วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

:การดำเนินชีวิตตามนัยแห่งผญาคำสอนอีสาน :บ้านดอนเรดิโอ

๒.๒ การดำเนินชีวิตตามนัยแห่งผญาคำสอนอีสาน

               คำสอนทุกประเภทก็ย่อมมีจุดหมายเพื่อสั่งสอนให้คนประพฤติดีละเว้นการกระทำชั่ว คำสอนที่ปรากฏมากที่สุดในคำผญาอีสานมีลักษณะเป็นการสั่งสอนศีลธรรมและนั่นเอง ต่างแต่ว่าในนักปราชญ์นั้นมีกุศโลบายอย่างใดที่จะทำให้คนไม่รู้ว่าตนเองถูกสั่งสอน โดยธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนย่อมไม่ยอมรับว่าตนเองประพฤติไม่ดีกันทั้งนั้น ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆเหล่านี้เองนักปราชญ์ชาวอีสานจึงได้นำคำสอนในเชิงศีลธรรมในทางศาสนานำมาปรับให้เข้ากับอุปนิสัยของคนจึงเกิดเป็นคำร้อยกรอง เพื่อให้กะทัดรัด สะดวกต่อการจดจำหรือผูกเป็นเรื่องๆนิทานธรรมไป วรรณกรรมคำสอนเหล่านี้บ้างครั้งพระสงฆ์ก็นำมาเทศน์สอนประชาชนในงานชุมนุมต่างๆโดยนำเอาคำผญาภาษิตเป็นคติพจน์แก่ชาวบ้านเป็นต้น

            คำสอนที่เป็นผญาภาษิต มีลักษณะเหมือนกับโคลงโลกนิติ สุภาษิตสอนหญิงของภาคกลาง จำนวนภาษิตของวรรณกรรมคำสอนเหล่านี้จะอยู่ในความทรงจำของชาวอีสานเสมอมายิ่งผู้สูงอายุเกือบทุกคนจะทราบว่าวรรณกรรมคำสอนมาจากนิทานธรรมเรื่องใด วรรณกรรมคำสอนเหล่านี้นั้นมีอิทธิพลต่อแนวความเชื่อของคนอีสานตั้งแต่อดีตและปัจจุบัน บางครั้งก็ยังนิยมนำมาสอนลูกหลานอยู่เสมอมา ดังนั้นผญาคำสอนนี้เป็นดังแสงประทีปที่ส่องแสงสว่างให้ชาวอีสานตลอดมา ผญาคำสอนนี้ในภาคอีสานอิทธิพลอย่างมากและไม่น้อยไปกว่าวรรณกรรมทางพุทธศาสนาและชาวบ้านจะเชื่อฟังคำสอนในวรรณกรรมเหล่านี้เป็นประดุจดังกฏหมายของบ้านเมืองก็มีไม่น้อย ในบางท้องถิ่นจึงยังปรากฏว่าสภาพสังคมในชนบทของอีสานนั้นอยู่กันอย่างสันติสุขแบบพึงพากันเองช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีธุระสิ่งใดที่จะต้องช่วยกันก็จะขอแรงกันมาช่วยเหล่านี้เป็นกิจนิสัยของชาวชนบทอีสานอย่างแท้จริง

                ผญาภาษิต หมายถึงคำสอนที่แฝงคติธรรม ซึ่งเป็นถ้อยคำมีนัยเชิงเปรียบเป็นอุปมาอุปไมย เพื่อให้ผู้ฟังหรืออ่านตีความหมายเองเองเช่นเดียวกับคำสุภาษิตภาคกลาง ซึ่งผู้ที่ได้ยินได้ฟังสามารถนำไปประพฤติในทางดีงามหรือที่ถูกที่ควรได้ ดังตัวอย่างนี้ “ ทุกข์ยากไฮ้ขอขอดแลงงาย อย่าสุลืมคำสัตย์เที่ยงจริงคำมั่น” ( ทุกข์ยากไร้เพียงใดก็อย่าลืมคำสัตย์ คำจริง คำมั่นสัญญา) การช่วยเหลือกันในยามทุกข์ยากนั้นย่อมมีคุณค่ามากกว่าช่วยเหลือกันในยามร่ำรวยมิตรที่ดีก็มารู้ในคราวที่มิตรลำบากนี้เอง คนดีหรือไม่ดีก็ดูได้ในเวลามีภัยนี้เอง ซึ่งเป็นคุณธรรมสูงสุดที่ช่วยคำจุนโลกมนุษย์ให้มีความผาสุขร่มเย็นได้ ทั้งยังเป็นเครื่องวัดได้ว่าคนเมื่อมีธรรมประจำใจย่อมประเสริฐกว่ามีทรัพย์ภายนอกตั้งมากหมาย ส่วนความลำบากที่เกิดเพราะความขาดแคลนอาหารนั้นยังพอทนได้ สุภาษิตนี้เน้นให้เห็นถึงความชื่อสัตย์สุจริตยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดเป็นหลักการและวิธีการต่างๆที่ช่วยให้คนมีคุณธรรมและจริยธรรมเพิ่มมากขึ้น ตลอดถึงให้เลิกละความเป็นทาสภายในใจตนเองนั้นคือ ความเห็นแก่ตัว ให้มองเห็นความดีของคนอื่นในสังคม ความรัก ความสามัคคีกัน การไม่เบียดเบียน การเสียสละมีเมตตาต่อกัน ส่งเสริมระบบสังคมสงเคราะห์ให้คนอยู่ด้วยกันด้วยความเอื้อเฟื้อเผื้อแผ่ไม่เอาเปรียบกัน การพึ่งพาอาศัยกันไม่ว่าชายหรือหญิง ไพร่ผู้ดีมีหรือจนต่างต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน คนรวยก็ช่วยเหลือคนจนด้วยการแบ่งปัน ผู้ใหญ่ก็ช่วยเหลือเด็กด้วยการคุ้มครองป้องกัน ท่านอุปมาไว้เหมือนดังน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า

                ดังคำผญาคำสอนอีสานว่า มวงพี่น้อง ต้องเพิ่งพากัน คราวเป็นตาย ช่วยกันปองป้าน ยามมีให้ ปุนปันแจกแบ่ง คราวทุกข์ใฮ้ ปุนป้องช่วยปอง เทียมดังดงป่าไม้ ได้เพิ่งยังเสือ คนบ่ไปฟังตัด คอบเสือเขาย้าน เสือก็อาศัยไม้ ในดงคอนป่า ฝูงหมู่คนบ่ฆ่า เสือได้คอบดง๙ เนื้อหาแห่งคำสุภาษิตอีสานที่มุ่งจะสอนให้ชาวอีสานนั้นเข้าใจชีวิตว่ามีการเปลี่ยนแปลงไม่อยู่ในอำนาจของบุคคลใด คือมนุษย์มีความเกิดแก่เจ็บตาย เป็นกฎแห่งธรรมดา พร้อมทั้งสอนให้รู้จักทำช่วยเหลือตนเองเป็นหลักสำคัญ ความขยันหมั่นเพียรไม่เกียจคร้านในการทำงานและให้รู้จักอดอ้อมทรัพย์ไว้ใช้ในคราวจำเป็น เพราะการครองเรือนที่มีความสุขได้ต้องมีทรัพย์เป็นเครื่องค้ำจุน ให้รู้จักการผูกมิตรไมตรีต่อกันจะได้เป็นเกาะป้องกันความเสื่อมด้วยและจะได้ช่วยกันในยามทุกข์ สั่งสอนให้รู้จักทำงานอย่ารอคอยโชควาสนา ความมั่งมีหรือยากจนนั้น ความรวยหรือจนนั้นเป็นของกลางๆไม่เป็นของใครโดยตรงอยู่ที่ว่าใครจะนำเอาโอกาสนั้นๆมาเป็นประโยชน์ให้แก่ตนเอง ซึ่งมีคำผญาสอนว่า อันหนึ่งครั้นอยู่บ้าน หรือถิ่นแดนใด ครั้นเฮาทำความดี โชคชัยมีหั้น ครั้นเฮาหนีจากบ้าน ไปเนาในอื่น ครั้นเฮาฮีบก่อสร้าง ชัยนั้นแล่นเถิง ส่วนว่าคนขี้คร้าน แม้นอยู่ในใด เถิงจักนอนกองเงิน ช่างตามคำแล้ว มื้อหนึ่งเขาจักต้อง หากินดอมไก่ แลเล่านอนสาดเหี้ยน เม็นน้อยไต่ตอม

           ๑๐ ความอดทนต่อสู้กับความลำบากต่างๆเพื่อเอาชนะอุปสรรคทั้งหลายนั้นเป็นที่รู้กันดีในสายเลือดชาวอีสานเพราะอิทธิพลของคำสอนเหล่านี้เองเป็นแก่นสารที่ช่วยให้ชาวอีสานไม่เป็นคนอ่อนแอ และขณะเดียวเมื่อมีความสุขก็อย่าได้หลง ให้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ชีวิตจึงจะพบกับความสุข ดังนั้นสุภาษิตอีสานก็ยังพยายามให้คนรู้จักรักษากายวาจาและใจของตนให้เป็นปกติ หลักการปกครองในระดับท้องถิ่นหรือในระดับประเทศควรมีคุณธรรม กล่าวคือให้รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น อย่ามีอคติต่อกัน เจ้านายก็ให้รู้จักใช้บ่าว ตลอดถึงการรู้จักเลือกคบกับมิตรที่ดี เว้นบาปมิตร เว้นพาลชน เพื่อความก้าวหน้าแห่งตน และสอนให้รู้จักแบ่งปันกันเพื่อความผาสุขแห่งสังคมและอย่าได้ก่อศัตรูขึ้นมาโดยถือว่ามนุษย์ทุกคนไม่มีดีที่สมบูรณ์ แต่ให้มองหาความดีของผู้อื่น และสอนให้รู้เท่าทันกับโลกธรรม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะได้ไม่เป็นทุกข์ และต้องประโยชน์สุขแก่มหาชน ปรัชญาพื้นฐานของนักปกครองที่ดีหวังความสุขต่อส่วนรวมนั้นควรเว้นจากการมีอคติสี่ตลอดถึงให้ระงับความโกรธต่างๆด้วย ยิ่งเป็นข้าราชการควรคำนึงมาก ดังคำสอนนี้ อันว่าจอมราชาเหมือนพ่อคิงเขาแท้จิ่ง ให้ไลเสียถิ้มอะคะติทั้งสี่ พญาเอย โทสาทำโทษฮ้ายโกธากริ้วโกรธแท้เนอ จงให้อินดูฝูงไพร่น้อยชาวบ้านทั่วเมือง ชาติที่เป็นพญานี้อย่ามีใจฮักเบี่ยงพญาเอย อย่าได้คึดอยากได้ของข้าไพร่เมืองเจ้าเอย ละอะคะติสี่นี้ได้จึงควรสืบเสวยเมือง ทงสมบัติครองเมืองชอบธรรมควรแท้

               ๑๑ นักปรัชญาอีสานมีทรรศนะต่อชีวิตอย่างไรนั้น ถ้านำหลักทางจริยธรรมมากล่าวก็จะสามารถมองถึงพื้นฐานของชีวิตได้เป็นอย่างดี นั้นคือทุกชีวิตควรกระทำอย่างไรจึงจะมีความสุข ยิ่งกว่านั้นควรมองว่าชีวิตควรประพฤติอย่างไรจึงจะพบกับความสุข นั้นเป็นปัญหาเชิงญาณวิทยาจะต้องแสวงหาความรู้มาเป็นคำตอบ แต่ปรัชญาชาวบ้านนั้นมักจะมองถึงความสัมพันธ์สิ่งที่จะต้องเว้นให้หางมากกว่าชึ่งปรากฏในปรัชชาวอีสานเว้นจากสิ่งที่เป็นบาปกรรม คือให้รักษาศีลห้า ดังคำสอนนี้ คือว่าปาณานั้นบ่ให้ฆ่ามวลหมู่ชีวิต อทินนาบ่ให้ลักโลภของเขาแท้ กาเมบ่ให้หาเสพเล่นกามคุณผิดฮีต เจ้าของมีอย่าใกล้ให้หนีเว้นหลีกไกล อันว่ามุสานั้นคำจาอย่าตั่วะหล่าย คำสัจจะมีเที่ยงมั่นระวังไว้ใส่ใจ โตที่ห้าคือสุราปัญหาใหญ่ ฮอดเมรัยอย่าได้ใกล้มวลนี้สิบ่ดี เสียสติจริงแท้กรรมเวรบ่ได้ปล่อย ความถ้อยฮ้ายสิไหลเข้าสู่ตัว นั้นเป็นขั้นมูลฐานของชีวิตจริงๆ ซึ่งชนชาวอีสานยังดำรงยึดมั่นในคำสอนเหล่านี้อยู่อย่างดีคำสอนเหล่านี้มุ่งเน้นให้เห็นถึงความสุขขั้นพี้นฐานของชีวิตทุกขีวิตที่เกิดร่วมกันในโลกนี้ ทุกสังคมย่อมมีปัญหามากน้อยต่างกันไปเหตุปัจจัย ดังนั้นสังคมที่ปรากฏในภูมิปรัชญาชาวอีสานยังชี้ไปให้ลึกถึงแก่นของสังคมนั้นคือ อิทธิพลของหลักธรรมในพุทธศาสนาที่ค่อยสะสมขึ้นจนเปี่ยมล้นอยู่ในสายธารศรัทธาของชาวไทยอีสาน แล้วตกตะกอนเป็นแรงศรัทธาที่ซึมซับเอิบอาบจนกลายเป็นจิตนิสัย และบุคคลิกภาพของพุทธศาสนิกชนที่เคารพต่อพระรัตนตรัยอย่างลึกซึ่ง ดังสุภาษิตอีสานว่า ศีลกับธรรมพาเฮาดีได้ ควรตัดสินใจน้อมเข้าเพิ่ง รัตนะ พระไตรหน่วยแก้ว แนวพายั้งอยู่ซุ่มเย็น ไผบ่อถือศีลธรรมวางถิ่ม เป็นคนเสียชาติเปล่า ไผบ่อเซื่อธรรมพระพุทธเจ้า ตายถิ่มค่าบ่มี

              ๑๒ โดยเฉพาะบุคคลผู้ที่ได้ผ่านการบวชเรียนมาแล้วจนมีภูมิธรรมซึ่งวัดเป็นผู้ถ่ายทอดมาให้จนสามารถสร้างสรรงานด้านปรัชญาธรรมในพุทธศาสนามาเป็นปรัชญาท้องถิ่นได้ จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมพุทธศาสนาทรงอิทธิพลต่อสังคมชาวอีสานอย่างลุ่มลึกและสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน กวีชาวอีสานได้ผลิตผลงานต่อสังคมและได้นำเอาคติทางพุทธศาสนามาผสมผสานกันอย่างสนิทแนบแน่นจนกลายเป็นเอกลักษณ์ อิทธิพลเหล่านี้จึงค่อยๆซึมซับมาตามสายธารทางปรัชญาจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวอีสาน ผญาคำสอนภาคอีสานนั้นมักจะเน้นให้คนรู้ถึงทางเสื่อมอีกอย่างที่ควรเว้นให้ห่างไกลถ้าต้องการที่จะพบความสุข คืออบายมุขซึ่งในพุทธภาษิตก็สอนว่าเป็นทางของความเสื่อม ปรัชญาอีสานก็มองเห็นเช่นกันว่าจริงทุกประการ “อย่าได้มัวเมาเล่นการพนันเบี้ยโบก ลางเทื่อโชคบ่ให้ถงเป้งสิขาดกลาง” (82 ของเก่าบ่เล่ามันลืม ) ถ้าใครหลงเข้าไปเกี่ยวข้องแล้วย่อมมีแต่เสื่อมโดยถ่ายเดียว ดังคำกลอนสุภาษิตอีสานว่า

                     อันว่าการพนันนี้มันอัปปีจังไฮใหญ่ ทางหลวงเผิ่นกะห่ามทางเจ้าเพิ่นหากเตื่อน

                    คันแม่นหลวงจับได้พาเสียเงินเกินขีด บ่อแม่นเสียถ่อนนั้นมันเสียหน้าตื่มนำหลานเอย

                 คันว่าในธรรมเจ้าองค์พุทโธเผิ่นแยงโลก เฮาบ่มีดีสังดอกเจ้าการพนันเล่นถั่ว มีแต่ชั่วอ้อยต้อย           บ่ควรเล่นแม่มันดอกนา...มันชวนให้ใจกล้าขะโมยกินของท่าน คันแม่นลักได้แล้วผัดมาเล่นต่อไป มันบ่มีทางได้การพนันมีแต่ขาด บ่มีบาดสิได้เงินล้านเข้าใส่ถงดอกนา...อันนี้มันหากแม่ความฮ้ายทางธรรมพระเจ้ากล่าว ให้พวกเฮาหิ่นฮู้แล้วเซาเล่นต่อไป คันสิว่าเสียเงินแล้วเฮือนซ้ำเสียต่อ ลางเถื่อเสียเมียพร้อมนำย้อนฆ่ากัน ๑๓ หลักธรรมเหล่านั้นกวีมักจะสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวพุทธและจารีตประเพณีของอีสานด้วย โดยมีหลักธรรมดังนี้คือ กฎแห่งกรรม คำสอนอีสานส่วนใหญ่มักจะเน้นเรื่องกฎแห่งกรรม โดยเน้นให้เห็นถึงผู้มีความโลภ โกรธ หลง มักจะได้รับวิบากกรรมในบั้นปลายของชีวิต กฎแห่งสังสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเกิดจะดีหรือเลวก็อยู่ที่ผลของกรรมที่ตัวเองทำทั้งสิ้น นั่นคือมนุษย์ที่เกิดในชาตินี้ย่อมเสวยผลของกรรมที่ตนเองทำไว้ในชาติปางก่อนทุกคน กฎพระไตรลักษณ์ คือกวีมักจะเสนอให้เห็นถึงความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่งทั้งปวงในโลกนี้ย่อมตกอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอนั้นคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะสอนให้รู้ถึงความไม่เที่ยงเหล่านี้ไว้เสมอ อำนาจ

                           คือธรรมชาติฝ่ายต่ำของมนุษย์อีกอย่างหนึ่ง ที่สามารถให้คุณหรือให้โทษแก่มนุษย์ได้ ถ้านำอำนาจไปใช้ในทางที่ผิดศีลธรรมย่อมส่งผลต่อมนุษย์ ดังนั้นนักปรัชญาอีสานจึงต้องมีการสอดแทรกคติธรรมในการใช้อำนาจ ของตนเองให้อยู่ในกรอบประเพณีวัฒนธรรมซึ่งจะพบมากในคลองสิบสี่ซึ่งเป็นธรรมเนียมการปกครองดังเดิมที่ชาวอีสานพยาสอนลูกหลานให้เข้าใจถึงหลักการเมืองการปกครองควรยึดหลักธรรมเป็นวิสัยทัศน์ในการดำรงตำแหน่ง เชื่อในชาติหน้า คือวรรณกรรมมีจุดหมายเพื่อสร้างความเชื่อเกี่ยวกับโลกและจักรวาล วรรณคดีอีสานจะดำเนินเรื่องอยู่กับโลกในเชิงจิตวิสัย นั่นคือ โลก สวรรค์ นรก เมืองบาดาล และโลกของพระศรีอารย์ และมีการสอดแทรกอยู่ในผญาภาษิตอีสาน ดังนั้นแก่นเนื้องหาสาระของสุภาษิตจึงมักจะนำเอาหลักธรรมมาแทรกเอาไว้ด้วย เพื่อสั่งสอนคนให้ตั้งอยู่ในคุณงามความดี ลักษณะทางเนื้อหาของคำผญาภาษิตสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆได้ดังนี้คือ

บ้านดอนเรดิโอ

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons