วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

46.หลักจริยธรรมที่พบในคำผญาอีสาน

มองโดยภาพรวมของภาคอีสานซึ่งคิดเป็น ๓๐ % ของพื้นที่ประเทศไทย ทั้งหมดคือภาพของความแห้งแล้งและยากจน แต่การดำเนินชีวิตของชาวอีสานมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และจริงใจต่อกันเต็มไปด้วยไมตรีจิตต่อเพื่อนบ้านและคนต่างถิ่น มีรูปแบบทางวัฒนธรรมตลอดถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ชาวอีสานโดยทั่วไปยังสามารถดำเนินวิถีชีวิตตามจารีตประเพณีอันสืบทอดมาแต่บรรพบุรุษทั้งทางด้านสังคมและวัฒนธรรม อะไรคือสิ่งที่ชาวอีสานสามรถรักษาจารีตเอาไว้ได้ นั้นคือคำสอนของพุทธศาสนาและสุภาษิตอีสานทั้งที่เป็นวรรณกรรมคำสอนต่างๆที่เป็นเสมือนประทีปส่องทางปัญญาให้ชาวอีสานยังคงรักษาธรรมเนียมเดิมเอาไว้ได้ คนส่วนมากยังชอบชีวิตแบบอิสระเสรี ชอบความสนุกสนานเพลิดเพลินอยู่ในสายเลือด ถึงจะยากจนทางทรัพย์สินแต่ทางจิตใจนั้นชาวอีสานเป็นหนึ่งไม่มีสอง คือมีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความชื่อสัตว์สุจริต ไม่ชอบรังแก่ผู้อื่น เป็นด้วยระบบทางจริยธรรมคำสอนของพุทธศาสนาและวรรณกรรมคำสอนต่างๆได้ปลูกฝังมาแต่รุ่นปู่ย่า ตาและยาย เป็นต้น

การดำเนินชีวิตอยู่ร่ามกันในสังคมของมนุษย์จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์เป็นตัวนำทางให้สมาชิกของสังคมดำเนินชีวิตไปตามครรลองที่สังคมต้องการ เครื่องมือในการนำทางดังกล่าวจึงถูกกำหนดมาในรูปแบบบรรทัดฐานทางสังคม ค่านิยมที่ได้รับการถ่ายทอดมา ว่าคนเรามีการตัดสินที่จะเลือกแนวทางในการปฏิบัติของตนเองตามปัจเจกชน ชาวอีสานให้ความสำคัญกับคำถามที่ว่า”เราควรจะเลือกมีชีวิตอยู่อย่างไร” และควรทำอย่างไร และควรเว้นอะไร สิ่งเหล่านี้ล้วนมีอย่างละเอียดตั้งแต่เรื่องของมารยาท การเลือกคบคนอย่างไรจึงจะดี และควรเลือกคนอย่างไรมาเป็นคู่ชีวิตของตนเอง และจะปฏิบัติต่อคนประเภทต่างๆอย่างไร เช่น กับพ่อแม่ พ่อตาแม่ยาย ลูกเขย ลูกสะใภ้ และต่อพระสงฆ์ ควรจะวางตนอย่างไร เป็นหน้าที่ของจริยธรรมจะชี้บอกทางให้ และสังคมชาวอีสานยังมีเอกลักษณ์อย่างหนึ่งคือ เป็นชุมชุนที่ยึดถือระบบญาติมิตรมาก เพราะความจำเป็นทางสังคมก็ดี ทางสิ่งแวดล้อมก็ดีล้วนแต่เป็นปัจจัยเกื้อกูลกันและกันให้ชาวอีสานต้องทำอย่างนั้น และชาวอีสานชอบแสวงหาความสงบสันติทางสังคม ดังนั้นอิทธิพลของหลักคำสอนที่มีในวรรณกรรมอีสานซึ่งเท่าที่พบจากวรรณกรรมคำสอนต่างๆพอประมวลจริยธรรมของบุคคลต่างได้ ๒ ประเภทตามลักษณะของบุคคลดังนี้

จริยธรรมของผู้ชายแบ่งออกเป็น ๕ ประการคือ

๑.๑) จริยธรรมของคุณปู่

๑.๒) จริยธรรมของบิดา

๑.๓) จริยธรรมของสามี

๑.๔) จริยธรรมของลูกเขย

๑.๕) จริยธรรมของชายทั้วไปๆแบ่งเป็นชายที่ทำหน้าที่ปกครอง

๓.๒ จริยธรรมของผู้หญิง แบ่งออกเป็น ๕ ประการ คือ

๒.๑) จริยธรรมของคุณย่า

๒.๒) จริยธรรมของมารดา

๒.๓) จริยธรรมของภรรยา

๒.๔) จริยธรรมของลูกสะใภ้

๒.๕) จริยธรรมของหญิงทั่วไป

๓.๑ จริยธรรมของคุณปู่

คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย คนทั่วไปในภาคอีสานมักเรียกในทำนองให้ความเคารพบูชาว่า “ พ่อใหญ่ แม่ใหญ่ พ่อตู้ แม่ตู้ พ่อโซ้น แม่โซ้น” ธรรมดาลูกหลานย่อมเคารพสักการะเพระเป็นพ่อแม่ของบิดามารดาของตนอีกชั้นหนึ่ง คุณปู่คุณย่ามักจะมีเมตตาธรรมรักใคร่หลานๆเป็นอย่างยิ่ง มีหน้าที่ในการอบรมบุตรหลานให้ประพฤติปฏิบัติตนในที่ดีงาม ดังจะพบเห็นมากในวรรณกรรมคำสอนเรื่องปู่สอนหลาน บางครั้งถ้าคุณปู่ทำไม่ถูกต้องก็จะถูกว่ากล่าวจากหลานๆเหมือนกัน ดังจะพบในวรรณกรรมคำสอนเรื่อง หลานสอนปู่ คือหมายถึงคนเฒ่าคนแก่ที่ทำตัวไม่ให้หลานเคารพเท่านั้น ดังนั้นคุณธรรมของคุณจึงนับว่าเป็นกฎทางศีลธรรมอันจะทำให้คุณปู่ใด้พึงระลึกและเป็นแบบอย่างแก่บุตรหลานนั้นควรมีคุณสมบัติอย่างไร และสิ่งที่บุตรหลานควรกระทำตอบแทนคุณปู่คุณย่านั้นจะมีอะไรบ้าง ข้อสำคัญคุณปู่จะวางตนให้เป็นที่พึ่งประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกหลานเท่านั้น ดังคำกลอนสอนในฮีตของปู่ว่าไว้ดังนี้คือ

อันปู่ย่านั้นหากอักลูกหลานหลาย ทั้งตายายก็ฮักลูกหลานหลายดั่งเดียวกันนั้น

ลูกหลานเกิดทุกข์ยากไฮ้ได้เพิ่งใบบุญ คุณของปู่ย่าตายายหากมีหลายเหลือล้น

ควรที่ลูกหลานทุกคนไหว้บูชายอยิ่ง เปรียบเป็นสิ่งสูงยกไว้ถวยเจ้ายอดคุณ

บุญเฮาหลายแท้ที่มีตายายปู่ย่า เพราะว่าเพิ่นเป็นฮ่มให้เฮาซ้นอยู่เย็น1

(เป็นปู่ย่านั้นให้รักลูกหลานทั้งหลายอีกทั้งตายายก็รักลูกหลานทั้งหลายเช่นเดียวกัน ลูกหลานเกิดทุกข์ลำบากให้ได้พึ่งใบบุญ คุณของปู่ย่าตายายก็มีมากเหลือจะพรรณนาคุณได้ ควรที่ลูกหลานทุกคนให้กราบไหว้บูชาคุณยิ่ง เปรียบเป็นสิ่งมีคุณควรยกไว้เหนือหัวบูชาคุณท่าน บุญเราลูกหลานทั้งหลายที่มีคุณตา ยาย คุณปู่ ย่า เพราะว่าท่านเป็นประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรให้เราได้อยู่เย็นเป็นสุข) นั้นคือลักษณะโดยภาพรวมของคุณปู่ ต่อนี้คือลักษณะคำสอนของคุณปู่ที่สั่งสอนอบรมลูกหลาน อันเป็นกาพย์ปู่สอนหลาน นั้นคุณปู่จะทำหน้าที่สอนอย่างไร คือเริ่มจากสั่งสอนหลานให้รู้จักเคารพตามชั้นทางสังคมดังนี้คือ

ฝูงลูกหลาน จื่อจำเอาไว้     ใผจื่อได้ เมื่อหน้าย่อมยืน

หลัวแลฟืน อย่าเอาฮองนั่ง     เชื้อลุงตา ให้ยำปานแก้ว

ปู่สั่งแล้ว หลานหล้าจื่อจำ2

(หมู่ลูกหลานทั้งหลายจดจำเอาไว้ ใครจำได้วันข้างหน้าจะมีคุณ คือหลัวและฟืนอย่าได้เอามารองนั่งมันจะมีอันตราย ญาติทั้งหลายคือลุงตา ยายให้เกรงกลัวคือแก้วมีคุณ ปู่สั่งสอนแล้วหลานๆจดจำเอาไว้) ถ้าลูกหลานได้รับราชการนั้นอย่าได้อวดอ้างว่าตัวเองเก่ง จะทำอะไรก็ให้ปรีกษาหารือกับท่านผู้เป็นนักปราชญ์เสียก่อนจะได้ไม่ทำผิดธรรมเนียมหรือกฎระเบียบ ดังคำสอนนี้คือ

ทำเป็นขุน ให้มีใจกว้าง      อย่าอวดอ้าง ความฮู้บ่ถาม

ความใดงาม ถามขุนผู้ฮู้3

(เมื่อเป็นขุนนางมีอำนาจใหญ่โต ให้เป็นคนมีจิตใจโอบอ้อมอารีย์มีใจเผื่อแผ่แก่คนยากจน อย่าอวดอ้างว่าตัวเองมีความรู้แล้วไม่สอบถามผู้อื่น ความใดดีงามให้เจ้าลูกหลานถามนักปราชญ์ท่านผู้รู้เสียก่อน) เพราะบางสิ่งบางอย่างเราทำคนเดียวนั้นมันสำเร็จช้าหรือไม่สำเร็จเลย ดังนั้นลูกหลานทั้งหลายจึงควรหาบริวารมาช่วยในกิจการของตนเอง ดังคำสอนนี้ว่า

ไม้ลำเดียว ล้อมฮั่วบ่ไขว่     ไพร่บ่พร้อม แปลงบ้านบ่เป็น4

(ไม้ลำเดียวล้อมรั้วไม่รอบ ถ้าว่าบริวารไม่ช่วยเหลือจะสร้างบ้านเมืองก็ไม่เจริญก้าวหน้า) การเลือกสรรคนมาใช้งานก็ควรเลือกคนให้เหมาสมกับหน้านั้นก็เป็นส่วนสำคัญในการบริหารองค์กรต่างๆเช่นเดียวกัน การเลือกคบคนนั้นก็สำคัญไม่น้อยเหมือนกัน ถ้าคบคนดีก็ดีไปแต่ถ้าเลือกคบคนไม่ดีนั้นคุณปู่ก็สั่งสอนว่าดังนี้คือ

คนใจเบือน อย่าเอาเป็นพี่น้อง    มันจักเป็นล้องค้อง คือเกี่ยวสองคม5

(คนใจไม่แน่นอน อย่าเอามาเป็นมิตรสหายหรืออย่าคบค้าสมาคมด้วย มันจะเป็นวงกลมแล้วโค้งกลับมาให้โทษ เหมือนเกี่ยวสองคม) หรือสอนให้รู้จักความดีและชั่วนั้นมีสี่และสามประการดังคำสอนนี้คือ

คนใจเบือน อย่าเอาเป็นมิตร     ทุจริต มีสี่สามอัน

อัศจรรย์ ปัญญาถ้วนห้า          คันฟันขวาน ให้เหลียวเบิ่งฟ้า

คันยิงหน้า ให้เบิ่งปลายปืน6

(คนใจไม่แน่นอนอย่าเอาเป็นมิตรสหาย ทุจริตมีสี่สามอัน(คือกายทุจริตสาม กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต) ส่วนปัญญ -านั้นมี ๕ ประการ การฟันขวานนั้นให้มองดูท้องฟ้า บ้างครั้งนั้นใบมีดอาจจะหลุดลงมาใส่หัวเอา คือให้ทำอะไรด้วยความระมัดระวังรอบคอบเอาไว้ ถ้ายิงธนูนั้นให้มองไปข้างหน้าสู่เป้าหมายให้ดี คือทำอะไรนั้นต้องให้มีจุดมุ่งหมายแล้วพยายามเดินไปสู่เป้าหมายที่ตนเองปรารถนาเอาไว้เปรียบเหมือนการยิงธนูหวังให้ถูกเป้ายิงนั้นเอง) นั้นคือคุณค่าคำสอนของคุณปู่ที่อบรมแนะนำลูกหลานอย่าได้ทำอะไรโดยไม่มีวัตถุประสงค์ ดังคำสอนนี้คือ

ทำอันใด ใส่ใจอันนั้น                           ซู้เขี่ยข้าง พันชั้นอย่าเหลียว

เทียวทางไกล เหลียวหลังเหลียหน้า      คึดซู่ชั้น ดีแล้วจิ่งนอน

หัวเฮียงหมอน อย่าวอนหาซู้

คึดฮุ่งฮู้ คำปู่สั่งสอน7

(ทำการงานสิ่งไหนให้ตั้งใจในสิ่งนั้น เมียเขียข้างพันครั้งอย่าสนใจ(คืออย่าฟังความเมียมากนักเพราะผู้หญิงจิตใจไม่หมั่นคงจะทำอะไรให้ตั้งใจทำไปเลย) เดินทางไกลให้หันมาดูข้างหลังบ้างอาจจะมีอันตรายก็ได้ คิดทบทวนสิ่งที่ทำมาทั้งวันด้วยความรอบคอบแล้วค่อยนอน เวลานอนกับภรรยาอย่าพูดถึงหญิงอื่น เดียวจะทะเราะวิวาทกัน คิดให้ก้าวไกลมีวิสัยทัศน์กว้างไกลเป็นลูกผู้ชาย ฟังคำปู่สั่งสอนให้ดีหลานเอย) สอนลูกหลานให้มีความระวังทางการเจรจา การพูดสิ่งที่ผ่านมาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความบาดหมางใจกันเอง ดังคำสอนนี้คือ

เพิ่นเคียดแล้ว อย่าได้กล่าวใย            ไฟลามลุก อย่าเอาฝอยอ่อย

ช้างเพิ่นย้อย ให้หลีกแต่ไกล             เสียงชะไน ดังกว่าเสียงฆ้อง

คึดบ่ถ้อง ให้หมั่นเพียรถาม                  ความมัวหมอง อย่าถามผู้เคียด8

(ท่านโกรธแล้วอย่าได้พูดถึงเรื่องเก่า ไฟลามลุกอย่าเอามูลฝอยเอามาเพิ่ม ช้างท่านตกมันให้หลีกแต่ไกล เสียงชะไนดังกว่าเสียงฆ้อง คิดไม่ออกให้ขยันไตร่ถาม ความมัวหมองอย่าถามผู้โกธร)สอนให้ลูกหลานทั้งหลายก่อนจะพูดจะทำอะไรให้รอบครอบ ก่อนจะพูดให้ดูอารมณ์ของผู้ฟังก่อนจะได้ไม่ทำให้ผิดใจกัน เหมือนสิ่งชั่วแม้ทำเพียงเล็กน้อยแต่พอถูกเปิดเผยออกจะทำให้เกิดความเสียหาย เป็นคุณธรรมของคุณปู่ทั้งหลายที่หวังดีต่อบุตรหลานอย่าได้ทำในสิ่งอันไม่ดีไม่งามจะได้มีเดือดร้อนในภายหลัง และยังมีคำสอนในลักษณะแบบอีกว่า

ฮักเมียโต ให้ฮักลุงตา                     ฮักนาโต ให้ฮักพ่อบ้าน

ใกล้หัวล้าน อย่าด่านกชุม               เพิ่นหุ่มโต อย่าโงทางต่าง8

(รักเมียตัวเองให้รักลุง พ่อตา รักไร่นาตัวเองให้รักพ่อบ้าน ใกล้คนหัวล้าน อย่าได้ด่านกตระกุม ผู้อื่นห้อมล้อมตัวเรา อย่าทำในทางไม่ดี) หมายถึงสอนให้รู้จักรักภรรยาตัวเองอย่างไรก็ให้เผื่อแผ่ความรักให้ถึงญาติฝ่ายภรรยาด้วยอันประกอบด้วยคุณลุง ป้า น้า อ้า พ่อตาแม่ยายเป็นต้น อยู่ใกล้คนศรีษะล้านอย่าได้ด่านกกระชุมเป็นการด่ากระทบบุคคลที่เราพูดอยู่ด้วยไม่เหมาะสม ผู้อื่นยกย่องสรรเสริญเราอย่าได้ทำเป็นโกธร

๒.ลักษณะไม่ดี

ปู่หาฮู้ ตั้งแต่สอนหลาน      ทำปาณา ฆ่าสัตว์เลี้ยงลูก

เป็นบาปฮ้าย ฝูงนี้บ่ควร 96/หลานสอนปู่

อทินนา ลักเอาของท่าน          ให้ปู่ย้าน ภายหน้าส้วยแหลม

กาเมแถม เมียเขาให้เว้น        ใผลอบเหล้น ลงสู่อบาย

โทษมุสา ตั๋วพลางยัวะเย้า      ใผซ่างเว้า เป็นบาปเป็นกรรม

ใผซ่างทำ ปากเหม็นปากืก      ปากบ่ถืก อักขระฐานกรณ์

โทษสุรา มัวเมาคอบเหล้า       เป็นผู้เถ้า ควรเว้นซู่คน

จักให้ผล เกิดไปภายหน้า       เป็นผีบ้า ใจตื้นโง่เขลา 97/หลานสอนปู่

เป็นคลองจิง ใผเป็นผู้เถา     อย่าได้เข้า อำนาจตัณหา      เฮาหลานบ่ย้าน เถ้าคร้านครองบุญ

บ่ปุนใจสร้าง ขี้คร้านครองวัตร     บ่ครัดครองธรรม บ่จำศีลห้า   จ่าฆ่าฝูงสัตว์ ข้อวัตรบ่หา 98/หลานสอน


1 สาร ทัศนานันท์,ฮีตสิบสองคลองสิบสี่,พิมพ์ครั้งที่ ๔(เลย:ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัยครูเลย) ,๒๕๐๓,หน้า๔๙๕

2 ดร.ปรีชา พิณทอง,กาพย์ปู่สอนหลาน,(อุบลราชธานี:โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซท),๒๕๒๗, หน้า ๒

3 เรื่องเดียวกัน ,หน้า ๒

4 เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒

5 เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓

6 เรืองเดียวกัน ,หน้า ๔

7 เรื่องเดียวกัน ,หน้า ๔

8 เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕

8 เรื่องเดียวกัน ,หน้า๖

bandonradio

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons