วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

20.ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนพิธีกับผญาอีสาน 2

บุญพิธี
    การทำบุญในพระพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชนพากันปฏิบัติทั่วไป  ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นความพยายามองชาวพุทธที่จะปฏบัติตามคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในโอวาทปาฏิโมกข์  คือการทำความดีหรือบุญให้ถึงพร้อม  เพื่อเป็นการปูพื้นฐานแก่คุณธรรมที่สูงขึ้นไป
    พจนานุกรมฉบันราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า “บุญ” ว่าบุญคือเครื่องชำระสันดาน, ความดี , กุศล , ความสุข,
    อย่างไรก็ดี บุญนี้เมื่อว่าโดยความเป็นสาเหตุหรือเป็นชื่อของเหตุคือ ข้อปฏิบัติอันบุคคลจะต้องปฏิบัติ, ต้องทำ, ต้องบำเพ็ญ, ต้องเจริญ, ต้องประพฤติ เมื่อกล่าวโดยความเป็นผลหรือเป็นชื่อของผลบุญ  ก็คือความสุขอันเกิดแต่บุญ เช่น บุญส่งผลให้มีทรัพย์ มียศ มีผิวพรรณงดงามเป็นต้น  สมด้วยพุทธภาษิตที่มาในจตุตถปัณณาสก์  จตุกนิบาต  อังคุตตนิกาย  พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบถึงความแตกต่างกันของมนุษย์เป็นด้วยมูลเหตุดังข้อความว่า
“มัลลิกา  มาตุคามบางคนในโลกนี้  เป็นคนขี้โกรธ  มากด้วยความอึดอัด  ถึงถูกว่าเพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ  ก็โกรธก็ปองร้ายก็ตั้งตัวเป็นข้าศึกกระทำความโกรธ  ความฉุนเฉียว  ความไม่ดีใจให้ปรากฏ  ทั้งเข้าไม่ได้ให้ทาน  ข้าวน้ำ  เครื่องนุ่งห่มยานพาหนะ  ดอกไม้ของหอมเครื่องย้อมทา  ที่นอนที่อาศัย  ประทีปดวงไฟแก่สมณพราหณ์  ทั้งเป็นคนมีความริษยาคือไม่ยินดีต่อลาภสักการะความเคารพนับถือกราบไหว้บูชาที่ผู้อื่นได้  ถ้าเขาตายแล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก  เขาก็มีผิวพรรณรูปร่างไม่สวยงามทั้งเป็นคนยากจนขัดสน  มียศศักดิ์น้อย
    

            มาตุคามบางคนเป็นคนขี้โกรธ  มากไปด้วยความอึดอัด  ถูกว่าเพียงเล็กน้อยขัดใจก็โกรธ  ก็ปองร้ายก็ตั้งตัวเป็นข้าศึก  กระทำความโกรธ  ความฉุนเฉียวความไม่ดีใจให้ปรากฏ  แต่เขาได้ให้ทาน  ข้าวน้ำ  เครื่องนุ่งห่ม  ยานพาหนะ  ดอกไม้ของหอมเครื่องย้อมทา  ที่นอน  ที่อาศัย  ประทีปดวงไฟแก่สมณพราหมณ์  และไม่ความริษยาใคร  เวลาเขาตายแล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษย์  ก็มีผิวพรรณรูปร่างไม่สวยงาม  แต่เป็นคนมั่งมี  มียศศักดิ์มาก  บางคนเป็นคนไม่ขี้โกรธ  ไม่มากไปด้วยความอึดอัด  ถึงถูกว่ามากก็ไม่ขัดใย  โกรธ  ไม่ปองร้าย  ไม่ตั้งตัวเป็นข้าศึกไม่กรทำความโกรธ  ความโกรธ  ความฉุนเฉียว  ความไม่ดีใจให้ปรากฏ  แต่ไม่ได้ให้ทานข้าวน้ำ  เครื่องนุ่งห่ม  ยานพาหนะ  ดอกไม้ของหอม  เครื่องย้อมทา  ที่นอน  ที่อยู่อาศัย  ประทีปดวงไฟแก่สมณพราหมณ์เลย  ทั้งมีความริษยา  ไม่ยินดีต่อลาภสักการะ  ความเคารพนับถือความกราบไหว้บูชาที่ผู้อื่นได้  ถ้าเขามาเกิดเป็นมนุษย์นี้อีก  เขาก็มีรูปร่างผิวพรรณวรรณะสวยงาม  แต่ยากจนขัดสน  มียศศักดิ์น้อย  มาตุคามบางคนเป็นคนไม่ขี้โกรธ  ไม่มากไปด้วยความอึดอัด  ถึงถูกว่ากล่าวมากก็ไม่ขัดใจ  ไม่โกรธ  ไม่ปองร้าย  ไม่ตั้งตัวเป็นข้าศึก  ไม่กระทำความโกรธ  ความฉุนเฉียว  ความไม่ดีใจให้ปรากฏ  ทั้งได้ให้ทานข้าวน้ำ  เครื่องนุ่งห่มยานพาหนะ  ดอกไม้ของหอม  เครื่องย้อมทา  ที่นอน  ที่อาศัย  ประทีปดวงไฟ  แก่สมณพรหมณ์  และไม่มีความริษยาผู้อื่น  ถ้าเขามาเกิดเป็นมนุษย์นี้อีกเขาก็มีรูปร่างผิวพรรณสวยงาม  เป็นคนมั่งมี  เป็นคนมียศศักดิ์มาก ฯ 
       อันนี้แหละมัลลิกาเป็นเหตุ  เป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนมีรูปร่างผิวพรรณวรรณะไม่สวยงาม  เป็นคนยากจนขัดสน  มีทรัพย์ยศน้อยให้มาตุคามบางคนมีรูปร่างผิวพรรณไม่สวยงาม  แต่มั่งมี  มียศศักดิ์มาก  ให้มาตุคามบางคนมีรูปร่างผิวพรรณสวยงาม  แต่ยากจนขัดสน  ไม่มียศศักดิ์  ให้มาตุคามบางคนมีรูปร่างผิวพรรณสวยงามด้วย  มั่งมีด้วย  มียศศักดิ์มากด้วย
       เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสอย่างนี้แล้วพระนางมัลลิการาชเทวีก็ทูลว่า  เมื่อชาติก่อนหม่อมฉันคงเป็นคนคนไม่ขี้โกรธ  มาชาตินี้จึงไม่สวยงาม  เมื่อชาติก่อนหม่อมฉันคงได้ให้ทานไว้  มาชาตินี้หม่อมฉันจึงมีทรัพย์สมบัติมาก  เมื่อก่อนหม่อมฉันคงไม่ได้ริษยาใคร  มาชาตินี้จึงมียศศักดิ์มาก  ถึงหม่อมฉันเกิดในตระกูลต่ำ  ไม่ใช่ตระกูลกษัตริย์พราหมณ์คฤบดีหม่อมฉันก็ยังได้เป็นใหญ่กว่านางกษัตริย์  นางพราหมณ์  นางคฤบดีอีก  นับแต่วันนี้ไปหม่อมฉันจะไม่ขี้โกรธจักยินดีถวายทาน จักไม่ริษยาใคร  พระเจ้าข้า  พระไตร/21/275
   

บางครั้งคำว่าบุญ ก็ใช้คู่กันกับคำว่า “บุญกุศล” ก็มีเป็น “บุญกิริยา” ก็มี และใช้เป็นกรณียกิจคือกิจอันพึงกระทำก็มี  แม้จะใช้คู่กันกับคำอื่นดังกล่าวมา  แต่ความหมายก็คงไม่ผิดแผกแตกต่างกันออกไปเท่าไรนัก  คงหมายถึงความดีอันเป็นเครื่องยังจิตใจ กาย วาจาของผู้ประพฤติปฏิบัติให้สะอาดหมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง
    คำสอนอีสาน  กล่าวถึงวิธีการทำบุญไว้อย่างมากมายและสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชาวอีสานที่ยังมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  คำสอนเหล่านี้ได้สะท้อนถึงแนวความเชื่อของคนในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี  ตลอดถึงคติธรรมต่างๆที่กล่าวสอนให้รู้ว่าบาปบุญ นรกสวรรค์ไว้อย่างมากมาย  สำหรับในเรื่องนี้มักจะเน้นพิธีอันเกิดจากอิทธิพลทางวรรณกรรมในพระพุทธศาสนาที่ส่งผลให้เกิดพิธีกรรมต่างๆ เช่น การบวช การทำบุญตักบาต ในเทศกาลต่างๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ ทอดผ้าป่า กฐิน สงกรานต์ ลอยกระทงเป็น
 

  ๑.๒.๑  การบำเพ็ญบุญที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสาน
    วัดเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้หรับชาวบ้าน  ความยึดมั่นในพระพุทธศาสนามาเช่นนี้สังคมเมืองหลวงปัจจุบันลดน้อยลงไป  แต่ในชนบทยังคงมีความผูกพันกันวัดอย่างใกล้ชิด  เพราะในสังคมชนบทเป็นสังคมเกษตรกรรม มีวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายไม่ต้องการความหรูหรา  ฟุ่มเฟือยมากมายอะไร  ซึ่งก็เป็นผลมาจากคำสอนในพระพุทธศาสนาที่สั่งสอนให้คนเรารู้จักคำว่าพอเพียงแก่ฐานะของตนเอง  คือมีความมักน้อยสันโดษตามมีตามได้แห่งตนเอง
(…ใสสุภาษิตไป)
สำหรับสังคมชาวอีสานโดยทั่วไปมีประเพณีประจำท้องถิ่นที่พากันยึดถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่ในอดีตจนกระทั้งถึงปัจจุบัน ชาวอีสานรู้จักกันดีว่า ฮีตสิบสองครองสิบสี่(จารีตประเพณีทำบุญสิบสองเดือน) 
   
๑) พิธีทำบุญมงคล
    ในสังคมชนบทวันธรรมสวนะหรือวันพระเป็นเสมือนตารางเรียนของชาวพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปเพราะเป็นการกำหนดตายตัวแน่นอนว่า  เมื่อถึงวันธรรมสวนะ  พุทธศาสนิกชนจะต้องหยุดงานประจำวันแล้วพากันไปวัด  เพื่อทำบุญกุศล คือการรักษาศีลและฟังธรรม เรียกว่าบุญพิธี  เพื่อทำกาย  วาจา และใจให้สงบ  และขัดเกลากิเลสให้เบาบางลง  บางคนก็ได้รับการพัฒนาจิตใจสูงขึ้นจนเกิดศรัทธาอาจหาญ  สามารถละโลกียสุขเสียได้  อันเป็นไปเพื่อหิตประโยชน์  คำสอนในของชาวอีสานนั้นมักจะแสดงออกถึงการการบำเพ็ญบุญในลักษณะต่างๆซึ่งมีคำสอนโบราณอีสานที่คุณย่ามักจะกล่าวสอนลูกหลานเสมอๆให้รู้รักทำบุญรักษาศีลว่าจะมีอานิสงส์มากซึ่งจะส่งผลให้ถึงฝั่งพระนิพพานได้ดังคำสอนว่า
    “บัดนี้ย่าสิพาพวกเจ้าตกแต่งกองบุญ    มื้อนี้เป็นวันศีลเวียกเฮาเซาไว้
    ย่าสิไปไหว้ยาครูสังฆราชเจ้า        ไปตักบาตรแลหยาดน้ำฟังเจ้าเทศนา
    ไปฮักษาศีลสร้างภาวนานำเพิ่น        ให้พวกเจ้าพี่น้องจำไว้ย่าสิสอน
    เพิ่นว่าวันศีลนั้นให้ทำบุญตักบาตร    คันผู้ใดอยากขึ้นเมืองฟ้าให้หมั่นทาน
    ให้หมั่นทำขัวข้วมยมนาให้ม้มฝั่ง    หวังนิพพานไจ้ไจ้ปานนั้นจิ่งเผื่อพอ”106
หรืออีกนัยหนึ่งที่ชาวอีสานมักจะเห็นความสำคัญของพระศาสนามาก  ถึงกับว่าจะไปที่ไหนจะต้องฝากให้ผู้อยู่บ้านได้ช่วยดูแลส่งอาหารแก่พระสงฆ์ผู้อยู่วัด  อย่าปล่อยให้ท่านไม่ได้ฉันภัตตาหารเพล  การไปวัดของชาวบ้านมักจะเรียกว่าไปจังหัน  ก็คือการนำอาหารไปถวายพระสงฆ์ ดังคำสอนที่ว่า
    “คันแม่นเจ้าไปบ้านใต้ขอฝากห่อเกลือ      คันแม่นเจ้าไปบ้านเหนือของฝากห่อข้าว
      คันเจ้า    อยู่บ้านขอฝากจังหัน   พร้อมทั้งของพาเพลแก่หมู่สังโฆเจ้า   คันแม่นทุกข์ยากฮ้ายขอฝาก    แลงงาย   บ่ฮอนลืมศีลธรรมหมั่นเพียรฮักษาไว้  บ่ฮอนไลลืมถิ่มครองธรรมศีลเก่า  ครอง    พระพุทธเจ้าเฮาได้สั่งสอน  แม่นสิท่วมและแล้งปากแหว่งบ่สมบูรณ์  ประเพณีเฮาทำบุญ    พ่อแม่เฮาบ่เคยถิ่ม  เอาความดีเป็นลิ่มสลักใจให้ชมซื่น  สามัคคีกันยึดไว้บ่เคยถิ่มฮีตครองมุยๆฆ้องสังโฆป่าวประการความดี  ยามวันศีลวันพระบาปบุญให้หวนฮู้  พวกผู้ญ่าครูเฒ่าปฏิบัติธรรมเพียรพร่ำ  เป็นผู้นำส่องให้จิตได้แจ่มใส
จากลักษณะคำสอนของชาวอีสานสะท้องถึงความห่วงพระศาสนามาก  กลัวว่าพระสงฆ์จะลำบากสะท้อนให้เห็นประเพณีวัฒนธรรมที่พ่อแม่รักษาพระศาสนามาให้ได้  และยังมีการบำเพ็ญบุญกุศลแก่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี การทำบุญนี้อาจจะแยกประเภทได้เป็น ๒ ประเภทคือ พิธีทำบุญมงคล และพิธีทำบุญอวมงคล    พิธีทำบุญในงานที่เป็นมงคลนี้  ส่วนใหญ่ชาวพุทธจะรู้จักและเข้าใจพิธีกรรมอยู่แล้ว  เพราะโดยทั่วๆไปก็มีหลักบุญกิริยาวัตถุ คือ
    ทานมัย        บุญสำเร็จด้วยการให้ปันสิ่งของเป็นทาน
    สีลมัย        บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
    ภาวนามัย    บุญสำเร็จทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือการฝึกอบรมจิตใจ
    ตามนัยแห่งการทำบุญสามแบบนี้  การทำบุญซึ่งเป็นหลักบำเพ็ญความดีและทำในกรณีต่างๆกันตามเหตุที่ปรารภจึงเกิดพิธีกรรมขึ้นหลายประการเมื่อพิธีกรรมใด  เป็นที่นิยมและรับรองปฏิบัติสืบๆกันมาจนเป็นประเพณี  พิธีกรรมนั้นก็กลายเป็นศาสนาพิธีขึ้น (….) วรรณคดีอีสานได้กล่าวถึงพิธีทำบุญงานคลอยู่หลายเรื่อง  ส่วนมากจะเป็นฮีตสิบสองเดือนซึ่งเป็นประเพณีวัฒนธรรมของชาวอีสาน
    
    วรรณกรรมคำสอนอีสาน  สะท้อนให้เห็นถึงการยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนา  มีศรัทธาจึงต้องทำบุญตักบาตรทุกวันเมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนาก็จะพากันเข้าวันทั้งข้าราชการและประชาชนทั่วไป ตลอดถึงหนุ่มสาวก็มีโอกาสได้ไปทำบุญและอธิษฐานรักด้วยกันและสอนให้รู้จักฟังธรรมด้วยใจศรัทธาอย่าไม่เล่นหูเล่นตากับชายหนุ่มเดียวบุญไม่ได้เต็มที่
    ยามเมื่อมหาเณรน้อยตั้งสูตรมหาชัย    ให้เจ้ายอกระพุ่มมือใส่หัวประสงค์น้อม
    ผายแผ่บุญโตสร้างสนองคุณพ่อแม่    อย่าได้เห็นแก่เว้าเชิงชู้สวากเสน่ห์
    คำปากยังกล่าวต้านเรียกว่าเอาบุญ        ใจเล่ายังพาโลกล่าวคำเซิงชู้
    บุญบ่มีหวังค้างคาตัวพอถองคีงแล้ว    อาบน้ำเจ้าบ่ตั้งต่ออันนั้นใจวอนแวนรีบ
    เอาบุญมาค่ำว่าได้บาปร้ายกรรมต้องตื่มเลิง

    เมื่อมีการทำบุญก็จะได้มีการบูชาเคารพพระรัตนตรัย  พระรัตนตรัยนั้นเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวที่ลึกซึ้งที่สุดในทางจิตใจ  เมื่อเราเข้าถึงพระรัตนตรัยแล้ว  จิตใจก็จะมีความเข็มแข็งมีศรัทธาแรงกล้าในการสร้างความดีต่อๆไปอีก ซึ่งบุญจะส่งผลให้เกิดความสงบร่มเย็นขึ้นแก่ตนเอง
    อันนี้เป็นบุญแท้ของเฮาให้ตั้งต่อหลายเอย    คันว่าบุญบ่ให้เขาสิใช้แต่เฮา
    บุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น                คอยแต่บุญมาค้ำบ่ทำการมันบ่แม่น
    คอยแต่บุญส่งให้มันสิได้ฮ่อมใด            คือจั่งเฮามีข้าวบ่เอากินมันบ่อิ่ม
    มีลาบคันบ่เอาข้าวคุ้ยทางท้องก็บ่เต็ม107

bandonradio

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons