วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติและผลงาน ต่าย อรทัย 50 เพลง

 

1578_c9dbc6e7398cc09578d910d4bb6c1e46

ประวัติ

ต่าย อรทัย เจ้าของฉายา สาวดอกหญ้า และฉายา ราชินีเพลงลูกทุ่งอีสาน และเจ้าของผลงานเพลง โทรหาแหน่เด้อ ในอัลบั้มชุด "ดอกหญ้าในป่าปูน" สามารถทำสถิติยอดขายได้ทะลุเกินกว่า 1 ล้านชุด[1] และอีกหลายอัลบั้มต่อมาถึง 3 อัมบั้มเพลงติดต่อกันรวด ซึ่งเป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงคนแรกในประเทศไทย และประชาชนยังยกให้เธอเป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงเบอร์หนึ่งของแกรมมี่โกลด์อีกด้วย

เกิดวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2523 ที่บ้านคุ้มแสนชะนี ตำบลพรสวรรค์ อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายสาง ดาบคำ และ นางนิตยา ดาบคำ พี่น้องทั้งหมด 4 คน โดยต่ายเป็นลูกสาวคนโตและมีน้องชายอีก 3 คน อาศัยอยู่กับคุณยายทองคำ แก้วทอง ตั้งแต่เด็ก


ต่ายเกิดท่ามกลางครอบครัวที่มีปัญหา ไม่อบอุ่นเหมือนครอบครัวอื่นๆ พ่อแม่ แยกทางกันเดิน ทำให้ชีวิตของต่าย และ น้องๆต้องอาศัยอยู่กับยาย ซึ่งยาย ก็อายุประมาณ 70 ปีแล้ว แต่ต้องลำบาก เลี้ยงดูต่ายและน้อง ขณะนั้นต่ายอายุเพียง 11 ขวบ แต่ต้อง ช่วยยายดูแลน้องๆ และ ทุกอย่างในบ้าน ทั้งหาบน้ำที่อยู่ในบ่อ กลางทุ่งนา ต้อง อดทนกับระยะทางที่แสนไกล ต้องอดทน ต่อสู้กับแสงแดดที่แผดเผาเพื่อที่จะนำน้ำ มาใช้ที่บ้าน ขนฟางมาจะไป ร้องเพลงที่วง เพื่อหารายได้พิเศษ ช่วยเหลือทางบ้าน แม้จะได้รายได้ไม่มากนัก เพียง 400–500 บาท แต่มันก็เป็น ความภาคภูมิใจมากที่สุดสำหรับ เด็กผู้หญิงคนหนึ่ง

หลังจากที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 วงนิวฟ้าอีสาน ยุบวงลง ต่างคนต่างแยกย้ายกันไป ในช่วงนั้น ทุกวัน หลังจากกลับจากโรงเรียน ต่าย ต้อง รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน ระหว่างการ หาบน้ำจากทุ่งนา ขนฟางข้าว ซักผ้า นึ่งข้าวให้ยาย ต่าย ก็จะร้องเพลงไปตลอด บางวันก็ ไปยืนร้องเพลงที่หลังบ้าน ซึ่งหลังบ้าน จะเป็นคันนาที่เป็นเนินสูงๆ ซึ่งทางอีสานเรียกว่า "โพน" หรือ "งอยโพน" ต่าย ก็จะยืน ร้องเพลงอยู่บนเนินนั้นเป็นประจำ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกิจวัตรประจำวันก็ว่าได้ และในช่วงที่ต่ายกำลังศึกษาอยู่ใน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ต่ายก็ได้เป็น ตัวแทนของโรงเรียนไปประกวดวาดภาพสีน้ำ สีโปสเตอร์ รางวัลที่ได้ แม้จะไม่มีรางวัล เป็นเงินเป็นทองแต่มันมีความสำคัญทาง ด้านจิตใจ ความภาคภูมิใจ หลังจากนั้น ต่ายได้มีโอกาสประกวดร้องเพลงเป็นครั้งที่ 2 ของชีวิต การประกวดร้องเพลงครั้งนั้น เป็นการประกวดร้องเพลงที่ลำบากครั้งหนึ่ง เพราะการร้องในแต่ละรอบนั้นต้องนั่งรถ จากบ้านเกิดไปประกวดเป็นระยะทางกว่า ร้อยกิโลเมตรต้องเดินทางไปๆมาๆ เกือบ 2 เดือน อุปสรรคของต่ายในครั้งนั้นคือ เรื่องของทุนทรัพย์

จนในที่สุดความอดทนและความวิริยะอุตสาหะ จึงทำให้ได้รับรางวัลอันดับหนึ่งใน'รายการลูกทุ่งมุ่งสู่ดาว ผลตอบแทนในครั้งนั้นคือ จักรยานยนต์ 1 คัน พร้อมถ้วยรางวัล วันนั้น เป็นวันที่ต่ายยิ้มได้กว้างที่สุด และ ดีใจที่สุด ที่สามารถทำให้ “ยาย” ผู้เป็นที่รัก..มีรอยยิ้ม และ มีความสุข

หลังจากนั้นเพียงไม่นานการประกวดร้องเพลง ครั้งที่ 3 ในชีวิตของ ต่าย ก็เกิดขึ้น ครั้งนั้นได้ รับรางวัลเป็นอันดับหนึ่งอีกเช่นเคย แต่ไม่ เหมือนทุกครั้งที่เข้าประกวด เพราะ ต่าย ได้มีโอกาสพบกับครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ ซึ่งต่ายเคยได้ยินชื่อเสียงของครู และ ความ เป็นอัจฉริยะของครูในการเขียนเพลง ในครั้งนั้นเหมือนสวรรค์ยังไม่เปิดทางให้ ต่าย ได้มีโอกาสถ่ายทอดบทเพลงที่เกิดจาก ความอัจฉริยะของครูในการเขียนเพลง การเจอะเจอกันในครั้งนั้นจึงไม่มีผลอะไรกับ ต่าย ได้ยินเสียงจากครูเพียงแค่ว่า "เสียงดีนะ ไปฝึกเยอะๆ"

หลังจากที่เรียนจบมัธยมปลาย ต่าย ได้สมัครเข้าศึกษาที่สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี แต่ต่ายยังไม่พร้อมที่จะเรียนต่อเพราะ ขัดสน ทางด้านทุนทรัพย์ ดังนั้นจึงตัดสินใจเข้ามา ยังกรุงเทพฯ ครั้งแรกต่ายได้เข้ามาอาศัย อยู่กับแม่ช่วยแม่รับจ้างซักเสื้อผ้าให้กับ คนงานก่อสร้าง ทำได้ระยะหนึ่งรายได้ไม่เพียงพอ และที่สำคัญ ทั้งแม่ และ ต่าย ต้องส่งเงินกลับบ้าน เพื่อเลี้ยงดูยายและน้องชาย

ต่อมาได้จึงได้สมัครเข้าทำงานที่เขตอุตสาหกรรมบางปู เป็นบริษัทผลิตยาส่งออก ต่าย อดทนทำงานหนัก ประมาณ 3 เดือน แล้วเริ่มรู้สึกว่ามันไม่แตกต่าง ไปจากการทำนาเลย เพราะเหนื่อยมากรายได้ก็น้อย ดีตรงที่ทำงานในห้องแอร์เท่านั้น ในระยะนั้นต่ายก็ไม่ทิ้งงานทางด้านการร้องเพลง ยังประกวดร้องเพลงอยู่เสมอจนกระทั่งได้ เข้ารอบชิงในรายการชุมทางเสียงทอง ในขณะนั้นพี่กุ้งและพี่สาว พี่ซึ่งเคยให้ ต่าย ทำเทปในช่วงที่เรียนอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 6 ก็ตามหาตัวต่ายเพื่อจะให้เข้าห้องอัดบันทึกเสียงอีกครั้ง พี่กุ้งและพี่สาวทำเอง เปิดเอง ขายเอง ในรายการวิทยุ ชื่อเสียงของ ต่าย ตอนนั้นเริ่มมีคนรู้จักมากขึ้นเพราะพี่กุ้งและพี่สาว เปิดในรายการ

จากนั้น ต่าย จึงคิดว่าน่าจะเรียนต่อ จึงตัดสินใจสมัครเข้าเรียนในรั้วของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เรียนไปด้วย ร้องเพลงไปด้วย แต่เงินที่ได้มาก็ไม่พอ ที่จะส่งให้ทางบ้าน ต่ายจึงคิดที่จะขายเสื้อผ้า จึงลงทุนซื้อเสื้อผ้ามาขายโดยตระเวน ไปขายตามสถานที่ต่างๆทั่วกรุงเทพฯ และชานเมือง แต่ด้วยอุปสรรคต่างๆ มากมายในช่วงฤดูฝน ช่วงนั้นบางวันขายไม่ได้เลยแม้แต่ตัวเดียว แต่ต่ายก็ไม่ย่อท้อ ทนต่อไปอีกเรื่อยๆ ใน ระยะเดียวกันนั้น พี่กุ้งและพี่สาว ก็พยายาม ที่จะนำต่ายเสนอค่ายเพลง พยายามติดต่อ ครูสลา คุณวุฒิ ซึ่งตอนนั้นติดต่อครู ได้ยากมากเพราะครูไม่ค่อยเปิดโทรศัพท์มือถือ จนในที่สุดก็ติดต่อได้…คุยกับครูสลาหลายครั้ง และทุกครั้ง ต่าย ก็ไปกับพี่กุ้งกับพี่สาวด้วย เพราะต้องคุยเกี่ยวกับตัว ต่าย ว่าถนัดร้องเพลง แบบไหน? ชอบเพลงแบบไหน? ตอนนั้น ต่าย ต้องขายเสื้อผ้า ต้องตากแดด ตากลมอยู่ตลอดเวลา ครูสลาก็แนะนำว่าต้องบำรุงผิว เก็บตัวให้ขาวใส ไม่ต้องตากแดดมาก หลังจากนั้นไม่นาน ครูสลา ก็นัดพี่กุ้งพี่สาวให้พา ต่าย ไปที่ บริษัท แกรมมี่โกลด์ เพื่อดูตัว ซึ่งตอนนั้นต่ายคิดว่าจะได้เข้ามาอยู่ ในบริษัท หรือไม่ ก็ตามแต่อย่างน้อยก็ภูมิใจแล้ว ที่ได้ย่างก้าวเข้ามายังบริษัท จากนั้น ต่าย ก็ยุ่งกับงานผ้าป่าซึ่งทางบ้าน ขอมาปีนั้นนับว่าเป็นปีที่โชคดี เพราะได้มีผ้าป่าที่บ้าน มีวงดนตรี วงหมอลำ ที่จะไปเล่นให้ชาวบ้าน แถบนั้นดู และที่สำคัญในวันงาน กลุ่มทีมงาน ของครูสลา ก็ได้ไปช่วยด้วยเช่นกัน วันนั้นเป็นวันที่ ต่าย ไม่เคยลืมเลือน จนถึงปัจจุบันนี้ เพราะครูสลา ได้ขึ้นไปพูด กับชาวบ้านบนเวที และ บอกกับชาวบ้านทุกคนว่า จะขอลูกสาวไปอยู่แกรมมี่

ในวันนั้นเป็นวันที่ ต่าย รู้สึกดีใจมากที่สุดในชีวิต หลังจากที่ได้เข้ามาอยู่ในสังกัดของแกรมมี่ แล้ว ต่าย จึงรู้ว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะออกอัลบั้ม ให้นักร้องคนใดคนหนึ่ง ต่าย ต้องฝึกร้องเพลง เป็นระยะเวลานานมาก โดยฝึกกับอาจารย์ไพรัตน์ ชูรัตน์ จากที่เคยร้องเพลงไม่ชัด ร้องเสียงขึ้นจมูก ร้องทิ้งคำ จนในที่สุดต่ายก็พยายามทำมันจนสำเร็จ หลังจากนั้นโลกใบใหม่ของสาวน้อย "ต่าย อรทัย" ก็เกิดขึ้นพร้อมกับอัลบั้ม "ดอกหญ้าในป่าปูน" กับงานเขียนของ ครูสลา คุณวุฒิ และ สวัสดิ์ สารคาม ที่ถ่ายทอดตัวตนที่แท้จริงของ "ต่าย อรทัย" ลงในเนื้อเพลงได้อย่างลงตัว ผนวกกับ ด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว พร้อมทั้งส่งเพลงแจ้งเกิด "โทรหาเหน่เด้อ" ที่โดนใจเหล่าแฟนเพลงอย่างล้นหลาม ทำให้ยอดจำหน่ายเกิน 1,000,000 ล้านตลับ

  • ผู้ชักนำเข้าวงการ บ่าวข้าวเหนียว (นายสงกรานต์ แข็งฤทธิ์) , สาวบ้านเชียง (นางพรพิมล พันธ์รัตน์)
  • ครูเพลง ครูสลา คุณวุฒิ
  • อัลบั้มสร้างชื่อ ดอกหญ้าในป่าปูน, ขอใจกันหนาว,อยู่ในใจเสมอ
  • บทเพลงสร้างชื่อ โทรหาแหน่เด้อ, ดอกหญ้าในป่าปูน,วันที่บ่มีอ้าย,ขอใจกันหนาว
  • ผลงานการันตี ยอดขายเกินล้านตลับ 3 อัมบั้มรวด

[แก้] การศึกษา

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons