วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

๓.๓ พุทธภาษิตกับสตรี

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

.๓ พุทธภาษิตกับสตรี

สังคมไทยมักจะกล่าวให้สติมักจะแทรกอยู่ในคำสอนต่าง ๆ ตามแต่จะเหมาะสมว่า การคบคนต้องดูที่หน้าตาเสียก่อน เหมือนกับการซื้อผ้าต้องดูเนื้อ รวมไปถึงการที่จะคบกับสตรี คนไทยเรานิยมการดูที่ครอบครัวด้วย มักจะมีคำโบราณพูดเสมอว่า “ดูนางให้ดูแม่ ถ้าจะดูให้แน่ดูถึงแม่ยาย”

การจะเลือกคู่ครองนั้นต้องถือว่าสำคัญยิ่ง เพราะจะต้องหาเนื้อคู่ที่อยู่ในอุดมคติของตนคือเป็นคนดี เรียกว่าให้มีเรือนสามน้ำสี่ แม้ในทางพระพุทธศาสนาก็กล่าวไว้ในเรื่องของสตรีที่บุรุษชอบใจแท้ ดังที่พุทธพจน์ตรัสไว้ว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย สตรีที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมเป็นที่พอใจโดยส่วนเดียวของบุรุษ” ผู้หญิงที่เป็นแม่ศรีเรือน เป็นผู้งามด้วยจรรยามารยาทรู้หน้าที่การงานย่อมเป็นที่หมายปองของบุรุษ สังคมไทยแม้จะยกย่องชายที่บวชแล้วเรียนแล้วว่าเป็นคนสุก สังคมไทยก็ไม่นิยมให้ชายบวชหลายครั้งจนถึงมีคำพังเพยเรื่องการบวชหลายครั้งว่า “ชายสามโบสถ์” เป็นสิ่งต้องห้าม

การเลือกคู่ครองนั้นพระพุทธศาสนาก็กล่าวสอนให้บุรุษและสตรีที่จะมีครอบครัวนั้นให้ไตร่ตรองให้ดี ให้ดูกันนานๆ และให้เว้นคู่ครอง๔ จำพวก คือ ๑) ผัวผี เมียผี ๒) ผัวผี เมียเทวดา ๓ ผัวเทวดา เมียผี ๔) ผัวเทวดาและเมียเทวดา ลักษณะที่๑ คือ สามีเป็นคนไม่มีศีลธรรม ชอบฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดปด ดื่มสุรา ตระหนี่ ด่าว่าสมณพราหณ์ แม้ภรรยาของเขาก็เป็นเช่นนั้น คือมีความประพฤติเช่นเดียวกันกับสามี คือผัวผีเมียผี เรียกว่าได้สามีอย่างไรภรรยาก็ย่อมเป็นอย่างนั้นดังพุทธพจน์ว่า “คบคนใดก็เป็นเช่นคนนั้นแล ยํ เว เสวติ ตาทิโส” จำพวกที่สองคือ ผัวผี เมียเทวดา คือ สามีเป็นคนไม่มีศีลธรรม แต่ภรรยาของเขาไม่เป็นคนมีศีลธรรม เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และไม่ด่าว่าสมณพราหณ์ คู่ครองอย่างนี้เรียกผัวผีเมียเทวดา จำพวกที่สามคือ ผัวเทวดาผีเมียหมายถึงสามีเป็นคนมีศีลธรรมแต่ฝ่ายภรรยาไม่มีศีลธรรม ได้เป็นคู่ครองกันก็รั้งจะเป็นทุกข์ ดังพุทธพจน์ทรงตรัสสอนเอาไว้ว่า

“ผู้ใดเข้าไปเสพคนพาลผู้นั้นก็เป็นพาลไปด้วย ผู้หลงอาศัยคนหลง ย่อมถึงความหลงยิ่งขึ้น” ความฉิบหายย่อมเจริญแก่บุคคลผู้คบคนพาล “การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ ดังอยู่ร่วมกับศัตรู ฉะนั้น เพราะฉะนั้นอย่าสมาคมกับคนพาล เพราะการสมาคมกับคนพาลเป็นทุกข์ ผู้คบคนชั่วย่อมไม่ได้ความสุขโดยส่วนเดียว เขาย่อมทำตนให้ถึงความพินาศ

ส่วนคู่สามีที่สี่ คือผัวเทวดาและเมียเทวดา เป็นคู่ที่สมบูรณ์แบบคือเป็นคนที่มีเมตตาต่อผู้อื่น โอบอ้อมอารีย์ สามีเป็นคนอย่างไรภรรยาก็เป็นอย่างนั้นเรียกว่าบัณฑิตคู่กับบัณฑิตสมดังพุทธพจน์

“ ภรรยาและสามีทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความสำ

รวมเป็นอยู่โดยธรรม เจรจาคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรื่อง

มาก มีความผาสุก ทั้งสองฝ่ายมีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อ

กัน ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกันย่อมเป็น

ผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลินบันเทิงใจในอยู่ในเทวโลก

การสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในมงคลสูตร ในเรื่องการ การสงเคราะห์ภรรยาเป็นมงคลสูงสุด พุทธศาสนาเน้นกล่าวสอนถึงการที่จะเลือกคู่ชีวิตได้ ๗ ประการ คือ

๑) วธกาภริยา คือภรรยาที่เป็นดังเพชฌฆาตคือคิดทำลายล้างสามีอยู่ตลอดเวลา

๒) โจรีภริยา คือภรรยาดังโจร คือคอยลักและยักยอกทรัพย์ของสามีเอาไปเที่ยวบ้าง เล่นการพนันบ้าง ตลอดถึงการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยบ้างย่อมอยู่ในกลุ่มของภรรยาอย่างโจร

๓ ) อัยยาภริยา คือภรรยาอย่างนาย คือข่มขี่สามีให้อยู่ในอำนาจเหมือนนายกับบ่าว

๔) มาตาภริยา ภรรยาดังมารดา คือ รักสามีเหมือนมารดารักบุตร ไม่ทำความเดือดร้อนรำคาญให้กับสามี

๕ ) ภคินีภริยา ภรรยาดังน้องสาว คือรักเคารพนับถือสามีเหมือนพี่ชาย ไม่กล่าวคำล่วงเกินสามี

๖ ) สขีภริยา ภรรยาดังสหาย คือเป็นเพื่อนเจ็บเพื่อนตายร่วมสุขร่วมทุกข์กับสามี ไม่คิดหน่ายหนีแม้ในยามตากยาก

๗ ) ทาสีภริยา ภรรยาดังทาสี คือมีความรักเคารพยำเกรงสามี ไม่แสดงกิริยาวาจาล่วงเกินสามีภรรยาประเภท ๑ ,๒ , ๓, ท่านกล่าวว่าไม่สมควรสงเคราะห์เพราะไม่ใช่ภรรยาที่ดี ควรสงเคราะห์ภรรยาประเภท ๔, ๕ ,๖, ๗, ด้วยวิธีสงเคราะห์ภรรยาเป็นการยึดเหนี่ยวน้ำใจกันให้มีความรักกันนานๆ สามีควรยึดเหนี่ยวใจของภรรยา ๕ อย่างคือ

๑) ยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา

๒ ) ด้วยไม่ดูหมิ่น

๓ ) ไม่นอกใจภรรยา

๔ ) มอบความเป็นใหญ่ในบ้านเรือนให้

๕ ) ให้เครื่องแต่งตัว

การสงเคราะห์ภรรยา เป็นเหตุให้ครอบครัวได้รับความสุขและมีความเจริญ ก้าวหน้าส่วนภรรยาก็ควรกระทำตอบสามีดังพุทธภาษิตที่มาใน อนุรุทธสูตร ความว่า

“สภาพสตรีผู้มีปรีชา ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี ผู้หมั่นเพียร ขวายขวายอยู่เป็นนิตย์

เลี้ยงตนอยู่ทุกเมื่อ ให้ความปรารถนาทั้งปวง ไม่ยังสามีให้ขุ่นเคือง ด้วยถ้อย

คำ แสดงความหึงหวงและย่อมบูชาผู้ที่เคารพสามีทั้งปวงของสามี เป็นผู้ขยัน ไม่

เกียจคร้านสงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี ประพฤติเป็นที่พอใจของสามี รักษา

ทรัพย์ที่สามีหามาได้ นารีใด ย่อมประพฤติตามความชอบใจของสามีอย่างนี้ นารี

นั้นย่อมเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา๑๐

สตรีในฐานะเป็นมารดานั้น พระพุทธศาสนายกย่องไว้เป็นเอนกปริยาย ถึงคุณค่าของสตรีเหล่านี้ ว่าได้ทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่ว่าเป็นอริยบุคคลคือ เทวดา ,พรหม, อาหุเนยย, ปฐมอาจารย์ของบุตร คำเหล่านี้ล้วนแสดงให้ทราบว่าสตรีมีความสำคัญมากต่อโลก เป็นผู้บอกทางสวรรค์ให้แก่บุตรธิดาของตน และเป็นผู้ห้ามไม่ให้บุตร ธิดาของตนทำความชั่ว นี้เพ่งมองไปสู่ความใจอันดีของสตรีที่มีให้แก่บุตรของตนเอง พระพุทธเจ้าทรงสรรญบุคคลผู้เลี้ยงดูมารดาบิดาว่าเป็นทางเจริญ เป็นมงคลสูงสุดสมดังพุทธพจน์ที่มาในพรหมสูตร ความว่า

“มารดาและบิดา เรากล่าวว่าเป็นพรหม เป็นบุพพาจารย์ เป็นอาหุเนยยบุคคลของบุตร เพราะเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร เพราะเหตุนั้นแหละ บัณฑิตพึงนอบน้อมและพึงสักการะมารดาและบิดาทั้งสองนั้นด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การขัดสี การให้อาบน้ำและการล้างเท้าบัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นในโลกนี้๑๑

มารดาบิดาเป็นผู้มีพระคุณต่อบุตรธิดาอย่างยิ่ง เพราะท่านเป็นพระพรหมของบุตรธิดา คือมีเมตตากรุณา มุทิตา อุเบกขา ต่อบุตรธิดา เป็นบุรพเทพของบุตรธิดา คือคอยพิทักษ์รักษาบุตรธิดาก่อนคนอื่นเป็นบุรพาจารย์ ของบุตรธิดา คือบรมสั่งสอนบุตรธิดาก่อนครูอาจารย์อื่นๆ ฉะนั้น บุตรธิดาจึงต้องบำรุงท่าน สมดังพุทธภาษิตที่มาใน ปุตตสูตร ความว่า

“มารดาบิดาผู้ฉลาด เล็งเห็นฐานะ ๕ ประการ จึงปรารถนาบุตร ด้วยหวังว่าบุตรที่เราเลี้ยงมาแล้ว จักเลี้ยงเราตอบ จักทำกิจแทนเรา วงศ์สกุลจำดำรงอยู่ได้นาน บุตรจักปกครองทรัพย์มรดก และเมื่อเราตายไปแล้ว บุตรจักบำเพ็ญทักขีณาทานให้ มารดาบิดาผู้ฉลาดเล็งเห็นฐานะเหล่านี้จึงปรารถนาบุตร ฉะนั้น บุตรผู้เป็นสัปปบุรุษ ผู้สงบ มีกตัญญูกตเวที เมื่อระลึกถึงบุพคุณของท่าน จึงเลี้ยงมารดาบิดา ทำกิจแทนท่าน เชื่อฟังโอวาท เลี้ยงสนองพระคุณท่าน สมดังที่ท่านเป็นบุพการี ดำรงวงศ์สกุล บุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมเป็นที่สรรเสริญทั่วไป๑๒

การบำรุงมารดาบิดาด้วยสถานะ ๕ อย่างนี้ย่อมได้รับยกย่องสรรเสริญจากคนทุกชั้น แม้ได้รับภัยอันตรายก็ปลอดภัย เช่น ถูกอาวุธที่อาบยาพิษก็ไม่ตาย ตกอยู่ในหมู่คนที่ดุร้ายก็พ้นมาได้แม้ถูกคุมขังถูกจองจำก็พ้นได้ เพราะเหตุที่นี้แหละ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า การบำรุงมารดาบิดา เป็นมงคลสูงสุด และมารดาบิดาก็สงเคราะห์บุตรธิดาเป็นความดี ลักษณะที่พุทธปรัชญาได้กล่าวถึงการที่บิดามารดาควรกระทำต่อบุตรธิดาของตนเองเอาไว้๕วิธีด้วยกันคือ

๑ ) ห้ามบุตรไม่ให้กระทำความชั่ว

๒ ) ให้บุตรกระทำแต่ความดี

๓ ) ให้บุตรได้ศึกษาวิชาความรู้

๔ ) หาสามีหรือภรรยาที่สมควรให้

๕ ) มอบทรัพย์สมบัติให้ในเวลาที่สมควร

ในพุทธศาสนาได้กล่าวถึงบุตรไว้ ๓ ลักษณะคือ (๑) อภิชาตบุตร ได้แก่บุตรที่ดีกว่าบิดามารดา เช่นบิดามารดาเป็นคนไม่มีศีล แต่บุตรเป็นคนมีศีล บิดามารดาชอบดื่มสุราเล่นการพนันแต่บุตรไม่มีพฤติกรรมอย่างนั้นเป็นต้น (๒) อนุชาตบุตร ได้แก่บุตรที่ทำตามบิดามารดา เช่น บิดามารดาเป็นคนมีศีลบุตรก็เป็นคนมีศีล เข้าลักษณะว่าบิดามารดาเป็นคนอย่างไรบุตรก็เป็นอย่างนั้นด้วย และ (๓) อวชาตบุตร ได้แก่บุตรที่ต่ำกว่าบิดามารดา เช่น บิดามารดาเป็นคนมีศีล แต่บุตรไม่มีศีล มารดาบิดาเป็นคนกระทำแต่กรรมดีส่วนบุตรธิดาเป็นคนชอบกระทำแต่กรรมชั่วเป็นต้น พุทธศาสนาเน้นว่าการที่สังคมครอบครัวมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันอย่างนี้ย่อมนำมาแต่ความเจริญก้าวหน้า วงศ์ตระกูลก็จะมั่นคงเป็นปึกแผ่น มีแต่ความสุขตลอดไป

สตรีทั้งหลายเมื่อมองถึงสรีระแล้วย่อมไม่เป็นคนมีอำนาจอะไรมาก แต่พระพุทธศาสนากล่าวสตรีนั้นมีกำกำลังมากกว่าบุรุษ พระอาทิตย์ที่ร้อนก็ยังไม่ร้อนเท่าอำนาจแห่งเสน่หาของสตรีส่วนพราหมณ์ผู้ทรงคุณวิเศษที่มีเวทมนต์กำลังกล้า และมหาสมุทรที่มีคลื่นอันรุนแรงนั้นยังมีกำลังน้อยกว่าสตรีดังพุทธพจน์ที่มาใน โลมสกัสสปชาดกความว่า “ พระจันทร์มีกำลัง พระอาทิตย์มีกำลัง สมณะและพราหมณ์มีกำลัง ฝั่งมหาสมุทรมีกำลัง หญิงมีกำลังยิ่งกว่ากำลังทั้งหลาย” ๑๓


32/98-99 สังวาสสูตร

(ว.ว. /78 เล่ม1

45/71/อินทสมานโคต

42/386/หลิททราคชาดก

42/437/มหานารทกัสสปชาดก

32/103 สมชีวิสูตร /32/98-99 สังวาสสูตร

ขุ. เถร. 26/405, ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม

35/121-123 ภริยาสูตร

๑๐ 35/333 อนุรุทธสูตร

๑๑ 38/ 552-553 พรหมสูตร

๑๒ 33/60-61 ปุตตสูตร

๑๓ 42/381 โลมสกัสสปชาดก

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons