วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

๑๖ การประพฤติธรรม

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

กุหลาบแดง๑๖ การประพฤติธรรม

คำว่า ธรรม แปลว่า สภาพที่ทรงไว้คือ ทรงสัตว์ไว้มิให้ตกต่ำ หรือรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว โดยใจความก็คือความดีความชอบ ความถูกต้อง และความสมควร ซึ่งหมายถึงคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนามีจำนวนมาก แต่จะนำมากล่าวโดยสังเขปคือ กุศลกรรมบถ ๑๐ ซึ่งแยกเป็น

ไม่ฆ่าสัตว์

กายสุจริต คือความประพฤติชอบทางกาย ๓ ไม่รักทรัพย์

ไม่ประพฤติผิดในกาม

ไม่พูดเท็จ

วจีสุจริต ความประพฤติชอบทางวาจา ๔ ไม่พูดคำส่อเสียด

ไม่พูดคำหยาบ

ไม่พูดคำเพ้อเจ้อ

ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น

มโนสุจริต ความประพฤติชอบทางใจ ๓ ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น

เห็นชอบตามคลองธรรม คือเห็นว่าทำดีได้ดี

ธรรมคือกุศลกรรมบถนี้ เป็นเหตุให้ปลอดภัย เป็นเหตุให้หมดทุกข์ และเป็นทางแห่งความเจริญ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสว่า การประพฤติธรรมนำมาซึ่งความสุขดังนี้

กุหลาบแดง๑๗ การสงเคราะห์ญาติ

คำว่า ญาติ แปลว่า พี่น้องที่ยังรับรู้กันได้ หมายถึงคนที่สืบเชื้อสายวงศ์วานกันทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา แม้คนที่มิได้สืบเชื้อสายวงศ์วานเดียวกัน แต่มีความรักใคร่คุ้นเคยสนิทสนมกันรู้สุขทุกข์ของกันและกัน ก็นับว่าเป็นญาติกันได้ ดังพุทธภาษิตว่า วิสาสา ปรมา ญาติ ความคุ้นเคยกันเป็นญาติอย่างดียิ่ง

คำว่า สงเคราะห์ แปลว่า ช่วยเหลืออุดหนุนการสงเคราะห์ญาติท่านจำแนกออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ (๑) อามิสสงเคราะห์ ได้แก่ให้ข้าว เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคและให้ทุนทรัพย์เพื่อสร้างฐานะครอบครัว หรือช่วยเหลือทำธุระการงานของญาติให้สำเร็จตามปรารถนา(๒) ธรรมอามิส คือการสงเคราะห์โดยธรรม ได้แก่การชักชวนญาติมิตรให้เว้นการทำความชั่ว ให้ทำแต่ความดี เช่นเว้นการดื่มสุราและเว้นการเล่นการพนัน ตลอดถึงการชักชักจูงคนให้มีความเพียร ขยันทำหน้าที่การงานโดยสุจริตไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม และช่วยให้คนมีสติปัญญามากขึ้น เพื่อการเอาตัวรอดในสังคมได้ การสงเคราะห์ญาติเช่นนี้เป็นการแสดงอัธยาศัยอันดีงามเป็นเหตุให้หมู่ญาติมีความรักใคร่เคารพนับถือ ทำให้เกิดความอบอุ่น และปราศจากศัตรู

กุหลาบแดง๑๘ การงานที่ไม่มีโทษ

หมายถึงไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม มี ๔ อย่างคือ

๑) การรักษาอุโบสถศีล

๒) การขวานขวายช่วยเหลือผู้อื่นในการกุศล คือเมื่อเห็นผู้อื่นทำความดี ก็ยินดีช่วยเหลือด้วยกำลังกายและกำลังทรัพย์พร้อมทั้งกำลังปัญญา ช่วยตามกำลังความสามารถและด้วยความเต็มใจไม่นิ่งดูดาย หรือริษยาในความดีของผู้อื่น

๓) การสาธารณะกุศลต่างๆ เช่นปลูกต้นไม้ในวัดวาอาราม ขุดสระน้ำ ทำที่พักผ่อน

๔) การทำสะพาน สร้างถนน สร้างศาลาพักร้อนตามถนนหนทาง เพื่อประโยชน์ประชาชนได้พักอาศัยและได้รับความสะดวกสบายในการเดินทาง การทำความดี ๔ ลักษณะนี้ เป็นกรรมที่ไม่มีโทษมีแต่ประโยชน์ คือเป็นเหตุให้พ้นจากภัยพิบัติต่างๆ ได้รับแต่ความสุขใจ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

กุหลาบแดง๑๙ การงดเว้นจากบาป

บาปในที่ทั่วไปได้แก่ความชั่ว ความเลวร้าย ความชั่วร้าย เรื่องที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนเหตุแห่งความทุกข์ แต่ให้หลักการนี้หมายเอากรรมกิเลส คือกรรมที่ทำให้เศร้าหมองมี ๔ อย่างคือ ( ๑ ) ปาณาติบาต การฆ่าสัตว์ (๒) อทินนาทาน การรักทรัพย์ (๓) กาเมสุมิจฉาจาร การประพฤติในกาม (๔) มุสาวาท การพูดเท็จ ในพุทธศาสนาได้กล่าวถึงการงดเว้นไว้ ๓ อย่างคือ

๑) สัมปัตติวิรัต คือการงดเว้นเมื่อประจวบกับเหตุนั้นๆ คือไม่คิดที่จะงดเว้นมาก่อนแต่เมื่อเหตุนั้นๆมาถึงตัวเข้า จะลวงละเมิดก็ได้แต่ไม่ล่วง เช่นเห็นสัตว์ซึ่งถึงจะฆ่าก็ฆ่าได้แต่ไม่ฆ่า เห็นทรัพย์ซึ่งถ้าจะลักก็ลักได้ แต่ไม่ลัก เห็นหญิงถ้าจะล่วงเกินก็ล่วงเกินได้ แต่ไม่ล่วงเกิน ได้โอกาสที่จะพูดเท็จ แต่ไม่พูดเพราะนึกถึงชาติ ตระกูลและฐานะของตน เกิดหิริโอตตัปปะขึ้นมา เว้นความชั่วนั้นๆได้

๒) สมาทานวิรัติ คือการงดเว้นเพราะสมาทานคือ ได้ปฏิญาณไว้ว่าจะไม่ทำอย่างนั้นๆเช่น รับศีลแล้วก็รักษาได้อย่างเคร่งครัด

๓) สมุทเฉทวิรัติ คือการงดเว้นบาปได้เด็ดขาด คือไม่ทำความชั่วตลอดชีวิต เป็นการงดเว้นของพระอริยบุคคล

การงดเว้นจากบาป คือ การงดเว้นเหตุแห่งความทุกข์ ไม่ทำเรื่องที่จะให้ถึงความเดือดร้อนจึงไม่มีความทุกข์ ไม่มีความเดือดร้อนมีแต่ความสุข ความร่มเย็นT160311_09C

กุหลาบแดง๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

คำว่า น้ำเมา คือน้ำที่ทำผู้ดื่มให้เมาเป็นของเสพติดให้โทษ ทำผู้ดื่มให้ขาดสติสัมปชัญญะขาดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทำอะไรตามอารมณ์ไม่คำนึงถึงเหตุผล ทำให้เป็นคนเห็นแก่ตัว จนไม่นึกถึงศีลธรรมกลายเป็นคนชั่วไป น้ำเมามี ๒ อย่าง คือ น้ำเมาที่กลั่นแล้ว เรียกว่าสุราอย่างหนึ่ง น้ำเมาที่หมักหรือแช่ คือยังไม่ได้กลั่น เรียกว่าเมรัยอย่างหนึ่ง แม้ของเสพติดให้โทษอย่างอื่น เช่น กัญชา ฝิ่น เฮโรอิน เป็นต้น ก็จัดเข้าในข้อนี้ได้ เพราะทำผู้เสพติดให้เสียคนยิ่งกว่าสุราและเมรัยเสียอีก เป็นทางแห่งความเสื่อมเรียกว่า อบายมุข

เป็นทางแห่งความเสื่อมของชีวิต ใครก็ตามที่ชอบดื่มเหล้า ชอบเที่ยวกลางคืน เที่ยวดูมหรสพ เล่นการพนันประจำ คบกับคนชั่ว และขี้เกียจทำการงาน ชีวิตของเขาก็จะมีแต่ความเสื่อมเพราะประสบความหายนะต่าง ๆ โทษของอบายมุขทั้ง ๖(ดื่มน้ำเมา) นั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เพื่อเตือนสติให้ชาวพุทธให้รู้ถึงความหายนะจะบังเกิดขึ้นได้กับคนที่มักหลงงมงายอยู่ในเรื่องเหล่านี้

การเสพสุราที่เรียกว่าสุราปานะนั้น ได้แก่ เจตนาที่เป็นเหตุแห่งการดื่มสุรานั้น สุราปานะนี้พระพุทธองค์ทรงบัญญัติให้เป็นข้อศีลข้อหนึ่งในจำนวนศีล ๕ และได้ทรงแสดงโทษอย่างหนักของการดื่มสุราไว้ในอังคุตตรนิกายบาลีว่า “สุราเมรยปานํ ภิกฺขเว อาเสวิตํ พหุลีกตํ นิรยสํวตฺตนิกํ ติรจฺแนโยนิสํวตฺตนิกํ เปตฺติวิสยสํวตฺตนิกํ โย สพฺพลหุโก สุราเมรยปานสฺส วิปาโก โส มนุสฺสภูตสฺส อุมฺมตฺตภูตสฺส อุมฺมตฺตสํวตฺตนิโก โหตีติ” แปลว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดื่มสุราและน้ำเมาต่าง ๆ นี้ เมื่อดื่มเสมอ ๆ ดื่มมากเข้า ดื่มหลาย ๆ ครั้งเข้า ย่อมสามารถนำเข้าไปสู่นิรยภูมิ ดิรัจฉานภูมิ เปรตรวิสัยภูมิ โทษของการดื่มสุราเมรัย อย่างเบาที่สุดนั้น เมื่อมีโอกาสได้เกิดเป็นมนุษย์ด้วยกุศลกรรมอื่น ๆ ผู้นั้นก็ย่อมเป็นบ้าง.......”(องฺ.อฎฐก)

“ยํ เว ปิวิตฺวา ทุจฺจริตํ จรนฺติ กาเยน วาจาย ว เจตสา จ

นิรยํ วชนฺติ ทุจฺจริตํ จริตฺวา ตสฺสา ปุณฺณํ กุมฺภมิมํ กิณาถ”(ขุ.ชา)

แปลว่า “บุคคลที่ดื่มสุราแล้ว ย่อมประพฤติด้วยกาย วาจาและใจครั้นประพฤติแล้วก็ต้องไปตกนรก ขอท่านจงช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มไปด้วยสุรานั้นไว้”

ในทางพระพุทธศาสนาสอนให้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา เพราะการดื่มน้ำเมา เพราะการดื่มน้ำเมานั้นถือว่าเป็นฐานของการประมาท ถ้าจะว่าตามกฎเกณฑ์ของศีลแล้ว ขึ้นชื่อว่าน้ำเมา ดื่มเข้าไปก็ต้องเมา เมื่อเมาก็ต้องเป็นฐานประมาทเช่นนั้น ต่างกนแต่ว่าประมาทน้อยหรือประมาทมากเท่านั้น(สมเด็จพระญาณสังวรฯ) การดื่มน้ำเมาจัดเป็นอบายมุขเพราะอาจมีโทษในแง่ของการผิดกฎหมาย เมื่อหลงลืมสติไปกระทำขึ้น ทางพระพุทธศาสนาจึงมีคำสอนในเรื่องการรักษาศีล ๕ ซึ่งเป็นศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นประจำ อันหมายถึงคุณธรรมของมนุษย์หรือธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ๕ ประการ(เว้นจากการปลงชีวิต)

คนที่งดการดื่มสุรา ก็หมายถึงผู้ที่ไม่ก่อเวร เนื่องจากการเป็นผู้ไม่ประมาทและมีสติอยู่ทุกเมื่อจึงได้ชื่อว่าผู้มีเจตนาขับไล่เวร ชื่อว่าเป็นมงคลเพราะตรงกันข้ามกับเจตนาของผู้ก่อเวรนั้น ในเรื่องนี้ พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า

T251109_04CC“ความงดและความเว้นจากบาปนั้นแม้ทั้งนั้น พระหัวใจสีแดง

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุ

แห่งการละมีละภัยและเวรอันเป็นไปในทิฎฐธรรมและเป็น

ไปในสัมปรายภพเป็นต้นและบรรลุคุณวิเศษมีประการต่าง ๆ

ก็เพราะเหตุที่บุคคลผู้มักดื่มน้ำเมา ย่อมไปอรรถไม่รู้ธรรม

ย่อมทำอันตรายแก่มารดา บิดา ย่อมทำอันตรายแม้แก่พระ

พุทธะ พระปัจเจกพุทธ และสาวกของพระตถาคต ย่อม

ถูกครหาในทิฎฐธรรมถึงทุคติในสัมปรายภพ ถึงความ

เป็นบ้าในภพต่อ ๆ ไป ส่วนผู้สำรวมจาการดื่มน้ำเมาย่อม

ถึงความเข้าไปสงบ โทษเหล่านั้นและคุณสมบัติอันตรงกัน

ข้ามจากโทษนั้น เพราะฉะนั้น ความสำรวมจากการดื่มน้ำ

เมานี้ บัณฑิตพึ่งทราบว่าเป็นมงคล”(มงฺคลตทีปนี)

พุทธปรัชญากล่าวว่า เป็นทางเสื่อมและชี้ถึงโทษภัยไว้ ๖ อย่าง คือ (๑) ทำให้เสียทรัพย์ (๒) ทำให้ทะเลาะวิวาท (๓) ทำให้เกิดโรคภัย (๔) ถูกติเตียน (๕) ไม่รู้จักอาย (๖) ทอนปัญญา ดังนั้นควรระมัดระวัง และงดเว้น ไม่ดื่ม การงดเว้นของมึนเมาและของเสพติดให้โทษต่างๆได้เป็นเหตุให้พ้นจากโทษ ๖ อย่าง และทำให้เป็นคนมีสติสัมปชัญญะ มีหิริโอตตัปปะ รู้ผิดชอบชั่วดี รู้การอันควรและไม่ควร

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons