สรุปหลักจริยธรรม
พุทธศาสนิกชนชาวอีสานโดยทั่วไปรู้จักเบญศีลกันเป็นอย่างดี อันเนื่องจากคำสอนของพระพุทธศาสนากับสุภาษิตอีสาน ซึ่งจะสอนให้รู้จักว่าความสำคัญของชีวิตมนุษย์นั้นจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องรักษาศีลให้มั่นคง ไม่ล้วงละเมิตในข้อบัญญัติเพราะว่าศีลเป็นสิ่งที่เลิศกว่าสิ่งใดในโลก ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดปัญญาตามมาในภายหลังแม้แต่เทวดาก็ยังชนะได้เพราะอำนาจของศีลและยังมีคุณลักษณะของศีลอีกอย่างคือมนุษย์เราถือตัวเองว่าประเสริฐสุดก็ตรงมีศีลและมีความละอายต่อบาปซึ่งเป็นเสมือนรั้วที่ป้องกันตัวเองดังมีพระพุทธภาษิต
“ศีลเท่านั้นเป็นเลิศในโลกนี้ ส่วนผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด ความชนะ
ในหมู่มนุษย์และเทวดา ย่อมมีเพราะศีลและปัญญา” …ศีลเป็นกำลัง
ที่ไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐ
สุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์ (ขุเถระ26/358
การรักษาศีลนั้นมีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นศีลห้าหรือศีลอุโบสถ ซึ่งลูกผู้ชายทุกคนควรจะตระหนักถึง ซึ่งจะทำให้ระบบทางสังคมหรือสังคมในครอบครัวมีแต่ความสันตุสุข แต่ถ้าหากว่าสังคมในโลกนี้ขาดศีลธรรมแล้วจะทำให้สังคมเกิดความวุ่นวาย ซึ่งจะมีปัญหาตามมาอีกมากมายเพราะการล่วงละเมิดในศีลขั้นมูลฐานคือศีลห้าให้มั่นคงดังสุภาษิตอีสานที่มีนัยตรงกับหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ว่า
“ ปาณานั้นบ่ให้ฆ่ามวลหมู่ชีวิต อทินนาบ่ให้ลักโลภของเขาแท้
กาเมบ่ให้หาเสพเล่นกามคุณผิดฮีต เจ้าของมีอย่าใกล้ให้หนีเว้นหลีกไกล
อันว่ามุสานั้นคำจาอย่าตั่วะหล่าย คำสัจจะมีเทียงมั่นระวังใว้ใส่ใจ
โตที่ห้าคือสุราปัญหาใหญ่ ฮอดเมรัยอย่าได้ใกล้มวลนี้สิบ่ดี
เสียสติจริงแท้กรรมเวรบ่ได้ปล่อย ความถ้อยฮ้ายสิไหลเข้าสู่ตัวฯ
“ไผถือศีลหมั่นไว้พุทโธย้องว่าดี ถือศีลดีแล้วเวรังให้เว้นหลีก
ไผจักชวนชักให้เป็นฮ้ายอย่ากระทำ ให้มีสัจจังตั้งถือศีลหมั่นเที่ยง
บ่มีได้เบี่ยงเลี้ยวบุญล้นยิ่งประมาณ เวรบ่มีตำต้องศีลธรรมอันประเสริฐ
เมื่อถื่อหมั้นศีลนั้นก็อยู่เต็ม ทั้งศีลห้าแปดนั้นโลกแต่งปางปฐมแท้ดาย
ในศีลธรรมเฮาหมั่นคณิงให้เห็นแจ้ง ชายนั้นเว้นชั่วให้เฮ็ดแต่ทางดี
อย่างประมาทศีลธรรมชาติชายสกุลกล้า ศีลห้าตั้งไว้ให้ใจตั้งต่อศีลแท้แล้ว”(มนัส
๕.๓ สรุปความเชื่อในคำสอนอีสานโดยภาพรวม
๑) กฎแห่งกรรม วรรณกรรมอีสานส่วนใหญ่มักจะเน้นเรื่องกฎแห่งกรรม คือทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ฉะนั้นจึงพบว่าสุภาษิตอีสานต่างก็ออกมาจากวรรณคดีอีสานทั้งสิ้น โดยเน้นให้เห็นถึงผู้มีความโลภ โกรธ หลง มักจะได้รับวิบากกรรมในบั้นปลายของชีวิต
๒) กฎแห่งสังสารวัฏ วรรณคดีอีสานส่วนมากจึงมักจะเสนอให้เห็นว่าการเวียนว่ายตายเกิดจะดีหรือเลวก็อยู่ที่ผลของกรรมที่ตัวเองทำทั้งสิ้น นั่นคือมนุษย์ที่เกิดในชาตินี้ย่อมเสวยผลของกรรมที่ตนเองทำไว้ในชาติปางก่อนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพระราชา หรือยาจก ตลอดถึงพระโพธิ์สัตว์ที่ลงมาเกิด กวีก็เน้นให้เห็นกรรมในอดีตชาตินั่นคือการถูกฝ่ายอธรรมรังแกจนต้องพลัดพรากจากพระนครไปแต่ผู้เดียว แต่สุดท้ายก็กลับมามีชัยชนะ
๓) กฎพระไตรลักษณ์ คือกวีมักจะเสนอให้เห็นถึงความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่งทั้งปวงในโลกนี้ย่อมตกอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอนั้นคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา วรรณคดีของอีสานก็จะสอนให้รู้ถึงความไม่เที่ยงเหล่านี้ ไว้เสมอ
๔) อำนาจ คือวรรณคดีอีสานบางเรื่องก็เน้นให้เห็นว่าธรรมชาตินั้นมีอำนาจเหนือมนุษย์ และสามารถให้คุณหรือให้โทษแก่มนุษย์ได้ มนุษย์ต้องมีความเกรงกลัวต่อวิญญาณที่สิงสถิตย์อยู่ในธรรมชาติเหล่านั้น เป็นระบบวิญญาณนิยมขึ้นมา โดยจะอยู่ในรูปของอมนุษย์ เช่น ครุฑ นาค ยักษ์ ท้าวมเหศักดิ์หลังเมือง หรือวิญญาณบรรพบุรุษ ฯลฯ
๕) เชื่อในชาติหน้า คือวรรณกรรมมีจุดหมายเพื่อสร้างความเชื่อเกี่ยวกับโลกและจักรวาล วรรณคดีอีสานจะดำเนินเรื่องอยู่กับโลกในเชิงจิตวิสัย นั่นคือ โลก สวรรค์ นรก เมืองบาดาล และโลกของพระศรีอารย์ และมีการสอดแทรกอยู่ในวรรณคดีอีสาน ดังนั้นแก่นเนื้องหาสาระของเรื่องจึงมักจะนำเอาหลักธรรมมาแทรกเอาไว้ด้วย เพื่อสั่งสอนคนให้ตั้งอยู่ในคุณงามความดี
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น