วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

58.สรุปผญาอีสานโดยสังเขป

DSCN068011

เมื่อบุคคลประพฤติปฏิบัติตามย่อมได้ผลทันตาและเป็นคำสอนให้ละความเป็นทาสภายในใจตนเองนั้นคือ โลภะ โทสะ โมหะ และสอนให้มนุษย์ทั้งปวงอยู่กันด้วยความมีเสรีภาพไม่เบียดเบียนกัน ให้เลิกดูหมิ่นกัน เพราะถือชาติ วรรณะ โคตร โดยมองให้เห็นว่าเป็นแก่นสารแห่งชีวิต แต่กลับสอนให้มนุษย์มองถึงฝ่ายใน คือความมีศีลธรรมเป็นเกณฑ์ในการตัดสิ้นคนดีหรือชั่ว

สอนให้มนุษย์รู้จักการเสียสละ การเว้นการฆ่าสัตว์ตลอดถึงการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน พุทธภาษิตเน้นวิธีการให้เกิดความสังคมสงเคราะห์ แทนการเอาเปรียบกันและกัน และสอนให้หันมาชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาดแทนซึ่งเป็นการทำบุญที่สูงสุด เป็นการสอนวิธีตรงเข้าหาความจริงและให้รู้จักกับความเป็นจริงของชีวิต โดยมองว่าชีวิตมนุษย์มีความเกิดแก่เจ็บตาย เป็นกฎแห่งพระไตรลักษณ์ รวมทั้งสอนให้รู้จักดำเนินชีวิตให้ตรงไปตรงมาไม่ควรเชื้อเรื่องฤกษ์ยาม น้ำศักดิ์สิทธิ์ แต่กับสอนให้รู้จักทำช่วยตนเองเป็นหลักสำคัญ และสอนให้มนุษย์เข้าใจถึงการเกิดในภพต่างๆ เพราะแรงแห่งตัณหาเป็นปัจจัย

สอนให้แก้ความเสื่อมทางศีลธรรม โดยไม่มองข้ามปัญหาทางเศรษฐกิจ สอนให้แก้ความชั่วด้วยความความดี สอนให้แก้ที่ตัวเราเองก่อน โดยไม่คอยเกี่ยงให้คนทั้งโลกดีหมดแล้วจึงจะดีเป็นคนสุดท้าย มุ่งสอนให้มนุษย์ตระหนักถึงเรื่องของสติปัญญาในการดำเนินชีวิต โดยให้ใช้ความรอบคอบในการแก้ไขปัญหา ด้วยการพิจารณาให้เห็นสาเหตุแห่งทุกข์ แล้วแก้ไขให้ตรงจุด ไม่ให้เชื้ออย่างงายไร้เหตุผล ให้มนุษย์ยึดถือธรรมเป็นใหญ่ เรียกว่าธรรมาธิปไตย ไม่ให้ยึดถือตนเป็นสำคัญ และให้ถือการปฏิบัติเป็นสำคัญในการบูชาและ สอนให้มนุษย์พยายามพึ่งตนเอง และฝึกฝนตนเองมากกว่าพึงพาผู้อื่น เพื่อยกระดับชีวิตตนเองให้ก้าวหน้า ไม่สอนให้รอการอ้อนวอนบวงสรวงจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และยึดหลักว่ามนุษย์มีกรรมเป็นของๆตน ด้วยการทำดีได้ดีนั้นเอง

พุทธภาษิตพยายามไม่สอนให้พุทธบริษัทอย่าเชื้อถือสิ่งได้ด้วยการเด่า แต่ให้เชื่อหลักของพุทธศาสนาที่มีหลักการดีกว่าพระพุทธเจ้าทรงเสนอหลักการให้มนุษย์ทำความดีงามเพราะเห็นแก่ความดี ไม่ทำความดีเพื่อมุ่งลาภ ยศ สรรเสริญ และพุทธศาสนาก็มีหลักการที่พิสูจน์ได้ทุกสมัย สอนให้มีความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน ยิ่งเป็นฆราวาสย่อมต้องใช้หลักธรรมนี้ให้มาก เพราะการครองเรือนที่มีความสุขได้ต้องมีทรัพย์เป็นเครื่องค้ำจุน จึงจะตั้งตัวได้ดี

การให้เอาชนะความชั่วด้วยความดี ให้ระงับการจองเวรต่อกัน และอย่าได้ก่อความวุ่นวายให้แก่ผู้อื่น ให้รู้จักการผูกไมตรีต่อกัน โดยการเอื้อเพื้อเผือแผ่แก่กันและกันคือสละสุขส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน สละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ สละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิตและสุดท้ายก็สละชีวิตเพื่อรักษาธรรม ให้มนุษย์มีความอดทน ต่อสู้กับความลำบากต่างๆเพื่อเอาชนะอุปสรรคทั้งหลาย ไม่เป็นคนอ่อนแอ และขณะเดียวเมื่อมีความสุขก็อย่าได้หลง ให้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ชีวิตจึงจะพบกับความสุข ดังนั้นพุทธภาษิตก็ยังพยายามให้คนรู้จักรักษากายวาจาและใจของตนให้เป็นปกติ

หลักการปกครองที่เป็นธรรม โดยยึดหลักความละอายต่อความบาป และความชั่วทั้งหลาย ทั้งผู้นำรัฐและผู้ปกครองในระดับท้องถิ่นควรมีหลักธรรมอย่างนี้ พุทธศาสนาสอนให้รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น อย่าดูหมิ่นผู้อื่นเพราะชาติตระกูล เพราะทรัพย์ และอย่ามีอคติต่อกัน เจ้านายก็ให้รู้จักใช้บ่าว ตลอดถึงการรู้จักเลือกคบกับมิตรที่ดี เว้นบาปมิตร ใช้ปัญญานำหน้าในการดำเนินชีวิต และสอนให้รู้จักการศึกษา เข้าหาผู้เป็นบัณฑิต และเว้นพาลชน เพื่อความก้าวหน้าแห่งตน และสอนให้รู้จักแบ่งปันกันเพื่อความผาสุขแห่งสังคม และอย่าได้ก่อศัตรูขึ้นมาโดยถือว่ามนุษย์ทุกคนไม่มีดีที่สมบูรณ์ แต่ให้มองหาความดีของผู้อื่น และสอนให้มองดูธรรมชาติโดยความเป็นจริง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะได้ไม่เป็นทุกข์ และพยายามเดินตามแนวทางสายกลางย่อมเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นตลอดถึงประโยชน์สูงสุดคือพระนิพพาน พุทธภาษิตสอนให้ยึดปรมัตถ์ประโยชน์ อย่าหลงในสิ่งอันเป็นสิ่งสมมติอันเป็นสิ่งบัญญัติ แต่ดูโดยรู้เท่าทัน พยายามใช้ปัญญาเป็นเครื่องส่องทางแห่งชีวิตตน พุทธภาษิตสอนให้รู้จักตอบแทนผู้มีพระคุณว่าเป็นสิ่งมงคล และสอนให้รู้จักหลักการดำเนินไปสู่พระนิพพาน ว่าเป็นยอดแห่งความสุข

.๒ สรุปผญาภาษิตอีสานโดยสังเขป

ด้วยเหตุที่พระพุทธศาสนามีความเกี่ยวพันกับจิตใจของคนไทยมาเป็นเวลาช้านานจึงเป็นแบบฉบับและเป็นหลักพึงของคนไทย ทั้งเป็นคติความเชื่อที่เป็นประดุจดังประทีปส่องสว่างในการดำเนินชีวิต ดังนั้นการแสดงออกของคนไทยจึงมีเรื่องเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาที่มีแทรกอยู่ในวิถีชีวิตประจำวันและเนื่องจากพุทธศาสนสุภาษิตและสุภาษิตอีสานได้เป็นดังห้องสมุดที่ยิ่งใหญ่ที่รวมรวมบันทึกถึงเหตุการณ์ของสังคมแต่ละยุคละสมัย ฉะนั้นอิทธิพลของพระพุทธศาสนาจึงปรากฏอยู่ในคำสอนของชนชาวอีสานเป็นจำนวนมากซึ่งอาจแยกเป็น

๑) สรุปหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและแนวคำสอนอีสาน

๒) สรุปแนวความเชื่อที่มีในพุทธศาสนสุภาษิตและสุภาษิตอีสาน

๓) สรุปอิทธิพลของประเพณีในพระพุทธศาสนาที่มีต่อวิถีประเพณีอีสาน

๔) สรุปอิทธิพลของคติคำสอนที่ได้มาจากพระพุทธศาสนสุภาษิตมีต่อสุภาษิตอีสาน

๕) สรุปอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีผลต่อจริยธรรมของชนชาวอีสาน

๖) สรุปอิทธิพลของพระพุทธศาสนสุภาษิตที่มีต่อลักษณะนิสัยจิตใจของชาวอีสานให้มีนิสัยเยือกเย็น โอบเอมอารี มีเมตตากรุณา เคารพต่อผู้มีพระคุณตามหลักกตัญญูกตเวที มีความขยัน อดทน และสุภาพ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ตนเป็นตนเพราะได้อาศัยพุทธศาสนสุภาษิตกับสุภาษิตอีสานเป็นคติดำเนินชีวิต

๗) สรุปอิทธิพลวรรณกรรมในพระพุทธศาสนาที่มีต่อวรรณกรรมคำสอนอีสานทุกเรื่องล้วนแต่มีแรงผลักดันมาจากพระพุทธศาสนาทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิทานพื้นบ้านเกิดจากชาดกในพระพุทธศาสนา

๘) สรุปอิทธิพลของพระพุทธศาสนามีต่อขนบธรรมเนียมต่างๆ ของชาวอีสานซี่งได้รับการถ่ายทอบสืบๆกันมาจากพระพุทธศาสนาและได้อาศัยหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวปฏิบัติ

ประเทศไทยเป็นประเทศพระพุทธศาสนา คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนามาเป็นเวลาหลายพันปี คนไทยอีสานตั้งแต่โบราณได้หันหน้าเข้าหาวัดและใกล้ชิดกับวัด โดยเฉพาะวัดเป็นที่พึ่งแก่ชาวบ้านตลอดมา ดังนั้นจึงเป็นดังแรงที่ส่งผลต่อจิตใจของคนไทยอีสานทุกคนและทุกเพศทุกวัย เพราะคนไทยอีสานมีชีวิตแนบสนิทกับหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามากเช่นนี้เอง จึงทำให้พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมชาวอีสานมากมาย และรวมไปถึงสุภาษิตอีสานที่เป็นคำสอนแขนงหนึ่งของชาวอีสานที่ได้พัฒนามาจากพระพุทธศาสนาแล้ววิวัฒนามาเป็นผญาภาษิตแบบฉบับของชาวไทยอีสานเอง พระพุทธศาสนสุภาษิตก็ทรงอิทธิพลต่อสุภาษิตอีสานเช่นเดียวกัน

.๑.๑ หลักบาปกรรม

พระพุทธศานามีจุดมุ่งหมายสั่งสอนให้คนกระทำความดีเว้นการกระทำความชั่วและชำละจิตใจให้สะอาดผ่องใส่ ผู้ใดประกอบแต่ความดี กรรมดีย่อมตอบสนอง และในทางตรงกันข้ามถ้าหากว่าบุคคลใดกระทำแต่กรรมชั่ว กรรมชั่วย่อมตอบสนองเช่นเดียวกัน ผู้ใดกระทำกรรมอย่างใดไว้ผลกรรมย่อมส่องผลให้ได้รับความทุกข์ กรรมเป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนการของวัฏฏะ คือ กิเลส กรรม วิบาก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรรมที่มีผลเริ่มจากมีกิเลสที่เป็นต้นเหตุให้สร้างกรรม จนถึงวิบากอันเป็นผลที่จะได้รับผลของกรรม ดังพระพุทธภาษิตว่า “บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว” ไม่มีใครหลีกหนีผลกรรมนั้นพ้นไปได้ หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเข้าไปสอดแทรกอยู่ในเนื้อหาของสุภาษิตอีสาน เพื่อมุ่งสอนให้คนเลิกกระทำกรรมชั่ว เพราะความชั่วนั้น “บุคคลทำแล้วย่อมเดือดร้อนในภายหลัง เป็นผู้มีหน้าอันชุ่มด้วยน้ำตา ร้องให้ เสวยผลของกรรมอันใดอยู่ กรรมอันนั้นอันบุคคลทำแล้วไม่ดี นั้นคือกรรมชั่ว” คำสอนของชาวอีสานก็มุ่งเน้นให้คนได้ระมัดระวังในการกระทำกรรมเช่นเดียวกัน เพราะถ้าบาปกรรมมาถึงแล้วย่อมไม่มีสิ่งใดมาขัดขวางไม่ให้กรรมนั้นส่งผลได้ ดังสุภาษิตว่า

บ่มีใผหนีได้เวรังหากเทียมอยู่ เวรมาฮอดแล้วซิไปเว้นได้ทีใด

บ่มีใผเถียงใด้เวรังหากเป็นใหญ่ เวรตายวายเกิดขึ้นหนี้เว้นหลีกบ่เป็น

พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าใจเรื่องกรรมว่า “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง เป็นทายาทแห่งกรรมขนตนเอง มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง กรรมใดก็ตามที่ทำลงไปดีหรือชั่ว เขาย่อมจะเป็นทายาทแห่งกรรมนั้น อิทธิพลของพระพุทธศาสนสุภาษิตเช่นนี้ได้ปรากฏอยู่ในหลักคำสอนอีสานเช่นกันคือสุภาษิตคำสอนอีสานนั้นสอนให้รู้ว่าบุญหรือบาปกรรมนั้นส่งผลทุกย้างก้าวเปรียบเสมือนเงาที่ติดตามตัวของบุคคลไปทุกย้างก้าวจะนั่งหรือนอนกรรมนั้นย่อมติดตามให้ผลเสมอ ดังคำสอนว่า

บุญบาปนี้เป็นคู่คือเงาฮั่นแล้ว เงาหากไปนำเฮาคู่วันบ่อมีเว้น

คันว่าเฮาพาเล่นพามันเต้นแหล่น พามันแอะแอ่นฟ้อนเงาซ้ำกะแอ่นนำ

คันเฮานั่งหย่องย่อเงานั้นก็นั่งลงนำ ยามเฮาเอนหลังนอนกะอ่อนลงนอนนำ

คันเฮาโตนลงห้วยภูซันหลายหลั่น หรือว่าขึ้นต้นไม้ผาล้านดั่นเขา

เงากะติดตามเกี้ยวแกะเกี่ยวพันธะนัง บ่อห่อนมียามเหินห่างไกลกันได้

อันนี้ฉันใดแท้ทั้งสองบุญบาป มันหากติดตามก้นนำผู้ทำกรรมนั้น

สุภาษิตอีสานหลายๆเรื่องที่แสดงถึงสาระของหลักคำสอนแทรกอยู่ในบทประพันธ์เพราะกวีผู้แต่งสุภาษิตอีสานได้ถ่ายทอดเอาสภาพแวดล้อมในสังคมที่ตนดำรงชีวิตอยู่ รวมทั้งความเชื่อเรื่องกรรมตลอดถึงคติธรรมที่ยอมรับปฏิบัติกันในสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของชนชาวไทยอีสานทั่วไป ด้วยเหตุนี้เองสุภาษิตอีสานจึงมีลักษณะของคำสอนที่มีการแฝงเอาธรรมะในพระพุทธศาสนาเข้ามาอยู่ในสุภาษิตอีสาน “ ซาติที่สงสารซ้งกงเกวียนกลมฮอบ บาดเถื่อเวรมาฮอดเจ้าสิวอนไหว้ใส่ผู้ใด”(26/ภาษิต) เป็นคำสอนที่มุ่งสอนให้เข้าใจในเรื่องของกรรมนั้นส่องผลในลักษณะเป็นวัฏฏะ คือสามารถส่งผลไปสู่อนาคตได้ด้วยดังมีพระพุทธภาษิตว่า

“ ธัญชาติ ทรัพย์สิน เงินทอง หรือสิ่งของที่ห่วงแหนอย่างใดอย่าง

หนึ่งที่มีอยู่ ทาสกรรมกร คนงาน คนอาศัย พึงพาเอาไปไม่ได้ทั้ง

สิ้นจะต้องถูกทิ้งไว้ทั้งหมด… แต่บุคคลทำกรรมใด ด้วยกาย ด้วย

วาจา หรือด้วยใจ กรรมนั้นแหละเป็นของเข้า และเขาย่อมพาเอา

กรรมนั้นไป อนึ่ง กรรมนั้นย่อมติดตามเขาไปเหมือนเงาติดตามตน

ฉะนั้น… ฉะนั้น บุคคลควรทำความดี สั่งสมสิ่งที่จะเป็นประโยชน์

ภายหน้าความดีทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ในปรโลก สํ.ส. 15/392/134“

พระพุทธศาสนาสอนเรื่องกรรมซึ่งแนวคำสอนเรื่องกรรมนี้เป็นลักษณะของกรรมชรูป คือรูปที่เกิดมาจากกรรมส่งผลให้จะเป็นคนหรือสัตว์ ได้ร่างกายมาเป็นตัวตนเพราะกรรมเป็นผู้ตกแต่งให้ ซึ่งมนุษย์แต่งเอาเองไม่ได้ถึงพ่อแม่จะมีส่วนในการแต่งก็ตามแต่ก็ไม่สามารถจัดการให้สวยงามไม่ได้ เปรียบเหมือนพ่อแม่เป็นเช่นเรือน ถ้าผู้มาเกิดคือเจ้าของเรือน สวยแล้วแต่เรือนเกิดไม่เป็นปัญหา ดังนั้นพระพุทธศาสนจึงสอนให้ทำกรรมดี เพื่อจะได้มีความสุข และเมื่อตายไปแล้วหากมาเกิดอีกก็จะได้เกิดมาเป็นคนดี ซึ่งบุญกรรมเป็นผู้ส่งผลข้ามภพข้ามชาติให้บุคคลทั้งหลายในโลกนี้เป็นไปตามอำนาจของกรรม และกระบวนการให้ผลของกรรมที่ส่งผลต่อชีวิตมนุษย์ เพราะกรรมเป็นผู้จำแนกชีวิตมนุษย์นั้นให้มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันตามอำนาจของกรรมเป็นผู้ส่งผลมาในชาติปัจจุบัน ดังพระพุทธภาษิต “ถ้าท่านกลัวทุกข์ ก็อย่าทำกรรมชั่ว ทั้งในที่ลับที่แจ้ง ถ้าท่านจักทำหรือทำอยู่ซึ่งกรรมชั่ว ถึงแม้จะเหาะหนีไป ก็ย่อมไม่พ้นจากความทุกข์ได้เลย )ขุ อุ 25/115/150 และที่ปรากฏในจูฬกัมมวิภังคสูตร มีพระพุทธดำรัสว่า

“มนุษย์ ชายหรือหญิงที่มีอายุสั้น เพราะกรรม ที่มีอายุยืนยาวก็เพราะกรรม

ชายหรือหญิงที่มีผิวพรรณงดงามหรือขี้เหล่ก็เพราะกรรม …ชายหรือหญิง

ที่มีอำนาจหรือไม่มีอำนาจก็เพราะกรรม ..ชายหรือหญิงที่มีโภคะทรัพย์

สมบัติมากหรือโภคะน้อยก็เพราะกรรม ..ชายหรือหญิงที่เกิดในตระ

กูลสูงหรือต่ำก็เพราะกรรมส่งผลมาให้ .. ชายหรือหญิงที่มีปัญญามากหรือ

มีปัญญาน้อยก็เพราะกรรม (ม.อุ 14/579-597

คำสอนอีสานนั้นเน้นถึงหลักการที่มองเห็นเพียงความดีหรือความงามในปัจจุบันเป็นหลักเกณฑ์ ดังคำสุภาษิตที่ว่า “ เป็นคนนี้ให้ทำเนียมคือนกเจ่า บาดว่าบินขึ้นฟ้า ขาวแจ้งดั่งนกยาง”(บุญเกิด/28) หมายความว่าเป็นคนให้รู้จักดำรงตนในทางที่สะอาดบริสุทธิ์ รู้จักดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย ไม่ว่าเป็นหญิงหรือชาย ตามทัศนะของคำสอนอีสานนั้นมุ่งสอนให้รู้ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่ว บุญบาปนั้นจะติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือความชั่ว ซึ่งจะอำนวยความดีให้ในลักษณะของความเจริญก้าวหน้าในชีวิตปัจจุบันด้วยอำนาจของบุญเก่าดังสุภาษิตว่า

“บุญมีใดเป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาสิใช้ตั้งแต่เฮา

บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่ บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม

บุญมีได้เป็นนายให้เขาเพิ่ง คันว่าบุญบ่พร้อมแสนซิดิ้นกะเปล่าดาย

คอนแต่บุญมาค้ำบ่ำทำการมันบ่แม่น คอยแต่บุญส่งให้มันสิใดฮอมใด

คือดังเฮากินมีเข้าบ่เอากินมันบ่อิ่ม มีลาบคับบ่เอาเข้าคุ้ยทางท้องบ่ห่อนเต็ม(ย่า)

กรรมตามความเข้าใจของชาวอีสานอีกอย่างหนึ่ง คือเคราะห์กรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครปรารถนาจะพบซึ่งส่วนมากจะเป็นคำสอนให้รู้จักว่าถ้าชายหรือหญิงได้รับสิ่งที่ตนเองไม่อยากได้เท่าใดหนักมักจะโยนความผิดให้แก่กรรมเก่าของตัวเองสร้างมาไม่ดี ดังสุภาษิตว่า

ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง

กรรมแบ่งบั้นปั้นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ( ดร.ปรีชา

กรรมอีกนัยหนึ่งซึ่งหมายถึงการหมดบุญที่ชาวบ้านเรียกว่าสิ้นบุญกรรมหมายถึงความตายหรือถึงแก่กรรม เพราะว่าไม่มีใครต่อต้านกับอำนาจของพระยามัจจุราชได้ดังสุภาษิตว่า

“ ซื่อว่ากรรมมาเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีไผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา

ซื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาทย่าง ไผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว

อันว่าโลกีย์นี้บ่มีแนวตั้งเทียง มีแต่ตายแต่ม้างทะลายล้มเกลื่อนหาย

อันว่าความยม้างไกลกันเจียระจาก คันบ่ม้มโอฆะกว้างซิเที่ยวพ้ออยู่เลิง(ย่าปรีชา)

ทุกข์

การขยายกฏของกรรมได้แบ่งกุศลและอกุศลไว้อย่างชัดเจนว่ามนุษย์ที่ทำกุศลไว้เกิดมาก็มีบุญอุปถัมภ์ ส่วนผู้ที่ทำอกุศลไว้มักจะพบแต่ความยากไร้ลำบาก ชีวิตมีแต่ความทุกข์เรื่องอย่างนี้พระพุทธศาสนามองว่ามนุษย์ทุกข์ชนชาติย่อมมีธรรมชาติอย่างหนึ่งคือความทุกข์อันมีประจำร่างกาย เรียกว่าทุกข์อริยสัจ ได้แก่ความเกิด ความแก่ ความตาย ซึ่งมีประจำสังขารและปกิณกะทุกข์คือความทุกข์ที่จรมาในบ้างครั้งเท่านั้นคือ ความโศก ความระทมทุกข์ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ซึ่งมีแก่ภาวะจิตใจตลอดถึงร่างกายเป็นบางครั้งบางคราว ความไม่สมหวังในสิ่งอันเป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่รับที่ชอบไปก็เป็นทุกข์ โดยสรุปแล้วว่าขันธ์ ๕ คือความทุกข์ ดังพระพุทธภาษิตว่า

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์อริยสัจนี้แล คือความเกิดก็เป็นทุกข์

ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส อุปายาส เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่

รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์

ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้นก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ

อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

นักปราชญ์อีสานมองชีวิตเฉพาะความทุกข์ที่เห็นกันอย่างใกล้ตัว กล่าวคือความทุกข์อันเกิดจากลูกเมียตายจากไปเป็นความทุกข์อันเกิดจากความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความทุกข์ที่เกิดจากการต้องเดินทางไกลไปต่างถิ่น หรือความทุกข์ที่เกิดจากการอย่าร้างกันของสามีภรรยา ความทุกข์เกิดจากต้องไปค้าขายหมู ความทุกข์ที่เกิดจากพ่อแม่ตายจากไปสุดที่จะคิดถึง คือทำสิ่งใดที่เกิดความลำบากขึ้นมานั้น กลับมองเห็นว่าเป็นความทุกข์ของชีวิตซึ่งมองไม่รู้ถึงนั้นคือความทุกข์ชนิดต่างๆแต่พระพุทธศาสนาสอนว่าอวิชชาอันเป็นสาเหตุให้ชีวิตเป็นทุกข์ ความทุกข์ในแนวทางคำสอนอีสานนั้นนักปราชญ์ท่านกล่าวไว้ว่ามี ๑๒ อย่างดังนี้คือ

“ ทุกข์หนึ่งลูกตายเสีย ทุกข์สองเมียตายจาก

ทุกข์สามพรากพี่น้องหนีไปไกล ทุกข์สี่ลงไปไทยค้าต่าง

ทุกข์ห้าผัวเมียฮ้างป๋ากัน ทุกข์หกไปนอนวันพรากพี่น้อง

ทุกข์เจ็ดป้องหมูลงไปขาย ทุกข์แปดพ่อแม่ตายแสนคึดฮอด

ทุกข์เก้าบ่มีเมียนอนกอด ทุกข์สิบเทียวทางหลงยามค่ำ

ทุกข์สิบเอ็ดฝนตกฮ่ำกับฟ้าฮ้อง ทุกข์สิบสองเจ็บท้องปวดบ่อมียา12

ความทุกข์อีกนัยหนึ่งที่คำสอนของชนชาวอีสานทราบชัดว่า ชีวิตไม่ได้โรยไปด้วยกลีบกุหลาย ดังนั้นมันต้องมีความทุกข์อยากลำบากเป็นเรื่องธรรมดาของสังขารร่างกายที่จะต้องพบกับความลำบากทุกอย่าง ซึ่งคำสอนในลักษณะนี้นักการศาสนาอีสานมองว่าเป็นความทุกข์ของชีวิตอีกแบบหนึ่ง ดังนี้คือ

“ เที่ยวทางไกลอยากน้ำนี่กะยาก ปวดม้ามไกลหมอนี่กะยาก

เฮ็ดนาทามน้ำท่วมข้าวนี่กะยาก อยากเหล้าบ่อได้กินนี้กะยาก

ถากไม้สนขวานบ่อเข้านี่กะยาก บ่อมีข้าวกินลูกหลานหลายนี่กะยาก

ตายบ่อมีพี่น้องหามไปถิ่มนี่กะยาก ตอกหลิ่มใส่ลายขัดนี่กะยาก

ไปวัดเจ้าหัวบ่ออยู่นี่กะยาก ไต่ขัวไม้ลำเดียวนี่กะยาก

เที่ยวทางไกลบ่อมีเพื่อนนี่กะยาก ป้องไก่เถื่อนในดงนี่กะยาก( ภาษิตอีสาน 11

หลักไตรลักษณ์

คำสุภาษิตอีสานได้ช่วยย้ำให้ผู้คนได้ตระหนักถึงหลักธรรมชาติของชีวิตตามแนวทางคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ให้ทราบถึงหลักความไม่เที่ยงของสังขารตามที่พระพุทธเจ้าทรงชี้บอกว่าขันธ์ ๕ เป็นทุกข์และก็ตกอยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์ เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา( อง. ติก. 20/137/278)


สํ. ส. 15 / 256 /273

ขุ. ธ. 25 /67 /28

ดร. จรัส พยัคฆราชศักดิ์ , อีสาน ๑ ศาสนาและวรรณกรรมในท้องถิ่นอีสาน, กรุงเทพฯ,สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์) ,๒๕๓๔ ,หน้า ๓๔

องฺ ,ฉกฺก, 22 / 161 /176

ดร.พระมหาบุณย์ สิริทัตโต. ภาษิตอีสาน (อุบลราชธานี, พ.ศ. ๒๕๒๐, หน้า ๓๒–๓๓

ที. มหา. 10 /294 /226-227

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons