักและยักยอกทรัพย์ของสามีเอาไปเที่ยวบ้าง เล่นการพนันบ้าง ตลอดถึงการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยบ้างย่อมอยู่ในกลุ่มของภรรยาอย่างโจร

๓ ) อัยยาภริยา คือภรรยาอย่างนาย คือข่มขี่สามีให้อยู่ในอำนาจเหมือนนายกับบ่าว

๔) มาตาภริยา ภรรยาดังมารดา คือ รักสามีเหมือนมารดารักบุตร ไม่ทำความเดือดร้อนรำคาญให้กับสามี

๕ ) ภคินีภริยา ภรรยาดังน้องสาว คือรักเคารพนับถือสามีเหมือนพี่ชาย ไม่กล่าวคำล่วงเกินสามี

๖ ) สขีภริยา ภรรยาดังสหาย คือเป็นเพื่อนเจ็บเพื่อนตายร่วมสุขร่วมทุกข์กับสามี ไม่คิดหน่ายหนีแม้ในยามตากยาก

๗ ) ทาสีภริยา ภรรยาดังทาสี คือมีความรักเคารพยำเกรงสามี ไม่แสดงกิริยาวาจาล่วงเกินสามีภรรยาประเภท ๑ ,๒ , ๓, ท่านกล่าวว่าไม่สมควรสงเคราะห์เพราะไม่ใช่ภรรยาที่ดี ควรสงเคราะห์ภรรยาประเภท ๔, ๕ ,๖, ๗, ด้วยวิธีสงเคราะห์ ๕ อย่างคือ

๑) ยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา

๒ ) ด้วยไม่ดูหมิ่น

๓ ) ไม่นอกใจสามี

๔ ) มอบความเป็นใหญ่ในบ้านเรือนให้

๕ ) ให้เครื่องแต่งตัว

การสงเคราะห์ภรรยา เป็นเหตุให้ครอบครัวได้รับความสุขและมีความเจริญ ก้าวหน้าฉะนั้นพุทธเจ้าจึงตรัสว่าเป็นมงคลสูงสุด

๑๔ การงานไม่อากูล

การงานหมายถึงหน้าที่ , ธุระ , กิจการที่ต้องทำ, เรื่องที่ต้องทำตามหน้าที่ , ไม่อากูลคือไม่วุ่นวาย, ไม่สับสน ไม่ยุ่งเหยิง

การงานไม่อากูลได้แก่การงานที่ทำเป้ฯระเบียบเรียบร้อยไม่คั่งค้าง ไม่ทอดทิ้งรีบเร่งทำติดต่อกันไปด้วยความเพียรและความรอบคอบ การงานเช่นนี้เป็นเหตุให้ได้รับความสุข และความเจริญทั้งในปัจจุบันและอนาคต ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เป็นมงคลสูงสุด

๑๕ การให้

ทาน แปลว่าการให้ หมายถึงการให้ปันสิ่งของของตนที่ควรให้แก่คนที่ควรให้ เป็นการเฉลี่ยความสุขแก่ผู้อื่น แสดงให้เห็นน้ำใจอันดีงาม คือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โอบอ้อมอารี ไม่เป็นคนคับแคบเป็นแก่ตัว การให้นั้นมี ๓ ลักษณะ คือ ๑ การให้เพื่ออนุเคราะห์ ๒ ให้เพื่อสงเคราะห์ ๓ ให้เพื่อบูชา

อนุเคราะห์ได้แก่การให้ความช่วยเหลือ คือให้แก่ผู้ที่มีฐานะด้อยกว่าเรา เช่น ผู้มีอาหารไม่พอรับประทาน มีเครื่องนุ่งห่มไม่พอใช้สอย ให้เพื่อช่วยให้เขามีความสุขสบายขึ้น การให้เพื่อสงเคราะห์นั้นหมายถึงจิตมีมีเมตตาอารีเป็นมูลฐาน คือให้แก่ผู้ที่มีฐานะเสมอกันกับผู้ให้ แม้จะไม่ให้เขาก็ไม่เดือดร้อน แต่เห็นว่าเขาเป็นญาติพี่น้องบ้าง เป็นเพื่อนฝูงบ้าง เป็นเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงบ้างให้เพื่อแสดงน้ำใจเผื่อแผ่อารีและนับถือในเขา

การให้อีกอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยความเคารพรับเป็นรากฐาน คือการให้เพื่อบูชาคุณ คือให้แก่ผู้ใหญ่ที่มีอายุฐานะและคุณความดีสูงกว่าตน เช่นให้บิดามารดา ครู อาจารย์ และผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีคุณงามความดีทั่วไป ตลอดถึงพระสงฆ์สามเณร ท่านเหล่านี้ไม่จำเป็นจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากเรา หากแต่เราระลึกถึงพระคุณของท่านที่มีต่อเรา และต่อส่วนรวมคือประเทศชาติจึงให้เพื่อบูชาท่าน

อีกนัยหนึ่งคือ การให้อภัย คือความเบียดเบียดผู้อื่นไม่มีเวรต่อกันและไม่ทำตนเองให้มีภัยต่อใครๆ แม้เขาจะล่วงเกินก้าวร้าวก็ระบับความโกรธได้ การให้อภัยเป็นการให้ชั้นสูง ผู้ที่จะให้อภัยได้ต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจสูง การให้ทุกอย่างตามที่กล่าวมานี้เป็นเหตุให้คนรักใคร่เคารพนับถือ และเป็นเหตุให้ได้รับความสุขโสมนัสทั้งในปัจจุบันและอนาคต ฉะนั้นพุทธเจ้าจึงตรัสสอนว่าเป็นมงคลสูงสุด


ขุ. สุ. ๒๕ / ๓๖๑

ขุ.ชา. ฉกฺก. ๒๗ / ๑๙๕

. ขุ.ธ. ๒๕ / ๓๐

ขุ. ธ. ๒๕ /๓๖

ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๖

ขุ. ธ. ๒๕ / ๓๗ , ขุ. มหา. ๒๙ / ๓๗ , ขุ. จู. ๓๐ / ๑๑๖

ขุ. ธ. ๒๕ / ๒๗๖

ที. ปา. ๑๑ /๔๒๐/ ๓๐๑ , องฺ ปญฺจก. ๒๒ / ๑๐๘ / ๑๕๒ , องฺ จตุกฺก. ๒๑ / ๑๕๐ / ๑๘๙

องฺ ทุก. ๒๑ / ๓๑๕ / ๑๐๑

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons