วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

::อิทธิพลของคำผญาที่มีต่อวิถีชีวิตชาวอีสานแต่โบราณ

สะท้อนถึงจริยธรรมของมนุษย์
      ธรรมชาติของคนมีทั้งดีและเลวปะปนกันอยู่ ผญาภาษิตของอีสานเน้นให้เห็นชัดว่า  เนื้อแท้โดยธรรมชาติของมนุษย์เรานั้นดีบริสุทธิ์มาแต่กำเนิดแต่สิ่งแวดล้อมทำให้มนุษย์ต้องเลวได้เพราะการหลงผิด  ดังนั้นวรรณกรรมคำสอนจึงเป็นเหมือนเชือกที่คอยชักจูงไม่ให้คนหลงเดินในทางที่ชั่ว  จะสอนให้ยึดหลักจริยธรรมคือข้อควรประพฤติของคนในสังคมด้วย  จึงเน้นหนักไปทางจารีต(ฮีต)  และคองเพื่อคอยเตือนพี่น้องชาวอีสานไม่ให้หลงผิดเป็นชอบ  ด้วยอำนาจของ  อวิชชา ตัณหา  และกิเลสเข้าครอบงำซึ่งจะสอนทุกเพศ  ทุกวัย  ทุกชั้นวรรณของสังคมไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองบ้านเมือง  ซึ่งคำสอนจะบ่งชี้ในด้านจริยธรรมของนักปกครองที่ดีเอาไว้  ไม่เว้นแม้แต่พระสงฆ์จะสอนในเรื่องฮีตพระครองสงฆ์ไว้เหมือนกับวินัยแต่จะเน้นในด้านหน้าที่ควรทำของนักบวช  ไม่ค่อยมีสอนมากนักเพราะท่านมีวินัยทางพระอยู่แล้ว   แต่สำหรับฆราวาสแล้วมีมากมายดังจะนำมากล่าวไว้ในที่นี้  ๕  ลักษณะ คือ
    ๒.๓.๒  สะท้อนถึงจริยธรรมในครอบครัว
โดยเน้นไปในทางความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างคนในครอบครัวและกำหนดหน้าที่ของคนเหล่านี้เอาไว้ด้วย  คือทุกฝ่ายต่างมีหน้าที่ของใครของมันอย่างเด่นชัด  ดังจะเห็นได้จากวรรณกรรมเรื่อง  ธรรมดาสอนโลก,  ท้าวคำสอน , สันทนยอดคำสอน  พระยาคำกองสอนไพร่  วรรณกรรมเหล่านี้จะเน้นความสัมพันธ์ของคนในสังคมได้ดี  และสอนหน้าที่ของสามและภรรยาไว้อย่างมากมาย  เพราะสังคมที่จะดีมาได้นั้นต้องมาจากครอบครัวที่ดีและสมบูรณ์เพราะเป็นสังคมระดับเล็กที่สุด  เช่นหน้าของภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามีมีอย่างไร  สามีพึงมีข้อปฏิบัติอย่างไรกับภรรยาตนเอง  ลูกมีหน้าที่อย่างไรกับพ่อแม่  หลานๆมีหน้าที่อย่างไรกับคุณปู่คุณย่า  จึงมีวรรณกรรมประเภทหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า  “ปู่สอนหลาน  ย่าสอนหลานเป็นต้อน  เพราะหน้าที่อันนี้เป็นของปู่ยาตายายอยู่แล้วที่จะปลูกฝังศีลธรรมให้แก่ลูกหลาน  ให้รู้จักบาป บุญ  และอื่นๆอีกมากมายที่ย่าจะพึ่งสั่งสอน

    ๒.๓.๓  สะท้อนถึงหลักจริยธรรมของผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครอง
การสอนบุคคลในระดับนี้ส่วนมากมักจะสอนให้ยึดหลักเมตตากรุณาต่อผู้น้อย(บ่าวไพร่)ไว้อย่างชัดเจนเพราะจะไม่ทำให้เกิดความเดือนร้อนทั้งสองฝ่ายคือไม่ให้มีอคติสี่ประการในการเป็นผู้นำและผู้ใต้ปกครองก็จะเป็นคนมีคุณธรรม  คือผู้ปกครองจะเป็นใหญ่ได้ก็เพราะมีผู้ใต้ปกครองดี  ดังจะเห็นได้จาก  “ครองสิบสี่”  ของชาวอีสานที่ยึดถือกันมาแต่บรรพบุรุษ  นอกจากนั้นยังได้กล่าวสอนในเรื่องการบรรเทาทุกข์ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเช่นมีการสงเคราะห์กัน  อนุเคราะห์กันและกันเมื่อคนอื่นมีความเดือนร้อน  เรียกว่าการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน  พร้อมทั้งมีความฉลาดในการเลือกผู้ที่จะมาเป็นขุนนางด้วย  หรือเลือกท้าวพระยามหาอำมาตย์  ตลอดจนทูตานุทูต    และเน้นในเรื่องจริยธรรมของปวงประชาราษฎรเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง  จะมีปรากฏในวรรณกรรมเรื่องพระยาคำกองสอนไพร่เป็นต้น
    ๒.๓.๔สะท้อนถึงจริยธรรมสตรีและบุรุษ
วรรณกรรมประเภทคำสอนนี้มุ่งที่จะสอนสตรีมากกว่าบุรุษ  และกำหนดหน้าที่ของสตรีเข้าไว้มากกว่าของบุรุษ  อาจจะเป็นเพราะในอดีตนั้นสตรีอยู่กับเย้าเฝ้ากับเรื่อนจึงมักจะสอนให้รู้จักหน้าที่ของหญิง  เพราะผู้หญิงเป็นมารดาของโลกก็ว่าได้  เมื่อมารดาดีลูกก็ดี  ดังนั้นวรรณกรรมคำสอนจึงเห็นว่าสอนสตรีไว้หลายแง่มากมายเริ่มจากรู้จักทอผ้า  เป็นต้น  และวรรณกรรมที่ม่งสอนก็มีเรื่อง  ท้าวคำสอน  จะเน้นไปในลักษณะสตรีแบบไหนควรเลือกมาเป็นภรรยา มีทั้งหมด  ๔๐  กว่าลักษณะคล้ายกับเป็นการดูนรลักษณ์ผู้หญิงอันแฝงไปด้วยภูมิปัญญาของผู้แต่งได้เป็นอย่างมากที่รู้ลักษณะผู้หญิงที่ละเอียดคล้ายกับเรื่องมายาของหญิงที่ปรากฏในพุทธศาสนา  ๔๐ประการ  และมีเรื่องอินทิญาณสอนลูก(สอนหญิง)  ธรรมดาสอนโลก  สิริจันโทยอดคำสอน  ย่าสอนหลานเป็นต้น
    ๒.๓.๕  สะท้อนถึงจริยธรรมของผู้ใหญ่และผู้น้อย
วรรณกรรมประเภทคำสอนนี้มุ่งที่จะสั่งสอนเด็กให้เห็นความสำคัญของความกตัญญูรู้คุณผู้มีบุพการีของตนเอง  อาทิเช่น  พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา และยาย  เมื่อท่านดำรงชีวิตอยู่ให้ตระหนักถึงพระคุณของท่านเหล่านี้  และดูแลท่านเมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วย  และเมื่อเวลาท่านละจากโลกไปแล้วทำบุญอุทิศส่งไปให้ท่าน  นอกจากนั้นยังสองให้รู้จักความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้หลักผู้ใหญ่ให้มีสัมมาคารวะเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน  วิธีที่ทำคือจะพรรณนาถึงคุณที่ท่านได้อุตสาห์เลี้ยงดูลูกหลานมาเรียกว่าพระคุณของพ่อแม่  วรรณกรรมในเรืองนี้คือ ปู่สอนหลาน  ย่าสอนหลาน  อินทิญาณสอนลูก  และวรรณกรรมคำสอนในเรื่องอื่นๆที่ปรากฏในวรรณกรรมนิทานบ้าง  เป็นต้น
    ๒.๓.๖  สะท้อนถึงอำนาจในธรรมชาติ
เป็นการสอนถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวมนุษย์กับธรรมชาติ  โดยเน้นหนักในเรื่องที่มนุษย์เราจำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับธรรมชาติ  และมีความเหมาะสมพอดีกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ โดยสั่งสอนให้มนุษย์เคารพยำเกรงธรรมชาติ  อันได้แก่วิญญาณต่างๆที่สิ่งสถิตอยู่ในธรรมชาติที่มีอำนาจเหนือมนุษย์  อาจจะบันดาลให้คุณหรือโทษวรรณกรรมคำสอนจึงสอนให้ตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้อย่างละเอียด  ดังมีกล่าวไว้ในเรื่อง  ธรรมดาสอนโลก  เน้นการนำไม้อย่างไรมาปลูกบ้านจึงจะเหมาะสมหรือเป็นมงคล  บอกถึงการแสวงหาต้นไม้มาทำเป็นเสาเอกเสาโทของบ้าน  และบอกว่าไม้อย่างไรไม่ควรนำมาใช้สร้างบ้านโดยอ้างว่า  มันขะลำหรือเข็ดขวงเป็นการห้ามเอาไว้ของคนโบราณเพราะอาจมองเห็นว่าไม้บ้างอย่างนำมาทำแล้วอาจจะทำให้บ้านไม่มั่นคงถาวร  หรือเกิดการบิดงอได้ง่ายเพราะไม้มีความอ่อนนั้นเองจะทำให้ไม่ทนแดดทนฝน  โบราณจึงนำเอาคำว่าขะลำมาห้ามเอาไว้คนเราจึงจะเชื้อ  เพราะสอนให้เห็นว่าอาจจะมีเทวดาสิงสถิตย์อยู่บ้างหรือในบริเวณดอนปู่ตาเป็นต้น  เพราะชาวอีสานเคารพยำเกรงในเรื่องเหล่านี้มากทีเดียว
    ๒.๓.๗  สะท้อนถึงจริยธรรมระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
       โดยสอนเน้นให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนด้วยกันในลักษณะเป็นการสามัคคีกันช่วยเหลือกันและกันในด้านต่างๆของสังคมเช่น  การขอแรงกันสร้างบ้าน, เกี้ยวข้าว ,และอื่นๆอาทิในด้านพิธีกรรมในสังคมที่คนเราจะต้องร่วมแรงร่วมใจช่วยเหลือกัน  โดยมีวรรณกรรมคำสอนเป็นแก่นกลางในการผสานความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ  ให้มีแนวความคิดไปในทางเดียวกันง่ายทั้งการปกครองและการสั่งสอนด้วย  เช่น  งานแต่ง งานเลี้ยงผีปู่ตา  ผีตาแฮก  และพิธีของฝนด้วยการแห่นางแมว  แห่บั้งไฟ  และการไหว้ผีมเหสักข์หลักเมืองสิ่งเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่คนจะต้องร่วมแรงกันทำไม่ว่าผู้ปกครองหรือพระสงฆ์และชาวบ้านได้ร่วมกันทำขึ้น  วรรณกรรมคำสอนในด้านนี้มักจะเป็นฮีตสิบสองคลองสิบสี่เป็นหลัก  แต่อย่างไรก็ดีวรรณกรรมคำสอนของชาวอีสานยังเน้นในความผูกพันธ์ระหว่างพี่น้องลุง ป้า นา อา เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมุ่งที่จะสอนให้มนุษย์รู้จักแบ่งปันความสุขกัน  และรู้จักให้ทานแก่คนยากจนอนาถาตามแนวพุทธปรัชญาและคตินิยมในทางพระพุทธศาสนาด้วย69

    ๒.๓.  ผญาภาษิตกับการดำรงตนสำหรับบุคคลทั่วไป
    เป็นคำสอนที่ปรารถนาให้ชุมชนในท้องถิ่นมีความรักสามัคคีกัน  ต้องการให้คนมีความรักต่อเพื่อนบ้าน  ไม่คิดโกรธเคืองพี่น้องร่วมสังคมเดียวกัน  ทุกคนควรคำนึงถึงความมั่นคง  ไม่ควรทำตนเองให้แก่ชุมชน  คำพูดกับความคิดควรตรงกัน  ไม่ควรกล่าววาจาเพ้อเจ้อ  ให้รู้จักระงับความโทสะ  และพิจารณาสิ่งต่างๆตามความเป็นสิ่ง  มากกว่าเชื่อโดยหลงงมงาย  และเคารพต่อผู้อาวุโสในบ้านเรือน  ให้มีความกตัญญูต่อท่าน  ทุกคนควรแสวงหาวิชาความรู้และไม่ควรลืมบุญคุณของครูอาจารย์  ให้มีความอดทนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม 
    ทุกคนควรยึดมั่นอยู่ในศีลธรรม  หมั่นทำทานรักษาศีล  ทำใจของตนให้บริสุทธิ์  รู้จักบาปบุญคุณโทษ  ควรเคารพในพระรัตนตรัย  สอนให้ทุกคนควรเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันแก่ผู้อื่นตามสมควร  ซึ่งเรียกว่ารู้จักกินทาน  ควรเลือกคบแต่คนดี  รู้จักปรับตัวเข้ากับคนอื่น  รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน  ไม่เป็นคนโอ้อวดตนเองว่าเก่งกว่าคนอื่น  ไม่ประมาทให้รู้จักระมัดระวังตนเองอยู่ตลอดเวลา  ไม่ควรมีอคติต่อทุกคน  ให้มีความซื้อสัตย์  รู้จักบริจาคทรัพย์  ละความโกรธและมีขันติธรรมมีใจหนักแน่น  ห้ามไม่ให้ฆ่าสัตว์  ห้ามไม่ให้ทำลายพระพุทธรูป  ศาสนสถาน  ทำร้ายพ่อแม่ญาติพี่น้องตน  ภิกษุสามเณร  ครูอาจารย์ตลอดจนพระราชา  และราชวงศ์  จะได้รับบาปกรรมหนักยิ่ง
    คนเฒ่าคนแก่ควรจะเข้าวัดฟังธรรม  ตลอดถึงปฏิบัติตามจารีตประเพณีของตนเอง  ควรละความโกรธ  ใส่ใจในการศึกษาธรรมพร้อมทั้งปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า  ไม่ควรคิดถึงวัตถุภายนอกมากจนเกินไป  ควรแสวงหาอริยทรัพย์ภายใน  เมื่อถึงเวลาแก่ชรามาแล้วควรแสวงหาบุญกุศล  คือบุญในตอนเช้า  ให้ตักบาตรจังหันใน  บุญในตอนกลางวันให้ถวายอาหารเพล  บุญตอนค่ำให้เข้าวัดฟังพระธรรมเทศนา  บุญตอนมือค่ำให้แต่งขันดอกไม้  ตอนดึกให้สวดมนต์ภาวนา

ฺบ้านดอนเรดิโอออนไลน์

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons