พิธีทำบุญการทำบุญเลี้ยงพระในงานอวมงคลเป็นการทำบุญที่ปรารถเหตุการตายเกิดขึ้นในครอบครัวมี ๒ ประเภท คือ งานทำบุญหน้าศพได้แก่การทำบุญในพิธีการทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน และการทำบุญอัฐิการทำบุญครอบรอบวันตาย เป็นต้น(สุเมธ) และเพลงลูกทุ่งมีการกล่าวถึงในเรื่องนี้ไว้น้อยมาก ตามที่ผู้ศึกษาได้ค้นพบ
พุทธศาสนิกชนไทย เมื่อถึงคราวสิ้นชีวิตลงจะต้องมีการนำศพไปบำเพ็ญกุศลที่วัดการสวดอาจจะตั้งไว้ ๓ คือบ้าง ๕ คืนบ้าง หรือมากกว่านั้นบทเพลงลูกทุ่งชื่อว่าวอนรักเป็นการแสดงออกของชายหนุ่มผู้ซึ่งมีรักไม่เสื่อมคลาย และอาลัยอาวรณ์หาคู่รักเมื่อฟังพระสวดกุสลาก็อดที่จะสะท้อนความรู้สึกไม่ได้ ดังบทเพลงว่า
“พระสวดกุสลา น้ำตาฉันเอ่อ ภาพเราสองคนนั้นเออ
ทำให้เพ้อทูนหัว เราสาบานรักต่อกันด้วยใจพันพัว วิญญาณ
น้องอย่าได้หวั่นไหว จะรักทูนหัวตลอดชาตินี้”
(วอนรัก : ขับร้องโดย ยอดรัก สลักใจ)
ถ้าผู้ตายมีบุตรหลานเป็นชาย บุตรหลานมักจะบวชให้ในวันเผาชาวบ้านเรียกว่า “บวชหน้าไฟ” (สุเมธ) เป็นการบภายในระยะอันสั้นเพื่อจะจูงศพเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันชาวพุทะก็มีความเชื่อว่าได้แสดงออกถึงความเป็นผู้กตัญญูกตเวทีเพราะบิดามารดาทั้งหลายย่อมหวังในตัวบุตรธิดาว่า
“เมื่อยามแก่หมายเจ้าเฝ้ารับใช้ เมื่อยามไข้หมายเจ้าเฝ้ารักษา
เมื่อยามถึงวันตายวายชีวา หวังเจ้าช่วยปิดตาคราสิ้นใจ”
สาระของบทเพลงลูกทุ่งที่กล่าวไว้อย่างสอดคล้องกับบทกลอนนี้ เช่น เพลงสามเณรกำพร้า ดังบทเพลงว่า
“สิ้นร่มโพธิ์โถน่าใจหาย อกเอ๋ยเหลือแต่ร่มไทร
ต้องกลายเป็นลูกกำพร้า ลูกขอลาบวชกรวดน้ำอุทิศไปหา
พ่อเป็นทหารกล้าตายเพื่อรักษาชาติเรา
ตัดสินใจโกนหัวบวชแล้ว จูงศพพ่อขึ้นสู่เมรุ ชีวิตของ
เณรแสนเศร้า โอ้ โอ คุณพ่อวันนี้จะต้องถูกเผา ร่างกายพ่อต้องเป็นเถ้าถูกไฟเผาแน่พ่อจ๋า..”
(สามเณรกำพร้า : สัมฤทธิ์ รุ่งโรจน์)
เมื่อเผาศพและเก็บอัฐิมาบ้านแล้วจะมีการทำบุญ ซึ่งกระทำแตกต่างกันไป บางคนทำบุญ ๗ วัน บางคนก็ทำในวันนำเย็น บังสุกุล และเทศน์(พูนพิศมัย) ในทางพระพุทธศาสนาสรรเสริญบุตรธิดาผู้ระลึกที่ทำแก่บุพการีบุคคลฉะนั้น บุตรธิดาเช่นนี้ เรียกว่า “โอวาทการี ภตโบสีบุคคลผู้ทำตามโอวาทบำรุงเลี้ยงท่านผู้ได้เลี้ยงตนหมา ดำรงวงศ์สกุลมิให้เสื่อมทราม เป็นคนมีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีลเป็นผู้อันบัณฑิตพึงสรรเสริญดังนี้
ในพระพุทธภาษิตนี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงความปรารถของบิดามารดาผู้เป็นบัณฑิตโดยสถาน ๕ ประการ คือ การเลี้ยงเป็นที่ ๑ การทำกิจเป็นที่ ๒ ดำรงศ์สกุลเป็นที่ ๓ ประพฤติตนสมควรเป็นทายาทเป็นที่ ๔ ทำบุญอุทิศให้ท่านเป็นที่ ๕ และบทเพลงกล่าวถึงการทำบุญหลังเก็บกระดูกอัฐิไว้ว่า
“...ลูกจะขอทำบุญเจ็ดวันนิมนต์พระเทศน์หนึ่งกัณฑ์
อุทิศผลทานหา ขอให้วิญญาณพ่อสู่สวรรค์ชั้นฟ้า
สามเณรกำพร้า จะทำบุญหาพ่อเอง
(สามเณรกำพร้า : สัมฤทธิ์ รุ่งโรจน์)
พิธีกรรมตามความเชื่อในประเพณีท้องถิ่นบางอย่างเกิดขึ้นเพราะความเชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะข้ามภพชาติได้ตามหลักศาสนาในชนบทนั้นบางที่ยังมีกองฟอน เพื่อสำหรับการเผาศพ ชาวบ้านจะต้องนำศพขึ้นกองฟอนแล้วเผา
ชาวชนบทมีความเชื่อว่า ขณะที่ไฟกำลังลุกโชนอยู่นั้น ญาติพี่น้องผู้ตายจะกลับก็มีธรรมเนียมชักฟืนออก ๓ ดุ้น แล้วจึงเดินหันหลังกลับแล้วห้ามเหลียวหลังอีก ฟืนติดไฟ ๓ ดิ้น ก็หมายถึง ไฟคือ โลภะ โทสะ โมหะ ผู้ใดมีอยู่ก็จะเดือดร้อน ยิ่งมีมากก็ยิ่งเผาผลาญผู้นั้นให้เร่าร้อนหาความสุขไม่ได้ ฉะนั้นจึงต้องชักออกไปเสียจากจิตจึงจะเป็นสุข ถ้าเพิกถอนเสียโดยสิ้นเชิงก็เป็นพระขีณาสพผู้ดับเย็น การห้ามเหลียวหลังเป็นการเตือนคนเป็นว่าอย่ากลับไปประพฤติสิ่งที่เป็นโลภะ โทสะ โมหะอีก(ผศ.สุเมธ)
บทเพลงลูกทุ่งได้บรรยายถึงการเศร้าโศกเสียใจเมื่อความพลัดพรากจากกันมาถึงการปรารถนาพบกันในชาติหน้าก็เป็นความเชื่อถือหรือการปลอบใจตนเอง ให้บรรเทาความทุกข์ลง เพราะการพลัดพรากจากกันด้วยการตายนั้นเป็นการจากที่ไม่มีวันกลับมาที่ไม่มีวันกลับมาจะได้เห็นหน้ากันอีกดังสุภาษิตว่า
“คนที่รักใคร่กัน ตายจากไปแล้ว ก็จะไม่ได้พบเห็น
กันอีก เหมือนคนตื่นขึ้น ไม่เห็นสิ่งที่พบในฝัน”(สุปิเนน)
ในเพลงสิ้นใจเมียนั้น กล่าวถึงการจากไปของเมีย และผัวก็รับภาระเลี้ยงลูกพร้อมทั้งยินดีจะบวชให้เมีย ดังบทเพลงว่า
“...มองเห็นศพน้องในกองฟอน เสียงพระสวดมนต์
อวยพร พี่แสนอาวรณ์อาลัย พี่ป้า,น้า,อา ต่างก็มีความเศร้าใจ
ลูกน้อยคร่ำครวญร้องไห้ มองเห็นควันไฟควันพุ่งขึ้นฟ้า
เมียเอ๋ยเมียข้าหากชาติหน้ามี จงมาเป็นเมียที่ดี
เป็นราณีผัวนี้ครั้งใหม่ ผัวจะถนอมลูกน้อยของเราเติบใหญ่
ขอบวชแทนคุณขวัญใจที่ลาลับไปสู่ในโลกา”
(สิ้นใจเมีย : บรรจง วรจักร์)
ประเพณีของคนไทยเรานั้น เมื่อญาติพี่น้องตายก็ต้องให้พบพระการนิมนต์พระในงานอวมงคล ก็ใช้พระตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป การตระเตรียมทุกอย่างในด้านพิธีกรรม ก็ใช้พิธีแบบพระพุทธศาสนา เช่น การปูลาดออาสนะสงฆ์ ถึงโต๊ะหมู่บูชา พร้อมทั้งเครื่องสักการะ เตรียมของต้อนรับพระและแขก เตรียมสายโยงหรือภูษาโยง ต่อจากโลงศพหรือที่เก็บอัฐิ ไม่มีการวางสายสิจญน์และหม้อน้ำมนต์และตระเตรียมอาหารคาวหวาน เป็นต้น
เมื่อพระมานั่งประจำที่ก็ประเคนของรับรอบได้เวลาแล้วเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยแล้วจุดที่หน้าศพ การสวดมนต์มาติกาบังสกุลแล้วถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนาเจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายเป็นพิธีทางพระพุทธศาสนาที่เรียกว่าศาสนาพิธีสืบต่อกันมา
การฟังพระสวดมนต์นั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สอนให้ผู้อยู่ข้างหลังได้มีสติและทำใจได้ เพราะบทสวดกุสลาเมื่อจะสรุปความแล้วก็คือหลักธรรมที่สอนชาวพุทธ แต่เพราะเป็นภาษาบาลีจึงไม่มีใครแปลออก
แต่ธรรมที่แท้จริง ย่อมสอนให้ญาติพี่น้องทำใจและคลายความโสกเศร้าเสียใจลงไปเพราะแม้นจะร้องไห้คร่ำครวญก็ไม่สามารถจะเรียกกลับคืนมาให้ ดังสุภาษิตที่มาในสัลลสุตร* (ตสฺมา) ว่า
“เพราะเหตุนั้น เมื่อสดังธรรมเทศนาของพระท่านแล้ว
ก็พึงระงับความคร่ำครวญร่ำไห้เสีย ยามเมื่อเห็นคนล่วงลับ
ดับชีวิตไปแล้วก็ให้กำหนดว่า เขาตายแล้ว เราจะให้เขาฟื้น
ขึ้นมาอีกไม่ได้”*(ตสฺมา)
บทเพลงลูกทุ่งมีกล่าวไว้เพียงหนุ่มผู้รักจริง คร่ำครวญถึงคู่รักผู้จากไปในเหตุการณ์ที่ฟังพระสวดกุสลาอยู่ เกิดสะท้อนความคิดถึงคู่รักของตนเองผู้ซึ่งจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย เพื่อตัดปัญหาจากโลกนี้ ดังบทเพลงว่า
“...เสียงพระสวดกุสลาธรรมา พ่อแม่พี่ป้าน้าเอาเศร้าใจ
หนักหนาโศกาโศกี เหตุการณ์ครั้งนี้เธอพร้อมยอมพลีทุกอย่าง
ขอให้วิญญาณของนาง จงมารับรู้อีกที เมื่อก่อนเป็นคน
เจ้าเคยลุ่มหลงเสียงพี่ ชีวิตดับลงเป็นผีฝากเพลงนี้ตอบแทน
น้ำใจ ไปสู่สุขาวดี ชาติหน้าถ้ามี ค่อยมาพบกันครั้งใหม่
รักจริงจากนางเมื่อพี่รู้ก็สายเกินไป แสนเศร้าเสียใจในการ
จากไปของจันทร์เพ็ญ”
(แด่ดวงวิญญาณจันทร์เพ็ญ : เฉลิมพล มาลาคำ)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น