วรรณกรรมประเภทคำสอน
วรรณกรรมคำสอนนี้จุดประสงค์สอนประชนชนในด้าน จริยธรรม ความประพฤติตลอดถึงการดำเนินชีวิตในสังคม ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับการสอนศีลธรรมนั่นเอง ต่างแต่ว่าในภาคอีสานนั้น กวีมีกุศโลบายที่ดี ได้นำคำสอนเหล่านั้นมาร้อยกรอง เพื่อให้กะทัดรัด สะดวกต่อการจดจำหรือผูกเป็นเรื่องๆไป วรรณกรรมคำสอนเหล่านี้บ้างครั้งพระสงฆ์ก็นำมาเทศน์บ้างเพราะมีผญาภาษิตหรือบ้างคราวก็นำไปอ่านในงานชุมนุมเป็นต้น
ลักษณะทั่วไปของวรรณกรรมคำสอน มีลักษณะเหมือนกับโคลงโลกนิติ สุภาษิตสอนหญิงของภาคกลาง จำนวนภาษิตของวรรณกรรมคำสอนเหล่านี้จะอยู่ในความทรงจำของชาวอีสานอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุเกือบทุกคนจะทราบว่าวรรณกรรมคำสอนมีเรื่องอะไรบ้าง นอกจากนี้แล้วหมอลำมักจะหยิบยกเอามาลำสลับกันไปกับลำอื่นๆ เช่น เมื่อลำเรื่องพื้นนานๆเข้าผู้ฟังไม่ค่อยสนใจ หมอลำก็จะเปลี่ยนเป็นลำผญาบ้าง ลำโจทย์บ้าง (หมอลำกลอนลำถามกัน) ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้ชาวอีสานมีความใกล้ชิดกับวรรณกรรมประเภทคำสอนมากยิ่งขึ้นไป วรรณกรรมคำสอนเหล่านี้นั้นมีอิทธิพลต่อแนวความเชื่อของคนอีสานตั้งแต่อดีตและปัจจุบัน ก็ยังนิยมนำมาสอนลูกหลานอยู่เสมอมา ดังนั้นวรรณกรรมส่วนนี้จะเป็นดังแสงประทีปที่ส่องแสงสว่างให้ชาวอีสานตลอดมา เป็นคำสอนในเชิงศิลธรรมที่อยู่ใกล้ตัวมนุษย์มากที่สุดอย่างเช่นอย่าทำชั่ว ให้พากันทำดี อย่าเบียนเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน และยังมีลักษณะเป็นแนวทางในเชิงห้ามปรามเอาไว้ ชาวอีสานทราบดีในคำว่า “ขะลำ”หมายถึงสิ่งอันเป็นอัปมงคล ทำมาหากินไม่เจริญรุ่งเรืองหรือเป็นไปในลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับเพศหรือวัยของคนนั้นผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะสั่งห้ามเข้าไว้ว่ามันขะลำนะอย่าทำนะลูกหลานมันขวง(คือเป็นเสนียด จัญไร ฉิบหาย) ดังนั้นจึงทำให้วรรณกรรมในฝ่ายคำสอนยังได้รับความนิยมตลอดมา
วรรณกรรมคำสอนในภาคอีสานนี้มีอิทธิพลอย่างมากและไม่น้อยไปกว่าวรรณกรรมทางพุทธศาสนาและชาวบ้านจะเชื่อฟังคำสอนในวรรณกรรมเหล่านี้เป็นประดุจดังกฏหมายของบ้านเมือง จึงปรากฏว่าสภาพสังคมในชนบทของอีสานนั้นอยู่กันอย่างสันติสุขแบบพึงพากันเองช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีงานสิ่งใดที่จะต้องช่วยกันก็จะขอแรงกันมาช่วยเหล่านี้เป็นกิจนิสัยของชาวชนบทอีสานอย่างแท้จริง เพราะอิทธิพลในด้านคำสอนจึงไม่ค่อยเห็นผู้ใดทำผิดจารีตประเพณีเลยเพราะเกรงจะผิดผีบ้างมันขะลำบ้างมันจะขวงบ้าง ซึ่งปรากฏการอันนี้เกิดจาอิทธิพลของวรรณกรรมคำสอนด้วยส่วนหนึ่งและจารีตประเพณีก็มีส่วนสนับสนุนส่งเสริมด้วยเป็นสองแรงช่วยผลักดันให้คนอีสานมีน้ำอดน้ำทนมีน้ำจิตน้ำใจต่อเพื่อนบ้านและเพื่อนร่วมประเทศเสมอมาไม่เคยทำให้คนอื่นเดือนร้อยก่อนเลย
วรรณคำสอนกับธรรมชาติของมนุษย์
ธรรมชาติของคนมีทั้งดีและเลวปะปนกันอยู่ วรรณกรรมคำสอนของอีสานเน้นให้เห็นชัดว่า เนื้อแท้โดยธรรมชาติของมนุษย์เรานั้นดีบริสุทธิ์มาแต่กำเนิดแต่สิ่งแวดล้อมทำให้มนุษย์ต้องเลวได้เพราะการหลงผิด ดังนั้นวรรณกรรมคำสอนจึงเป็นเหมือนเชือกที่คอยชักจูงไม่ให้คนอีสานหลงเดินทางชั่วเพราะวรรณกรรมส่วนนี้นั้นจะสอนในทางจริยธรรมข้อควรประพฤติของคนเราและสังคมด้วย จึงเน้นหนักไปทางจารีต(ฮีต) และคองเพื่อคอยเตือนพี่น้องชาวอีสานไม่ให้หลงผิดเป็นชอบ ด้วยอำนาจของเจ้าอวิชชา ตัณหา และกิเลสเข้าครอบงำซึ่งจะสอนทุกเพศ ทุกวัย ทุกชั้นวรรณของสังคมไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองบ้านเมือง ซึ่งคำสอนจะบ่งชี้ในด้านจริยธรรมของนักปกครองที่ดีเอาไว้ ไม่เว้นแม้แต่พระสงฆ์จะสอนในเรื่องฮีตพระครองสงฆ์ไว้เหมือนกับวินัยแต่จะเน้นในด้านหน้าที่ควรทำของนักบวช ไม่ค่อยมีสอนมากนักเพราะท่านมีวินัยทางพระอยู่แล้ว แต่สำหรับฆราวาสแล้วมีมากมายดังจะนำมากล่าวไว้ในที่นี้ ๕ ลักษณะ คือ
วรรณกรรมคำสอนระหว่างสามี+ภรรยา ลูก+หลาน+เครือญาติ
โดยเน้นไปในทางความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างคนในครอบครัวและกำหนดหน้าที่ของคนเหล่านี้เอาไว้ด้วย คือทุกฝ่ายต่างมีหน้าที่ของใครของมันอย่างเด่นชัด ดังจะเห็นได้จากวรรณกรรมเรื่อง ธรรมดาสอนโลก, ท้าวคำสอน , สันทนยอดคำสอน พระยาคำกองสอนไพร่ วรรณกรรมเหล่านี้จะเน้นความสัมพันธ์ของคนในสังคมได้ดี และสอนหน้าที่ของสามและภรรยาไว้อย่างมากมาย เพราะสังคมที่จะดีมาได้นั้นต้องมาจากครอบครัวที่ดีและสมบูรณ์เพราะเป็นสังคมระดับเล็กที่สุด เช่นหน้าของภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามีมีอย่างไร สามีพึงมีข้อปฏิบัติอย่างไรกับภรรยาตนเอง ลูกมีหน้าที่อย่างไรกับพ่อแม่ หลานๆมีหน้าที่อย่างไรกับคุณปู่คุณย่า จึงมีวรรณกรรมประเภทหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า “ปู่สอนหลาน ย่าสอนหลานเป็นต้อน เพราะหน้าที่อันนี้เป็นของปู่ยาตายายอยู่แล้วที่จะปลูกฝังศีลธรรมให้แก่ลูกหลาน ให้รู้จักบาป บุญ และอื่นๆอีกมากมายที่ย่าจะพึ่งสั่งสอน
วรรณกรรมคำสอนกับผู้ปกครอง-และผู้อยู่ใต้ปกครอง
วรรณกรรมส่วนนี้ได้เสนอแนวการสอนให้มีเมตตากรุณาต่อผู้น้อย(บ่าวไพร่)ไว้อย่างชัดเจนเพราะจะไม่ทำให้เกิดความเดือนร้อนทั้งสองฝ่ายคือไม่ให้มีอคติสี่ประการในการเป็นผู้นำและผู้ใต้ปกครองก็จะเป็นคนมีคุณธรรม คือผู้ปกครองจะเป็นใหญ่ได้ก็เพราะมีผู้ใต้ปกครองดี ดังจะเห็นได้จาก “ครองสิบสี่” ของชาวอีสานที่ยึดถือกันมาแต่บรรพบุรุษ นอกจากนั้นยังได้กล่าวสอนในเรื่องการบรรเทาทุกข์ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเช่นมีการสงเคราะห์กัน อนุเคราะห์กันและกันเมื่อคนอื่นมีความเดือนร้อน เรียกว่าการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน พร้อมทั้งมีความฉลาดในการเลือกผู้ที่จะมาเป็นขุนนางด้วย หรือเลือกท้าวพระยามหาอำมาตย์ ตลอดจนทูตานุทูต และเน้นในเรื่องจริยธรรมของปวงประชาราษฎรเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง จะมีปรากฏในวรรณกรรมเรื่องพระยาคำกองสอนไพร่เป็นต้น
วรรณกรรมคำสอนกับสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
วรรณกรรมประเภทคำสอนนี้มุ่งที่จะสอนสตรีมากกว่าบุรุษ และกำหนดหน้าที่ของสตรีเข้าไว้มากกว่าของบุรุษ อาจจะเป็นเพราะในอดีตนั้นสตรีอยู่กับเย้าเฝ้ากับเรื่อนจึงมักจะสอนให้รู้จักหน้าที่ของหญิง เพราะผู้หญิงเป็นมารดาของโลกก็ว่าได้ เมื่อมารดาดีลูกก็ดี ดังนั้นวรรณกรรมคำสอนจึงเห็นว่าสอนสตรีไว้หลายแง่มากมายเริ่มจากรู้จักทอผ้า เป็นต้น และวรรณกรรมที่ม่งสอนก็มีเรื่อง ท้าวคำสอน จะเน้นไปในลักษณะสตรีแบบไหนควรเลือกมาเป็นภรรยา มีทั้งหมด ๔๐ กว่าลักษณะคล้ายกับเป็นการดูนรลักษณ์ผู้หญิงอันแฝงไปด้วยภูมิปัญญาของผู้แต่งได้เป็นอย่างมากที่รู้ลักษณะผู้หญิงที่ละเอียดคล้ายกับเรื่องมายาของหญิงที่ปรากฏในพุทธศาสนา ๔๐ประการ และมีเรื่องอินทิญาณสอนลูก(สอนหญิง) ธรรมดาสอนโลก สิริจันโทยอดคำสอน ย่าสอนหลานเป็นต้น
วรรณกรรมกับผู้ใหญ่+ผู้น้อย
วรรณกรรมประเภทคำสอนนี้มุ่งที่จะสั่งสอนเด็กให้เห็นความสำคัญของความกตัญญูรู้คุณผู้มีบุพการีของตนเอง อาทิเช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา และยาย เมื่อท่านดำรงชีวิตอยู่ให้ตระหนักถึงพระคุณของท่านเหล่านี้ และดูแลท่านเมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วย และเมื่อเวลาท่านละจากโลกไปแล้วทำบุญอุทิศส่งไปให้ท่าน นอกจากนั้นยังสองให้รู้จักความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้หลักผู้ใหญ่ให้มีสัมมาคารวะเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน วิธีที่ทำคือจะพรรณนาถึงคุณที่ท่านได้อุตสาห์เลี้ยงดูลูกหลานมาเรียกว่าพระคุณของพ่อแม่ วรรณกรรมในเรืองนี้คือ ปู่สอนหลาน ย่าสอนหลาน อินทิญาณสอนลูก และวรรณกรรมคำสอนในเรื่องอื่นๆที่ปรากฏในวรรณกรรมนิทานบ้าง เป็นต้น
วรรณกรรมคำสอนในด้านธรรมชาติ
เป็นการสอนถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวมนุษย์กับธรรมชาติ โดยเน้นหนักในเรื่องที่มนุษย์เราจำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับธรรมชาติ และมีความเหมาะสมพอดีกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ โดยสั่งสอนให้มนุษย์เคารพยำเกรงธรรมชาติ อันได้แก่วิญญาณต่างๆที่สิ่งสถิตอยู่ในธรรมชาติที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ อาจจะบันดาลให้คุณหรือโทษวรรณกรรมคำสอนจึงสอนให้ตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้อย่างละเอียด ดังมีกล่าวไว้ในเรื่อง ธรรมดาสอนโลก เน้นการนำไม้อย่างไรมาปลูกบ้านจึงจะเหมาะสมหรือเป็นมงคล บอกถึงการแสวงหาต้นไม้มาทำเป็นเสาเอกเสาโทของบ้าน และบอกว่าไม้อย่างไรไม่ควรนำมาใช้สร้างบ้านโดยอ้างว่า มันขะลำหรือเข็ดขวงเป็นการห้ามเอาไว้ของคนโบราณเพราะอาจมองเห็นว่าไม้บ้างอย่างนำมาทำแล้วอาจจะทำให้บ้านไม่มั่นคงถาวร หรือเกิดการบิดงอได้ง่ายเพราะไม้มีความอ่อนนั้นเองจะทำให้ไม่ทนแดดทนฝน โบราณจึงนำเอาคำว่าขะลำมาห้ามเอาไว้คนเราจึงจะเชื้อ เพราะสอนให้เห็นว่าอาจจะมีเทวดาสิงสถิตย์อยู่บ้างหรือในบริเวณดอนปู่ตาเป็นต้น เพราะชาวอีสานเคารพยำเกรงในเรื่องเหล่านี้มากทีเดียว
วรรณกรรมคำสอนกับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
โดยสอนเน้นให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนด้วยกันในลักษณะเป็นการสามัคคีกันช่วยเหลือกันและกันในด้านต่างๆของสังคมเช่น การขอแรงกันสร้างบ้าน, เกี้ยวข้าว ,และอื่นๆอาทิในด้านพิธีกรรมในสังคมที่คนเราจะต้องร่วมแรงร่วมใจช่วยเหลือกัน โดยมีวรรณกรรมคำสอนเป็นแก่นกลางในการผสานความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ ให้มีแนวความคิดไปในทางเดียวกันง่ายทั้งการปกครองและการสั่งสอนด้วย เช่น งานแต่ง งานเลี้ยงผีปู่ตา ผีตาแฮก และพิธีของฝนด้วยการแห่นางแมว แห่บั้งไฟ และการไหว้ผีมเหสักข์หลักเมืองสิ่งเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่คนจะต้องร่วมแรงกันทำไม่ว่าผู้ปกครองหรือพระสงฆ์และชาวบ้านได้ร่วมกันทำขึ้น วรรณกรรมคำสอนในด้านนี้มักจะเป็นฮีตสิบสองคลองสิบสี่เป็นหลัก แต่อย่างไรก็ดีวรรณกรรมคำสอนของชาวอีสานยังเน้นในความผูกพันธ์ระหว่างพี่น้องลุง ป้า นา อา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมุ่งที่จะสอนให้มนุษย์รู้จักแบ่งปันความสุขกัน และรู้จักให้ทานแก่คนยากจนอนาถาตามแนวพุทธปรัชญาและคตินิยมในทางพระพุทธศาสนาด้วย69
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น