วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ผญาภาษิตบอกวิธีดูสาวๆมาเป็นภรรยา

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วรรณกรรมเรื่องท้าวคำสอน

เนื้อเรื่องย่อ

ท้าวคำสอนเป็นกำพร้าอาศัยอยู่กับพระมหาเถระ เมื่อเจริญวัยพระมหาเถระจึงสอนวิธีการเลือกคู่ครอง ซึ่งท่านได้อรรถาธิบายถึงลักษณะหญิงประเภทต่างๆท้าวคำสอนก็ลาพระมหาเถระไปหาหญิงลักษณะดีเป็นคู่ครอง ในที่สุดก็พบกับนางปังคำ เป็นคนจนอยู่กระท่อมแต่ด้วยลักษณะถูกโสลกของหญิงดีเป็นเมียแก้ว ท้าวคำสอนเกี้ยวพาราสีซึ่งตอนนี้กวีท่านได้นำเอาผญาเกี้ยวใส่เข้าไปซึ่งเป็นที่กินใจจนหนุ่มสาวนำมาเป็นผญาเกี้ยวกันสนทนากันอยู่เนืองๆ ฉะนั้นถ้ารวมรวมสำนวนผญาที่หนุ่มสาวจ่ายกันนั้นก็น่าจะเป็นสำนวนที่จดจำมาจากเรื่องท้าวคำสอนเป็นส่วนใหญ่ ค่านิยมในการเลือกคู่ของชาวอีสานนั้นไม่เน้นเรื่องความสวยงามเป็นหลัก หากแต่ว่าเน้นถึงลักษณะของสตรีที่เป็นสิริมงคล ถึงแม้ว่ารูปร่างจะด้วยไปก็ตาม แต่เน้นหญิงที่มีใจบุญสุนทาน ดังนั้นวรรณกรรมท้าวคำสอนนี้ชี้ให้เห็นถึงลักษณะนิสัยการเลือกคู่ของชาวอีสานได้ดี คือเป็นเมียแก้วเมียขวัญ และควรเป็นหญิงที่นำโชคมาให้สามีและครอบครัว ใจบุญ ซื่อสัตย์ต่อสามีและเป็นแม่บ้านที่ดีเป็นแม่ศรีเรือนนั้นเอง แต่วรรณกรรมเรื่องนี้เป็นเพียงความพยายามที่จะกำหนดรูปแบบของหญิงที่ดีและไม่ดีเอาไว้เพื่อเป็นแนวทางของการเลือกอีกวิธีหนึ่งเท่านั้น ซึ่งไม่แน่ว่าจะเป็นจริงอย่างนั้นเสมอไป คือคนที่จะมาเป็นคู่ครองจริงอาจจะไม่มีลักษณะตรงกับที่พระมหาเถระสั่งสอนเอาไว้ก็ได้ ดังตอนสุดท้ายของเรื่องท่าวกล่าวว่าดังนี้คือ

คำสอนท้าวฟังนางเว้าม้วนถืกโสลกแท้นางแก้วตอบขานนางนั้นชื่อว่านางปังคำเจ้าคำสอนต้านกล่าวนางเว้าจ้อยๆคำสอนท้าวนั่งฟัง ท้าวก็มักยิ่งแท้ประสงค์แต่งเป็นเมีย ถืกโสลกมหาเถรยอดหญิงแปงสร้าง ชื่อว่าเป็นนางแก้วเคียงสองเสมอแว่น มหาเถรแต่งให้เห็นแล้วถืกกะใจถืกลักษณะแท้ทั้งโสลกหญิงดี บ่ได้มีทางติเยื่องประมาณพอน้อย เป็นเพราะสายมิ่งเกี้ยวปางก่อนสายแนน บุพพกรรมปางหลังจ่องดึงให้มาพ้อ ผัวเป็นเทวบุตรแท้แสวงหาเมียมิ่ง เมียเป็นเทวดาได้พ้อบุญกว้างส่งสนองแนนมิ่งนั้นคือดั่งวาสนา นั้นแล้ว ชาติก่อนพุ้นเคยได้ฮ่วมผัวเมีย แสนซิไปคนทางเกิดกันคนก้ำ แม่นซิปรารถนาเว้นก็ยังนำเฮียงฮ่วมกันดายหนีบ่ม้มเวรเกี้ยวชาติลุ้น แนมท่อ สองประสงค์เว้นภายลุนจิ่งจำจาก ผิว่าผัวบ่เว้นใจข้องต่อเมีย จักได้กันเที่ยงแท้บ่เหินห่างสายแนน ฯ94

ลักษณะของหญิงที่เป็นสิริมงคลแก่สามีและครอบครัว ซึ่งควรที่จะเลือกมาเป็นคู่ครองมีลักษณะสำคัญอยู่ ๓ ประการคือ

‏א. สตรีที่นำโชคลาภมาสู่สามีและครอบครัว ซึ่งจะมีวาสนาให้สามีให้สามีเจริญรุ่งเรืองและครอบครัวมีความสุขร่ำรวย ดังนี้

เด็กหญิง๑) หญิงใดเอเลท้องปูมหลวงอุมบาตร

หญิงนั้นลอนท่อเป็นรูปร้ายบุญเจ้าหากมีแท้ดาย

ชายใดได้เข้าอยู่ซ้อนสุขร่วมบรม

สมบัติในเรือนมีพร่ำเพ็งเต็มเหย้า หั้นแล้วฯ

เด็กหญิง๒) หญิงใดคอตกปล้องหางตาแดงพอสน่อย

เมื่อนางยกย่างย้ายพอด้ามเกิ่งเสมอ

แม่นว่าท้าวเข้าได้อยู่ซ้อนเรียงร่วมเป็นเมียเมื่อใด

ยูท่างและทรงความสุขนั่งปองเป็นเจ้า

เด็กหญิง๓) หญิงใดมีปานดำขึ้นจักกกขาดูหลาก

หญิงนั้นใผผู้ใดกล่าวต้านโอมได้โชคมี แท้แล้ว

เด็กหญิง๔) หญิงใดโปแข่งน้อยคิ้วก่องกวมตา

หัวนมเป็นปานดำก็หากมีบุญแท้

ใผผู้โอมเอาได้เป็นเมียโชคขนาดแท้ดาย

มันหากดูประเสริฐแท้เมือหน้าบ่ขวงแท้แล้ว

เด็กหญิง๕) หญิงใดขี้แมงวันจับสบเบื้องซ้ายสมบัติมั่งบุญมีท้าวเอย

ใผผู้โอมเอาได้เป็นเมียหากคูนยิ่งจริงด้าย

เด็กหญิง๖) หญิงใดใบหูห้วนหยุดปลายพดสน่อย

หญิงนั้นเป็นแม่ค้ายังซิได้มั่งมีเจ้าเอย

ยังได้ผมดำเลื่อมหางนกยูงเสมอภาค กันนั้น

ชายใดได้เข้าอยู่ซ้อนจักเป็นเจ้าเศรษฐี

เด็กหญิง๗) หญิงใดเสียงปากต้านหวานหูเว้าม่วน

ตาเชิดซ้ายคอปล้องรูปงาม

เกศาผมยาวได้วาปลายคืบหนึ่ง

หญิงนั้นควรค่าล้านคำม่วนชอบธรรม แท้ดาย

ความหมายคำศัพท์

เอเล -กางใหญ่ ลอนท่อ- หากว่า ผิว่า พร่ำเพ็ง -มากล้น ยูท่าง -สบาย มีความสุข อยู่เย็น ด้าม เพียง ประมาณ เกิ่ง - กึ่ง ครึ่ง ซ้อน – คู่ครอง

คีค้อยคีค้อย-สม่ำเสมอ ฟู –เจริญรุ่งเรือง ฟูเฟื่อง

สาวขี้เล่นข.ลักษณะสตรีที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามี

หญิงใดหลังตีนสูงขึ้นคือหลังเต่า

หญิงนั้นใจซื่อแท้ประสงค์ตั้งต่อผัวเจ้าเอย

ก็บ่มักเล่นชู้ชายอื่นมาชม

ก็ท่อจงใจรักต่อผัวคีค้อยคีค้อย

หญิงนั้นแม่นซิทำการสร้างอันใดก็เรืองรุ่งแท้แล้ว

แสนซิจมอยู่พื้นมาแล้วก็หากฟู

เจ้าหญิงค. ลักษณะสตรีที่เป็นแม่บ้านที่ดีคือ

หญิงใดเฮ็ดกินพร้อมพอเกลือทั้งปลาแดก

หญิงนั้นแม่นเป็นข้อยเพิ่นฮ้อยชั้นควรให้ไถ่เอา ท่านเอย

สาวขี้เล่นง ลักษณะสตรีที่มีโทษหรืออัปมงคล

๑) หญิงใดหน้าผากกว้างดังใหญ่โขโมนั้นนา

หญิงนั้นเป็นหญิงขวงอย่าเอาควรเว้นฯ

๒) หญิงใดฝาตีนกว้างกกขาทึบแข่งใหญ่

หญิงนั้นใผเข้าอยู่ซ้อนสอนได้ก็บ่ฟัง

มันก็ขี้ถึ่แท้โถงโลกโลกา แท้ดายฯ

๓) หญิงใดฝีสบดำซ้ำเสมอหมากมอญสุกดังนั้น

อันว่าตัญหาในโลกาบ่อาจมีไผ่เพี้ยง

หญิงนั้นคนมีใจถ่อยร้ายเจ้าอย่าโอมเอาแท้เน้อ

ฝูงนี้หญิงอธรรมบาปเวรนำใช้ แท้แล้วฯ95


94 พระอริยานุวัตร เขมจารี,ท้าวคำสอน,(มหาสารคาม:จัดพิมพ์โดยโครงการปริวรรคหนังสือผูกอีสานมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ ) ,๒๕๒๕, หน้า ๒๔–๒๕

95 ศ.ธวัช ปุณโณทก,วรรณกรรมภาคอีสาน,(กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง) ,๒๕๓๗ ,หน้า ๒๕๒–๒๕๗

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons