วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

44.ฮีตสะใภ้คลองลูกเขย

ฮีตใภ้คองเขย
       คำว่า  “ใภ้”หมายถึงลูกสะใภ้รวมถึงหลานสะใภ้  ส่วน “เขย” หมายถึงลูกเขยรวมทั้งหลานเขยด้วย  แต่ตามปรกติหมายเอาเพียงลูกสะใภ้แบลูเขย  ตามธรรมเนียมชาวอีสานนิยมเอาลูกเขยมาอยู่บ้านพ่อตาแม่ยาย   คำภาษิตของภาคอีสาที่ว่า  “เอาลูกเขยมาเลี้ยงพ่อแม่เฒ่า  ปานเอาข้าวมาใส่เยี่ย”  หมายความว่าการเอาลูกเขยมาอยู่กับพ่อตาแม่ยายอุปมาดังนำข้าวมาไว้ในยุ้งฉาง  ภาษิตนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าการเอาลูกเขยมาเลี้ยงพ่อแม่เป็นสิ่งที่เหมาะสมและมักเป็นค่านิยมของชาวอีสานไม่น้อยเลย   ส่วนการนำเอาลูกสะใภ้มาอยู่กับปู่ย่านั้นกลับไม่ค่อยนิยมเพราะ  พ่อแม่ของฝ่ายสามีมักจะมีเรื่องทะเลาะกับลูกสะใภ้  ดังคำกล่าวที่ว่า  “เอาลูกสะใภ้มาเลี้ยงย่า  ปานเอาห่ามาใส่เฮือนซาน”  หรือ  “เอาย่าไปอยู่กับลูกสะใภ้  ปานเอาไข้ไปใส่เฮือน”  ก็เหมือนกันกับสมัยครั้งพุทธกาลที่ลูกๆต้องทิ้งพ่อแม่ของตนเพราะฟังความฝ่ายภรรยาตนเองมากพระพุทธเจ้าจึงต้องสอนวิธีการให้พราหมณ์เอาชนะลูกๆของตนเองมาแล้วหรือประวัติของตนโมคคัลลานะก็เช่นเดียวกันฟังความเมียก็เลยเสียพ่อแม่  จะด้วยอิทธิพลของวรรณกรรมเหล่านี้ก็อาจจะเป็นไปได้ที่ชาวอีสานไม่นิยมนำลูกสะใภ้ไปอยู่กับปู่ย่า  แต่ยุคสมัยผ่านไปอาจจะมีน้อยหรือไม่มีถ้าหากลูกสะใภ้ที่ดีย่อมทำตนให้เข้ากับพ่อแม่ของฝ่ายชายได้ด้วยความราบรื่น  เช่นเดียวกับลูกเขยที่อยู่กับพ่อตาแม่ยาย  แต่ถ้ามีลูกสะใภ้ดีก็จะเป็นเช่นอย่างท่านมิคารมารดาพ่อตาของนางวิสาขามหาอุบาสิกาก็ได้  ที่ลูกสะใภ้นำกลับมาสู่สัมมาทิฏฐิได้    ทั้งลูกเขยและลูกสะใภ้ก็ตามถ้าปฏิบัติตามครรลองของตนย่อมผ่อนหนักเป็นเบาได้คือ  มีความเคารพปู่ย่า  เลี้ยงดูปู่ย่าด้วยดีดุจท่านเป็นพ่อแม่ของตนเองปัญหาต่างๆก็ย่อมไม่ตามมาอย่างแน่นอน  แต่เมื่อใดทั้งสะใภ้และเขยต่างก็เมยเฉยต่อวัตรปฏิบัติของตนเองนั้นแหละปัญหาย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน  ทำอย่างไรจึงจะทำให้ท่านทั้งสองฝ่ายมีความรักและเอ็นดูตนนั้นคำสอนโบราณอีสานสอนไว้อย่างนี้ว่า
    วัตรปฏิบัติของสะใภ้
        คันว่านางมีผัวแล้ว        อย่าลืมคุณพ่อแม่
        คุณเพิ่นมีมากล้น            เพียรเลี้ยงให้ใหญ่มา
        มารดาฮ้ายให้นาง        อดทนอย่าเคียดต่อ
        คุณพ่อฮ้าย            ให้นางน้อยอย่าติง
        คันว่าผัวฮ้าย            ให้เอาดีสู้ใส่
        ปู่ย่าฮ้ายให้นาง            ก้มหมอบฟัง
        ทั้งฝ่ายพุ้นฝ่ายพี้            ใจนั้นพร่ำเสมอ
        เถิงยามเดือนห้า            กาลฤดูปีใหม่
        จัดหาดอกไม้            เทียนพร้อมใส่ขัน
        ไปวันทาไหว้            ตายายปู่ย่า
        ทั้งสมมาเฒ่าแก่ใน        หมู่บ้านซู่คนได้ยิ่งดีเจ้าเอย
    วัตรปฏิบัติของลูกเขย
        อันหนึ่งแนวเป็นเขยนี้        แนวนามเชื้อตายายพ่อแม่
        ควรซินบน้อมไหว้        ยอไว้ที่สูง
        ผลบุญตามมาค้ำ            แนนนำยู้ส่ง
    ปรารถนาอันใด            ซิลุลาภได้โดยด้ามดั่งประสงค์
    เฮาเป็นเขยเขานั้น        ควรมีใจฮักห่อ
    ฝูงพ่อแม่ชาติเชื้อ            ของเมียเจ้าทั่วกัน
    มีหญิงให้ฮู้จักปันแบ่งให้         ใจเหลื่อมทางดี
    มีงานการซ่อยกัน        ฮีบไวบ่มีช้า
    ซิไปมาก้ำทางใด            ให้เจ้าคอบ
    เวนมอบให้            เมียไว้แก่พ่อตา
    ทั้งแม่ยายพร้อม            เจรจาเว้าม่วน
    ควรบ่ควรให้เจ้า            คะนิงฮู้ซู่แนว เจ้าเอย
๘)  ฮีตป้าคลองลุง
       บรรดาป้าลุง น้า อา และพี่ นับเป็นญาติชั้นสูงอาวุโส  ควรรู้วางตนให้สมกับเป็นที่เคารพนับถือของลูกหลานและญาติพี่น้อง  มีเมตตาธรรมไม่ถือตัวโอ้อวดมีอะไรก็ช่วยสงเคราะห์เป็นที่พึ่งพาอาศัยของญาติพี่น้องลูกหลานได้  หากลูกหลานและญาติพี่น้องถูกใคร่รังแกก็อาศัยเป็นที่พึ่งพากันในยามทุกข์ยากได้  ดังคำโบราณว่า
        ฝูงเฮาผู้เป็นลุงป้า            อาวอาน้าพี่
        ให้มีใจฮักพี่น้อง            วงศ์เชื้อลูกหลาน
        คนใดมีทุกข์ฮ้อน            อ้อนแอ่วมาหา
        ซ่อยอาสาเป่าปัด            ให้ส่วงคลายหายเศร้า
        การครองย้าว            เอาศีลธรรมเป็นที่เพิ่ง
        ตามเปิงฮีตบ้าน            ปางเค้าเก่ามา
        ไผมีงานหนักหนาให้        หาทางซดซ่อย
        บรรดาลูกหลานส่ำน้อย        ดีใจล้ำอุ่นทรวงฯ

๙)  ฮีตปู่คลองย่า
       ปู่ย่าเป็นที่รักและเคารพของลูกหลาน  เปรียบประดุจด้วยเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกหลานดังคำโบราณอีสานว่า
            อันปู่ย่านั้นหากฮักลูกหลานดั่งเดียวหลาย
            ทั้งตายายก็ฮักลูกหลานหลายดั่งเดียวกันนั้น
            ลูกหลานเกิดทุกข์ยากไฮ้ได้เพิ่งใบบุญ
            คุณของปู่ย่าตายายหากมีหลายเหลือล้น
            ควรที่ลูกหลานทุกคนไหว้บูชายอยิ่ง
            เปรียบเป็นสิ่งสูงยกไว้ถวยเจ้ายอดคุณ
            บุญเฮาหลายแท้ที่มีตายายปู่ย่า
            เพราะว่าเพิ่นเป็นฮ่มให้เฮาซ้นอยู่เย้น ฯ

๑๐)ฮีตเฒ่าคองแก่
       เป็นแนวทางของคนชราหรือผู้สูงอายุ  ธรรมเนียมของชาวอีสานมักจะเคารพผู้อาวุโสในด้านต่างๆอาจเป็นด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ  และชาติวุฒิเป็นต้น  ดังนั้นคนเฒ่าคนแก่จะควรเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกหลานทั้งในด้ายความประพฤติและด้านจิตใจ  ดังคำโบราณอีสานว่า
        เป็นผู้เฒ่าให้ฮักลูกหลานเหลน    เป็นขุนกวนให้ฮักการเมืองบ้าน
        สมสถานเบื้องเฮิงฮมย์ถ้วนทั่ว    อย่าได้ฮักผิ่งพุ้นซังพี้บ่ดี
        อันว่าเฒ่าบังเกิดสามขานั้นฤา    หมายถึงคนวัยสูงผู้ควรถือหน้า
        ย้อนว่าเอาตนเข้าถือศีลฟังเทศน์    เถิงกับสักค้อนเท้าไปด้วยใส่ใจ
        ชาติที่เฒ่าบ่ฮู้วัตรคลองธรรม    ปาปังแถมซู่วันเวียนมื้อ
        เถิงว่าวัยชราเฒ่าหัวข่าวแข้วหล่อน  อายุฮ้อนขวบเข้าบ่มิผู้นับถือ แท้แหล่ว

bandonradio

0 ความคิดเห็น:





กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons