วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

bandonradio

ผญาอีสานโดยสังเขป Phaya Esan

ภูมิหลัง
วิถีชีวิตของคนแต่ละท้องถิ่นในปัจจุบันย่อมมีพื้นฐานมาแต่อดีต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือถูกเรียกขานว่าภาคอีสาน  เมื่ออดีตนั้นได้อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านช้าง  ซึ่งเป็นอาณาจักรอ้ายลาวเมื่อก่อนเจริญรุ่งเรืองมาในอดีต  โดยมีอาณาเขตแผ่มาครอบคลุมตลอดดินแดนภาคอีสานในปัจจุบัน  อาทิเช่น  เวียงจันทร์  หลวงพระบาง  นครจำปาศักดิ์  ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ได้อพยพมาตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบที่ราบสูง  ต่อมาอาณาจักรล้านช้างก็เสียอิสรภาพแก่กรุงธนบุรี  ดินแดนบริเวณนี้จึงถูกแบ่งออกเป็น  ๒  ส่วน  โดยสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส  ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖  ได้ยกดินแดนอาณาจักรล้านช้าง(ลาว)  ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้เป็นของฝรั่งเศส  ส่วนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง  คือพื้นที่ภาคอีสานทั้งหมดยกให้เป็นของประเทศไทย
              ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานปัจจุบันแบ่งออกเป็น  ๑๙  จังหวัด  ดังนั้นชาวอีสานจึงเป็นชนชาติที่รวมกลุ่มกันมาแต่โบราณกาล  พร้อมทั้งมีวัฒนธรรมประเพณีตลอดถึงอักษรใช้เป็นของตนเอง  โดยเฉพาะฮีตสิบสองคลองสิบสี่  (วิมลพรรณ  ปีตธวัชชัย, ฮีตสิบสอง, (สำนักพิมพ์มหาชน,กรุงเทพฯ หน้า ๒๗)  ภาคอีสานจึงเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทย  คือบ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน  สิ่งเหล่านี้ยืนยันถึงความเจริญในอดีตของดินแดนบริเวณนี้ได้เป็นอย่างดี
วิวัฒนาการของบทผญาช่วงแรกๆนั้นเป็นแบบมุขปาฐะ(Oral tradition)  คือการจำต่อๆกันมาต่อมา  แล้วมีการแตกย่อยคำผญาออกเป็นแขนงต่างๆอีกมากมาย  คำผญานั้นเป็นภูมิปรัชญาของอีสานโดยแท้จริง  ซึ่งช่วยผสานความสามัคคีระหว่างชนเผ่าต่างๆให้เชื่อมโยงเข้ากันได้เป็นอย่างดี  ตลอดถึงช่วยเป็นเครื่องจรรโลงใจ  เนื่องจากคำผญาบ้างคำก็เป็นบทผญาที่มีมาแต่เก่าแก่  ใช้ในเชิงเปรียบเทียบ  บางครั้งก็เป็นปริศนาธรรม  ซ่อนเงื่อนปุ่มประเด็นเอาไว้ให้คนคิดกัน  ส่วนมากมักจะมีความเชื่อมโยงถึงหลักธรรมในทางพุทธศาสนาเป็นสำคัญปัจจัยที่ทำให้เกิดอีกอย่างคือ ความเชื่อ  วัฒนธรรม  ประเพณี
            ๑ )  เกิดขึ้นจากการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน  ซึ่งต้องเผชิญกับปัณหาต่างๆ  ทั้งสุขและทุกข์อันเกิดจากความไม่เท่าทันต่อภาวะแห่งธรรมชาติของชีวิต  จึงเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดคำประพันธ์ในเชิงนี้ออกมา  ซึ่งจะพบมากในเรื่องความรัก  ผิดหวัง  ทุกข์
              ๒)  เกิดขึ้นจากประเพณีที่ถือสืบๆกันมา เช่น การชุ่มนุมในงานบุญต่างๆ
              ๓)   เกิดขึ้นจากอิทธิพลทางศาสนา 
            ๔)  เกิดขึ้นมากจากความเป็นไปในสังคมและสิ่งแวดล้อมอื่น เช่น หนุ่มสาวเกี้ยวพาราสีกัน  ดังนั้นสุภาษิตจึงได้เจริญมาหลายกรณี  คือ ใช้ภาษาท้องถิ่นในการจารึก  และใช้อักษรตัวธรรมใช้บันทึกคำสอนในด้านศาสนา  และอักษรไทยน้อยใช้จารึกนิทานธรรมเรื่องต่าง ๆ  และจารึกในทางฉันทลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นภาคอีสาน  คือโคลงสาร  กาพย์  และร่าย(ฮ่าย)

๓.๑  ความหมายของผญา
ก.  ความหมายตามรูปศัพท์
           ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัฒนธรรม  วรรณกรรม  และนักปราชญ์ทั้งหลายได้กล่าวว่า “ผญา”หมายถึง “ปัญญา ,  ปรัชญา, ความฉลาด,”  มีลักษณะเป็นคำภาษิตที่มีหมายลึกซึ่ง  เรียกว่าผญา  และคำว่า  “ภาษิต”  หมายถึงคำพูดที่เป็นคติ  คำพูดดี1 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์  (ติสฺสมหาเถระ)  ได้ให้ความหมายว่า  “  ผญาหรือผะหยา” คือปัญญา,  ปรัชญา  ความฉลาด  ,เป็นคำพูดที่มีความหมายลึกซึ่งในเชิงเปรียบเทียบ2
            จารุบุตร  เรื่องสุวรรณ  ผู้เชี่ยวชาญทางวรรณกรรมอีสานได้ให้คำนิยามว่า  “ผญา”  เป็นคำนาม  แปลว่า  ปัญญา, ปรัชญา, ความฉลาด3
            ร.ศ.  บุปผา  บุญทิพย์  ได้ให้ความหมายของผญาว่า  ผญาเป็นคำภาษาอีสาน  สันนิษฐานว่ามาจากป  รัชญา  เพราะภาษาอีสานออกเสียงควบ “ปร” ไปเป็นเสียง “ผ” ดังในคำว่า  “เปรต”เป็นเผด  โปรด  เป็นโผด  หมากปราง  เป็น  หมากผาง  แปรง เป็น แผง  ดังนั้นคำว่า  “ปรัชญา” อาจเป็น ผัชญาแล้วเป็น  “ผญา” อีกต่อหนึ่ง  ผญาคือคำพูดของนักปราชญ์  ซึ่งแฝงไว้ด้วยคติ  แง่คิด  คำพูดที่เป็นหลักวิชา  อันแสดงถึงความรอบรู้  ความสามารถของผู้พูด4 
             อ. ธวัช  ปุณโณทก  ได้ให้ความหมายของคำว่าผญาภาษิตว่า  หมายถึงถ้อยคำหรือกลุ่มคำที่มีความหมายให้สติเตือนใจ  หรือข้อความพิเศษที่จะสั่งสอน5
สวิง  บุญเจิม  ได้ให้คำนิยามของคำว่า “ผญา”ไว้ว่า  เป็นคำคล้องจองที่นักปราชญ์โบราณอีสานคิดขึ้น  เพื่อให้ในกรณีต่างๆ อาทิ  ใช้ในด้านคำสั่งสอน เรียกว่า “ผญาภาษิต”  หรือใช้ในการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาว  เรียกว่า “ผญารักหรือผญาเกี้ยว”  และใช้ในกรณีที่เป็นเชิงเปรียบเทียบให้คิดเรียกว่า  “ผญาปริศนาธรรม” 
จากทัศนะของนักปราชญ์ทั้งหลาย  พอสรุปได้ว่า  “ผญา”  ตรงกับคำว่า  “ปรัชญา  ในภาษาสันสกฤตและคำว่า  “ปัญญา”  ในภาษาบาลี  ดังนั้นคำว่า  “ผญา”  จึงแปลว่า  “ปรัชญา, ปัญญา, หรือความรอบรู้  หมายถึงถ้อยคำหรือข้อความที่ฉลาดหลักแหลมและคมคายลึกซึ่งยิ่งนัก  รวมความไปถึงถ้อยคำอันแสดงให้เห็นถึงปัญญาความรอบรู้ของผู้พูดด้วย  ดังคำพังเพยแต่โบราณอีสานบทหนึ่งกล่าวว่า  “ มีเงินเต็มภาชน์  บ่ท่อมีผญาเต็มพุง”  (มีเงินเติมภาชนะไม่เท่ามีปัญญารอบรู้ในวิทยาการต่างๆ) หรือ  “อดได้เป็นพญา  เพราะมีผญาแพ้เพิ่น”  (ไม่ได้เป็นเจ้าคนนายคนเพราะมีไม่ปัญญาเท่าเข้า)  นอกจากนั้นยังช่วยเตือนสติได้เป็นอย่างดี

bandonradio

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons