วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

19. ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนพิธีกับผญาอีสาน


๒.๒.ผญาภาษิตอีสานโดยสังเขป
ภูมิหลัง
วิถีชีวิตของคนแต่ละท้องถิ่นในปัจจุบันย่อมมีพื้นฐานมาแต่อดีต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือถูกเรียกขานว่าภาคอีสาน  เมื่ออดีตนั้นได้อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านช้าง  ซึ่งเป็นอาณาจักรอ้ายลาวเมื่อก่อนเจริญรุ่งเรืองมาในอดีต  โดยมีอาณาเขตแผ่มาครอบคลุมตลอดดินแดนภาคอีสานในปัจจุบัน  อาทิเช่น  เวียงจันทร์  หลวงพระบาง  นครจำปาศักดิ์  ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ได้อพยพมาตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบที่ราบสูง  ต่อมาอาณาจักรล้านช้างก็เสียอิสรภาพแก่กรุงธนบุรี  ดินแดนบริเวณนี้จึงถูกแบ่งออกเป็น  ๒  ส่วน  โดยสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส  ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖  ได้ยกดินแดนอาณาจักรล้านช้าง(ลาว)  ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้เป็นของฝรั่งเศส  ส่วนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง  คือพื้นที่ภาคอีสานทั้งหมดยกให้เป็นของประเทศไทย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานปัจจุบันแบ่งออกเป็น  ๑๙  จังหวัด  ดังนั้นชาวอีสานจึงเป็นชนชาติที่รวมกลุ่มกันมาแต่โบราณกาล  พร้อมทั้งมีวัฒนธรรมประเพณีตลอดถึงอักษรใช้เป็นของตนเอง  โดยเฉพาะฮีตสิบสองคลองสิบสี่  (วิมลพรรณ  ปีตธวัชชัย, ฮีตสิบสอง, (สำนักพิมพ์มหาชน,กรุงเทพฯ หน้า ๒๗)  ภาคอีสานจึงเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทย  คือบ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน  สิ่งเหล่านี้ยืนยันถึงความเจริญในอดีตของดินแดนบริเวณนี้ได้เป็นอย่างดี
วิวัฒนาการของบทผญาช่วงแรกๆนั้นเป็นแบบมุขปาฐะ(Oral tradition)  คือการจำต่อๆกันมาต่อมา  แล้วมีการแตกย่อยคำผญาออกเป็นแขนงต่างๆอีกมากมาย  คำผญานั้นเป็นภูมิปรัชญาของอีสานโดยแท้จริง  ซึ่งช่วยผสานความสามัคคีระหว่างชนเผ่าต่างๆให้เชื่อมโยงเข้ากันได้เป็นอย่างดี  ตลอดถึงช่วยเป็นเครื่องจรรโลงใจ  เนื่องจากคำผญาบ้างคำก็เป็นบทผญาที่มีมาแต่เก่าแก่  ใช้ในเชิงเปรียบเทียบ  บางครั้งก็เป็นปริศนาธรรม  ซ่อนเงื่อนปุ่มประเด็นเอาไว้ให้คนคิดกัน  ส่วนมากมักจะมีความเชื่อมโยงถึงหลักธรรมในทางพุทธศาสนาเป็นสำคัญปัจจัยที่ทำให้เกิดอีกอย่างคือ ความเชื่อ  วัฒนธรรม  ประเพณี
๑ )  เกิดขึ้นจากการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน  ซึ่งต้องเผชิญกับปัณหาต่างๆ  ทั้งสุขและทุกข์อันเกิดจากความไม่เท่าทันต่อภาวะแห่งธรรมชาติของชีวิต  จึงเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดคำประพันธ์ในเชิงนี้ออกมา  ซึ่งจะพบมากในเรื่องความรัก  ผิดหวัง  ทุกข์
๒)  เกิดขึ้นจากประเพณีที่ถือสืบๆกันมา เช่น การชุ่มนุมในงานบุญต่างๆ
๓)   เกิดขึ้นจากอิทธิพลทางศาสนา 
๔)  เกิดขึ้นมากจากความเป็นไปในสังคมและสิ่งแวดล้อมอื่น เช่น หนุ่มสาวเกี้ยวพาราสีกัน  ดังนั้นสุภาษิตจึงได้เจริญมาหลายกรณี  คือ ใช้ภาษาท้องถิ่นในการจารึก  และใช้อักษรตัวธรรมใช้บันทึกคำสอนในด้านศาสนา  และอักษรไทยน้อยใช้จารึกนิทานธรรมเรื่องต่าง ๆ  และจารึกในทางฉันทลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นภาคอีสาน  คือโคลงสาร  กาพย์  และร่าย(ฮ่าย)
๒.๑  ความหมายของผญา
ก.  ความหมายตามรูปศัพท์
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัฒนธรรม  วรรณกรรม  และนักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวว่า “ผญา”หมายถึง “ปัญญา ,  ปรัชญา, ความฉลาด,”  มีลักษณะเป็นคำภาษิตที่มีหมายลึกซึ่ง  เรียกว่าผญา  และคำว่า  “ภาษิต”  หมายถึงคำพูดที่เป็นคติ  คำพูดดี1
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์  (ติสฺสมหาเถระ)  ได้ให้ความหมายว่า  “  ผญาหรือผะหยา” คือปัญญา, ปรัชญา  ความฉลาด  ,เป็นคำพูดที่มีความหมายลึกซึ่งในเชิงเปรียบเทียบ2
จารุบุตร  เรื่องสุวรรณ  ผู้เชี่ยวชาญทางวรรณกรรมอีสานได้ให้คำนิยามว่า  “ผญา”  เป็นคำนาม  แปลว่า  ปัญญา, ปรัชญา, ความฉลาด3
ร.ศ.  บุปผา  บุญทิพย์  ได้ให้ความหมายของผญาว่า  ผญาเป็นคำภาษาอีสาน  สันนิษฐานว่ามาจากปรัชญา  เพราะภาษาอีสานออกเสียงควบ “ปร” ไปเป็นเสียง “ผ” ดังในคำว่า  “เปรต”เป็นเผด  โปรด  เป็นโผด  หมากปราง  เป็น  หมากผาง  แปรง เป็น แผง  ดังนั้นคำว่า  “ปรัชญา” อาจเป็น ผัชญาแล้วเป็น  “ผญา” อีกต่อหนึ่ง  ผญาคือคำพูดของนักปราชญ์  ซึ่งแฝงไว้ด้วยคติ  แง่คิด  คำพูดที่เป็นหลักวิชา  อันแสดงถึงความรอบรู้  ความสามารถของผู้พูด4 
อ. ธวัช  ปุณโณทก  ได้ให้ความหมายของคำว่าผญาภาษิตว่า  หมายถึงถ้อยคำหรือกลุ่มคำที่มีความหมายให้สติเตือนใจ  หรือข้อความพิเศษที่จะสั่งสอน5
สวิง  บุญเจิม  ได้ให้คำนิยามของคำว่า “ผญา”ไว้ว่า  เป็นคำคล้องจองที่นักปราชญ์โบราณอีสานคิดขึ้น  เพื่อให้ในกรณีต่างๆ อาทิ  ใช้ในด้านคำสั่งสอน เรียกว่า “ผญาภาษิต”  หรือใช้ในการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาว  เรียกว่า “ผญารักหรือผญาเกี้ยว”  และใช้ในกรณีที่เป็นเชิงเปรียบเทียบให้คิดเรียกว่า  “ผญาปริศนาธรรม” 
จากทัศนะของนักปราชญ์ทั้งหลาย  พอสรุปได้ว่า  “ผญา”  ตรงกับคำว่า  “ปรัชญา  ในภาษาสันสกฤตและคำว่า  “ปัญญา”  ในภาษาบาลี  ดังนั้นคำว่า  “ผญา”  จึงแปลว่า  “ปรัชญา, ปัญญา, หรือความรอบรู้  หมายถึงถ้อยคำหรือข้อความที่ฉลาดหลักแหลมและคมคายลึกซึ่งยิ่งนัก  รวมความไปถึงถ้อยคำอันแสดงให้เห็นถึงปัญญาความรอบรู้ของผู้พูดด้วย  ดังคำพังเพยแต่โบราณอีสานบทหนึ่งกล่าวว่า  “ มีเงินเต็มภาชน์  บ่ท่อมีผญาเต็มพุง”  (มีเงินเติมภาชนะไม่เท่ามีปัญญารอบรู้ในวิทยาการต่างๆ) หรือ  “อดได้เป็นพญา  เพราะมีผญาแพ้เพิ่น”  (ไม่ได้เป็นเจ้าคนนายคนเพราะมีไม่ปัญญาเท่าเข้า)  นอกจากนั้นยังช่วยเตือนสติได้เป็นอย่างดี
๒.๑.๒  รูปแบบของคำผญาอีสาน
ลักษณะของคำผญามองในด้านภาษาศาสตร์จะพบว่า  ผญามีรากศัพท์มาจาก “ปัญญา”ในภาษาบาลี  ในภาษาสันสกฤตใช้ว่า “ปรัชญา”  แต่เมื่อพูดในภาษาท้องถิ่นจะเพี้ยนมาเป็นคำ “ปร” เป็น “ผ”ซึ่งมีหลายคำเช่น  เปรต  ชาวอีสานออกเสียงเป็น เผด  โปรดออกเสียงเป็นโผด  ดังนั้นคำผญาภาษิตอีสานจึงเป็นกลุ่มคำที่มีลักษณะดังนี้คือ
๑)  มีลักษณะคล้องจ้องกันในด้านสัมผัส  ฟังแล้วรื่นหูมีทั้งที่เป็นกาพย์ หรือกลอน
๒)  มีความหมายที่ลึกซึ่งผู้ฟังหรือผู้อ่านต้องใช้ปัญญาหยั่งรู้จึงจะเข้าใจในความหมายที่แฝงเร้นอยู่ในข้อความหรือกลุ่มคำนั้นๆ
๓)  เป็นหมู่คำที่แสดงออกในเชิงการมีไหวพริบปฏิภาณของผู้พูด
๔)  เป็นหมู่คำที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตและใช้เป็นปรัชญาในการดำเนิดชีวิตได้
ลักษณะของคำประพันธ์อีสานนั้นมี  ๔  ประการ1  ซึ่งแต่ละลักษณะจะแตกต่างกันไม่เด่นชัดนัก  ได้แก่ กาบ (กาพย์)  โคง(โคลง)  ฮ่าย (ร่าย)  และกอน(กลอน)  บทร้อยกรองที่เป็นที่นิยมของชาวอีสานนั้นมีอยู่  ๓  ชนิด5  คือ
๑)  ชนิดที่ไม่มีสัมผัส  แต่อาศัยจังหวะของเสียงสูงต่ำของวรรณยุกต์และจังหวะของคำเป็นเกณฑ์  คำผญาเหล่านี้ก็คือโคลงดั้น  หรือกลอนอ่านวิชชุมาลีนั่นเอง  ดังตัวอย่างนี้คือ
    (ครันเจ้า)  ได้ขี่ช้าง    กั้งฮ่มเป็นพญา
        (อย่าสู้)     ลืมความหลัง    ขี่ควายคอนกล้า    ๒  บาทแรก
        ไม้ล้อมรั้ว    ลำเดียวบ่ข่วย
        ไพร่บ่พร้อม    แปลงบ้านบ่เฮือง    ๒  บาทหลัง
บทผญาของภาคอีสานมีลักษณะที่ตัดมาจากโคลงดั้นวิชชุมาลี  โดยตัดมาเพียงบาทเดียวหรือ ๒ บาท  และ ๓ บาท  ก็ได้  ที่นิยมก็คือมักตัดมาใช้  ๒  บาทหลังของโคลงคือบาทที่  ๓ และ ๔  เป็นส่วนมาก  ลักษณะอย่างนี้ทำให้สามารถที่จะเพิ่มคำแทรกลงภายหลังในวรรคได้ซึ่งมักเป็นคำเดี่ยวมีเสียงเบาและสามารถมีคำสร้อยอยู่ท้ายวรรคได้อีก ๒ คำ  ดังนั้นบทผญาก็ดี  หรือรูปแบบของโคลงในวรรคกรรมลายลักษณ์ก็ดี  ในยุคแรกนั้นไม่มีสัมผัสเลย  แต่มาในยุคหลังก็ได้พัฒนามามีสัมผัสมากขึ้น  โดยได้รับอิทธิพลมาจากร่ายและโคลงนั้นเอง 
๒)  ชนิดที่มีสัมผัสแบบร่าย  คือใช้สัมผัสระหว่างวรรคต่อเนื่องรับกันไปเหมือนลักษณะของร่ายเกิดเป็นโคลงดั้นที่มีสัมผัสอย่างร่าย ดังตัวอย่างนี้
    “ ครันเจ้า    คึดฮอดอ้าย    ให้เหลียวเบิ่งเดือนดาว
        สายตาเฮา    จวบกันเทิงฟ้า
จะเห็นว่ามีสัมผัสรับกันแห่งเดียวคือตรงคำว่า  “ดาว” กับ “เฮา”  ลักษณะการรับสัมผัสแบบร่ายนี้ได้พัฒนามามีสัมผัสมากขึ้นในยุคหลัง  ซึ่งจะเห็นได้จากลักษณะของกลอนลำต่างๆ 
๓) ชนิดที่มีสัมผัสแบบโคลง  โคลงดั้นวิชชุมาลีของอีสานแบบเก่าไม่มีสัมผัส  ต่อมาก็ได้พัฒนาโดยวางสัมผัสแบบโคลงอย่างของภาคกลาง  มีทั้งลักษณะสัมผัสแบบโคลงดั้นบาทกุญชรและโคลงดั้นวิวิธมาลี  และมีทั้งลักษณะสัมผัสแบบโคลงสุภาพ  ซึ่งในตำราล้านช้างเรียกว่า  “มหาสินธุมาลี”  ไม่ค่อยได้รับนิยมเท่าไหร่  บทร้อยกรองในภาคอีสานได้พัฒนามาจากรูปแบบที่ยึดถือเรื่องจังหวะคำและระดับเสียงสูงต่ำเป็นเกณฑ์  โดยไม่มีสัมผัสเลยไปสู่รูปแบบที่มีสัมผัสเพิ่มมากขึ้นในยุคหลัง  ด้วยเหตุนี้ โคลงห้า  ผญา  โคลงดั้นวิชชุมาลี  (หมายรวมถึง โคลงสาร, กลอนอ่านวิชชุมาลี, กลอนอักษรสังวาส,กลอนเทศน์)  และกลอนลำของอีสานจึงล้วนมีพัฒนาการร่วมเส้นทางเดียวกันมา  ในขณะที่พัฒนาการอีกเส้นทางหนึ่งคือ คำประพันธ์ของอีสานที่เรียกว่า  กาพย์และฮ่าย(ร่าย)   ซึ่งมุ่งเรื่องสัมผัสเป็นเกณฑ์  ก็ได้มามีอิทธิพลผสมผสานกันนี้คือพื้นฐานของบทร้อยกรองที่ปรากฏในผญาของภาคอีสาน ลักษณะทั่วไปของผญาอีสานยังแบ่งออกได้อีก  ๒ ประการคือ
๑)  จัดแบ่งตามแบบฉันท์ลักษณ์ของบทผญา
๒)  จัดแบ่งตามลักษณะเนื้อหาของบทผญา
๒.๓.๓  จัดแบ่งตามรูปแบบทางฉันทลักษณ์ของผญา 
ยังแบ่งย่อยออกมาได้อีก  ๒  ประการคือ
๑.๑.)  บทผญาที่มีสัมผัส  การใช้ถ้อยคำให้เกิดความคล้องจองกันเป็นลักษณะประจำที่มีสอดแทรกในชีวิตประจำวันของชาวอีสาน  หรือ  ถือเป็นความนิยมในการพูด  คำผญาประเภทนี้มักมีอยู่ในรูปของร้อยกรอง  มีสัมผัสระหว่างวรรคติดต่อกันโดยตลอด  และมีสัมผัสภายในวรรค  สัมผัสในบทผญาอีสานยังแบ่งออกเป็นสัมผัสสระและสัมผัสอักษรดังนี้คือ
๑.๑.๑)  สัมผัสสระ  คือคำที่ผสมด้วยเสียงสระเดียวกันและเสียงตัวสะกดเดียวกัน  การสังสัมผัสจะส่งระหว่างวรรคต่อเนื่องกันในผญาบางบทจะส่งสัมผัสภายในวรรคก็มี เช่น        “มีเฮือนบ่มีฝา    มีนาบ่มีฮ่อง        มีปล่องบ่มีฝาอัด
มีวัดบ่มีพระสงฆ์    มีถ่งบ่มีบ่อนห้อย        ของแนวนี้กะบ่ดี
(  มีบ้านไม่ฝา  มีนาไม่มีร่องน้ำ  มีปล่องไม่มีฝาปิด  มีวัดไม่มีพระสงฆ์  มีถุงไม่มีที่ห้อย ของเหล่านี้ก็ไม่ดี)
“ตกหมู่ขุนซ่อยขุนเกื่อม้า  ตกหมู่ข้าซ่อยข้าพายโซน  ตกหมู่โจร  ซ่อยโจรหามไหเหล้า”
(ตกไปอยู่ในพวกขุนนางต้องช่วยเขาเลี้ยงม้า  ตกไปอยู่กับพวกข้าต้องช่วยข้าสะพายสิ่งของตกไปอยู่ในพวกโจรต้องช่วยโจรหามไหเหล้า)
จากผญาที่ยกมานี้  จะสังเกตเห็นว่า  คำสุดท้ายของแต่ละวรรคจะส่งสัมผัสไปยังวรรคต่อๆไปอย่างต่อเนื่อง
๑.๑.๒.)  สัมผัสอักษร  คือคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน  คำที่มีสัมผัสอักษรเป็นที่นิยมมากในบทผญาอีสาน  สัมผัสอักษรส่วนมากจะสัมผัสภายในวรรค  และจะมีสัมผัสระหว่างวรรคบ้างเล็กน้อย  เช่น
“  โมโหนี้พาโตตกต่ำ    ให้ค่อยคึดค่อยต้านยังสิได้ต่อนคำ”
(ความโกรธนี้พาตัวเองให้ตกต่ำ(มีคุณค่าน้อยลง)  ควรคิดให้รอบคอย  จึงจะมีประโยชน์)
“  เชื้อชาติแฮ้งบ่ห่อนเซิ่นนำแหลว    แหนวนามหงส์บ่อห่อนเซิ่นนำฝูงฮุ้ง”
(เชื้อชาติแร้งไม่ควรบินไปกับเหยี่ยว เชื้อชาติหงส์ไม่ควรบินไปกับฝูงนกอินทรีย์)
“  ชื่อว่าสงสารซ้ง        กงเกวียนกลมฮอบ
เวรหากมาคอบแล้ว        วอนไหว้กะบ่ฟัง”
(ชื่อว่าสังสารวัฏนั้นกลมเหมือนล้อเกวียน  เมื่อผลกรรมมาถึงแล้ว  ถึงแม้จะขอร้องอ้อนวอนอย่างไรก็ไม่สามารถห้ามได้)
๑.๒.)  ผญาที่ไร้สัมผัส  หมายถึงบทผญาที่ไม่ได้ส่งสัมผัสต่อเนื่องกันไป  ผญาชนิดนี้มีเสียงสูงต่ำของเสียงวรรยุกต์และจังหวะของถ้อยคำเป็นสิ่งที่ช่วยให้มีเสียงไพเราะ เช่น
“  อย่าได้หวังสุขย้อน    บุญเขามาเพิ่ง
สุขกะสุขเพิ่นพุ้น    บ่มากุ้มฮอดเฮา”
(อย่าได้คิดหวังถึงความสุขจากคนอื่น  สุขก็สุขของเขาไม่มาถึงเรา)
“สัจจาแม่หญิงนี้    คือหินหนักหมื่น    ถิ้มใส่น้ำ    จมปิ้งแม่นบ่ฟู
( สัจจะของผู้หญิงนี้หนักแน่นเหมือนก้อนหิน  ทิ้งลงน้ำจมสู่พื้นไม่โผล่ขึ้นมา)
“ของกินให้    ซมดูดมดูด    มันหาก    เป็นโทษแล้ว วางถิ้มอย่ากิน”
(ของกินให้พิจารณาดู  ดม ดูด หากเป็นโทษแล้ว  จงวางทิ้งอย่ากิน)
๒.๒  ประเภทผญาภาษิตตามลักษณะของเนื้อหา 
ลักษณะเนื้อหาของผญา  ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้แบ่งเนื้อหาของผญาออกเป็นประเภทต่างๆ  หลายประเภทแต่ส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน  ตามที่ท่านผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายได้จัดแบ่งประเภทผญาตามลักษณะของเนื้อหาไว้นั้นมีความใกล้เคียงกันมาก
คำผญาที่เป็นคำภาษิตคือเป็นข้อความสั้นๆ  แต่เน้นความลึกซึ้ง  และต้องเป็นสอนไปในตัว  หรือให้เกณฑ์อันใดอันหนึ่ง  ที่แสดงถึงความเป็นไปของโลกหรือชี้ให้เห็นสัจจะแห่งชีวิต  ผญาภาษิตอีสานนั้นเป็นทั้งปรัชญาธรรมและปัญญาธรรม  ซึ่งเป็นคำสอนของนักปราชญ์  อันแฝงไปด้วยคติ  แง่คิด  เป็นคำกล่าวที่เป็นหลักวิชา  อันแสดงถึงความรอบรู้ความสามารถของผู้พูด  ผญาที่เป็นภาษิต  ใช้พูดสั่งสอนหรือเตือนใจใช้ในโอกาสเหมือนภาษิตภาคกลาง  เช่น  ต้องการสั่งสอนบุตรธิดา  ท่านก็เล่านิทานเป็นเชิงอุทาหรณ์แทรกคติธรรม  และภาษิตที่เป็นผญาเตือนใจทำให้ผู้ฟังเกิดความซาบซึ้งประทับใจและจดจำไว้เป็นแบบอย่างของการครองชีวิตต่อไป
ผญาภาษิตนี้มักไม่กล่าวสอนอย่างตรงๆ  ทั้งนี้เพราะคนอีสานนิยมสอนบุตรธิดาของตนโดยทางอ้อม  ไม่ได้สอนโดยทางตรง  เมื่อท่านจะสอนในเรื่องใดท่านมักจะผูกเป็นคำอุปมาอุปไมย  โดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงคือความเป็นอยู่และกิริยาอาการหรือความประพฤติของคนหรือสัตว์  ไม่ว่าในทางดีหรือทางชั่วอันเป็นไปในทางรูปธรรม  เพื่อให้เกิดแง่คิดในทางนามธรรมเป็นข้อเปรียบเทียบกับรูปธรรม  ผญาภาษิตเมื่อนำมาจัดแบ่งตามลักษณะของเนื้อหาแล้ว ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้แบ่งเนื้อหาของผญาออกเป็นประเภทต่างๆ  หลายประเภทแต่ส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน  คือ
จารุบุตร  เรืองสุวรรณ  ได้กล่าวถึงคำผญาว่ามี  ๒  ประเภท  คือผญาย่อย  เป็นคำพูดเปรียบเปรย  เย้าแหย่  ขำขัน  สนุกสนาน  แต่ก็แฝงคำคมเป็นคติและอีกประเภทหนึ่งคือ  ผญาภาษิต  เป้นถ้อยคำแบบฉันทลักษณ์  ที่มีความไพเราะเป็นคติเตือนใจ  ลึกซึ่ง  แฝงคติธรรม(  จารบุตร  เรืองสุวรรณ  ๒๕๒๐ หน้า ๑๗๙ 
สาร  สาระทัศนานันท์  ได้กล่าวถึงลักษณ์ทางเนื้อหาของคำผญาว่าเป็นคำกลอนสดที่คิดได้หรือจำมาก็มี และส่วนใหญ่ไม่ได้พรรณาอย่างตรงไปตรงมา  คือมักเป็นคำพูดที่เป็นเชิงเปรียบเทียบให้ตีความเอาเอง  และได้แบ่งเนื้อหาผญาออกเป็น  ๔  ประการ คือ (สาร  สาระทัศนานันท์ ๒๕๒๔ หน้า ๔(๑)  ภาษิตหรือคติเตือนใจ (๒)  คำพังเพยหรือคำคม (๓)  คำอวยพร (๔)  คำที่หนุ่มสาวใช้พูดจากัน
บุปผา  ทวีสุข  กล่าวว่า  แต่เดิมนั้นคำผญามักจะเป็นคำภาษิต  เป็นคำนักปราชญ์  ต่อมามีผู้คิดผูกคำผญาเป็นทำนองเกี้ยวพาราสีเพื่อหลีกเลี่ยงการพูกฝากรักโดยตรง  ให้ผู้ฟังสังเกตเอาจากนัยแห่งคำพูดเอง  แล้วพูดโต้ตอบกันด้วยคำในลักษณะเดียวกัน  ดังนั้นคำผญาจึงแบ่งเป็นลักษณะได้  ๒  ประการ  คือผญาที่เป็นคำคม  สุภาษิต คำสอน  และผญาที่เป็นทำนองเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว  นอกจากนี้  บุปผา  ทวีสุข  ยังได้แบ่งผญาออกเป็น  ๓  ประเภท  คือ  ผญาภาษิต  ผญาย่อย  และโตงโตยหรือยาบสร้อย (บุปผา  ทวีสุข  ๒๕๒๐  ๙๗–๙๙
จารุวรรณ  ธรรมวัตร  ได้กล่าวถึงลักษณะของผญาไว้ว่า  ผญาเป็นคำพูดที่มีองค์คุณอยู่  ๕  ประการ  คือ  คำพูดที่มีประโยชน์หนึ่ง  เป็นคำพูดที่เหมาะสมแก่กาลหนึ่ง  พูดคำสัจจะหนึ่ง  พูดคำอ่อนหวานหนึ่ง  พูดด้วยเมตตาจิตหนึ่ง  และยังแบ่งประเภทของผญาได้  ๕  ประการ คือ (จารุวรรณ  ธรรมวัตร) ๒๕๒๖ ๑๑๒ (๑)  ผญาเกี้ยวพาราสี (๒)  ผญาภาษิต (๓)  ผญาอวยพร (๔)  ผญาเกี้ยวแบบตลก (๕)  ผญาเกี้ยวแบบสาส์น์รัก
ประเทือง  คล้ายสุบรรณ์  ได้แบ่งประเภทของผญาตามลักษณะของเนื้อหาและโอกาสที่ใช้ไว้อย่างละเอียดและสอดคล้างกันที่พรชัย  ศรีสารคามได้แบ่งได้ดังนี้  (ประเทือง  คล้ายสุบรรณ์ ๒๕๒๘ หน้า๗๖–๘๓ (๑)  ผญาภาษิต (๒)  โตงโตยหรือยาบสร้าย (๓)  ผญาย่อยหรือคำคม (๔)  ผญาคือหรือผญาเกี้ยว (๕)  ผญาอวยพร  ตามที่ท่านผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายได้จัดแบ่งประเภทผญาตามลักษณะของเนื้อหาไว้นั้นมีความใกล้เคียงกันมาก  โดยสรุปแล้วมีเนื้อหาของคำผญาได้เป็น  ๔  ประเภท คือ
๑ )  ผญาภาษิต
คำผญาที่เป็นคำภาษิตคือเป็นข้อความสั้นๆ  แต่เน้นความลึกซึ้ง  และต้องเป็นสอนไปในตัว  หรือให้เกณฑ์อันใดอันหนึ่ง  ที่แสดงถึงความเป็นไปของโลกหรือชี้ให้เห็นสัจจะแห่งชีวิต  ผญาภาษิตอีสานนั้นเป็นทั้งปรัชญาธรรมและปัญญาธรรม  ซึ่งเป็นคำสอนของนักปราชญ์  อันแฝงไปด้วยคติ  แง่คิด  เป็นคำกล่าวที่เป็นหลักวิชา  อันแสดงถึงความรอบรู้ความสามารถของผู้พูด  ผญาที่เป็นภาษิต  ใช้พูดสั่งสอนหรือเตือนใจใช้ในโอกาสเหมือนภาษิตภาคกลาง  เช่น  ต้องการสั่งสอนบุตรธิดา  ท่านก็เล่านิทานเป็นเชิงอุทาหรณ์แทรกคติธรรม  และภาษิตที่เป็นผญาเตือนใจทำให้ผู้ฟังเกิดความซาบซึ้งประทับใจและจดจำไว้เป็นแบบอย่างของการครองชีวิตต่อไป
ผญาภาษิตนี้มักไม่กล่าวสอนอย่างตรงๆ  ทั้งนี้เพราะคนอีสานนิยมสอนบุตรธิดาของตนโดยทางอ้อม  ไม่ได้สอนโดยทางตรง  เมื่อท่านจะสอนในเรื่องใดท่านมักจะผูกเป็นคำอุปมาอุปไมย  โดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงคือความเป็นอยู่และกิริยาอาการหรือความประพฤติของคนหรือสัตว์  ไม่ว่าในทางดีหรือทางชั่วอันเป็นไปในทางรูปธรรม  เพื่อให้เกิดแง่คิดในทางนามธรรมเป็นข้อเปรียบเทียบกับรูปธรรม  ผญาภาษิตนี้ส่วนมาจากคำสอนในหนังสือวรรณคดีเรื่องต่างๆ
๒)  ผญาอวยพร
การอวยพรมักจะใช้ในโอกาสต่างๆ  ส่วนมากเป็นคำพูดของคนสูงอายุ  ผู้อาวุโสหรือคนรักใคร่นับถือกันและเจตนาดีต่อกัน  พูดเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ผู้ฟัง  หรือผู้รับพร  เพื่อให้กำลังใจ  และหวังให้ผู้ฟังได้รับความชื่นใจ  ความสบายใจอาจใช้ในพิธีต่างๆเช่นในการสู่ขวัญ  ผูกข้อต่อแขน  หรือในโอกาสอื่นๆแล้วแต่ความเหมาะสม  ผญาอวยพรเป็นบ่อเกิดสำคัญทางสุนทรียภาพอันเป็นอาหารทางจิตใจ  ผญาอวยพรนี้ยังสะท้อนถึงความเชื้อของคนในท้องถิ่นภาคอีสานได้เป็นอย่างดี 
๓)  ผญาพังเพย
คำผญาพังเพยนี้มักจะกล่าวสอนขึ้นมาลอยๆ  เป็นคำกลางๆเพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง  คำพังเพยคล้ายสุภาษิต  มีลักษณะเกือบเป็นสุภาษิต  เป็นคำที่มีลักษณะติชม  หรือแสดงความคิดเห็นอยู่ในตัว  เช่น  ทำนาบนหลังคน  คำพังเพยไม่เป็นสุภาษิตเพราะไม่เป็นคำสอนแน่นอน  และไม่ได้เน้นคำสอนในตัวเอง
ลักษณะของคำพังเพยอีสานนี้เรียกอีกอย่างว่า  คำโตงโตยหรือยาบสร้อย  บางท้องถิ่นนิยมเรียกว่า  ตวบต้วยหรือยาบเว้า  เป็นข้อความในเชิงอุปมาอุปไมยที่ไพเราะสละสลวยและมีความหมายลึกซึ่งคมคายเช่นเดียวกับผญาภาษิต  บางคำมีความหมายลึกซึ้งเข้าใจยากกว่าผญาภาษิตมาก  ต่างก็กับผญาภาษิตตรงที่คำพังเพยหรือยาบสร้อยนี้ไม่เป็นคำสอนเหมือนผญาภาษิต  เป็นเพียงคำเปรียบเทียบที่ให้ข้อเตือนใจหรือเตือนสติให้คนเรานึกถึงทางดีหรือทางชั่วนอกจากเป็น
๔)  ผญาเกี้ยว

๒.๓  ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนสุภาษิตกับผญาอีสาน
เมืองไทยเป็นเมืองพระพุทธศาสนา  มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  ด้วยว่าคนไทยส่วนใหญ่เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา  ได้ยกย่องเทิดทูนพระพุทธศานาเป็นสรณะแห่งชีวิตสืบทอดต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านานนับพันปี
    แม้แต่องค์พระมหากษัตริย์  ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระประมุขของชาติไทยทุก ๆ  พระองค์ก็ทรงเป็นพุทธมามกะ  ทรงดำรงอยู่ในฐานะองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก  ทรงยกย่องเชิดชูและเคารพพระพุทธศาสนาพระองค์ทรงนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักคำสอนในการบริหารและพัฒนาชาติบ้านเมืองสืบเนื่องต่อกันมานบแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
    หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญยิ่ง  ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาชาติบ้านเมืองทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจสังคมไทยจึงมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหมายถึงคำสอนที่พระองค์ทรงส่งสาวกไปประกาศคำสอน  ตั้งแต่แรกจนกระทั่งสืบทอดมาเรื่องจนถึงปัจจุบันที่พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะให้เป็นเช่นนั้น  คำสอนที่ออกมานั้นเป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนา

๓.๑ ความสัมพันธ์ทางศาสนาพิธี
    สภาพสังคมชนบทที่ปรากฏในคำสอนชาวบ้านในภาคอีสานนั้น  นักการศาสนาได้สอดแทรกคำสอนในทางพระพุทธศาสนา  โดยมีหลักธรรมมากมายปรากฎอยู่ในวรรณกรรมต่างของชาวอีสานและได้ประยุกต์ให้เข้ากับวิธีกรรมที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตในระดับต่าง ๆและได้ถูกกับอุปนิสัยของคนในท้องถิ่น  โดยเฉพาะหลักคำสอนเรื่องกรรมและผลของกรรมเป็นหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเนื่องจากหลักกรรมนี้เองทำให้เกิดความเชื่อในด้านการเกิดใหม่ด้วยอำนาจแห่งผลกรรมซึ่งเป็นหลักปฏิบัติทางศีลธรรมต่าง ๆ
    พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา  ตลอดระยะเวลาที่ประเทศไทยดำรงความเป็นชาติเอกราชมานี้  พระพุทธศาสนาได้ผสมผสานกลมกลืนและเข้ากันได้กับอุปนิสัยใจคอของคนไทยภาคอีสานเป็นอย่างดีทุกยุคทุกสมัยจนอาจกล่าวได้ว่า  ความเป็นไทยชาวอีสานกับพระพุทธศาสนาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนแยกไม่ออก  จนกลายเป็นพิธีการทุกอย่างจะต้องสอดคล้องกับพระพุทธศาสนา
    ศาสนพิธี  เป็นพิธีการทางศาสนาซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของสถานบันศาสนา  ในฐานะเป็นสถานหนึ่งของสังคมไทยก็มีพิธีกรรมหลายรูปแบบและพระพุทธศาสนามีระเบียบการบริหารหมู่คณะ  คือ  พระธรรมวินัย  ผู้บริหารเป็นแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น  และพระสงฆ์สาวกผู้นำสืบต่อกัน  การเป็นพระสงฆ์สาวกก็ดี  เป็นพุทธบริษัทอื่น ๆ  ก็ดี  ต้องเป็นขึ้นโดยพิธีการที่ถูกต้องตามนิยมของพระธรรมวินัยและผู้ถือปฏิบัติคือพุทธบริษัททุกคนต้องรักษาขนบธรรมเนียมปฏิบัติถูกต้องตามวิธีการนั้น ๆ  สืบต่อกันมา
    ดังนั้น  พระพุทธศาสนาจึงยังคงเป็นสถาบันที่มั่นคงอยู่ได้นานเท่านาน  ตราบเท่าทุกวัน  ศาสนาพิธี  ก็คือพิธีการที่นิยมทำขึ้นตามพระธรรมวินัยดังกล่าวนั่นเอง  จึงนับเป็นส่วนสำคัญของสถาบันพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง   จำเป็นที่พุทธบริษัททุกคนต้องเข้าใจ  เพื่อจะได้รับปฏิบัติถูก  ซึ่งเป็นการจรรโลงสถาบันของพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบต่อไป
    คำผญาคำสอนที่ชาวอีสานได้รับมาประพฤติและปฏิบัติจนกลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีนั้นได้มาจากหลักศาสนาพิธีโดยตรง  หรือมีเนื้อหาสาระที่แฝงหลักทางพิธีกกรรมและสอดคล้องกับศาสนาพิธีเข้าในหมู่บ้าน  ด้วยเหตุที่ลักษณะหรือสภาพของแต่ละท้องถิ่น  หรือแต่ละสังคมมักจะแตกต่างกันออกไป  ศาสนพิธีนั้น   ผู้ศึกษามุ่งเอาเฉพาะหลักศาสนพิธีของพระพุทธศาสนาพิธีของพระพุทธศาสนาเท่านั้น  และในหลักศาสนพิธีนั้น  แบ่งออกเป็น  ๓  หมวดด้วยกัน  คือ  กุศลพิธี  บุญพิธี  ทานพิธี

๑    กุศลพิธี
    กุศลพิธี  แปลว่า  บุญ  ความดี  ฉลาด  สิ่งที่ดี  กรรมดีเป็นต้น  กรรมดีและการกระทำดีหรือกุศลกรรมก็คือการกระทำที่เกิดเจตนาดี  ซึงต่างจากอกุศลกรรมกคือการทำชั่ว  เป็นเจตนาที่เป้นไปเพือ่เบียยดเขบียนผุ้อื้นใหได้รับความทุกข์  เจตาดีและเจตนาชั่วนั้นเกิดขึ้นในใจ  การพิจารณาว่าเจตนาใดเป็นเจตาดีหรือชั่วจึงต้องพิจารณาถึงสภาวะในใจว่า  มีเหตุผลแห่งเจตนาเป็นกุศลหรืออกุศล  เรื่องนี้พระธรรมปิฏกได้ตีความกุศลและอกุศลเอาไว้ว่า
    “กุศลและอกุศลเป็นสภาวะที่เกิดในจิตใจและมีผลต่อจิตใจก่อนแล้วจึงาผลต่อบุคลิกภาพ  และแสดงผลนั้นออกมาภายนอก  ความหมายของกุศลและอกุศลจึงเพ่งไปที่พื้นฐาน  คือเนื้องหาสาระและความเป็นไปภายในจิตใจเป็นหลัก…กุศล แปลตามศัพท์ว่า ฉลาด ชานาญ สบาย เชื่อหรือเกื้อกูล  เหมาะ ดีงาม  เป็นบุญ คล่องแคล่ว  ตัดโรคหรือสิ่งชั่วร้านที่น่ารังเกียจ  ส่วนอกุศลก็แลว่า  สภาวะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกุศล  หรือตรงข้างกันกับกุศล  เช่นว่า ไม่ฉลาดไม่สบายเป็นต้น (พระธรรมปิฏก (ประยุทธ์  ปยุตโตป พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ(กรุงเทพฯ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) ๒๕๓๒, หน้า ๑๖๔
    จากเหตุผลข้างต้นนั้น  พระธรรมปิฏกให้ทัศนะว่า  การกระทำที่เป็นกุศลจะต้องเป็นการการกระทำที่มีเจตนาเป็นกุศล  คำสอนอีสานกล่าวถึงพิธีกรรมอันเป็นกุศลไว้มากมาย  การบวชเพื่อสนองคุณค่าน้ำนมของบิดามารดา  เพื่อเชื่อว่าการบวชเรียนในพระพุทธศาสนาจะตอบแทนคุณบิดามารได้หมด  ดังคำสู่ขวัญนาคก่อนบวชมักจะเป็นการพรรณนาถึงคุณพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดมา  ว่าท่านทั้งสองมีความทุกข์ยากลำบากอย่างไรกว่าจะคลอดบุตรออกมาและเลี้ยงลูกให้เติมโตจนอายุได้  ๒๐  ปี  ครบบวชและแสดงให้เห็นว่าการสนองคุณบิดามารดานั้นมีอย่างไร   และทัศนะทางพุทธปรัชญาในเรื่องการบวชมีอะไรหมอทำขวัญจะทำหน้าพรรณนาไว้ครบเพื่อเป็นการอบรมจิตใจของเจ้านาคให้ระลึกรู้คุณบุพการีของตน  และสั่งสอนให้เจ้านาคหมั่นประพฤติปฏิบัติตนเองให้เป็นบุญเป็นกุศลเพื่อสนองคุณพ่อแม่ตน ผญาคำสอนอีสานได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความกตัญญูกตเวทีต่อบุพพการีของตนเองไว้ว่า
ก่อนสิได้มาเกิดจากท้องมารดา    ได้เลี้ยงมาเป็นอันยากเลี้ยงลำบากทุกค่ำคืน
แม่ทนฝืนหนักหน่วงท้อง    นอนเก้าเดือนเฮ็ดล่องง่องอยู่ในครรภ์
แสนรำพันฮักห่อลูกของพ่อดั่ง    ดวงตาออกจากท้องมารดาลูกเกิดมาเลิศแล้ว
เป็นเจ้านั่งเป็นสมภารให้ได้เป็นอาจารย์    นักบวชให้ได้สวดปาฏิโมกข์
ให้เจ้าฝังในศาสน์ฉลาดเหลือคน    มาเยอขวัญเอย
ให้ลือชาศาสนาของพระพุทธเจ้า            ให้นาคเจ้ามีเดชะให้ชนะฝูงมาร
เป็นอาจารย์ผู้วิเศษละกิเลสหายหนี         ดั่งอินทราธิราชเจ้าภูมินทร์
ทั้งแดนดินโอยอ่อนน้อย    ทุกท่านพร้อมสาธุการ
ให้เจ้ามีความรู้หลื่นสมภาร    ใหว้อาจารย์ทุกเมื่อเฮืองเฮื่อแก้วเงินคำ
บูชาธรรมอย่าได้ขาดให้ฉลาดพระวินัย  ให้สดใสปานแว่นให้ถึงแก่นคำสอน
คนสะออนชมซื่นให้เจ้าหลื่นมนุษย์และเทวา
อย่าได้คาขัดข้องให้เจ้าท่องพระบาลีให้มีหวัง
ครองสืบสร้างธุระ๒ประการ    เฮียนกรรมฐานให้ถี่ถ้วนครบสิ่งล้วน
๘หมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์    ด้วยปัญญาเร็วพลันตรัสส่อง
สมองปล่องเร็วไว้ศีลสดใส่    บ่ประมาทมีอำนาจในศาสนา
อย่าโสกาโศกเศร้า    ให้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าสืบพระศาสนา
    ๔)  สอนให้รู้หลักสัจธรรม
    เจ้าจักพลัดพรากห้องเคหา    จักได้ลาปิตามารดาออกไปบวช
    สร้างผนวชในศาสนา    เจ้าก็คิดเห็นสังขารเป็นทุกขัง
    อนิจจังอนัตตาบ่มั่น        เที่ยงฮู้บิดเงี่ยงไปมา
    เป็นอนิจจาบ่เลิกแล้ว        บ่ได้ว่าเฒ่าแก่แลชรา
    ฮู้บังเกิดโรคาแลพยาธิ        บ่ได้ขาดจากมรณา136
ในเรื่องการบวชนี้มีเรื่องเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาลซึ่งมีปราฏในปิณโฑลยสูตร ความว่า”
พวกเธอมาบวชอยู่ในพระธรรมวินัยนี้จุดประสงค์เพื่อทำที่สุดทุกข์  ถ้ามากด้วย
อภิชฌามีความกำหนัดในกาม มีจิตพยาบาท มีความดำริชั่ว หลงลืมสติ  ไร้
สัมปชัญญะ ใจไม่เป็นสมาธิ  จิตหมุนไปผิดทิศทาง  ไม่สำรวมอินทรีย์
จะทำที่สุดทุกข์ได้อย่างไร  คนที่มีลักษณะดังนี้ เรากล่าวว่าเขาเสื่อมจากโภคะ
แห่งคฤหัสถ์  ไม่ทำความเป็นสมณะให้บริสุทธิ์  ด้วยอุปมาเหมือนดุ้นฟื้นในที่
เผาศพติดไฟทั้งสองข้าง  ตรงกลางเปื้อนคูถ จะใช้เป็นฟื้นในบ้านก็ไม่ได้ในป่าก็ไม่ได้”(สังยุต.ขันธวรร
    ๑)  สอนการเสียออกบวชของพระพุทธเจ้าดังนี้
    หวังไปสวดบำเพ็ญศีล        ดั่งพระอินทร์ถวายบาตร
    พรหมราชยอพาน        ถวายทานพระศรีธาตุ
    คราวพระบาทออกไปบรรพชา    อยู่ฝั่งน้ำอโนมา
    พร้อมนายฉันท์และม้ามิ่ง    ลายยอดแก้วปิ่งสิ่งพิมพา
    ทั้งราหุลออกบวช        ไปผนวชเป็นคนดี
    เจ้ามีใจในธรรมอันล้ำเลิศ       

สอนให้รู้จักฮีตวัดครองสงฆ์
        ให้เจ้าเตรียมตัวบวช        ให้มาเข้าผนวชเป็นสงฆ์
        ให้เจ้าลงมาสมสู่สังฆา        ปฏิมายอดแก้วใจผ่องแผ้วเหลือหลาย
        ยามเดือนหงายอย่าได้ล่วง    ให้เจ้าห่วงครองธรรมให้เจ้านำครองปู่
        ให้มาอยู่จำศีลให้มากินข้าวบาตร    มานั่งอาสน์นำสงฆ์ให้มาลงในโบสถ์
        ละความโกรธและโทสา        ให้เจ้าได้เทศนาสอนสั่ง

    พิธีมงคลบวชนาคเป็นพิธีมโหฬาร  และสำคัญคนไทยผู้เป็นพุทธศาสนิกชนและผู้ที่จะมาบวชนั้นต้องเรียนรู้เกียวกับระเบียบวิธี  คือ
    ๑) ระเบียบการกราบไหว้
    ๒) ระเบียบการกรวดน้ำ
    ๓) ระเบียบการรับประเคน
    เมื่อใกล้วันบวชตามนิยมกันทั่วไป  ผู้ที่จะบวชต้องมีดอกไม้  ธูป  เทียน  เที่ยวลาญาติพี่น้องและญาติผู้ใหญ่  ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือเป็นการแสดงความเคารพและขอขมากรรมที่ได้พลาดพลั่งล่วงเกินทั้งต่อหน้าและลับหลัง  ญาติพี่น้องและญาติผู้ใหญ่นั้น  ก็ขอรับขมาพร้อมให้พร ค่านิยมในการบวชลูกหลานเพื่อเป็นการสืบอายุพระศาสนาชาวอีสานเมื่อได้ลูกชายมักจะมีคตินิยมอวยพรกันว่า “ใหญ่พอบวชพ่อสิให้บวช    ให้ท่องสวดคัมภีร์  เฮียนบาลีค่ำเช้าครองพระเจ้าศีลทาน”131
    การบวชนาคทำให้พ่อแม่ปีติยินดีทำให้ท่านสบายใจ  เพราะการบวชเป็นการสนองคุณทางจิตใจของท่าน  สิ่งที่จะทำให้พ่อแม่โดยทั่งไปดีใจนั้นคงไม่มีอะไรเกินกว่าได้เห็นลูกเป็นคนดีดำเนินชีวิตในทางที่ถูกต้อง  การบวชเป็นพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาย่อมช่วยให้ได้รับความสุขใจ  ปีติยินดี  ความสุขทางใจที่ได้เห็นลูกอยู่ในร่มเงาผากาสาวพัสตร์  ย่อมช่วยต่อชีวิตอายุของพระศาสนาให้ยืนยาว  ชาวอีสานมีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนอย่างแรงกล้าถึงกับจัดเป็นค่านิยมอย่างหนึ่งในจารีตประเพณีประภาคอีสานเรียกว่า ”ฮีตวัด”90 จะกล่าวว่าเป็นธรรมนูญชีวิตแบบชาวอีสานก็ได้  เพราะว่าเป็นหลักสำหรับบุคคลที่จะต้องยึดถือปฏิบัติในระหว่างชาวบ้านต่อพระศาสนา  ๑๔ ประการ  คือ
    ๑)  เมื่อข้าวหรือผลไม้ผลิตดอกออกผลให้นำไปถวายพระภิกษุเสียก่อนแล้วตนเองจึงบริโภคภายหลัง
    ๒)  อย่าทำตาชั่งปลอมหรือแปลงตาชั่ง  อย่าปลอมแปลงเงินตรา(อย่าจ่ายเงินแดงแปงเงินกว้าง)และอย่ากล่าวคำหยาบต่อกัน
    ๓)  ให้พร้อมกันทำรั้วหลักและกำแพงล้อมวัดวาอารามและบ้านเรือนของตน  กับให้ปลูกหอบูชาไว้ทั้งสี่มุมบ้านเรือน
    ๔)  ก่อนจะขึ้นบนบ้านให้ล้างเท้าเสียก่อน
    ๕)  เมื่อถึงวันพระ ๘–๑๔–๑๕ ค่ำให้ทำการคารวะเตาไฟบันใดและประตูบ้านที่ตนอาศัยเข้าออกทุกคืน
    ๖)  ก่อนเข้านอนให้ล้างเท้าเสียก่อน
    ๗)  เมื่อถึงวันพระให้เมียเอาดอกไม้ธูปเทียนทำการคารวะผัวของตน(ผัวที่ดี)  และเมื่อถึงวันอุโบสถให้จัดดอกไม้ธูปเทียนไปถวายแด่พระภิกษุกับให้ทำการคารวะบิดามารดาปู่ย่าตายายด้วย
    ๘)  ถึงวันพระเดือนดับ(ข้างแรม) และวันพระเดือนเพ็ญ(ข้างขึ้น)ให้นิมนต์พระภิกษุมาสวดมนต์ที่บ้านและทำบุญตักบาตรถวายทานท่าน
    ๙)  เมื่อพระภิกษุสามเณรมาบิณฑบาตอย่าให้ท่านคอย  เวลาใส่บาตรอย่าให้ถูกตัวท่านและอย่าสวมรองเท้า กางร่ม  ให้ผ้าโพกศรีษะ  หรือถือศาสตราอาวุธเวลาใสบาตร
    ๑๐)  เมื่อพระภิกษุเข้าปริวาสกรรมให้นำดอกไม้ธูปเทียนไปถวายท่าน
    ๑๑)  เมื่อเห็นพระภิกษุผ่านมาให้นั่งลงยกมือไหว้แล้วจึงพูดจากับท่าน(ในข้อนี้ผู้วิจัยยังพบว่าชาวลาวยังยึดถือปฏิบัติอย่างมั่นคงอยู่ส่วนชาวอีสานก็มีบ้างท่านเท่านั้น)
    ๑๒)  อย่าเหยียบเงาพระภิกษุสามเณรผู้ทรงศีล
    ๑๓)  อย่านำเอาอาหารที่ตนเหลือกินไปถวายพระภิกษุสามเณร
    ๑๔)  อย่าเสพกามคุณในวันพระ  วันเข้าพรรษา  วันออกพรรษา  และวันสงกรานต์ควรสำรวมในเรื่องเหล่านี้บ้าง  ส่วนคลองสงฆ์น่าจะเป็นกิจวัตร  ๑๐  อย่างที่พระสงฆ์ทุกรูปควรปฏิบัติดังนี้คือ
    ๑)  ลงอุโบสถ        ๖)  อยู่ปริวาสกรรม
    ๒)  บิณฑบาตเลี้ยงชีพ    ๗)  โกนผมปลงหนวดตัดเล็บ
    ๓)  สวดมนต์ไหว้พระ    ๘)  ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติอาจารย์
    ๔)  เทศนาบัติ        ๙)  กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์
    ๕)  รักษาผ้าครอง    ๑๐)  พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง 91๔

    เมื่อพระอุปัชฌาย์กำหนดงันเวลาบวชให้แน่นอนแล้วเจ้าภาพจะต้องจัดเตรียมหาเครื่องบริขารให้ครบ  เครื่องบริขารไว้ให้ครบ  เครื่องบริขารที่จำเป็นต้องใช้ในการบวชซึ่งจะขาดเสียมิได้มีอยู่  ๘  อย่าง  เรียกว่าอัฏฐบริขาร  กล่าวคือ  บาตร  ,อันตราวาสก  ผ้าสบง, อุตราสงค์  ผ้าจีวร,  สังฆาฏิ  ผ้าห่มซ้อน,กายพันธนะ  ผ้าประคตเอว, ปริสสาวนะ  ผ้ากลองน้ำ,  สูจิเข็ม  พร้อมด้าย ,  วาสีมีดพับหรือมีดโกน  ภาษิตโบราณ
    (………..)
เทศกาลเข้าพรรษาเป็นฤดูกาลที่พุทธศาสนิกชนมีโอกาศได้บำเพ็ญกุศลมากที่สุดคือครบทั้ง  ๓ พิธี  ได้แก่บุญพิธี  กุศลพิธี  และทานพิธีพอถึงเทศกาลเข้าพรรษา  พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าจะมีการกระตือรือร้นเป็นพิเศษที่จะบำเพ็ญกุศล  บางพวกก็บำเพ็ญกุศลพิธี  คือการอบรม  พัฒนาจิตใจตนเองให้มีคุณธรรมประจำใจที่สูงขึ้น  ได้แก่  การบวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณร  บางพวกก็เริ่มสนทนารักษาศีล ๕ และอุโบสถศีลตลอดพรรษาบางพวกก็ตั้งสัจจะอธิษฐานของดเว้นอุบายมุข  เช่น  สุรา  การพนัน  สิ่งเสพติดบางชนิดนับว่าเทศกาลเข้าพรรษาเป็นพิธีกรรมที่สามารถลดอุบายมุขลงได้  โบราณคำสอนของชาวอีสานได้กล่าวถึง  การปลูกศรัทธาในการชักชวนกันไปทำบุญที่วัดและเมื่อถึงวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนาก็ชักชวนกันไปเวียนเทียนที่วัดเพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา  สังฆบูชา อันหมายถึงกุศลพิธี ดังคำสอนโบราณอีสานว่า

bandonradio

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons