วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

๓.๒.๑ อิทธิพลของหลักคำสอนที่มีต่อการแต่งเพลงลูกทุ่ง

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

.๒.๑ อิทธิพลของหลักคำสอนที่มีต่อบทเพลงลูกทุ่ง

พระพุทธศาสนามุ่งสอนให้คนกระทำความดีเว้นกระทำความชั่วและทำจิตใจให้ผ่องแผ่ว ผู้ใดประกอบกรรมดี กรรมดีย่อมตอบสนอง และผู้ประกอบกรรมชั่ว กรรมชั่วย่อมตอบสนองเช่นกัน ผู้ใดกระทำกรรมไว้ย่อมเกิดผลแห่งการกระทำนั้น(นิพนธ์) ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในสถาถวรรค สังยุตตนิกายว่า “บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว ไม่มีใครหลีกหนีผลกรรมพ้นไปได้ นักปราชญ์ชาวอีสานมีความเชื่อเรื่องกรรมเป็นอย่างยิ่ง จึงพยายามสอดแทรกหลักคติธรรม คำสอนของพระพุทธศาสนาเข้าไปในผญาคำสอนเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นการเน้นสอนให้คนเลิกทำชั่วเพราะความชั่วนั้น “บุคคลทำแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง เป็นผู้มีใบหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้ เสวยผลของกรรมอันใดอยู่ กรรมอันนั้นอันบุคคลทำแล้วไม่ดี นั่นคือกรรมชั่ว”(ขุ.ธ.)

คนที่ไม่ทำความดี ก็คือคนชั่ว พรหมวิหารสี่(ที.ม.) เป็นธรรมะของผู้ใหญ่ จำเป็นที่เราจะต้องมีพร้อมในใจทุกคน แม้บางครั้งคนเราตัดสินกันที่คำพูดไม่ได้ว่าใครมีธรรมะหรือไม่มี เพราะบางคนอาจจะไม่แสดงออกก็มีหรืออย่ามุ่งเอาคนอื่นเปรียบเทียบกับตนเอง เพราะความชั่วนั่นใครทำก็ติดตัวคนคนนั้นไปจนวันตาย

พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าใจเรื่องกรรมว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตนเป็นทายาทแห่งกรรมของตน มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง กรรมใดก็ตามที่เขาทำลงไป ดีหรือชั่วก็ตาม เขาย่อมจะเป็นทายาทแห่งกรรมเช่นนั้น(องฺ.ฉกฺก) อิทธิพลของหลักคำสอนเช่นนี้ได้ปรากฏอยู่ในบทเพลงลูกทุ่งหลายเพลง แม้ในบทเพลงเหล่านั้นจะเอ่ยถึงเรื่องความรักก็จริง แต่ก็ไม่ทิ้งหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาบทเพลงที่กล่าวถึงการอกหักของชายหนุ่มที่มีความเชื่อว่าตนเองนั้นใช้กรรมเก่าที่เคยกระทำมาแต่ชาติก่อน

บทเพลงลูกทุ่งหลาย ๆ เพลงที่แสดงถึงสาระของหลักคำสอนแทรกอยู่ในเนื้อเพลงเพราะผู้แต่งเพลงลูกทุ่งได้ถ่ายทอดเอาสภาพแวดล้อมในสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่ รวมทั้งรู้สึกในใจตลอดจนคติธรรมที่ยอมรับปฏิบัติในสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของคนไทยทั่วไป ด้วยเหตุนี้เพลงลูกทุ่งส่วนหนึ่งจึงมีลักษณะของการแฝงคติธรรมนี้จะมีปรากฎในวรรณคดีไทยเสมอ เพราะกวีหรือผู้แต่ง คนเรามีกรรมวิบาก จึงสนใจกับมนุษย์ในฐานะที่เป็นเบญจขันธ์ประกอบด้วยกิเลสตัณหา กวีเหล่านี้จะสนใจในพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งความสนใจเหล่านี้เป็นไปตามธรรมชาติเมื่อผู้แต่งเพลงลูกทุ่งอยู่ในสังคมไทยที่นับถือพระพุทธศาสนาจึงสนใจพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยใจลักษณะเดียวกับที่กวีสนใจ เนื้อเพลงลูกทุ่งจึงได้แสดงออกในด้านคติธรรมด้วย((ลักขณา) เช่นการเชื่อเรื่องบาปบุญ แม้เรื่องที่เกิดนั้นเป็นเรื่องจึงไม่ได้ทำนาทำไร่ จึงเชื่อว่าเป็นเพราะเวรกรรมที่เคยกระทำมา

อิทธิพลของหลักคำสอนที่มีในบทเพลงลูกทุ่งพอจะจำแนกตามเนื้อหาได้เป็น ๒ แบบ คือ

เกาะที่มีต้นปาล์ม๓.๑.๑ นำหลักธรรมะในพระพุทธศาสนามากล่าว การนำหลักธรรมะในพระพุทธศาสนามาสั่งสอน

ก.นำนิทานมาเล่าเปรียบเทียบให้เห็นข้อธรรม การนำเอานิทานธรรมะมาผูกเป็นคำกลอนหรือถ้อยคำที่คล้องจองกันแบบธรรมดาพร้อมกับสอดแทรกธรรมะซึ่เป็นหลักคำสอนเข้าไปทำให้บทเพลงมีสาระมากขึ้น เพลงที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ ดาวลูกไก่ เพราะเป็นนิทานชาวบ้านที่มองเห็นภาพพจน์ กล่าวถึงความศรัทธาของสองตายายที่อยากจะถวายทานแก่พระธุดงค์ และเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณของแม่ไก่และลูกไก่

พุทธศาสนนิกชนโดยทั่วไปรู้จักเบญจศีลเป็นอย่างดี เนื่องจากบทเพลงมักเป็นเรื่องของความรัก ดังนั้นจะพบว่ามีการกล่าวถึงศีลข้อสามซึ่งห้ามมิให้ประพฤติผิดทางกาม (จินตนา) จับเอาสาระว่าความประพฤติคือการดำเนินชีวิตที่ผิด ซึ่งถือว่าเป็นการเบียดเบียนคู่ครองของคนอื่นที่เรียกว่าเขารักและหวงแหน ทางพระพุทธศาสนาถือว่าผิดประเพณีทางเพศ ดังบทเพลงที่กล่าวถึงคนที่ไม่มีหิริ ความละอายต่อบาป สามารถทำอะไรได้ทุกอย่างแม้กระทั่งการเป็นชู้กับคู่รักคนอื่น ในทางคติของคนไทยถือว่าบาปมากที่ประพฤติตัวเช่นนี้

ข. ยกธรรมะขึ้นมากล่าว มักจะกล่าวถึงข้อความที่เป็นธรรมการขยายความในเรื่องของกรรมที่มีปรากฎในพระปรมัตถ์(ปรมัตถะ) แบ่งกุศลและอกุศลไว้อย่างชัดเจนว่าคนที่ทำกุศลให้เกิดก็มีบุญอุปถัมภ์ ส่วนผู้ที่ทำอกุศลไว้มักจะพบแต่ความยากไว้ จะให้เกิดแต่ความทุกข์ เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดในเรื่องสมุทัย(สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์) จึงถูกอวิชชาโอบอ้อมไว้

บทเพลงลูกทุ่งกล่าวถึงข้อปฏิบัติของชาวพุธที่ดีจะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างต่ำหรือมากกว่านั้น แต่ในบทเพลงนี้กล่าวเพียงข้อมูลสุราเมรัยฯ ซึ่งเป็นที่เข้าใจข้อนี้เมื่อใครเสพเข้าไปแล้วทำให้หลงสติ และกลายเป็น

บทเพลงลูกทุ่งได้ช่วยย้ำให้ผู้ฟังตระหนักถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาคือเรื่องของไตรลักษณ์ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า ขันธ์ ๕ ดังมีพุทธพจน์แสดงไว้ในรูปของกฎธรรมชาติว่า “ตถาคต(พระพุทธเจ้า) ทั้งหลายอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ (หลัก) นั้น ก็ยังคงมีอยู่เป็นธรรมฐิติ” เป็นธรรมนิยามว่า

เกาะที่มีต้นปาล์ม๑. สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง

เกาะที่มีต้นปาล์ม๒. สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์

เกาะที่มีต้นปาล์ม๓. ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา

ตถาคตตรัสรู้เข้าถึงหลักธรรมนั้นแล้ว จึงบอกแสดง วางเป็นหลัก เปิดเผยแจกแจง ทำให้เข้าใจง่ายกว่า

“สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา...”(องฺ.ติก) บทเพลงลูกทุ่งกล่าวถึงความเป็นอนิจจังของโลกที่มีสุข มีทุกข์คลุกเคล้ากันไปเปรียบเหมือนละครโรงใหญ่ที่พานพบกับทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ผลสุดท้ายก็หนีความตายไปไม่พ้น

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

เนื้อเพลงเช่นนี้เป็นข้อสอนให้ปลงตามหลักพระพุทธศาสนาสอนให้ยึดอยู่กับสิ่งใดในโลกิยะ เป็นการเตือนสติคนรวย และในขณะเดียวกันก็เป็นการปลอบใจคนจนโดยยกเอาความตายเป็นสัจธรรมที่เที่ยงแท้ของมนุษย์ว่าเศรษฐีหรือยาจก ในบางครั้งก็ยกเอาธรรมะข้อนี้มาผสมผสานกับภาพพจน์ในวรรณกรรมตะวันตกคือโดยการเปรียบ “โลกนี้เหมือนโรงละคร”

เจ้าหญิง๓.๒.๒ แนะแนวจริยธรรม เมื่อพิจารณาตามเนื้อหาของเพลงแล้วเห็นได้ว่าเพลงลูกทุ่งที่แนะแนวจริยธรรมแก่ผู้ฟังธรรมนั้น มิได้มีเจตนาที่จะให้ผู้ฟังปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด โดยสละเรื่องราวทางโลกแต่อย่างใดแต่ต้องการให้ผู้ฟังได้ฟังข้อคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับจริยธรรม เพราะเพลงลูกทุ่ง ในแนวนี้มิได้กล่าวถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาโดยตรง แต่ยกเอาข้อควรปฏิบัติทางจริยธรรมทั่ว ๆ ไปมากล่าวในลักษณะการชักชวน เช่น การชักชวนให้คนฟังเทศน์(ลักขณา)

บทเพลงลูกทุ่งนอกจากจะอธิบายท้องทุ่งนาได้ดีแล้วแรงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่ครูเพลงเชื่อมั่นอยู่แล้วได้หยิบยกเอามาเกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงลูกทุ่งสะท้อนถึงความเชื่อของคนไทยในเรื่องบุญบาป เช่น ในบทเพลงบางเพลงมีการกล่าวถึงการตักบาตร(เทพพร) แสดงให้เห็นว่าแรงอิทธิพลของหลักคำสอนนั้นสามารถโน้มน้าวจิตใจของคนไทย

สังคมที่ยุ่งเหยิงในปัจจุบันนี้ เป็นเพราะมนุษย์เราขาดศีลธรรมกันโดยเฉพาะศีลข้อกาเม จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีปัญหาในสังคมต่าง ๆ เกี่ยวกับการล่วงกรรมข้อกาเมสุมิจฉาจาร ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าว คือ

เกาะที่มีต้นปาล์ม๑) ปัญหาเรื่องการข่มขืนกระทำชำเรา

เกาะที่มีต้นปาล์ม๒) ปัญหาหลวงลวงไปสาวไปขาย

เกาะที่มีต้นปาล์ม๓) ปัญหาเรื่องการข่มขื่นแล้วฆ่า(พระมหาไพทูลย์)

เกาะที่มีต้นปาล์ม๔) การเว้นจากการประพฤติผิดในกาเมนั้น หมายถึงบุคคลใดประพฤติผิดกับคนที่อยู่ในการรักษาของบิดามารดา

พี่ชาย พี่สาว หรือญาติไม่ประพฤติล่วงประเวณีกับหญิงที่แต่งงานแล้ว กับหญิงที่ต้องโทษ หรือแม้ไม่ประพฤติล่วงประเวณีกับหญิงที่เขาหมั้นแล้ว นี้เรียกว่าสัมมากัมมันตะ(องฺ.ทสก.) บทเพลงลูกทุ่งไทยได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรมไว้เพื่อเป็นกรอบให้อยู่ในประเพณีที่ดีงาม

มนุษย์เราได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐก็ตรงที่มีศีล เป็นเสมือนรั่วกั้นความชั่ว การรักษาศีลเป็นที่รู้จักกันโดยมากกว่า เหมือนเป็นการสร้างรั้วล้อมตนเอง(สมเด็จพระญาณสังวร)

เด็กหญิง ๓.๒.๓ สอนการปฏิบัติตนทั่วไปในสังคม เกี่ยวกับการสอนหลักการปฏิบัติตนในสังคม ซึ่งต้องอาศัยหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาเหมือนกัน ในข้อนี้นั้นอาจแยกออกเป็น ๓ ประเด็น คือ

กุหลาบแดง๑ การปฏิบัติต่อผู้มีพระคุณ เพลงลูกทุ่งกล่าวถึงการปฏิบัติตนต่อผู้ให้กำเนิด มีการกล่าวถึงพระคุณของผู้ให้กำเนิดโดยเฉพาะมารดา(มารดา)

กุหลาบแดง๒ หลักปรัชญาชาวบ้าน ปรัชญาบ้านคมคายและน่าในสนใจเพราะเป็นการมองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวอย่างในกว้าง ปรัชญาชาวบ้านไม่ได้มุ่งจะคิดถึงความจริงเหนือโลกซึ่งอยู่ไกลตัวเกินไปและสภาพสิ่งแวดล้อมไม่อำนวยให้คิดค้นลึกซึ้งเช่นนั้น ปรัชญาชาวบ้านในเพลงลูกทุ่งแสดงให้เราเห็นถึงการดำรงชีวิตของเราอยู่ในตัว(ลักขณา)

พระพุทธศาสนามีคำสอนไม่ให้ถือชั้นวรรณ แต่ให้ถือเอาการประพฤติเป็นสำคัญเป็นเครื่องกำหนดฐานะเป็นประมาณในการกำหนดฐานะเป็นประมาณในการกำหนด คุณค่าบอกสถานะของคน

คนจะดีหรือเลว ตามหลักการของพระพุทธศาสนาอยู่ที่วรรณะชาติ ตระกูลไม่ หากแต่อยู่การประพฤติเป็นสำคัญ ดังพุทธพจน์ว่า

“ดูกรพราหมณ์ เราเรียกคนว่าประเสริฐ เพราะความเป็นผู้เกิดใน

ตระกูลที่สูงก็หาไม่ เราจะเรียกคนว่าประเสริฐเพราะความเป็นผู้เกิด

ตระกูลต่ำก็หาไม่ เราจะเรียกคนว่าต่ำทรามเพราะความเป็นผู้เกิด

วรรณะใหญ่โตก็หาไม่ เราจะเรียกคนว่าประเสริฐเพราะความเป็นผู้เกิด

วรรณะต่ำทรามก็หาไม่ เราจะเรียกคนว่าประเสริฐเพราะความเป็น

ผู้มีโภคะมากมายก็หาไม่ แท้จริงบุคคลบางคนแม้เกิดในตระกูลสูงก็ยัง

เป็นผู้ชอบฆ่าฟัน ลักทรัพย์ประพฤติผิดในกาม..เป็นมิจฉาทิฎฐิ”(เอสุการีสูตร)

เพลงลูกทุ่งบรรยายภาพรายละเอียดของชาวนาผู้ทุกข์ยาก แทรกด้วยคำตัดพ้อที่ได้รับการดูถูกเหยียดหยาม(จินตนา) เพราะการแบ่งชั้นวรรณะของสังคมไทย

ในทางพระพุทธศาสนาการจะกำหนดว่าใครเป็นใคร มิใช่เพราะพรหมลิขิตแต่เพราะข้อปฏิบัติของบุคคลนั้น ๆ เป็นเครื่องกำหนด ดังข้อว่า

“ดูกรวาเสฎฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัย

โครักขกรรมเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นชาวนา มิใช่พราหมณ์ ผู้ใด

เลี้ยงชีพด้วยศีลปะต่าง ๆ ผู้นั้นเป็นศิลปินมิใช่พราหมณ์ ฯลฯ

ผู้ใดปกครองบ้านเมือง ผู้นั้นเป็นราชา มิใช่พราหมณ์

“อันนามและโคตรที่กำหนดตั้งกันไว้นี้เป็นแต่สักว่าโวหารใน

โลก..แต่บุคคลจะเป็นพราหมณ์เพราะชาติก็หาไม่ จะมิใช่

พราหมณ์เพราะชาติก็หาไม่ จะชื่อว่าเป็นพราหมณ์ก็เพราะ

กรรมไม่ใช่พราหมณ์ก็เพราะกรรมเป็นชาวนาก็เพราะกรรม

เป็นราชาก็เพราะกรรม”(วาเสฎฐสูตร)

“วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวชในพระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมเสียนับว่าเป็นศากยบุตรทั้งสิ้น”(ปหาราทสูตร)

เพลงลูกทุ่งนั้นกล่าวถึงระบบการแบ่งชั้นกันไว้อย่างชัดเจนแม้กระทั่งเรื่องของความรักก็มักจะเอาปมด้อยของแต่ละฝ่ายออกมาเปลี่ยนเทียบว่าเป็นการ ไม่ควรคู่กับดอกฟ้าเป็นต้น

คนไทยมีความเชื่อถือเรื่องโชคลางมาก ถึงขนาดการตั้งชื่อก็ต้องให้สอดคล้องกับฤกษ์ยามหรือวันเวลาที่เกิดดังกล่าวนี้ มิใช่ว่าจะมีอยู่เพียงเฉพาะในยุคปัจจุบันนี้เท่านั้น แม้ในยุคก่อนก็มีเรื่องทำนองนี้เหมือนกันดังเช่นคำอันเป็นธรรมภาษิตที่กล่าวไว้ใน “นามสิทธิชาดก”(ขุ.ชา) ว่า มาณพคนหนึ่งชื่อว่า “นายบาป” ได้เห็นชายคนหนึ่งชื่อว่า “นายเป็น” แต่ตายไปเสียแล้ว เห็นหญิงคนหนึ่งชื่อว่านางรวยทรัพย์ แต่กลับมีฐานะยากจนข้นแค้นและได้เห็นชายอีกคนหนึ่งชื่อว่านาย “ทาง” แต่กำลังเดินหลงทางกลับไปกลับมา

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons